จงพึ่งพระวิญญาณของพระเจ้าเมื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
จงพึ่งพระวิญญาณของพระเจ้าเมื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
“จงทำสุดความสามารถเพื่อสำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า.”—2 ติโมเธียว 2:15, ล.ม.
1. การเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่ก่อให้เกิดข้อท้าทายต่อสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของเรา?
โลกรอบตัวเราเปลี่ยนไปเสมอ. เราเห็นความก้าวหน้าอันน่าประทับใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพร้อม ๆ กับความเสื่อมลงอย่างหนักด้านค่านิยมทางศีลธรรม. ดังที่เราพิจารณาไปในบทความก่อน คริสเตียนต้องต้านทานวิญญาณของโลกที่ต่อต้านพระเจ้า. แต่ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงไป ตัวเราก็เปลี่ยนไปด้วยในหลาย ๆ ทาง. เราโตขึ้นจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่. ฐานะทางการเงินหรือสุขภาพของเราอาจดีขึ้นหรือแย่ลง. สมาชิกในครอบครัวของเราอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง. การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หลายอย่างอยู่เหนือการควบคุมของเรา และอาจก่อให้เกิดข้อท้าทายใหม่ ๆ และใหญ่โตที่กระทบต่อสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของเรา.
2. ชีวิตของดาวิดประสบการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
2 มีคนไม่มากนักที่ประสบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ใน2 ติโมเธียว 2:15, ล.ม.) แม้ว่าสภาพการณ์ของเราต่างไปจากของดาวิด แต่เราเรียนรู้ได้จากวิธีที่ท่านจัดการกับเรื่องยุ่งยากในชีวิต. ตัวอย่างของท่านอาจช่วยเราให้เข้าใจวิธีที่เราจะได้รับความช่วยเหลือเรื่อยไปจากพระวิญญาณของพระเจ้าขณะที่เราประสบการเปลี่ยนแปลงในชีวิต.
ชีวิตของตนอย่างใหญ่หลวงมากเท่ากับดาวิด บุตรยิซัย. ดาวิดเปลี่ยนสภาพในเวลาอันสั้นจากเด็กเลี้ยงแกะที่ไม่มีใครรู้จักไปเป็นวีรบุรุษของชาติผู้มีชื่อเสียง. ต่อมา ท่านกลายเป็นผู้ที่ต้องหลบลี้หนีภัย ซึ่งถูกกษัตริย์ที่อิจฉาตามล่าเยี่ยงสัตว์. หลังจากนั้น ดาวิดกลายเป็นกษัตริย์และผู้พิชิตดินแดน. ท่านได้รับผลอันปวดร้าวจากการทำบาปร้ายแรง. ท่านประสบเหตุการณ์น่าเศร้าและเผชิญความแตกแยกภายในครอบครัว. ท่านได้มาซึ่งทรัพย์สมบัติ, แก่ตัวลง, และประสบความอ่อนกำลังวังชาเนื่องจากวัยชรา. ทั้ง ๆ ที่ประสบการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิต ดาวิดแสดงความเชื่อมั่นและความวางใจในพระยะโฮวาและพระวิญญาณของพระองค์ตลอดชีวิต. ท่านทำสุดความสามารถเพื่อสำแดงตน “ให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า” และพระเจ้าทรงอวยพรท่าน. (ความถ่อมใจของดาวิด—ตัวอย่างอันดีเยี่ยม
3, 4. จากเด็กหนุ่มเลี้ยงแกะที่ไม่มีใครรู้จัก ดาวิดได้ขึ้นมาเป็นผู้มีชื่อเสียงในชาติอย่างไร?
3 เมื่อเป็นเด็ก ดาวิดไม่ได้เป็นคนเด่นแม้แต่ในครอบครัวของท่านเอง. เมื่อผู้พยากรณ์ซามูเอลมายังเมืองเบทเลเฮม บิดาของดาวิดพาบุตรชายเจ็ดคนจากทั้งหมดแปดคนมาแสดงตัวต่อซามูเอล. ดาวิดบุตรชายคนสุดท้องถูกทิ้งไว้ให้เฝ้าดูแลฝูงแกะ. กระนั้น พระยะโฮวาได้เลือกดาวิดไว้ก่อนแล้วเพื่อเป็นกษัตริย์ในอนาคตของชาติอิสราเอล. จึงมีการเรียกตัวดาวิดมาจากทุ่งเลี้ยงแกะ. จากนั้น บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ซามูเอลก็หยิบขวดเขาสัตว์ที่ใส่น้ำมัน, ชโลมเขาต่อหน้าหมู่พี่น้องและพระวิญญาณพระยะโฮวาก็สวมทับดาวิดตั้งแต่วันนั้นมา.” (1 ซามูเอล 16:12, 13) ดาวิดพึ่งพระวิญญาณดังกล่าวตลอดชีวิตของท่าน.
4 อีกไม่ช้า เด็กหนุ่มเลี้ยงแกะคนนี้จะกลายเป็นผู้มีชื่อเสียงในชาติ. ท่านถูกเรียกตัวไปคอยเฝ้ารับใช้กษัตริย์และเล่นดนตรีถวาย. ท่านสังหารฆาละยัธ นักรบร่างยักษ์ที่ดุดันจนแม้แต่เหล่าทหารอิสราเอลซึ่งโชกโชนในการศึกก็ยังหวั่นกลัวที่จะเผชิญหน้าเขา. เมื่อถูกตั้งให้เป็นแม่ทัพ ดาวิดมีชัยในการสู้รบกับชาวฟิลิสติน. ประชาชนรักท่าน. พวกเขาแต่งเพลงร้องสรรเสริญท่าน. ก่อนหน้านี้ ที่ปรึกษาของกษัตริย์ซาอูลพรรณนาเด็กหนุ่มดาวิดว่าไม่เพียง “ชำนาญในการดีด” พิณ แต่ยังเป็น “ทหารกล้าหาญชาญชัย, ทั้งเป็นคนรูปงาม, พูดจาเฉียบแหลม.”—1 ซามูเอล 16:18; 17:23, 24, 45-51; 18:5-7.
5. อะไรที่อาจทำให้ดาวิดเป็นคนทะนงตนได้ และเรารู้ได้อย่างไรว่าท่านไม่ได้เป็นคนเช่นนั้น?
5 ชื่อเสียง, หน้าตาดี, ความหนุ่มแน่น, พูดจาจับใจ, มีฝีมือทางดนตรี, ชำนาญในการรบ, เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า—ดูเหมือนว่าดาวิดมีครบทุกอย่าง. สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กล่าวมานี้อาจทำให้ท่านทะนงตนได้ทั้งสิ้น แต่ไม่มีสิ่งใดเลยที่ทำให้ท่านเป็นเช่นนั้น. ขอให้สังเกตคำตอบที่ดาวิดกล่าวแก่ซาอูล ซึ่งเสนอจะยกราชธิดาให้เป็นภรรยาของท่าน. ด้วยความถ่อมใจอย่างแท้จริง ดาวิดกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ใด? ประวัติแห่งข้าพเจ้าและพงศ์พันธุ์บิดาแห่งข้าพเจ้าในพวกยิศราเอลเป็นอย่างไร, จึงข้าพเจ้าจะได้เป็นราชบุตรเขยกษัตริย์?” (1 ซามูเอล 18:18) เมื่อให้อรรถาธิบายข้อคัมภีร์นี้ ผู้คงแก่เรียนคนหนึ่งเขียนว่า “ความหมายของดาวิดก็คือ ไม่ว่าจะด้วยภูมิหลัง, ด้วยเหตุฐานะทางสังคม, หรือเนื่องด้วยวงศ์ตระกูลของท่าน ไม่มีข้อใดที่ทำให้ท่านอ้างได้แม้แต่น้อยว่าคู่ควรกับเกียรติที่จะได้เป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์.”
6. เหตุใดเราควรปลูกฝังความถ่อมใจ?
6 ความถ่อมใจของดาวิดมาจากการยอมรับว่าพระยะโฮวาบทเพลงสรรเสริญ 144:3) ดาวิดสำนึกด้วยว่า ความยิ่งใหญ่ใด ๆ ที่ท่านอาจได้มานั้นก็เพียงเพราะพระยะโฮวาทรงสำแดงความถ่อมพระทัย โน้มพระองค์ลงมาค้ำจุน, ปกป้อง, และคอยดูแลท่าน. (บทเพลงสรรเสริญ 18:35) นั่นเป็นบทเรียนอันดีเยี่ยมสำหรับเราจริง ๆ! ความสามารถพิเศษของเรา, การบรรลุความสำเร็จของเรา, และสิทธิพิเศษของเรา ไม่ควรทำให้เราหยิ่ง. อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “มีอะไรบ้างที่ท่านมิได้รับเล่า? ถ้าท่านได้รับแล้ว, เหตุไฉนท่านจึงอวดเหมือนมิได้รับเลย?” (1 โกรินโธ 4:7) เพื่อจะได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าและความพอพระทัยจากพระองค์ เราต้องปลูกฝังและรักษาไว้ซึ่งความถ่อมใจ.—ยาโกโบ 4:6.
ทรงเหนือกว่ามากในทุกทางเมื่อเทียบกับมนุษย์ไม่สมบูรณ์. ดาวิดประหลาดใจที่พระเจ้าถึงกับเอาพระทัยใส่มนุษย์. (“อย่าแก้แค้นเสียเอง”
7. ดาวิดมีโอกาสอย่างไรที่จะสังหารกษัตริย์ซาอูล?
7 ขณะที่ชื่อเสียงของดาวิดไม่ได้ทำให้ท่านทะนงตน แต่ก่อให้เกิดความอิจฉาอย่างยิ่งแก่กษัตริย์ซาอูล ผู้ซึ่งพระวิญญาณของพระเจ้าไม่ได้สถิตอยู่ด้วยแล้ว. ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิด ดาวิดจำต้องหนีเอาตัวรอด และพักอาศัยตามถิ่นทุรกันดาร. ในโอกาสหนึ่ง ระหว่างการตามล่าดาวิดอย่างไม่ละลด กษัตริย์ซาอูลเข้าไปในถ้ำ โดยไม่รู้ว่าดาวิดกับพรรคพวกซ่อนตัวอยู่ในนั้น. พวกของดาวิดเร่งเร้าท่านให้ฉวยโอกาสซึ่งดูเหมือนว่าพระเจ้ามอบให้นี้เพื่อสังหารซาอูล. เราสามารถนึกภาพพวกเขาว่ากำลังอยู่ในความมืดมิด และกระซิบบอกแก่ดาวิดว่า “วันนี้เป็นวันกำหนดที่พระยะโฮวาทรงตรัสแก่ท่านว่า, เราจะมอบศัตรูไว้ในอำนาจของเจ้า, ให้เจ้าทำแก่เขาตามชอบใจ.”—1 ซามูเอล 24:2-6.
8. เหตุใดดาวิดจึงยับยั้งตัวไม่ทำการแก้แค้น?
8 ดาวิดปฏิเสธที่จะทำอันตรายแก่ซาอูล. โดยแสดงความวางใจและการอดทนคอย ท่านพอใจที่จะปล่อยเรื่องนี้ไว้ในพระหัตถ์พระยะโฮวา. หลังจากกษัตริย์ออกไปจากถ้ำ ดาวิดร้องเรียกกษัตริย์และทูลว่า “ขอพระยะโฮวาทรงโปรดเป็นผู้พิพากษาท่ามกลางข้าพเจ้ากับพระองค์เถิด, ขอพระยะโฮวาทรงโปรดแก้แค้นให้ข้าพเจ้า, แต่ส่วนมือของข้าพเจ้าจะไม่ถูกต้องท่านเลย.” (1 ซามูเอล 24:12) ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าซาอูลเป็นฝ่ายผิด ดาวิดไม่แก้แค้นเสียเอง อีกทั้งไม่กล่าวคำหยาบต่อซาอูลหรือพูดถึงเขาอย่างดูหมิ่น. ในโอกาสอื่น ๆ อีกหลายครั้ง ดาวิดยับยั้งตัวไม่ทำการแก้แค้นด้วยมือของตนเอง. แทนที่จะทำเช่นนั้น ท่านวางใจให้พระยะโฮวาเป็นผู้จัดการเรื่องราวให้เรียบร้อย.—1 ซามูเอล 25:32-34; 26:10, 11.
9. เหตุใดเราไม่ควรแก้แค้นถ้าเราประสบการต่อต้านหรือการข่มเหง?
9 เช่นเดียวกับดาวิด คุณอาจอยู่ในสภาพการณ์ที่ยุ่งยาก. คุณอาจถูกต่อต้านหรือข่มเหงจากเพื่อนนักเรียน, เพื่อนร่วมงาน, สมาชิกครอบครัว, หรือคนอื่น ๆ ที่มีความเชื่อต่างไป1 เปโตร 3:1) ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร จงมั่นใจว่าพระยะโฮวาทรงเห็นสภาพการณ์ของคุณ และจะทรงทำอะไรบางอย่างเพื่อจัดการกับเรื่องนั้นในเวลาที่พระองค์เห็นสมควร. อัครสาวกเปาโลเขียนดังนี้: “อย่าแก้แค้นเสียเอง พี่น้องที่รัก แต่จงหลีกทางให้พระพิโรธของพระเจ้า; เพราะมีเขียนไว้ว่า ‘การแก้แค้นเป็นของเรา; เราจะตอบแทน พระยะโฮวาตรัส.’ ”—โรม 12:19, ล.ม.
จากคุณ. จงอย่าทำการแก้แค้น. จงคอยท่าพระยะโฮวา ทูลขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์เพื่อช่วยคุณ. บางที คนที่ไม่เชื่ออาจจะประทับใจในความประพฤติที่ดีของคุณและเข้ามาเป็นผู้เชื่อถือ. (“จงฟังการตีสอน”
10. ดาวิดได้ตกเข้าสู่การทำบาปอย่างไร และท่านพยายามปกปิดบาปอย่างไร?
10 เวลาผ่านไป. ดาวิดกลายมาเป็นกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงอย่างมากและเป็นที่รักใคร่. แนวทางชีวิตที่ซื่อสัตย์อย่างโดดเด่นของท่าน อีกทั้งเพลงอันไพเราะต่าง ๆ ที่ท่านประพันธ์เพื่อสรรเสริญพระยะโฮวา อาจทำให้เราคิดได้อย่างง่ายดายว่าท่านเป็นคนที่จะไม่ตกเข้าสู่บาปร้ายแรง. กระนั้น ท่านตกเข้าสู่บาปร้ายแรงจริง ๆ. วันหนึ่ง ขณะอยู่บนดาดฟ้าพระราชวัง กษัตริย์เฝ้าดูหญิงงามคนหนึ่งที่อาบน้ำอยู่. ท่านสืบถามว่านางเป็นใคร. เมื่อรู้ว่านางคือบัธเซบะ และอูรียาสามีของนางออกไปรบ ดาวิดเรียกตัวนางให้มาเฝ้า และมีความสัมพันธ์กับนาง. ภายหลัง ท่านก็ได้ทราบว่านางตั้งครรภ์. นี่จะเป็นเรื่องอื้อฉาวที่ลือกระฉ่อนไปสักเพียงไรถ้าถูกเปิดเผย! ภายใต้พระบัญญัติของโมเซ การเล่นชู้เป็นความผิดที่มีโทษถึงประหาร. ดูเหมือนกษัตริย์คิดว่าจะปกปิดบาปนี้ไว้ได้. ท่านจึงส่งสารไปยังกองทัพ เรียกตัวอูรียากลับมายังกรุงเยรูซาเลม. ดาวิดหวังว่าอูรียาจะร่วมหลับนอนกับบัธเซบะ แต่ก็ไม่เป็นอย่างนั้น. บัดนี้ ดาวิดซึ่งกังวลใจอย่างหนัก ส่งอูรียากลับไปรบ พร้อมฝากจดหมายไปยังโยอาบ ผู้บัญชาการรบ. จดหมายนั้นสั่งให้ส่งอูรียาไปรบในจุดที่จะทำให้เขาเสียชีวิต. โยอาบทำตาม และอูรียาก็ถูกฆ่าตาย. หลังจากบัธเซบะสิ้นสุดช่วงการไว้ทุกข์ตามธรรมเนียมแล้ว ดาวิดก็รับนางไปเป็นภรรยา.—2 ซามูเอล 11:1-27.
11. นาธานเล่าเรื่องอะไรให้ดาวิดฟัง และดาวิดมีปฏิกิริยาเช่นไร?
11 แผนการนี้ดูเหมือนใช้ได้ผล แม้ดาวิดน่าจะรู้ว่าเรื่องราวทั้งสิ้นปรากฏแจ้งต่อพระยะโฮวา. (เฮ็บราย 4:13) หลายเดือนผ่านไป และเด็กก็เกิดมา. จากนั้น พระเจ้าใช้ผู้พยากรณ์นาธานไปหาดาวิด. ท่านผู้พยากรณ์เล่าให้กษัตริย์ฟังเรื่องชายมั่งมีที่มีแกะอยู่หลายตัวเอาแกะซึ่งเป็นที่รักตัวเดียวของชายยากจนไปฆ่าเสีย. เรื่องนี้ปลุกเร้าความรู้สึกของดาวิดอย่างยิ่งในเรื่องความยุติธรรม แต่ท่านไม่ได้เฉลียวใจถึงความหมายที่แฝงอยู่. ดาวิดพิพากษาตัดสินชายมั่งมีผู้นั้นทันที. ด้วยความเดือดดาล ท่านบอกแก่นาธานว่า “ผู้ทำการเช่นนี้ควรจะตาย.”—2 ซามูเอล 12:1-6.
12. พระยะโฮวาทรงประกาศการพิพากษาอะไรต่อดาวิด?
12 ท่านผู้พยากรณ์ตอบว่า “ท่านเองเป็นคนนั้นแหละ.” ดาวิดได้พิพากษาตัวท่านเอง. ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความโกรธแค้นของดาวิดถูกแทนที่อย่างฉับพลันด้วยความอับอายและความเสียใจอย่างท่วมท้น. ท่านตกตะลึงขณะที่ฟังนาธานประกาศการพิพากษาที่ไม่มีทางหนีพ้นจากพระยะโฮวา. ไม่มีคำประเล้าประโลมหรือคำปลอบโยน. ดาวิดได้ดูหมิ่นพระคำของพระยะโฮวาด้วยการกระทำสิ่งที่ชั่ว. ท่านได้ฆ่าอูรียาด้วยดาบของศัตรูมิใช่หรือ? ดาบจะไม่คลาดไปจากราชวงศ์ของดาวิด. ท่านได้ลอบเอาภรรยาของอูรียามาเป็น2 ซามูเอล 12:7-12.
ของตนมิใช่หรือ? การชั่วคล้าย ๆ กันจะบังเกิดกับท่าน ไม่ใช่อย่างลับ ๆ แต่อย่างเปิดเผย.—13. ดาวิดมีปฏิกิริยาเช่นไรต่อการตีสอนจากพระยะโฮวา?
13 ที่น่าชมดาวิดก็คือ ท่านไม่ได้ปฏิเสธความผิด. ท่านไม่ได้เกรี้ยวกราดต่อผู้พยากรณ์นาธาน. ท่านไม่ได้โทษคนอื่นหรือแก้ตัวในสิ่งที่ท่านทำลงไป. เมื่อเผชิญหน้ากับบาปของตน ดาวิดยอมรับผิดและกล่าวว่า “เราทำผิดเฉพาะพระยะโฮวาแล้ว.” (2 ซามูเอล 12:13) เพลงสรรเสริญ บท 51 แสดงถึงความปวดร้าวใจของท่านเนื่องจากการทำผิดและการกลับใจจากส่วนลึกของหัวใจ. ท่านวิงวอนต่อพระยะโฮวาว่า “ขออย่าทรงเหวี่ยงข้าพระองค์ไปเสียจากเบื้องพระพักตร์พระองค์ และขออย่าทรงนำวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ไปจากข้าพระองค์.” ท่านเชื่อมั่นว่า ด้วยความเมตตา พระยะโฮวาจะไม่ดูหมิ่น “ใจแตกและฟกช้ำ” เนื่องจากบาป. (บทเพลงสรรเสริญ 51:11, ฉบับแปลใหม่; 51:17) ดาวิดพึ่งพระวิญญาณของพระเจ้าต่อ ๆ ไป. แม้ว่าพระยะโฮวาไม่ได้ปกป้องดาวิดให้พ้นจากผลร้ายแรงของบาปที่ตามมา พระองค์ทรงอภัยให้ท่าน.
14. เราควรมีปฏิกิริยาเช่นไรต่อการตีสอนจากพระยะโฮวา?
14 เราทุกคนล้วนไม่สมบูรณ์ และทำบาปทุกคน. (โรม 3:23) บางครั้ง เราอาจตกเข้าสู่การทำบาปร้ายแรง เหมือนอย่างดาวิด. บิดาซึ่งรักบุตรตีสอนบุตรของตนฉันใด พระยะโฮวาทรงว่ากล่าวแก้ไขผู้ที่พยายามจะรับใช้พระองค์ฉันนั้น. อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการตีสอนจะเป็นประโยชน์ แต่ก็ไม่ง่ายที่จะยอมรับเอา. อันที่จริง บางครั้ง ทำให้ “เศร้าใจ.” (เฮ็บราย 12:6, 11) กระนั้น ถ้าเรา “ฟังการตีสอน” เราจะสามารถคืนดีกับพระยะโฮวา. (สุภาษิต 8:33, ล.ม.) เพื่อจะได้รับความช่วยเหลือจากพระวิญญาณของพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป เราต้องยอมรับการว่ากล่าวแก้ไขและประพฤติให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า.
อย่าหวังพึ่งทรัพย์ที่ไม่แน่นอน
15. (ก) บางคนใช้ทรัพย์ของตนในทางใดบ้าง? (ข) ดาวิดปรารถนาจะใช้ทรัพย์สินของท่านอย่างไร?
15 ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าดาวิดมีภูมิหลังมาจากชนชั้นสูงหรือจากครอบครัวที่มั่งคั่ง. กระนั้น ระหว่างรัชกาลของท่าน ดาวิดได้มาซึ่งทรัพย์สมบัติมากมาย. ดังที่คุณทราบ หลายคนสะสมทรัพย์, กระหายจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ, หรือใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น. บางคนใช้เงินทองของตนเพื่อทำให้ตัวเองได้รับการยกย่องสรรเสริญ. (มัดธาย 6:2) ดาวิดใช้ทรัพย์สินของท่านในวิธีที่ต่างออกไป. ท่านปรารถนาจะถวายพระเกียรติพระยะโฮวา. ดาวิดบอกแก่นาธานถึงความปรารถนาของท่านที่จะสร้างพระวิหารแด่พระยะโฮวาเพื่อบรรจุหีบสัญญาไมตรี ซึ่งขณะนั้น “อยู่ในผ้าม่านเต็นท์” ณ กรุงเยรูซาเลม. พระยะโฮวาพอพระทัยกับความตั้งใจของดาวิด แต่ตรัสแก่ท่านผ่านทางนาธานว่า การสร้างพระวิหารจะตกเป็นหน้าที่ของซะโลโมราชบุตรดาวิด.—2 ซามูเอล 7:1, 2, 12, 13, ฉบับแปลใหม่.
16. ดาวิดได้เตรียมการอะไรไว้เพื่อการสร้างพระวิหาร?
16 ดาวิดรวบรวมวัสดุที่จะใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่นี้. ดาวิดบอกซะโลโมว่า “เราได้จัดเตรียมของไว้สำหรับพระวิหารของพระยะโฮวา, มีทองคำหนักแสนตะลันต์, เงินหนักล้านตะลันต์; กับทองเหลืองและเหล็กเหลือที่จะชั่ง * (1 โครนิกา 22:14; 29:3, 4) การบริจาคอย่างเหลือล้นของดาวิดไม่ได้เป็นการโอ้อวด แต่เป็นการแสดงความเชื่อและความเลื่อมใสต่อพระยะโฮวาพระเจ้า. โดยยอมรับแหล่งแห่งความมั่งคั่งของท่าน ท่านทูลพระยะโฮวาว่า “สรรพสิ่งย่อมเป็นมาจากพระองค์, ข้าพเจ้าทั้งหลายนำแต่ของที่มาจากพระหัตถ์ของพระองค์มาถวาย.” (1 โครนิกา 29:14) ความใจกว้างของดาวิดกระตุ้นท่านให้ทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อส่งเสริมการนมัสการอันบริสุทธิ์.
ได้; เพราะมีบริบูรณ์: ไม้และหินเราก็ได้จัดเตรียมไว้พร้อมแล้ว; และเจ้าจะได้เพิ่มเติมเข้าอีก.” ท่านบริจาคทองคำหนัก 3,000 ตะลันต์ และเงินหนัก 7,000 ตะลันต์ จากทรัพย์ส่วนตัวของท่าน.17. คำแนะนำที่ 1 ติโมเธียว 6:17-19 ใช้ได้อย่างไรกับทั้งคนรวยและคนจน?
17 ในทำนองเดียวกัน ขอให้เราใช้ทรัพย์สินของเราเพื่อทำการดี. แทนที่จะมุ่งติดตามแนวทางชีวิตที่ฝักใฝ่ฝ่ายวัตถุ นับว่าดีกว่าที่จะแสวงหาความพอพระทัยจากพระเจ้า อันเป็นแนวทางแห่งสติปัญญาและความสุขแท้. เปาโลเขียนว่า “จงกำชับคนเหล่านั้นซึ่งมั่งมีในระบบปัจจุบัน อย่าเป็นคนหัวสูง และฝากความหวังของตน ไม่ใช่กับทรัพย์ที่ไม่แน่นอน แต่กับพระเจ้า ผู้ทรงจัดสิ่งสารพัดให้เราอย่างบริบูรณ์เพื่อความชื่นชมยินดีของเรา; ให้ทำการดี, ให้ร่ำรวยในการงานอันดี, ให้เป็นคนใจกว้าง, พร้อมจะแบ่งปัน, โดยสะสมทรัพย์ประเสริฐอย่างปลอดภัยไว้สำหรับตนให้เป็นรากฐานอันดีสำหรับอนาคต เพื่อเขาจะยึดเอาชีวิตแท้ให้มั่น.” (1 ติโมเธียว 6:17-19, ล.ม.) ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจของเราเป็นเช่นไร ขอให้เราพึ่งพระวิญญาณของพระเจ้าและมุ่งติดตามแนวทางชีวิตที่จะทำให้เรา “มั่งมีจำเพาะพระเจ้า.” (ลูกา 12:21) ไม่มีอะไรจะมีค่ายิ่งไปกว่าการมีฐานะอันเป็นที่พอพระทัยพระบิดาฝ่ายสวรรค์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักของเรา.
สำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า
18. ดาวิดวางตัวอย่างที่ดีเยี่ยมแก่คริสเตียนในทางใด?
18 ตลอดชีวิตของดาวิด ท่านแสวงหาความพอพระทัยจากพระเจ้า. ท่านร้องเป็นเพลงว่า “ขอทรงโปรดปรานข้าพเจ้า ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงโปรดปรานข้าพเจ้า ด้วยว่าข้าพเจ้าหลบภัยอยู่ในพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 57:1, ล.ม.) การที่ท่านพึ่งในพระยะโฮวาไม่สูญเปล่า. ดาวิดแก่ตัวลงพร้อมกับ “พึงพอใจกับชีวิต.” (1 โครนิกา 23:1, ล.ม.) แม้ดาวิดกระทำผิดพลาดร้ายแรง ท่านเป็นที่ระลึกถึงฐานะหนึ่งในพยานหลาย ๆ คนของพระเจ้าที่แสดงความเชื่ออย่างโดดเด่น.—เฮ็บราย 11:32.
19. เราสามารถสำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้าโดยวิธีใด?
19 ขณะที่คุณประสบสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปในชีวิต ขออย่าลืมว่า เช่นเดียวกับที่พระยะโฮวาทรงค้ำจุน, เสริมกำลัง, และว่ากล่าวแก้ไขดาวิด พระองค์สามารถทำเช่นเดียวกันนั้นเพื่อคุณ. อัครสาวกเปาโลประสบการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิตเช่นเดียวกับดาวิด. กระนั้น ท่านก็ยังคงรักษาความซื่อสัตย์ไว้โดยพึ่งพระวิญญาณของพระเจ้าเช่นกัน. ท่านเขียนว่า “ข้าพเจ้ามีกำลังสำหรับทุกสิ่งโดยพระองค์ผู้ทรงประทานพลังให้ข้าพเจ้า.” (ฟิลิปปอย 4:12, 13, ล.ม.) ถ้าเราพึ่งพระยะโฮวา พระองค์จะช่วยเราประสบความสำเร็จ. พระองค์ประสงค์ให้เราประสบความสำเร็จ. ถ้าเราเชื่อฟังและเข้าใกล้พระองค์ พระองค์จะประทานพลังแก่เราเพื่อจะทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์. และถ้าเราพึ่งพระวิญญาณของพระเจ้าเรื่อยไป เราจะสามารถ “สำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า” ทั้งในปัจจุบันและตลอดอนาคตกาล.—2 ติโมเธียว 2:15, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 16 สิ่งที่ดาวิดบริจาคมีมูลค่ามากกว่า 1,200,000,000 ดอลลาร์สหรัฐตามค่าเงินในปัจจุบัน.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เราจะระวังไม่ให้ตนเองกลายเป็นคนหยิ่งทะนงได้อย่างไร?
• เหตุใดเราไม่ควรแก้แค้นเสียเอง?
• เราควรมีทัศนะเช่นไรต่อการตีสอน?
• เหตุใดเราควรฝากความหวังไว้กับพระเจ้า ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16, 17]
ดาวิดพึ่งพระวิญญาณของพระเจ้าและแสวงหาความพอพระทัยจากพระองค์. คุณกำลังทำอย่างเดียวกันนั้นไหม?
[ภาพหน้า 18]
“สรรพสิ่งย่อมเป็นมาจากพระองค์, ข้าพเจ้าทั้งหลายนำแต่ของที่มาจากพระหัตถ์ของพระองค์มาถวาย”