“จงสวมยุทธภัณฑ์ครบชุดจากพระเจ้า”
“จงสวมยุทธภัณฑ์ครบชุดจากพระเจ้า”
“จงสวมยุทธภัณฑ์ครบชุดจากพระเจ้า เพื่อท่านจะสามารถยืนมั่นต่อต้านยุทธอุบาย ของพญามารได้.”—เอเฟโซ 6:11, ล.ม.
1, 2. โดยใช้คำพูดของคุณเอง จงพรรณนายุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณที่คริสเตียนต้องสวมใส่.
โรมเรืองอำนาจที่สุดในช่วงศตวรรษแรกแห่งสากลศักราช. ความแข็งแกร่งของกองทัพโรมันทำให้กรุงนั้นมีอำนาจครอบครองอาณาเขตกว้างใหญ่ของโลกเท่าที่รู้จักกันในเวลานั้น. นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งพรรณนากองทัพโรมันว่าเป็น “กองทัพที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์.” กองทัพทหารอาชีพของโรมประกอบด้วยทหารที่อยู่ในระเบียบวินัยซึ่งผ่านการฝึกอย่างหนัก แต่ความสำเร็จในการรบอย่างมีประสิทธิภาพของพวกเขาขึ้นอยู่กับยุทธภัณฑ์ด้วย. อัครสาวกเปาโลใช้ยุทธภัณฑ์ของทหารโรมันเป็นตัวอย่างแสดงถึงยุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณที่จำเป็นสำหรับคริสเตียนเพื่อจะประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับพญามาร.
2 เราพบคำพรรณนาเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณนี้ที่เอเฟโซ 6:14-17. เปาโลเขียนดังนี้: “จงยืนมั่น, เอาความจริงคาดเอวไว้, เอาความชอบธรรมเป็นเครื่องทับทรวง [“เกราะ,” ล.ม.] ป้องกันอกไว้, และเอากิตติคุณแห่งสันติสุขซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความพร้อมเพรียง [“ความพร้อมในการประกาศข่าวดีแห่งสันติสุข,” ล.ม.] มาสวมเป็นรองเท้า และนอกนั้นจงเอาความเชื่อเป็นโล่, ด้วยโล่นั้นจะได้ดับลูกศรเพลิงของพญามารเสีย. และจงเอาความรอดเป็นเครื่องป้องกันศีรษะไว้, และจงถือพระแสงของ [“ดาบแห่ง,” ล.ม.] พระวิญญาณคือพระคำของพระเจ้า.” เมื่อมองในแง่ตามตัวอักษร ยุทธภัณฑ์ที่เปาโลกล่าวถึงให้การป้องกันแก่ทหารโรมันมากทีเดียว. นอกจากนี้ ทหารยังใช้ดาบเป็นอาวุธหลักในการต่อสู้แบบตัวต่อตัวด้วย.
3. เหตุใดเราควรเชื่อฟังพระบัญชาของพระเยซูคริสต์และดำเนินตามแบบอย่างของพระองค์?
3 นอกจากยุทธภัณฑ์และการฝึกแล้ว ความสำเร็จของกองทัพโรมันขึ้นอยู่กับการที่ทหารเชื่อฟังผู้บัญชาการ. คล้ายกัน คริสเตียนต้องเชื่อฟังพระเยซูคริสต์ ผู้ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลพรรณนาว่าเป็น “ผู้บัญชาการเพื่อชนชาติทั้งปวง.” (ยะซายา 55:4, ฉบับแปลใหม่) พระองค์เป็น “ประมุขของประชาคม” ด้วย. (เอเฟโซ 5:23, ล.ม.) พระเยซูทรงบัญชาเราในการทำสงครามฝ่ายวิญญาณ และเป็นแบบอย่างอันสมบูรณ์พร้อมถึงวิธีสวมยุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณ. (1 เปโตร 2:21) เนื่องจากบุคลิกภาพแบบพระคริสต์คล้ายกันมากกับยุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณของเรา พระคัมภีร์จึงแนะนำเราให้เอาเจตคติแบบพระคริสต์เป็น “อาวุธ” สำหรับตัวเราเอง. (1 เปโตร 4:1) ดังนั้น ขณะที่เราพิจารณายุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณแต่ละชิ้น เราจะใช้แบบอย่างของพระเยซูเพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญและประสิทธิภาพของยุทธภัณฑ์แต่ละชิ้นนั้น.
ป้องกันเอว, อก, และเท้า
4. สายคาดเอวในยุทธภัณฑ์ของทหารมีประโยชน์ในทางใด และใช้แสดงถึงอะไร?
4 เอาความจริงคาดเอวไว้. ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล ทหารจะคาดเข็มขัดหนังหรือสายคาดเอว ซึ่งกว้างตั้งแต่สองถึงหกนิ้ว. ผู้แปลบางคนเสนอแนะว่าข้อนี้ควรแปลว่า “เอาความจริงเป็นเข็มขัดคาดเอวไว้.” เข็มขัดของทหารช่วยป้องกันส่วนเอวและท้องของเขา และใช้เป็นที่เหน็บดาบได้สะดวก. เมื่อทหารคาดเอว เขาก็กำลังเตรียมตัวเพื่อจะออกรบ. เปาโลใช้เข็มขัดของทหารเพื่อแสดงให้เห็นว่าความจริงในพระคัมภีร์ควรส่งผลกระทบชีวิตของเราถึงขนาดไหน. เราควรคาดเข็มขัดโดยนัยนั้นไว้แน่นกับเอว เพื่อเราจะดำเนินชีวิตประสานกับความจริงและปกป้องความจริงได้ทุกเมื่อ. (บทเพลงสรรเสริญ 43:3; 1 เปโตร 3:15) เพื่อจะเป็นเช่นนั้นได้ เราต้องหมั่นศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและใคร่ครวญสิ่งที่กล่าวในพระคำนั้น. พระเยซูมีบัญญัติของพระเจ้า ‘อยู่ในใจพระองค์.’ (บทเพลงสรรเสริญ 40:8) เมื่อถูกผู้ต่อต้านซักถาม พระองค์จึงสามารถตอบได้โดยยกข้อคัมภีร์จากความทรงจำ.—มัดธาย 19:3-6; 22:23-32.
5. จงอธิบายว่าคำแนะนำจากพระคัมภีร์ช่วยเราได้อย่างไรเมื่อเผชิญการทดลองหรือการล่อใจ.
5 เมื่อเราให้ความจริงจากคัมภีร์ไบเบิลนำทางเรา ความจริงนั้นจะป้องกันเราไม่ให้ชักเหตุผลผิด ๆ และช่วยเราตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุม. ระหว่างที่ประสบการล่อใจหรือการทดลอง คำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิลจะเสริมความตั้งใจแน่วแน่ของเราที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง. เหมือนกับว่าเราได้เห็นพระยะโฮวาพระบรมครูของเรา และได้ยินเสียงแนะมาข้างหลังเราว่า “ทางนี้แหละ; เดินไปเถอะ!”—ยะซายา 30:20, 21.
6. ทำไมหัวใจโดยนัยของเราจึงจำเป็นต้องได้รับการปกป้อง และความชอบธรรมจะป้องกันหัวใจอย่างบังเกิดผลได้อย่างไร?
6 ความชอบธรรมเป็นเกราะป้องกันอก. เกราะป้องกันอกของทหารป้องกันอวัยวะที่สำคัญคือหัวใจ. หัวใจโดยนัยของเรา ซึ่งหมายถึงบุคคลที่เราเป็นอยู่ภายใน จำเป็นต้องได้รับการป้องกันเป็นพิเศษ เพราะมีความโน้มเอียงที่จะทำสิ่งผิด. (เยเนซิศ 8:21) ด้วยเหตุนี้ เราต้องเรียนรู้และรักมาตรฐานความชอบธรรมของพระยะโฮวา. (บทเพลงสรรเสริญ 119:97, 105) ความรักต่อความชอบธรรมช่วยเราให้ปฏิเสธทัศนคติแบบโลกที่เมินเฉยหรือดูเบาคำชี้นำที่ชัดแจ้งของพระยะโฮวา. ยิ่งกว่านั้น เมื่อเรารักความดีและชังความชั่ว เราจะหลีกเลี่ยงการติดตามแนวทางที่จะก่อความเสียหายแก่ชีวิตของเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 119:99-101; อาโมศ 5:15) พระเยซูเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เนื่องจากพระคัมภีร์กล่าวถึงพระองค์ว่า “พระองค์ได้ทรงรักความชอบธรรม, และได้ทรงเกลียดชังการอธรรม.”—เฮ็บราย 1:9. *
7. ทำไมทหารโรมันจำเป็นต้องมีรองเท้าอย่างดี และรองเท้านี้แสดงถึงอะไร?
7 เอาความพร้อมในการประกาศข่าวดีแห่งสันติสุขมาสวมเป็นรองเท้า. ทหารโรมันจำเป็นต้องสวมใส่รองเท้าที่ทนทาน เนื่องจากในช่วงเตรียมทำศึก บ่อยครั้งที่ทหารจะเดินทัพเป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตรในแต่ละวัน พร้อมกับสวมหรือแบกยุทธภัณฑ์และสัมภาระที่หนักราว 27 กิโลกรัม. เหมาะที่เปาโลใช้รองเท้าเพื่อแสดงถึงความพร้อมของเราในการประกาศข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรแก่ทุกคนที่จะฟัง. นี่เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากผู้คนจะรู้จักพระยะโฮวาได้อย่างไรกัน ถ้าเราไม่โรม 10:13-15.
พร้อมและไม่เต็มใจจะประกาศ?—8. เราจะเลียนแบบอย่างพระเยซูในฐานะผู้ประกาศข่าวดีได้อย่างไร?
8 อะไรคือกิจกรรมสำคัญที่สุดในชีวิตของพระเยซู? พระองค์บอกแก่ปนเตียวปีลาตผู้ว่าราชการชาวโรมันว่า ‘เราเข้ามาในโลกเพื่อจะให้คำพยานถึงความจริง.’ พระเยซูประกาศทุกโอกาสเมื่อพระองค์พบใครสักคนที่พร้อมจะฟัง และพระองค์ชื่นชมยินดีในงานรับใช้ของพระองค์อย่างมาก ถึงกับให้งานนี้มีความสำคัญยิ่งกว่าความจำเป็นฝ่ายร่างกายของพระองค์. (โยฮัน 4:5-34; 18:37, ล.ม.) หากเราเป็นเช่นเดียวกับพระเยซู คือกระตือรือร้นที่จะประกาศข่าวดี เราจะพบโอกาสมากมายในการบอกข่าวดีแก่คนอื่น ๆ. นอกจากนี้ การที่เราทุ่มเทตัวในงานรับใช้จะช่วยเราให้เข้มแข็งฝ่ายวิญญาณอยู่เสมอ.—กิจการ 18:5.
โล่, หมวกเกราะ, และดาบ
9. โล่ใหญ่ให้การปกป้องอะไรแก่ทหารโรมัน?
9 ความเชื่อเป็นโล่. คำภาษากรีกที่มีการแปลว่า “โล่” ในที่นี้ หมายถึงโล่ที่มีขนาดใหญ่พอจะกำบังได้เกือบทั้งตัว. โล่ใหญ่นี้จะป้องกัน “ลูกศรเพลิง” ที่มีการกล่าวถึงในเอเฟโซ 6:16. ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล ทหารใช้ลูกศรที่ทำจากไม้อ้อที่กลวง มีกระเปาะเหล็กเล็ก ๆ สำหรับบรรจุน้ำมันที่ติดไฟ. ผู้คงแก่เรียนคนหนึ่งกล่าวถึงลูกศรดังกล่าวว่าเป็น “อาวุธที่อันตรายมากที่สุดอย่างหนึ่งในสงครามยุคโบราณ.” ถ้าทหารไม่มีโล่ใหญ่เพื่อกำบังตัวจากลูกศรชนิดนี้ เขาอาจบาดเจ็บสาหัสหรือถึงกับเสียชีวิต.
10, 11. (ก) “ลูกศรเพลิง” อะไรบ้างของซาตานที่อาจทำให้ความเชื่อของเราอ่อนลงได้? (ข) แบบอย่างของพระเยซูแสดงให้เห็นอย่างไรถึงความสำคัญของความเชื่อในช่วงที่ประสบการทดลอง?
10 ซาตานใช้อะไรเป็น “ลูกศรเพลิง” เพื่อทำให้ความเชื่อของเราอ่อนลง? มันอาจปลุกเร้าให้เกิดการข่มเหงหรือการต่อต้านภายในครอบครัว, ที่ทำงาน, หรือที่โรงเรียน. นอกยะโฮซูอะ 23:14; ลูกา 17:5; โรม 10:17.
จากนี้ ความอยากได้ใคร่มีสิ่งฝ่ายวัตถุมากขึ้น และการล่อใจให้ประพฤติผิดศีลธรรม ได้ก่อความหายนะฝ่ายวิญญาณแก่คริสเตียนบางคนมาแล้ว. “นอกนั้น” เราต้อง “เอาความเชื่อเป็นโล่” เพื่อป้องกันตัวจากอันตรายดังกล่าว. ความเชื่อเป็นผลจากการเรียนรู้เรื่องพระยะโฮวา, การติดต่อกับพระองค์เป็นประจำด้วยการอธิษฐาน, และการมองออกว่าพระองค์ปกป้องและอวยพรเราอย่างไร.—11 เมื่อพระเยซูอยู่บนแผ่นดินโลก พระองค์แสดงให้เห็นความสำคัญของการมีความเชื่อเข้มแข็งในช่วงที่ประสบความยุ่งยากอย่างหนัก. พระองค์ไว้ใจเต็มที่ในการตัดสินพระทัยของพระบิดาและยินดีทำตามพระประสงค์ของพระองค์. (มัดธาย 26:42, 53, 54; โยฮัน 6:38) แม้เมื่อทุกข์ใจอย่างหนักในสวนเกทเซมาเน พระเยซูทูลพระบิดาของพระองค์ว่า “อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพเจ้า, แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์.” (มัดธาย 26:39) พระเยซูไม่เคยลืมความสำคัญของการรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงและการทำให้พระบิดาของพระองค์ปีติยินดี. (สุภาษิต 27:11) ถ้าเราเชื่อมั่นในพระยะโฮวาในทำนองเดียวกัน เราจะไม่ปล่อยให้การวิพากษ์วิจารณ์หรือการต่อต้านมาทำให้ความเชื่อของเราอ่อนลง. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ความเชื่อของเราจะได้รับการเสริมหากเราไว้วางใจพระเจ้า, แสดงความรักต่อพระองค์, และรักษาข้อบัญญัติของพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 19:7-11; 1 โยฮัน 5:3) ผลประโยชน์ฝ่ายวัตถุหรือความเพลิดเพลินชั่วระยะสั้น ๆ ไม่อาจจะเปรียบได้เลยกับพระพรจากพระยะโฮวาที่มีไว้สำหรับผู้ที่รักพระองค์.—สุภาษิต 10:22.
12. หมวกเกราะโดยนัยป้องกันส่วนสำคัญส่วนใดของเรา และทำไมการป้องกันดังกล่าวจึงมีความสำคัญ?
12 เอาความรอดเป็นเครื่องป้องกันศีรษะ. หมวกเกราะ1 เธซะโลนิเก 5:8) แม้นว่าเราเปลี่ยนความคิดจิตใจของเราใหม่แล้วโดยทางความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระคำของพระเจ้า แต่เรายังเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์และอ่อนแอ. ความคิดของเราเสื่อมทรามได้ง่าย. เป้าหมายที่ระบบนี้ส่งเสริมอาจทำให้เราเขวไป หรือกระทั่งเข้ามาแทนที่ความหวังของเราที่พระเจ้าประทานให้. (โรม 7:18; 12:2) พญามารพยายามทำให้พระเยซูเขวไปจากเป้าหมาย โดยเสนอ “บรรดาประเทศในโลกทั้งสง่าราศีของประเทศเหล่านั้น” ให้พระองค์ แต่มันไม่ประสบความสำเร็จ. (มัดธาย 4:8) พระเยซูปฏิเสธข้อเสนออย่างเด็ดขาด และเปาโลได้กล่าวถึงพระองค์ว่า “เพราะเห็นแก่ความยินดีที่มีอยู่ตรงหน้านั้น พระองค์ได้ทรงทนเอากางเขน [“หลักทรมาน,” ล.ม.], ทรงถือว่าความละอายไม่เป็นสิ่งสำคัญอะไร, และได้เสด็จนั่งเบื้องขวาพระที่นั่งของพระเจ้าแล้ว.”—เฮ็บราย 12:2.
ป้องกันศีรษะและสมองของทหาร ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการใช้ความคิด. ความหวังสำหรับคริสเตียนเปรียบเหมือนหมวกเกราะเพราะความหวังปกป้องความคิดของเราไว้. (13. เราจะรักษาความมั่นใจในความหวังที่อยู่ตรงหน้าได้โดยวิธีใด?
13 ความมั่นใจแบบที่พระเยซูทรงมีนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเอง. หากเราบรรจุความคิดของเราด้วยความปรารถนาและเป้าหมายของระบบปัจจุบัน แทนที่จะมุ่งความคิดอยู่กับความหวังในอนาคต ความเชื่อของเราในคำสัญญาของพระเจ้าจะอ่อนลง. ในที่สุด เราอาจถึงกับสูญเสียความหวังไปอย่างสิ้นเชิง. ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราคิดใคร่ครวญคำสัญญาต่าง ๆ ของพระเจ้าเป็นประจำ เราจะชื่นชมยินดีอยู่เสมอในความหวังที่ตั้งไว้ตรงหน้าเรา.—โรม 12:12.
14, 15. (ก) ดาบโดยนัยของเราคืออะไร และจะใช้ดาบนี้อย่างไร? (ข) จงยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นวิธีที่ดาบแห่งพระวิญญาณช่วยเราต้านทานการล่อใจได้.
14 ดาบแห่งพระวิญญาณ. พระคำหรือข่าวสารของพระเจ้าที่บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลเปรียบเหมือนดาบสองคมที่ทรงพลังซึ่งสามารถโค่นคำสอนเท็จทางศาสนา และช่วยผู้มีหัวใจสุจริตให้เป็นอิสระฝ่ายวิญญาณ. (โยฮัน 8:32; เฮ็บราย 4:12) ดาบฝ่ายวิญญาณนี้ยังสามารถป้องกันตัวเราเมื่อถูกโจมตีด้วยการล่อใจหรือความพยายามของผู้ออกหากที่จะทำลายความเชื่อของเรา. (2 โกรินโธ 10:4, 5) เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่ ‘พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า และเตรียมเราไว้พร้อมสำหรับการงานที่ดีทุกอย่าง’!—2 ติโมเธียว 3:16, 17, ล.ม.
15 เมื่อถูกซาตานล่อใจในถิ่นทุรกันดาร พระเยซูใช้ดาบแห่งพระวิญญาณอย่างได้ผลเพื่อต้านทานการหาเหตุผลผิด ๆ และการล่อใจที่แยบยล. ในการล่อใจของซาตานแต่ละครั้ง พระองค์ตรัสตอบว่า “มีคำเขียนไว้ว่า.” (มัดธาย 4:1-11) ดาวิด พยานพระยะโฮวาคนหนึ่งในสเปน พบว่าพระคัมภีร์ช่วยเขาเอาชนะการล่อใจเช่นกัน. ตอนที่เขาอายุ 19 ปีนั้น สาวสวยคนหนึ่งที่ทำงานในบริษัททำความสะอาดแห่งเดียวกันกับเขา ชวนเขาให้ “มาสนุกกัน.” ดาวิดปฏิเสธข้อเสนอของเธอ และขอหัวหน้างานให้ย้ายเขาไปทำงานในส่วนอื่นเพื่อจะไม่ต้องเจอกับเหตุการณ์เช่นนั้นอีก. ดาวิดกล่าวว่า “ผมจำตัวอย่างของโยเซฟได้. ท่านปฏิเสธการทำผิดศีลธรรมและหนีออกมาทันที. ผมก็ทำแบบเดียวกัน.”—เยเนซิศ 39:11-13.
16. จงอธิบายเหตุผลที่เราต้องฝึกเพื่อจะ “ซื่อตรงในการที่ใช้คำแห่งความจริง.”
16 พระเยซูใช้ดาบแห่งพระวิญญาณเพื่อช่วยคนอื่น ๆ ให้โยฮัน 7:16) เพื่อจะเลียนแบบการสอนอย่างชำนิชำนาญของพระเยซู เราต้องฝึกฝน. โยเซฟุสนักประวัติศาสตร์ชาวยิวเขียนเกี่ยวกับทหารโรมันว่า “ทหารทุกคนฝึกรบทุกวัน และพวกเขาทำอย่างเอาจริงเอาจัง ราวกับว่ากำลังทำสงครามจริง ๆ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมพวกเขาสู้ทนความอ่อนล้าในการสู้รบได้อย่างสบาย ๆ.” ในสงครามฝ่ายวิญญาณของเรา เราต้องใช้คัมภีร์ไบเบิล. นอกจากนี้ เราต้องทำสุดความสามารถเพื่อ “สำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า, เป็นคนงานที่ไม่ต้องอาย, เพราะเป็นคนที่ซื่อตรงในการที่ใช้คำแห่งความจริงนั้น.” (2 ติโมเธียว 2:15) และเราได้รับความพึงพอใจมากสักเพียงไร เมื่อเราใช้พระคัมภีร์ตอบคำถามที่จริงใจของผู้สนใจ!
พ้นจากการครอบงำของซาตานด้วย. พระเยซูตรัสว่า “คำสอนของเราไม่เป็นของเราเอง, แต่เป็นของพระองค์ที่ทรงใช้เรามา.” (อธิษฐานในทุกโอกาส
17, 18. (ก) การอธิษฐานมีบทบาทเช่นไรในการต้านทานซาตาน? (ข) จงยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นคุณค่าของการอธิษฐาน.
17 หลังจากพิจารณายุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณครบชุดแล้ว เปาโลให้คำแนะนำที่สำคัญอีกประการหนึ่ง. ในการต้านทานซาตาน คริสเตียนควรใช้ประโยชน์จาก “คำอธิษฐานและคำวิงวอนทุกอย่าง.” ควรทำเช่นนั้นบ่อยแค่ไหน? เปาโลเขียนว่า “จงทูลอธิษฐานต่อไปด้วยพระวิญญาณในทุกโอกาส.” (เอเฟโซ 6:18, ล.ม.) เมื่อไรก็ตามที่เราเผชิญการล่อใจ, การทดลอง, หรือความท้อใจ การอธิษฐานจะช่วยเสริมกำลังเราอย่างมาก. (มัดธาย 26:41) พระเยซู “ได้ถวายคำอธิษฐานและคำวิงวอนด้วยทรงพระกันแสงมากมายและน้ำพระเนตรไหล, คือถวายแก่พระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์อาจที่จะช่วยพระองค์นั้นให้พ้นจากความตายได้, และพระเจ้าได้ทรงฟังเพราะพระองค์นั้นได้ยำเกรง.”—เฮ็บราย 5:7.
18 มีลาโกรส ซึ่งดูแลสามีของเธอที่ป่วยเรื้อรังมานานกว่า 15 ปีแล้ว กล่าวว่า “ยามที่ฉันท้อใจ ฉันจะเข้าเฝ้าพระยะโฮวาด้วยการอธิษฐาน. ไม่มีใครจะช่วยฉันได้มากเท่ากับพระองค์. ฉันยอมรับเหมือนกันว่าบางครั้งก็รู้สึกทนต่อไปไม่ไหวแล้ว. แต่ครั้งแล้วครั้งเล่า หลังจากอธิษฐานถึงพระยะโฮวา ฉันก็รู้สึกมีกำลังขึ้นมาอีกและรู้สึกดีขึ้น.”
19, 20. เราจำเป็นต้องมีอะไรเพื่อจะมีชัยในการต่อสู้กับซาตาน?
19 พญามารรู้ว่าเวลาของมันมีน้อย และมันพยายามหนักขึ้นที่จะเอาชนะเรา. (วิวรณ์ 12:12, 17) เราต้องต้านทานศัตรูที่มีกำลังมากผู้นี้ และ “เข้าในการปล้ำสู้อย่างดีอันเกี่ยวกับความเชื่อนั้น.” (1 ติโมเธียว 6:12) เพื่อจะทำเช่นนี้ เราต้องมีกำลังที่มากกว่าปกติ. (2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.) นอกจากนี้ เราจำเป็นต้องได้ความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ และด้วยเหตุนี้ เราจึงควรอธิษฐานขอพระวิญญาณ. พระเยซูตรัสว่า “ถ้าท่านเองผู้เป็นคนบาปยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตน, ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์จะประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่คนทั้งปวงที่ขอจากพระองค์.”—ลูกา 11:13.
20 เห็นได้ชัดว่า การสวมยุทธภัณฑ์ครบชุดที่พระยะโฮวาจัดให้นับว่าจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเรา. การสวมยุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณนี้เรียกร้องให้เราพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ ที่พระเจ้าพอพระทัย เช่น ความเชื่อและความชอบธรรม. เราต้องรักความจริงประหนึ่งว่าเอาความจริงคาดเอวไว้ เพื่อจะพร้อมในการเผยแพร่ข่าวดีทุกเมื่อ และคำนึงถึงความหวังในอนาคตอยู่เสมอ. เราต้องเรียนรู้ที่จะใช้ดาบแห่งพระวิญญาณอย่างชำนิชำนาญ. โดยการสวมยุทธภัณฑ์ครบชุดจากพระเจ้า เราจะมีชัยในการต่อสู้กับบรรดาวิญญาณชั่วและสามารถนำพระเกียรติมาสู่พระนามบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาได้อย่างแท้จริง.—โรม 8:37-39.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 6 ในคำพยากรณ์ของยะซายา พระยะโฮวาเองได้รับการพรรณนาว่าสวม “ความยุติธรรมต่างเสื้อเกราะ.” พระองค์จึงทรงเรียกร้องให้เหล่าผู้ดูแลในประชาคมจัดการเรื่องราวต่าง ๆ อย่างยุติธรรมและประพฤติอย่างชอบธรรม.—ยะซายา 59:14, 15, 17.
คุณจะตอบอย่างไร?
• ใครเป็นแบบอย่างดีที่สุดในการสวมยุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณ และทำไมเราควรพิจารณาแบบอย่างของผู้นี้อย่างถี่ถ้วน?
• เราจะปกป้องความคิดกับหัวใจโดยนัยของเราได้อย่างไร?
• เราจะชำนิชำนาญในการใช้ดาบแห่งพระวิญญาณได้โดยวิธีใด?
• เหตุใดเราควรอธิษฐานต่อไปในทุกโอกาส?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 17]
การหมั่นศึกษาพระคัมภีร์จะช่วยกระตุ้นเราให้ประกาศข่าวดีในทุกโอกาส
[ภาพหน้า 18]
ความหวังอันแน่นอนช่วยเราเผชิญการทดลองต่าง ๆ
[ภาพหน้า 19]
คุณใช้ “ดาบแห่งพระวิญญาณ” ในการประกาศไหม?