“ข้าแต่พระยะโฮวา, พระราชกิจของพระองค์มีเป็นอเนกประการจริง!”
ความสง่างามแห่งสิ่งทรงสร้างของพระยะโฮวา
“ข้าแต่พระยะโฮวา, พระราชกิจของพระองค์มีเป็นอเนกประการจริง!”
ไม่ว่าเราอยู่ในชนบทหรือในเมือง อยู่บนภูเขาหรือริมทะเล เราถูกห้อมล้อมด้วยสิ่งทรงสร้างที่สง่างามน่าเกรงขาม. เหมาะสมที่ปฏิทินของพยานพระยะโฮวาปี 2004 แสดงให้เห็นทัศนียภาพแห่งพระหัตถกิจที่น่าทึ่งของพระยะโฮวาพระเจ้าอย่างเด่นชัด.
คนที่หยั่งรู้ค่าได้แสดงความสนใจในพระราชกิจของพระเจ้าเสมอมา. ตัวอย่างเช่น ขอพิจารณาดูซะโลโม ผู้ซึ่งมีสติปัญญา “มากยิ่งกว่าสติปัญญาชาวประเทศทั้งปวงฝ่ายทิศตะวันออก.” คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “พระองค์ทรงกล่าวถึงเรื่องต้นไม้ทั้งปวง, ตั้งแต่ต้นสนซึ่งอยู่ ณ ภูเขาละบาโนนจนถึงต้นฮุซบซึ่งงอกบนกำแพง: พระองค์ทรงตรัสถึงสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย, นกและสัตว์เลื้อยคลานและปลาด้วย.” (1 กษัตริย์ 4:30, 33) กษัตริย์ดาวิด ราชบิดาของซะโลโมคิดรำพึงอยู่บ่อย ๆ ถึงผลงานที่ยอดเยี่ยมของพระเจ้า. ท่านได้รับการกระตุ้นให้ร้องออกมาถึงพระผู้สร้างของท่านว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, พระราชกิจของพระองค์มีเป็นอเนกประการจริง! พระองค์ได้ทรงกระทำการนั้นทั้งสิ้นโดยพระสติปัญญา: แผ่นดินโลกเต็มบริบูรณ์ไปด้วยทรัพย์อันมั่งคั่งของพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 104:24. *
เราควรสังเกตและคิดรำพึงถึงสิ่งทรงสร้างด้วยเช่นกัน. ตัวอย่างเช่น เราอาจ “เงยหน้ามองขึ้นไป” แล้วถามว่า “ใครได้สร้างสิ่งเหล่านี้?” จริง ๆ แล้ว ผู้นั้นคือพระยะโฮวาพระเจ้า ผู้ทรงมี “อานุภาพอันใหญ่ยิ่ง” และทรงมี “ฤทธิ์เดชอันแรงกล้า” อย่างแท้จริง!—ยะซายา 40:26.
การคิดรำพึงถึงผลงานสร้างสรรค์ของพระยะโฮวาควรมีผลต่อเราอย่างไร? อย่างน้อยก็ในสามประการ. การทำเช่นนี้ (1) เตือนเราให้นึกถึงการทะนุถนอมชีวิตของเรา, (2) กระตุ้นเราช่วยคนอื่นให้เรียนรู้จากสิ่งทรงสร้าง, และ (3) กระตุ้นเราให้มีความเข้าใจและความสำนึกในพระคุณของพระผู้สร้างมากยิ่งขึ้น.
ชีวิตเราในฐานะมนุษย์ซึ่งเหนือกว่าชีวิตของ “สัตว์เดียรัจฉานที่ปราศจากความคิด” ทำให้เราสามารถสังเกตและเห็นคุณค่าความมหัศจรรย์ของสิ่งทรงสร้าง. (2 เปโตร 2:12) ตาของเราสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่งดงาม. หูของเราสามารถได้ยินเสียงนกร้องเพลงอันไพเราะ. และจิตสำนึกของเราในเรื่องเวลาและสถานที่ทำให้เรามีสิ่งเตือนใจที่กลายเป็นความทรงจำอันน่าอภิรมย์. ถึงแม้ชีวิตปัจจุบันของเราไม่สมบูรณ์ แต่ก็คู่ควรกับการดำรงอยู่อย่างแน่นอน!
บิดามารดาอาจเพลิดเพลินกับการที่บุตรตื่นตาตื่นใจกับสิ่งทรงสร้างโดยไม่เสแสร้ง. เด็ก ๆ ชอบเหลือเกินที่จะไปหาเปลือกหอยตามชายหาด, ลูบสัมผัสสัตว์, ปีนต้นไม้! บิดามารดาจะต้องการช่วยลูกน้อยให้เห็นความเกี่ยวพันกันระหว่างสิ่งทรงสร้างกับพระผู้สร้าง. ความเคารพยำเกรงและความนับถือต่อสิ่งทรงสร้างของพระยะโฮวาที่พัฒนาขึ้นในตัวเด็กจะคงอยู่กับพวกเขาไปตลอดชีวิต.—บทเพลงสรรเสริญ 111:2, 10.
เราคงจะเป็นคนมองอะไรตื้น ๆ หากเราชมชอบสิ่งทรงสร้างแต่ไม่ได้ถวายพระเกียรติแด่พระผู้สร้าง. คำพยากรณ์ของยะซายาช่วยเราให้ไตร่ตรองดูจุดสำคัญนี้ทีเดียวเมื่อกล่าวว่า “เจ้าไม่ได้รู้หรือ? เจ้ายังไม่ได้ยินหรือว่า, พระยะซายา 40:28.
ยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าที่ทรงพระชนม์อยู่เป็นนิจ, พระองค์เป็นผู้ทรงสร้างกระทั่งสุดปลายแผ่นดินโลก, พระองค์มิได้ทรงอิดโรยและอ่อนเปลี้ย. ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ถึงพระปัญญาของพระองค์ได้.”—ใช่แล้ว พระราชกิจของพระยะโฮวาให้หลักฐานแสดงถึงสติปัญญาอันหาที่เปรียบมิได้และอำนาจที่ไม่มีใดเทียบของพระองค์ รวมทั้งความรักอันลึกซึ้งที่พระองค์มีต่อเรา. เมื่อเราเห็นความสวยงามที่อยู่รอบตัวเราและสังเกตออกถึงคุณลักษณะของพระองค์ผู้ทรงสร้างสิ่งสารพัด ขอเราได้รับการกระตุ้นให้กล่าวเหมือนดาวิดที่ว่า “ข้าแต่พระเจ้า [“พระยะโฮวา,” ล.ม.] . . . หามีองค์ใดจะเหมือนพระองค์ไม่; หรือจะหากิจใด ๆ เหมือนกิจของพระองค์ก็หาไม่.”—บทเพลงสรรเสริญ 86:8.
เรามั่นใจได้ว่ามนุษย์ที่เชื่อฟังจะหลงใหลตรึงใจในผลงานสร้างสรรค์ของพระยะโฮวาอยู่เรื่อยไป. ตลอดนิรันดรกาล เราจะมีโอกาสไม่สิ้นสุดที่จะเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพระยะโฮวา. (ท่านผู้ประกาศ 3:11) และยิ่งเราเรียนรู้เกี่ยวกับพระองค์มากเท่าใด เราก็จะยิ่งรักพระผู้สร้างของเรามากขึ้นเท่านั้น.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 โปรดดูปฏิทินของพยานพระยะโฮวาปี 2004 พฤศจิกายน/ธันวาคม.
[กรอบหน้า 9]
คำสรรเสริญสำหรับพระผู้สร้าง
นักวิทยาศาสตร์ที่หยั่งรู้ค่าหลายคนยอมรับบทบาทของพระเจ้าในการทรงสร้าง. ต่อไปนี้เป็นบางตัวอย่าง:
“ผมจะประสบเหตุการณ์ที่โดดเด่นและมีความยินดีในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่ผมร่ำเรียนมาก็ในชั่วขณะที่ผมค้นพบอะไรใหม่ ๆ แล้วบอกตัวเองว่า ‘เอาละ พระเจ้าได้ทรงทำอย่างนั้นแหละ.’ เป้าหมายของผมก็เพื่อจะเข้าใจวิธีการของพระเจ้าในแง่มุมที่น้อยนิด.”—เฮนรี เชฟเฟอร์ ศาสตราจารย์ทางเคมี.
“ในเรื่องต้นเหตุการขยายตัวของเอกภพ ผู้อ่านต้องลงความเห็นเอาเอง แต่ความเข้าใจของเราในเรื่องต้นเหตุไม่ครบถ้วนหากปราศจากพระองค์ [พระเจ้า].”—เอดเวิร์ด มิลน์ นักจักรวาลวิทยาชาวอังกฤษ.
“เรารู้ว่าธรรมชาติได้รับการอธิบายโดยคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพราะพระเจ้าเป็นผู้สร้างธรรมชาติ.”—อะเล็กซานเดอร์ พอลยาคอฟ นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย.
“ในการศึกษาเกี่ยวกับวัตถุตามธรรมชาติ เรากำลังพิจารณาความคิดของพระผู้สร้าง, มารู้จักกับแนวคิดของพระองค์, อธิบายความหมายของระบบซึ่งเป็นของพระองค์ ไม่ใช่ของเรา.”—หลุยส์ อกัสซีส์ นักชีววิทยาชาวอเมริกัน.
[ภาพหน้า 8, 9]
เพนกวินเกนทู คาบสมุทรแอนตาร์กติก
[ภาพหน้า 9]
อุทยานแห่งชาติแกรนด์ทีตัน รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา
[ที่มาของภาพหน้า 9]
Jack Hoehn/Index Stock Photography