จงแสวงหาพระยะโฮวา ผู้ทรงตรวจดูหัวใจ
จงแสวงหาพระยะโฮวา ผู้ทรงตรวจดูหัวใจ
“จงแสวงหาเรา และดำรงชีวิตอยู่.”—อาโมศ 5:4, ฉบับแปลใหม่.
1, 2. ที่พระคัมภีร์กล่าวว่าพระยะโฮวา “ทรงเห็นว่าหัวใจเป็นเช่นไร” นั้นหมายความว่าอย่างไร?
พระยะโฮวาเจ้าตรัสแก่ผู้พยากรณ์ซามูเอลดังนี้: “มนุษย์เห็นสิ่งที่ปรากฏแก่ตา แต่พระยะโฮวาทรงเห็นว่าหัวใจเป็นเช่นไร.” (1 ซามูเอล 16:7, ล.ม.) ในความหมายใดที่ว่าพระยะโฮวา “ทรงเห็นว่าหัวใจเป็นเช่นไร”?
2 ในพระคัมภีร์ บ่อยครั้งหัวใจถูกใช้ในความหมายเป็นนัยแทนบุคคลที่เป็นอยู่ภายใน นั่นคือ ความปรารถนา, ความคิด, อารมณ์, และความรู้สึกของผู้นั้น. ดังนั้น เมื่อคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าพระเจ้าทรงเห็นหัวใจ นั่นหมายความว่า พระองค์ทรงมองลึกกว่าที่เห็นภายนอก และเพ่งเล็งไปที่บุคคลที่เราเป็นอยู่จริง ๆ.
พระเจ้าทรงตรวจดูชาติอิสราเอล
3, 4. มีสภาพเช่นไรในอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูล ตามที่กล่าวในอาโมศ 6:4-6?
3 เมื่อผู้ทรงตรวจดูหัวใจทอดพระเนตรลงมาพินิจอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูลในสมัยอาโมศ พระองค์ทรงเห็นอะไร? อาโมศ 6:4-6 กล่าวถึงคนที่กำลัง “นอนบนเตียงอัน ทำด้วยงา แลเหยียดตัวบนเก้าอี้นอน.” พวกเขา “กินลูกแกะแต่ฝูง ลูกโคแต่ท่ามกลางคอก.” คนเหล่านี้ได้ “คิดทำเครื่องเพลงสำหรับตัว” และกำลัง “ดื่มน้ำองุ่นในชาม.”
4 มองเผิน ๆ ทีแรก ก็อาจดูเหมือนเป็นภาพแห่งความสุขสำราญ. ด้วยบรรยากาศที่สุขสบายในบ้านที่ตกแต่งอย่างหรูหรา คนมั่งมีเพลิดเพลินกับอาหารและเครื่องดื่มชั้นเลิศ และได้รับการขับกล่อมจากเครื่องดนตรีชั้นยอด. พวกเขามี ‘เตียงที่ทำด้วยงาช้าง’ ด้วย. นักโบราณคดีขุดค้นพบงาช้างที่แกะสลักอย่างงามวิจิตรจำนวนหนึ่งในซะมาเรีย นครหลวงของอาณาจักรอิสราเอล. (1 กษัตริย์ 10:22) ในจำนวนเหล่านี้ ดูเหมือนว่าหลายชิ้นเคยติดอยู่กับเครื่องเรือนและฝังบนฉากกั้นห้อง.
5. เหตุใดพระเจ้าไม่พอพระทัยชาวอิสราเอลในสมัยอาโมศ?
5 พระยะโฮวาพระเจ้าไม่พอพระทัยกับการที่ชาวอิสราเอลมีชีวิตที่สุขสบาย, เพลิดเพลินกับอาหารรสอร่อย, ดื่มเหล้าองุ่นชั้นดี, และฟังดนตรีอันไพเราะอย่างนั้นไหม? เปล่าเลย! ที่จริง พระองค์ทรงประทานสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แก่มนุษย์อย่างบริบูรณ์เพื่อให้พวกเขาชื่นชมยินดี. (1 ติโมเธียว 6:17) ความปรารถนาในทางที่ผิดของชนในชาติ, สภาพหัวใจที่ชั่ว, ทัศนะที่ขาดความนับถือต่อพระเจ้า, และการขาดความรักต่อเพื่อนร่วมชาติชาวอิสราเอลนั้นต่างหากที่พระองค์ไม่พอพระทัย.
6. สภาพฝ่ายวิญญาณของอิสราเอลในสมัยอาโมศเป็นอย่างไร?
6 บรรดาผู้ที่ ‘เหยียดตัวบนเก้าอี้นอน, กินลูกแกะแต่ฝูง, ดื่มเหล้าองุ่น, และคิดทำเครื่องดนตรี’ จะประหลาดใจแน่. คนเหล่านี้ถูกถามว่า ‘เจ้าผัดวันร้ายให้เนิ่นไปหรือ?’ พวกเขาน่าจะทุกข์ใจกับสภาพการณ์ภายในอิสราเอล แต่พวกเขากลับ “ไม่เป็นทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโยเซฟ.” (อาโมศ 6:3-6) เมื่อมองทะลุผ่านความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของชาตินี้ที่เป็นภาพภายนอก พระเจ้าทรงเห็นว่าโยเซฟหรืออิสราเอลอยู่ในสภาพที่เสื่อมอย่างหนักทางฝ่ายวิญญาณ. กระนั้น ประชาชนก็ยังดำเนินกิจวัตรประจำวันของตนไปโดยไม่ทุกข์ร้อนอะไร. หลายคนในทุกวันนี้มีทัศนะคล้าย ๆ กันนั้น. พวกเขาอาจยอมรับว่าเรามีชีวิตอยู่ในยุคที่มีปัญหามากมาย แต่ตราบใดที่ปัญหาเหล่านั้นไม่ส่งผลกระทบต่อเขาโดยตรง เขาก็ไม่ใส่ใจว่าใครจะเดือดร้อนอย่างไร และไม่แสดงความสนใจต่อสิ่งฝ่ายวิญญาณด้วย.
อิสราเอล—ชาติที่เสื่อมลง
7. จะเกิดอะไรขึ้นถ้าประชาชนในชาติอิสราเอลไม่ใส่ใจคำเตือนของพระเจ้า?
7 พระธรรมอาโมศพรรณนาภาพของชาติที่กำลังเสื่อมลง แม้ว่าดูภายนอกกำลังเจริญรุ่งเรือง. เนื่องจากประชาชนในชาติไม่ใส่ใจคำเตือนของพระเจ้าและแก้ไขทัศนะของตน พระยะโฮวาจะไม่ปกป้องพวกเขาจากชาติศัตรูอีกต่อไป. ชาวอัสซีเรียจะมาฉุดพวกเขาออกจากเตียงงาช้างอันงดงามและลากตัวไปเป็นเชลย. ไม่มีชีวิตที่สุขสบายอีกต่อไปแล้วสำหรับพวกเขา!
8. อาณาจักรอิสราเอลตกเข้าสู่สภาพย่ำแย่ฝ่ายวิญญาณได้อย่างไร?
1 กษัตริย์ 11:26) ยาราบะอามโน้มน้าวพลเมืองในอาณาจักรของท่านว่า การเดินทางไปนมัสการพระยะโฮวาที่กรุงเยรูซาเลมเป็นเรื่องยากลำบากเกินไปสำหรับพวกเขา. แต่จริง ๆ แล้ว เขาไม่ได้เป็นห่วงสวัสดิภาพของประชาชน. เขาเพียงแต่พยายามปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง. (1 กษัตริย์ 12:26) ยาราบะอามกลัวว่าหากชาวอิสราเอลยังคงพากันไปที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเลมเพื่อฉลองเทศกาลประจำปีที่จัดขึ้นถวายพระยะโฮวา ในที่สุดพวกเขาอาจกลับไปสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรยูดาห์. เพื่อป้องกันการเอาใจออกห่างเช่นนั้น ยาราบะอามตั้งลูกวัวทองคำไว้สองรูป รูปหนึ่งที่เมืองดาน อีกรูปหนึ่งที่เมืองเบทเอล. การบูชารูปลูกวัวจึงได้กลายมาเป็นศาสนาประจำชาติของอาณาจักรอิสราเอล.—2 โครนิกา 11:13-15.
8 ชาวอิสราเอลตกเข้าสู่สภาพเช่นนี้ได้อย่างไร? สภาพดังกล่าวเริ่มพัฒนาขึ้นในปี 997 ก่อน ส.ศ. เมื่อระฮับอามสืบตำแหน่งต่อจากกษัตริย์ซะโลโมราชบิดา และสิบตระกูลของอิสราเอลแยกตัวออกจากตระกูลยูดาห์และเบ็นยามิน. กษัตริย์องค์แรกของอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูลคือยาราบะอามที่ 1 “บุตรนะบาต.” (9, 10. (ก) กษัตริย์ยาราบะอามที่ 1 จัดให้มีเทศกาลฉลองอะไรทางศาสนา? (ข) พระเจ้ามีทัศนะเช่นไรต่อเทศกาลฉลองที่จัดขึ้นในอิสราเอลในรัชกาลของยาราบะอามที่ 2?
9 ยาราบะอามพยายามทำให้ศาสนาใหม่นี้ดูน่านับถือ. เขาจัดให้มีการฉลองทางศาสนาที่มีรูปแบบคล้ายกับเทศกาลที่จัดขึ้นในกรุงเยรูซาเลม. ที่ 1 กษัตริย์ 12:32 เราอ่านว่า “ยาราบะอามก็ตั้งธรรมเนียมการเลี้ยงกันในเดือนแปดวันที่สิบห้า, เหมือนอย่างการเลี้ยงซึ่งถือกันในตระกูลยูดา, และท่านก็ถวายบูชาบนแท่นนั้น. ท่านได้ถวายบูชาแก่รูปวัวเหล่านั้นซึ่งท่านได้สร้างไว้ในเมืองเบ็ธเอลด้วย.”
10 พระยะโฮวาไม่เคยยอมรับเทศกาลฉลองของศาสนาเท็จเช่นนั้น. พระองค์แสดงทัศนะดังกล่าวไว้ชัดเจนผ่านทางอาโมศในอีกกว่าศตวรรษต่อมา ระหว่างรัชกาลของยาราบะอามที่ 2 ซึ่งเริ่มเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูลในราวปี 844 ก่อน ส.ศ. (อาโมศ 1:1) ตามที่กล่าวในอาโมศ 5:21-24 พระเจ้าตรัสว่า “เราเกลียดชังวันเลี้ยงทั้งหลายของเจ้า, แลเรามิได้ชอบพระทัยในวันสมโภชทั้งหลายของเจ้า. ถึงเจ้าทั้งหลายเผาเครื่องบูชาถวายแก่เราแลบูชาด้วยผลไม้ของเจ้าเราจะไม่พอพระทัย, แลเราจะไม่เอาพระทัยใส่ในสัตว์อ้วนพีทั้งหลายที่เป็นเครื่องบูชาโมทนาคุณของเจ้า. จงนำเสียงเพลงทั้งหลายของเจ้าไปเสียจากเรา, แลเราจะไม่ฟังเสียงพิณของเจ้า. แต่จงให้การสัตย์ธรรมไหลไปดังน้ำ, และการชอบธรรมดังกระแสน้ำที่ไหลเป็นนิตย์.”
คู่เทียบสมัยปัจจุบัน
11, 12. มีความคล้ายกันอย่างไรระหว่างการนมัสการในอิสราเอลโบราณกับที่ทำกันในคริสต์ศาสนจักร?
11 ปรากฏชัดว่าพระยะโฮวาทรงตรวจดูหัวใจของบรรดาผู้เข้าร่วมเทศกาลฉลองของอิสราเอล และไม่ยอมรับการฉลองกับเครื่องบูชาเหล่านั้น. ในสมัยปัจจุบันก็เช่นกัน พระเจ้าไม่ยอมรับเทศกาลฉลองแบบนอกรีตของคริสต์ศาสนจักร เช่น คริสต์มาสและอีสเตอร์. สำหรับผู้นมัสการพระยะโฮวา ความชอบธรรมไม่อาจมีส่วนอะไรกับการละเลยกฎหมาย ความสว่างไม่อาจมีมิตรภาพกับความมืด.—2 โกรินโธ 6:14-16.
12 มีความคล้ายกันอย่างอื่นอีกระหว่างการนมัสการที่ทำกันในท่ามกลางชาวอิสราเอลที่บูชารูปลูกวัวกับที่กระทำในคริสต์ศาสนจักร. แม้สมาชิกคริสตจักรบางคนยอมรับความจริงแห่งพระคำของพระเจ้า แต่การนมัสการในคริสต์ศาสนจักรไม่ได้มีแรงกระตุ้นมาจากความรักแท้ต่อพระเจ้า. ถ้ามีจริง คริสต์ศาสนจักรก็คงจะยืนหยัดในการนมัสการพระยะโฮวา “ด้วยวิญญาณและความจริง” เพราะนั่นเป็นการนมัสการแบบที่พระองค์พอพระทัย. (โยฮัน 4:24, ล.ม.) นอกจากนั้น คริสต์ศาสนจักรไม่ได้ “ให้การสัตย์ธรรมไหลไปดังน้ำ, และ [ให้] การชอบธรรม [เป็น] ดังกระแสน้ำที่ไหลเป็นนิตย์.” แทนที่จะเป็นอย่างนั้น คริสต์ศาสนจักรลดความสำคัญของการทำตามข้อเรียกร้องด้านศีลธรรมของพระเจ้าลงเรื่อย ๆ ยอมให้กับการล่วงประเวณี และบาปร้ายแรงอื่น ๆ และถึงขั้นเห็นชอบกับการสมรสของพวกรักร่วมเพศด้วยซ้ำ!
‘จงรักความดี’
13. เหตุใดเราจำเป็นต้องทำอย่างที่กล่าวในอาโมศ 5:15?
13 พระยะโฮวาตรัสแก่ทุกคนที่ปรารถนาจะนมัสการพระองค์ในแบบที่พระองค์ทรงพอพระทัยว่า “จงชังความชั่ว อาโมศ 5:15) ความรักและความชังเป็นความรู้สึกที่มีพลังซึ่งออกมาจากหัวใจ. เนื่องจากหัวใจนั้นไว้ใจไม่ได้ เราจึงต้องทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อปกป้องหัวใจ. (สุภาษิต 4:23; ยิระมะยา 17:9) ถ้าเราปล่อยให้หัวใจของเราถูกหล่อเลี้ยงด้วยความปรารถนาที่ผิด ๆ เราอาจเริ่มรักสิ่งชั่วและชังสิ่งดี. และถ้าเราสนองความปรารถนาเหล่านั้นด้วยการทำบาป การมีใจแรงกล้าล้นฟ้าก็ไม่ช่วยเราให้กลับมาสู่ความโปรดปรานของพระเจ้าได้. ฉะนั้น ขอให้เราอธิษฐานขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าให้เรา “ชังความชั่ว แลรักความดี.”
แลรักความดี.” (14, 15. (ก) ใครในอิสราเอลที่อยู่ในหมู่คนเหล่านั้นที่ทำสิ่งดี แต่มีการปฏิบัติกับบางคนในพวกเขาอย่างไร? (ข) เราจะสนับสนุนผู้รับใช้เต็มเวลาในทุกวันนี้ได้อย่างไร?
14 ไม่ใช่ชาวอิสราเอลทุกคนทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยะโฮวา. ตัวอย่างเช่น โฮเซอาและอาโมศ ‘รักสิ่งดี’ และรับใช้พระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ฐานะผู้พยากรณ์. ส่วนบางคนปฏิญาณตนเป็นนาษารีษ. ในช่วงที่เป็นนาษารีษ พวกเขางดรับประทานผลผลิตใด ๆ ที่มาจากองุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล้าองุ่น. (อาฤธโม 6:1-4) ชาวอิสราเอลคนอื่น ๆ มองแนวทางการเสียสละตนเองของผู้ทำสิ่งดีเหล่านี้อย่างไร? คำตอบอันน่าตกตะลึงสำหรับคำถามนี้เผยให้เห็นถึงระดับความเสื่อมทางฝ่ายวิญญาณของชาตินี้. อาโมศ 2:12 กล่าวว่า “ท่านทั้งหลายได้ทำให้พวกนาซาเร็ธ [“นาษารีษ,” ล.ม.] กินน้ำองุ่น, แลท่านทั้งหลายได้สั่งผู้พยากรณ์ว่า ‘อย่าพยากรณ์.’ ”
15 เมื่อเห็นแบบอย่างที่ซื่อสัตย์ของพวกนาษารีษและเหล่าผู้พยากรณ์ ชาวอิสราเอลเหล่านั้นน่าจะรู้สึกละอายและถูกกระตุ้นใจให้เปลี่ยนแนวทางของตน. แต่พวกเขากลับพยายามโน้มน้าวอย่างไม่มีความรักให้ผู้ภักดีเหล่านี้เลิกถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า. ขอเราอย่าได้ชักชวนเพื่อนคริสเตียนที่เป็นไพโอเนียร์, มิชชันนารี, ผู้ดูแลเดินทาง, หรือสมาชิกครอบครัวเบเธล ให้เลิกงานรับใช้เต็มเวลาแล้วกลับมาสู่ชีวิตที่เรียกกันว่าชีวิตปกติ. แทนที่จะทำเช่นนั้น ขอให้เราสนับสนุนพวกเขาทำงานที่ดีนี้ต่อ ๆ ไป!
16. เหตุใดชาวอิสราเอลในสมัยโมเซจึงอยู่ในสภาพที่ดีกว่าชาวอิสราเอลในสมัยอาโมศ?
16 แม้ว่าชาวอิสราเอลหลายคนในสมัยของอาโมศมีชีวิตที่น่าพอใจทางด้านวัตถุ แต่พวกเขา “มิได้มั่งมีจำเพาะพระเจ้า.” (ลูกา 12:13-21) บรรพบุรุษของพวกเขากินแต่มานาเป็นอาหารในถิ่นทุรกันดารเป็นเวลา 40 ปี. เขาเหล่านั้นไม่ได้กินเนื้อวัวขุน หรือเอนกายเอกเขนกบนเตียงงาช้าง. กระนั้น โมเซได้บอกพวกเขาอย่างถูกต้องว่า “พระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าอวยพรแก่เจ้าในบรรดาการที่มือเจ้ากระทำนั้น; . . . พระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าได้อยู่ด้วยเจ้าสี่สิบปีมาแล้ว; เจ้าทั้งหลายมิได้ขัดสนสิ่งใดเลย.” (พระบัญญัติ 2:7) ใช่แล้ว ชาวอิสราเอลในถิ่นทุรกันดารไม่เคยขาดสิ่งใด ๆ ที่พวกเขาจำเป็นต้องมีจริง ๆ. สำคัญที่สุด พวกเขาได้รับความรัก, การปกป้องคุ้มครอง, และการอวยพรจากพระเจ้า!
17. อะไรคือจุดมุ่งหมายที่พระยะโฮวาทรงนำชาวอิสราเอลสมัยก่อนหน้านั้นเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา?
17 พระยะโฮวาเตือนชาวอิสราเอลในสมัยอาโมศให้ระลึกอาโมศ 2:9, 10) แต่อะไรคือจุดมุ่งหมายที่พระเจ้าทรงพาชาวอิสราเอลสมัยก่อนหน้านั้นออกจากอียิปต์ แล้วนำพวกเขาเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา? เพื่อว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย แล้วปฏิเสธพระผู้สร้างของตนไหม? ไม่ใช่! พระยะโฮวาทำเช่นนั้นเพื่อให้พวกเขาสามารถนมัสการพระองค์ในฐานะชนที่มีเสรีภาพและสะอาดบริสุทธิ์ฝ่ายวิญญาณ. แต่ประชาชนในอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูลไม่รักสิ่งดีและชังสิ่งชั่ว. พวกเขากลับถวายเกียรติแด่รูปแกะสลัก ไม่ใช่แด่พระยะโฮวาพระเจ้า. ช่างน่าละอายจริง ๆ!
ว่าพระองค์ทรงนำบรรพบุรุษของพวกเขาเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา และช่วยพวกเขาขับไล่บรรดาศัตรูออกไปจากแผ่นดินนั้น. (พระยะโฮวาจะทรงคิดบัญชี
18. พระยะโฮวาทรงปลดปล่อยเราทางฝ่ายวิญญาณเพื่ออะไร?
18 พระเจ้าจะไม่มองข้ามการกระทำอันน่าอัปยศของชาวอิสราเอล. พระองค์ทำให้จุดยืนของพระองค์ในเรื่องนี้กระจ่างชัดเมื่อตรัสว่า “เราจะคิดบัญชีกับเจ้าเพราะความผิดทั้งปวงของเจ้า.” (อาโมศ 3:2, ล.ม.) ถ้อยคำดังกล่าวน่าจะทำให้เราคิดถึงการที่เราเองได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสของอียิปต์สมัยปัจจุบัน ซึ่งก็คือระบบชั่วนี้. พระยะโฮวาไม่ได้ปลดปล่อยเราทางฝ่ายวิญญาณเพื่อให้เรามุ่งติดตามเป้าหมายอันเห็นแก่ตัว แต่เพื่อให้เราสามารถสรรเสริญพระองค์จากหัวใจฐานะชนที่มีเสรีภาพผู้สนับสนุนการนมัสการอันบริสุทธิ์. และเราทุกคนต้องให้การเกี่ยวกับวิธีที่เราใช้เสรีภาพที่ได้รับจากพระเจ้านี้.—โรม 14:12.
19. ตามที่กล่าวในอาโมศ 4:4, 5 ชาวอิสราเอลส่วนใหญ่เริ่มรักอะไร?
19 น่าเศร้า ข่าวสารอันทรงพลังของอาโมศไม่ได้รับการใส่ใจจากคนส่วนใหญ่ในอิสราเอล. ที่อาโมศ 4:4, 5 ท่านผู้พยากรณ์เผยถึงสภาพหัวใจที่เสื่อมของพวกเขาด้วยถ้อยคำที่ว่า “ท่านทั้งหลายจงมาถึงเบ็ธเอลแลทำผิด ให้ความผิดของท่านทวีขึ้นที่ฆีละฆาล, . . . โอ้บุตรแห่งยิศราเอลทั้งหลายเอ๋ย, . . . เพราะท่านทั้งหลายชอบใจอย่างนั้น.” ชาวอิสราเอลไม่ได้ปลูกฝังความปรารถนาที่ถูกต้อง. พวกเขาไม่ได้ป้องกันหัวใจของตน. ผลที่ตามมาคือ พวกเขาส่วนใหญ่เริ่มรักสิ่งชั่วและชังสิ่งดี. ผู้นมัสการรูปลูกวัวที่ดื้อรั้นเหล่านี้ไม่เปลี่ยนแปลง. พระยะโฮวาจะทรงคิดบัญชี และพวกเขาจะต้องตายด้วยบาปที่พวกเขากระทำนั้น!
20. คนเราจะดำเนินในแนวทางที่กล่าวไว้ในอาโมศ 5:4 เรื่อยไปได้อย่างไร?
20 คงไม่ง่ายที่ใคร ๆ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในอิสราเอลสมัยนั้นจะรักษาความซื่อสัตย์ต่อพระยะโฮวา. การทวนกระแสคนส่วนมากเป็นเรื่องยาก ดังที่คริสเตียนทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ในทุกวันนี้ต่างรู้ดี. กระนั้น ความรักต่อพระเจ้าและความปรารถนาที่จะทำให้พระองค์พอพระทัยกระตุ้นชาวอิสราเอลบางคนให้ปฏิบัติการนมัสการแท้. ที่อาโมศ 5:4 (ฉบับแปลใหม่) พระยะโฮวาทรงให้คำเชิญอย่างอบอุ่นแก่คนเหล่านี้ ว่า “จงแสวงหาเรา และดำรงชีวิตอยู่.” ในทุกวันนี้ก็เช่นกัน พระเจ้าทรงสำแดงความเมตตาแก่ผู้ที่กลับใจและแสวงหาพระองค์โดยการรับเอาความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระคำของพระองค์และกระทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์. การดำเนินในแนวทางนี้เรื่อยไปไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การทำเช่นนั้นนำไปถึงชีวิตนิรันดร์.—โยฮัน 17:3.
อุดมบริบูรณ์แม้เกิดการกันดารอาหารฝ่ายวิญญาณ
21. เกิดการกันดารอาหารอะไรในหมู่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติการนมัสการแท้?
21 ได้เกิดอะไรขึ้นกับผู้ที่ไม่สนับสนุนการนมัสการแท้? การกันดารอาหารชนิดที่เลวร้ายที่สุด—การกันดารอาหารฝ่ายวิญญาณ! พระยะโฮวาเจ้าองค์บรมมหิศรตรัสว่า “วันทั้งหลายจะมา, เมื่อเราจะยังความกันดารให้มีในแผ่นดิน มิใช่กันดารอาหารแลกระหายน้ำ, คือกันดารเพราะจะมิได้ฟังคำแห่งพระยะโฮวา.” (อาโมศ 8:11) คริสต์ศาสนจักรกำลังอยู่ในสภาพกันดารอาหารฝ่ายวิญญาณดังกล่าว. แต่สมาชิกบางคนในคริสต์ศาสนจักรที่มีหัวใจสุจริตมองเห็นความอุดมบริบูรณ์ฝ่ายวิญญาณของประชาชนของพระเจ้า และหลั่งไหลเข้ามาสู่องค์การของพระยะโฮวา. คำตรัสของพระยะโฮวาแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสภาพการณ์ในคริสต์ศาสนจักรกับสภาพการณ์ที่มีอยู่ทั่วไปท่ามกลางคริสเตียนแท้ได้อย่างเหมาะเจาะดังนี้: “ดูเถิด, ผู้รับใช้ของเราจะมีกิน, แต่พวกเจ้าจะหิว; ดูเถิด, ผู้รับใช้ของเราจะมีดื่ม, แต่พวกเจ้าจะระหาย; ดูเถิด, ผู้รับใช้ของเราจะอิ่มอกอิ่มใจ, แต่พวกเจ้าจะอับอายอดสู.”—ยะซายา 65:13.
22. ทำไมเรามีเหตุที่จะชื่นชมยินดี?
22 ฐานะผู้รับใช้ของพระยะโฮวา เราเองหยั่งรู้ค่าอาหารฝ่ายวิญญาณและพระพรต่าง ๆ ที่เราได้รับไหม? เมื่อเราศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือคริสเตียน เข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ของเราที่ประชาคม, ที่การประชุมหมวด, และการประชุมภาค เราอยากโห่ร้องด้วยความชื่นชมยินดีอย่างแท้จริงเพราะสภาพหัวใจที่ดี. เราชื่นชมยินดีที่ได้รับความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับพระคำของพระเจ้า ซึ่งรวมถึงคำพยากรณ์ของอาโมศที่มีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า.
23. บรรดาผู้ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าชื่นชมกับสิ่งใด?
23 สำหรับมนุษย์ทุกคนที่รักพระเจ้าและปรารถนาจะถวายพระเกียรติแด่พระองค์ คำพยากรณ์ของอาโมศบรรจุข่าวสารแห่งความหวัง. ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันของเราจะเป็นเช่นไร หรือเราต้องประสบความยุ่งยากใด ๆ ก็ตามในโลกที่มีแต่ปัญหานี้ เราผู้ซึ่งรักพระเจ้ากำลังชื่นชมกับพระพรและอาหารฝ่ายวิญญาณชั้นเลิศ. (สุภาษิต 10:22; มัดธาย 24:45-47) คำสดุดีทั้งมวลจึงมีแด่พระเจ้า ผู้ทรงประทานสิ่งสารพัดอย่างบริบูรณ์เพื่อประโยชน์ของเรา. ดังนั้นแล้ว ขอให้เราตั้งใจถวายคำสรรเสริญจากหัวใจแด่พระองค์ตลอดไป. นั่นจะเป็นสิทธิพิเศษอันน่ายินดีของเรา หากเราแสวงหาพระยะโฮวา ผู้ทรงตรวจดูหัวใจ.
คุณจะตอบอย่างไร?
• สภาพการณ์ในอิสราเอลสมัยอาโมศเป็นอย่างไร?
• สภาพการณ์ในอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูลกับคู่เทียบสมัยปัจจุบันมีความคล้ายกันอย่างไร?
• ปัจจุบันกำลังเกิดการกันดารอาหารอะไรที่มีบอกไว้ล่วงหน้า แต่ใครไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งนี้?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
ชาวอิสราเอลหลายคนใช้ชีวิตอย่างหรูหราแต่ไม่มั่งคั่งฝ่ายวิญญาณ
[ภาพหน้า 23]
จงสนับสนุนผู้รับใช้เต็มเวลาให้ทำงานที่ดีของเขาต่อ ๆ ไป
[ภาพหน้า 24, 25]
ไม่มีการกันดารอาหารฝ่ายวิญญาณท่ามกลางประชาชนผู้มีความสุขของพระยะโฮวา