คุณจะดำเนินกับพระเจ้าไหม?
คุณจะดำเนินกับพระเจ้าไหม?
“ให้เจียมตัวในการดำเนินกับพระเจ้าของเจ้า.”—มีคา 6:8, ล.ม.
1, 2. ความรู้สึกของพระยะโฮวาที่มีต่อเราอาจเทียบได้อย่างไรกับความรู้สึกของบิดาที่สอนลูกให้เดิน?
เด็กน้อยยืนโงนเงนยื่นมือไปทางพ่อแม่ที่เอื้อมแขนออกมา แล้วเดินสองสามก้าวเป็นครั้งแรก. นั่นอาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับผู้เป็นพ่อแม่แล้ว นี่เป็นเหตุการณ์สำคัญ เป็นช่วงที่เปี่ยมด้วยความคาดหมายในเรื่องอนาคต. พ่อแม่รอคอยด้วยใจจดจ่อที่จะเดินกับลูก จูงมือกันไปตลอดหลายเดือนและหลายปีข้างหน้า. ในหลาย ๆ ทาง พวกเขาตั้งความหวังไว้ว่าจะจัดเตรียมการชี้นำและการเกื้อหนุนให้ลูกตลอดอนาคตอันยาวไกล.
2 พระยะโฮวาพระเจ้าทรงมีความรู้สึกคล้ายกันต่อเหล่าบุตรของพระองค์ที่อยู่บนแผ่นดินโลก. ครั้งหนึ่งพระองค์ตรัสเกี่ยวกับชาติอิสราเอลหรือเอฟรายิม ประชาชนของพระองค์ว่า “เราเป็นผู้ที่ได้สอนเอ็ฟรายิมให้เดิน; เราได้อุ้มเขาไว้ . . . เราได้จูงเขาไปด้วยเชือกอันสมกับมนุษย์, คือใช้สายแห่งความรัก.” (โฮเซอา 11:3, 4) ในข้อนี้พระยะโฮวาทรงพรรณนาถึงพระองค์เองฐานะเป็นบิดาที่เปี่ยมด้วยความรักผู้ซึ่งอดทนสอนลูกให้เดิน บางทีอุ้มลูกขึ้นมาเมื่อลูกหกล้ม. พระยะโฮวา พระบิดาองค์ยอดเยี่ยมที่สุดทรงกระตือรือร้นที่จะสอนเราให้เดิน. พระองค์ยังทรงยินดีในการดำเนินไปกับเราขณะที่เราก้าวหน้าต่อไป. ดังที่ข้อคัมภีร์อรรถบทแสดงให้เห็น เราสามารถดำเนินกับพระเจ้าได้! (มีคา 6:8, ล.ม.) แต่การดำเนินกับพระเจ้าหมายความเช่นไร? ทำไมเราจำเป็นต้องทำเช่นนั้น? นั่นเป็นไปได้โดยวิธีใด? และมีพระพรอะไรบ้างเป็นผลมาจากการดำเนินกับพระเจ้า? ขอให้เราพิจารณาสี่คำถามเหล่านี้ทีละคำถาม.
การดำเนินกับพระเจ้าหมายความเช่นไร?
3, 4. (ก) มีอะไรที่น่าสังเกตในคำพรรณนาเกี่ยวกับการดำเนินกับพระเจ้า? (ข) การดำเนินกับพระเจ้าหมายความเช่นไร?
3 แน่นอน มนุษย์ที่มีเนื้อและเลือดไม่สามารถดำเนินกับพระยะโฮวาซึ่งเป็นองค์วิญญาณได้จริง ๆ. (เอ็กโซโด 33:20; โยฮัน 4:24) ดังนั้น เมื่อคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงการที่มนุษย์ดำเนินกับพระเจ้า จึงเป็นการใช้ภาษาที่เป็นนัย. นี่เป็นคำพรรณนาที่โดดเด่นไม่ว่าจะอยู่ในเชื้อชาติไหน, วัฒนธรรมใด, หรือสมัยใดก็ตาม. ที่จริง มีผู้คนในสถานที่ใดหรือในยุคใดไหมที่ไม่สามารถเข้าใจแนวคิดที่ว่าคนหนึ่งเดินไปกับอีกคนหนึ่ง. คำพรรณนานี้ถ่ายทอดความรู้สึกที่อบอุ่นและใกล้ชิดมิใช่หรือ? ความรู้สึกดังกล่าวทำให้เราหยั่งเห็นเข้าใจขึ้นมาบ้างว่าการดำเนินกับพระเจ้าหมายถึงอะไร. แต่ขอให้เราพิจารณาอย่างเจาะจงมากขึ้น.
4 ขอระลึกถึงฮะโนคและโนฮาบุรุษผู้ซื่อสัตย์. ทำไมจึงมีการพรรณนาว่าท่านทั้งสองดำเนินกับพระเจ้า? (เยเนซิศ 5:24; 6:9) ในคัมภีร์ไบเบิล คำว่า “ดำเนิน” มักจะหมายถึงติดตามแนวทางปฏิบัติบางอย่าง. ฮะโนคและโนฮาเลือกแนวทางชีวิตซึ่งสอดคล้องกับพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวาพระเจ้า. ไม่เหมือนกับคนในโลกที่อยู่รอบข้าง พวก ท่านหมายพึ่งพระยะโฮวาเพื่อการชี้นำและเชื่อฟังพระบัญชาของพระองค์. พวกท่านวางใจในพระองค์. นี่หมายความว่าพระยะโฮวาทรงตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ แทนท่านไหม? ไม่ใช่. พระยะโฮวาได้ประทานเจตจำนงเสรีให้มนุษย์ และพระองค์ทรงประสงค์ให้เราใช้ของประทานนี้พร้อมกับ ‘ความสามารถในการหาเหตุผล’ ของเราเอง. (โรม 12:1, ล.ม.) อย่างไรก็ดี ขณะที่เราทำการตัดสินใจ เราถ่อมใจยอมให้ความคิดที่สูงส่งกว่าอย่างหาที่สุดไม่ได้ของพระยะโฮวาชี้นำความสามารถในการหาเหตุผลของเรา. (สุภาษิต 3:5, 6; ยะซายา 55:8, 9) ขณะที่เราดำเนินชีวิต ก็เป็นประหนึ่งว่า เราเดินทางไปด้วยกันกับพระยะโฮวาอย่างใกล้ชิด.
5. ทำไมพระเยซูจึงตรัสถึงการต่อชีวิตให้ยาวออกไปอีกสักศอกหนึ่ง?
5 บ่อยครั้ง คัมภีร์ไบเบิลเปรียบชีวิตเหมือนการเดินทางหรือการเดิน. ในบางกรณี เป็นการเปรียบโดยตรง แต่ในบางกรณี เป็นการเปรียบแบบเป็นนัย. ตัวอย่างเช่น พระเยซูตรัสว่า “มีใครในพวกท่านโดยความกระวนกระวายอาจต่อชีวิตให้ยาวออกไปอีกสักศอกหนึ่งได้หรือ?” (มัดธาย 6:27) ถ้อยคำดังกล่าวอาจทำให้คุณงง. ทำไมพระเยซูจะตรัสถึงการต่อชีวิตให้ยาวออกไปอีก “ศอกหนึ่ง” ซึ่งเป็นมาตราวัดระยะ ในเมื่อตามปกติแล้วมีการใช้คำที่บอกเวลาเมื่อพูดถึงช่วงชีวิตของคนเรา? * ดูเหมือนว่าพระเยซูพรรณนาชีวิตเป็นเหมือนการเดินทาง. ที่จริง พระองค์สอนว่าความกระวนกระวายจะไม่ช่วยคุณให้ต่อชีวิตการเดินทางของคุณไปอีกแม้แต่ก้าวเดียว. แต่เราควรจะสรุปไหมว่าเราไม่สามารถทำอะไรได้ในเรื่องที่ว่าเราจะดำเนินกับพระเจ้าได้นานแค่ไหน? ไม่เลย! นั่นนำเรามาถึงคำถามประการที่สองคือ ทำไมเราต้องดำเนินกับพระเจ้า?
ทำไมเราต้องดำเนินกับพระเจ้า?
6, 7. มนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีสิ่งใด และทำไมเราควรหมายพึ่งพระยะโฮวาให้สนองความจำเป็นนั้น?
6 เหตุผลหนึ่งที่เราต้องดำเนินกับพระยะโฮวาพระเจ้ามีการอธิบายไว้ในยิระมะยา 10:23 ว่า “โอ้พระยะโฮวา, ข้าพเจ้ารู้อยู่ว่าทางที่มนุษย์จะไปนั้นไม่ได้อยู่ในตัวของตัว, ไม่ใช่ที่มนุษย์ซึ่งดำเนินนั้นจะได้กำหนดก้าวของตัวได้.” ดังนั้น พวกเราที่เป็นมนุษย์ไม่มีทั้งความสามารถและสิทธิที่จะชี้นำแนวทางชีวิตของเราเอง. เราจำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับการชี้นำ. คนเหล่านั้นที่ดื้อดึงทำตามใจตนเอง ไม่หมายพึ่งพระเจ้า ทำผิดพลาดอย่างเดียวกันกับที่อาดามและฮาวาได้ทำไป. มนุษย์คู่แรกได้ทึกทักเอาสิทธิที่จะตัดสินด้วยตัวเองว่าอะไรดีและอะไรชั่ว. (เยเนซิศ 3:1-6) สิทธิดังกล่าว “ไม่ได้อยู่ในตัว” ของเรา.
7 คุณรู้สึกถึงความจำเป็นต้องมีการชี้นำในการเดินทางของชีวิตไหม? เราเผชิญการตัดสินใจทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ทุกวัน. การตัดสินใจเหล่านี้บางอย่างเป็นเรื่องยากและอาจมีผลกระทบต่ออนาคตของเรา—อีกทั้งอนาคตของคนที่เรารัก. แต่คิดดูสิ มีผู้หนึ่งซึ่งมีอายุมากกว่าและฉลาดยิ่งกว่าเราอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงยินดีที่จะให้การชี้นำด้วยความรักแก่เราในการตัดสินใจดังกล่าว! น่าเศร้า คนส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ชอบวางใจในการตัดสินของตนเองและชี้นำย่างก้าวของตนมากกว่า. พวกเขาไม่ใส่ใจความจริงที่กล่าวไว้ในสุภาษิต 28:26 ที่ว่า “ผู้ที่ไว้วางใจแต่ตนเองก็เป็นคนโฉด; แต่ผู้ที่ประพฤติโดยใช้ปัญญาจะพ้นภัย.” พระยะโฮวาทรงประสงค์ให้เรารอดพ้นความหายนะที่เป็นผลมาจากการวางใจในหัวใจมนุษย์ที่ทรยศ. (ยิระมะยา 17:9) พระองค์ประสงค์ให้เราดำเนินด้วยสติปัญญา ให้วางใจในพระองค์ฐานะเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสติปัญญาซึ่งจะชี้นำและสั่งสอนเรา. เมื่อเราทำเช่นนั้น การดำเนินชีวิตของเราก็มั่นคงปลอดภัย, น่าพอใจ, และบรรลุผลสำเร็จ.
8. บาปและความไม่สมบูรณ์นำมนุษย์ไปสู่จุดหมายปลายทางอะไรอย่างไม่มีทางเลี่ยง แต่กระนั้นพระยะโฮวาทรงประสงค์อะไรสำหรับเรา?
8 เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ว่าทำไมเราต้องดำเนินกับพระเจ้านั้นเกี่ยวข้องกับความยาวนานที่เราประสงค์จะดำเนินไป. คัมภีร์ไบเบิลชี้แจงความจริงอย่างหนึ่งที่ทำให้หดหู่ใจ. ในแง่หนึ่ง มนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ทุกคนต่างก็กำลังดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน. ในการพรรณนาความยากลำบากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับวัยชรา ท่านผู้ประกาศ 12:5 กล่าวว่า “มนุษย์กำลังไปถึงบ้านอันถาวรเป็นนิจของเขา, ส่วนผู้ไว้ทุกข์ก็เวียนวนไปมาตามถนน.” “บ้านอันถาวรเป็นนิจ” นี้คืออะไร? ก็คือหลุมฝังศพที่เราต้องไปอยู่อย่าง เลี่ยงไม่พ้นอันเนื่องมาจากบาปและความไม่สมบูรณ์นั่นเอง. (โรม 6:23) อย่างไรก็ดี พระยะโฮวาทรงประสงค์ให้เราดำเนินไปไม่เพียงแค่ช่วงระยะสั้น ๆ ด้วยความยากลำบากตั้งแต่เกิดจนตาย. (โยบ 14:1) เฉพาะแต่โดยการดำเนินกับพระเจ้าเท่านั้นที่เราคาดหวังได้ว่าจะดำเนินอยู่ได้นานเท่าที่พระองค์ทรงมุ่งหมาย นั่นคือตลอดไป. คุณต้องการเช่นนั้นมิใช่หรือ? ดังนั้น เห็นได้ชัดว่า คุณต้องดำเนินกับพระบิดาของคุณ.
เราจะดำเนินกับพระเจ้าได้โดยวิธีใด?
9. ทำไมบางครั้งพระยะโฮวาทรงซ่อนตัวเสียจากประชาชนของพระองค์ แต่กระนั้นพระองค์ทรงให้คำรับรองอะไรไว้ตามที่กล่าวในยะซายา 30:20?
9 คำถามประการที่สามในการพิจารณาของเราควรได้รับความเอาใจใส่อย่างถี่ถ้วนทีเดียว. นั่นคือ เราจะดำเนินกับพระเจ้าได้โดยวิธีใด? เราพบคำตอบที่ยะซายา 30:20, 21 ที่ว่า “พระครูของเจ้าก็จะไม่ซ่อนตัวเสียจากเจ้า, แต่ตาของเจ้าเองก็จะได้เห็นพระครูนั้น; และเมื่อเจ้าสงสัยว่าจะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา, หูของเจ้าก็จะได้ยินเสียงแนะมาข้างหลังของเจ้าว่า, ‘ทางนี้แหละ; เดินไปเถอะ!’ ” ในข้อความที่ให้กำลังใจนี้ คำตรัสของพระยะโฮวาที่บันทึกไว้ในข้อ 20 อาจเตือนใจประชาชนของพระองค์ว่าเมื่อพวกเขากบฏขัดขืน ก็เป็นประหนึ่งว่าพระองค์ทรงซ่อนตัวเสียจากพวกเขา. (ยะซายา 1:15; 59:2) แต่ในที่นี้ มีการแสดงภาพพระยะโฮวา ไม่ใช่ซ่อนตัวอยู่ แต่ทรงยืนอยู่อย่างเปิดเผยต่อหน้าประชาชนผู้ซื่อสัตย์ของพระองค์. เราอาจคิดถึงครูที่ยืนอยู่ตรงหน้าพวกนักเรียนเพื่อแสดงให้เห็นสิ่งที่เขาต้องการให้นักเรียนเรียนรู้.
10. ในแง่ใดที่คุณอาจ ‘ได้ยินเสียงแนะมาข้างหลังคุณ’ จากพระบรมครูของคุณ?
10 ในข้อ 21 มีภาพพรรณนาที่ต่างออกไป. มีการพรรณนาว่าพระยะโฮวาทรงดำเนินอยู่ข้างหลังประชาชนของพระองค์ ทรงคอยบอกทางที่ถูกต้องที่พวกเขาพึงดำเนินไป. ผู้คงแก่เรียนด้านคัมภีร์ไบเบิลเคยให้ความเห็นไว้ว่าถ้อยคำนี้อาจอาศัยวิธีที่ผู้เลี้ยงแกะเดินตามแกะของเขาในบางครั้ง โดยร้องเสียงดังเพื่อนำทางพวกแกะและป้องกันมิให้แกะไปผิดทาง. ภาพพรรณนานี้นำมาใช้ได้อย่างไรกับพวกเรา? เมื่อเราหมายพึ่งพระคำของพระเจ้าเพื่อการชี้นำ เรากำลังอ่านถ้อยคำที่ได้บันทึกไว้หลายพันปีมาแล้ว. ประหนึ่งว่าถ้อยคำดังกล่าวมาจากข้างหลังเรา เนื่องจากถูกบันทึกไว้นานมาแล้ว. กระนั้น ถ้อยคำดังกล่าวก็เหมาะกับทุกวันนี้เช่นเดียวกับที่เหมาะกับสมัยที่มีการเขียนถ้อยคำเหล่านั้น. คำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิลสามารถชี้นำเราในการตัดสินใจแต่ละวัน อีกทั้งช่วยเราให้วางแผนแนวทางชีวิตของเราในอนาคต. (บทเพลงสรรเสริญ 119:105) เมื่อเราแสวงหาคำแนะนำดังกล่าวอย่างจริงจังและนำไปใช้แล้ว ตอนนั้นแหละพระยะโฮวาทรงเป็นผู้นำทางของเรา. เรากำลังดำเนินกับพระเจ้า.
11. ตามยิระมะยา 6:16 พระยะโฮวาทรงให้ภาพพรรณนาที่ทำให้อบอุ่นใจเช่นไรสำหรับประชาชนของพระองค์ แต่พวกเขาตอบสนองอย่างไร?
11 เรายอมให้พระคำของพระเจ้าชี้นำเราอย่างใกล้ชิดเช่นนั้นจริง ๆ ไหม? บางครั้งสมควรที่เราหยุดตรวจสอบดูตัวเองอย่างซื่อสัตย์. จงพิจารณาข้อคัมภีร์ที่จะช่วยเราให้ทำเช่นนั้น: “พระยะโฮวาได้ตรัสดังนี้ว่า, เจ้าทั้งหลายจงยืนขึ้นที่ทางทั้งปวง, พิจารณาถามดูว่า, ทางเก่า ๆ ทางที่ดีนั้นอยู่ยิระมะยา 6:16) ถ้อยคำดังกล่าวนี้อาจทำให้เรานึกถึงนักเดินทางที่หยุดตรงทางแยกเพื่อถามทาง. ในความหมายฝ่ายวิญญาณ ประชาชนที่กบฏขัดขืนของพระยะโฮวาในอิสราเอลจำเป็นต้องทำสิ่งที่คล้ายกัน. พวกเขาต้องหาพบทางที่จะกลับไปสู่ “ทางเก่า ๆ.” “ทางที่ดี” สายนั้นเป็นทางที่บรรพบุรุษผู้ซื่อสัตย์ของพวกเขาเคยดำเนิน ซึ่งชาตินั้นได้หลงไปจากทางดังกล่าวด้วยความโง่เขลา. น่าเศร้า ชาติอิสราเอลได้ตอบสนองด้วยท่าทีที่ดื้อรั้นต่อข้อเตือนใจนี้ที่พระยะโฮวาทรงให้ด้วยความรัก. ข้อเดียวกันบอกต่อไปว่า “แต่เขาทั้งปวงได้ตอบว่า, พวกเราไม่ไปในทางนั้น.” อย่างไรก็ดี ในสมัยปัจจุบัน ประชาชนของพระเจ้าตอบสนองต่อคำแนะนำดังกล่าวแบบที่ต่างออกไป.
ไหน, แลจงดำเนินในทางนั้นเถิด, แลเจ้าทั้งหลายจะได้ความสุขสำหรับจิตวิญญาณของพวกเจ้า.” (12, 13. (ก) เหล่าสาวกผู้ถูกเจิมของพระคริสต์ได้ตอบสนองอย่างไรต่อคำแนะนำที่ยิระมะยา 6:16? (ข) เราอาจตรวจสอบดูตัวเองเกี่ยวกับทางที่เราดำเนินอยู่ในทุกวันนี้ได้โดยวิธีใด?
12 ตั้งแต่ตอนปลายศตวรรษที่ 19 เหล่าสาวกผู้ถูกเจิมของพระคริสต์ได้เอาคำแนะนำที่ยิระมะยา 6:16 มาใช้กับพวกเขาเอง. ในฐานะเป็นกลุ่มชน พวกเขานำหน้าในการกลับมายัง “ทางเก่า ๆ” อย่างสิ้นสุดหัวใจ. ต่างจากคริสต์ศาสนจักรที่ออกหาก พวกเขายึดมั่นอย่างซื่อสัตย์กับ “แบบแผนแห่งถ้อยคำที่ก่อประโยชน์” ซึ่งพระเยซูคริสต์ได้ทรงตั้งไว้และได้รับการสนับสนุนจากเหล่าสาวกผู้ซื่อสัตย์ของพระองค์ย้อนหลังไปในศตวรรษแรกแห่งสากลศักราช. (2 ติโมเธียว 1:13, ล.ม.) จนกระทั่งทุกวันนี้ เหล่าผู้ถูกเจิมช่วยกันและกันอีกทั้งช่วย “แกะอื่น” สหายของพวกเขาให้ติดตามแนวทางชีวิตที่ก่อประโยชน์และทำให้มีความสุขซึ่งคริสต์ศาสนจักรได้ละทิ้ง.—โยฮัน 10:16.
13 โดยจัดเตรียมอาหารฝ่ายวิญญาณในเวลาอันเหมาะ ชนจำพวกทาสสัตย์ซื่อได้ช่วยคนนับล้านให้พบ “ทางเก่า ๆ” และให้ดำเนินกับพระเจ้า. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.) คุณอยู่ในท่ามกลางคนจำนวนมากมายนี้ไหม? ถ้าเช่นนั้น คุณสามารถทำประการใดเพื่อหลีกเลี่ยงการลอยห่าง หันไปติดตามแนวทางของคุณเอง? นับว่าฉลาดสุขุมที่จะหยุดเพื่อจะตรวจสอบดูทางที่คุณกำลังดำเนินชีวิตอยู่นั้นเป็นครั้งคราว. หากคุณอ่านคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำและเข้าร่วมในรายการคำแนะนำสั่งสอนที่ได้รับการส่งเสริมจากผู้ถูกเจิมในทุกวันนี้ ดังนั้นแล้ว คุณก็กำลังได้รับการฝึกอบรมให้ดำเนินกับพระเจ้า. และเมื่อคุณเอาคำแนะนำที่ได้รับไปใช้อย่างถ่อมใจ คุณก็กำลังดำเนินกับพระเจ้าอย่างแท้จริง ในการติดตาม “ทางเก่า ๆ.”
ดำเนินประหนึ่ง “เห็นพระองค์ผู้ไม่ทรงปรากฏแก่ตา”
14. หากพระยะโฮวาทรงเป็นจริงสำหรับเราแล้ว จะแสดงให้เห็นเรื่องนี้อย่างไรในการตัดสินใจส่วนตัวของเรา?
14 เพื่อเราจะดำเนินกับพระยะโฮวา พระองค์ต้องเป็นจริงสำหรับเรา. จำไว้ว่า พระยะโฮวาทรงรับรองกับบรรดาผู้ซื่อสัตย์ในอิสราเอลโบราณว่า พระองค์ไม่ทรงซ่อนตัวไว้จากพวกเขา. เช่นเดียวกัน ในทุกวันนี้พระองค์ทรงเปิดเผยพระองค์เองแก่ประชาชนของพระองค์ในฐานะพระบรมครู. พระยะโฮวาทรงเป็นจริงสำหรับคุณ ประหนึ่งว่าพระองค์ทรงยืนอยู่ต่อหน้าคุณเพื่อแนะนำสั่งสอนคุณไหม? เราต้องมีความเชื่อเช่นนั้นแหละเพื่อเราจะดำเนินกับพระเจ้า. โมเซมีความเชื่อดังกล่าว “เพราะท่านมั่นใจอยู่เหมือนหนึ่งเห็นพระองค์ผู้ไม่ทรงปรากฏแก่ตา.” (เฮ็บราย 11:27) หากพระยะโฮวาทรงเป็นจริงสำหรับเราแล้ว เราจะคำนึงถึงความรู้สึกของพระองค์เมื่อทำการตัดสินใจ. ตัวอย่างเช่น เราจะไม่แม้แต่คิดถึงการเข้าร่วมในการทำผิดแล้วพยายามปกปิดบาปของเราไว้ไม่ให้คริสเตียนผู้ปกครองหรือสมาชิกในครอบครัวของเรารู้. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เราพยายามจะดำเนินกับพระเจ้าแม้แต่เมื่อไม่มีเพื่อนมนุษย์คนใดมองเห็นเรา. เช่นเดียวกับกษัตริย์ดาวิดสมัยก่อน เราตั้งใจแน่วแน่ว่า “ข้าพระองค์จะดำเนินด้วยใจซื่อสัตย์ภายในเรือนของข้าพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 101:2, ฉบับแปลใหม่.
15. การคบหากับพี่น้องชายหญิงคริสเตียนของเราจะช่วยเราอย่างไรให้รู้สึกว่าพระยะโฮวาทรงเป็นจริงสำหรับเรา?
15 พระยะโฮวาทรงเข้าใจว่าเราเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ในบทเพลงสรรเสริญ 103:14) พระองค์ทรงช่วยเราอย่างมากให้เอาชนะข้อบกพร่องดังกล่าว. ตัวอย่างเช่น พระองค์ได้ทรงรวบรวม “ประชาชนสำหรับพระนามของพระองค์” มาจากทุกชาติของแผ่นดินโลก. (กิจการ 15:14, ล.ม.) ขณะที่เรารับใช้ด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพ เราได้รับกำลังจากกันและกัน. การได้ยินถึงวิธีที่พระยะโฮวาทรงช่วยพี่น้องชายหญิงคริสเตียนให้เอาชนะข้อบกพร่องหรือผ่านพ้นการทดสอบที่ยากลำบากบางอย่างทำให้พระเจ้าทรงเป็นจริงสำหรับเรามากขึ้น.—1 เปโตร 5:9.
สภาพเนื้อหนังและบางครั้งเราอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อในสิ่งที่เรามองไม่เห็น. (16. การเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูจะช่วยเราอย่างไรให้ดำเนินกับพระเจ้า?
16 สำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด พระยะโฮวาได้ทรงให้เรามีตัวอย่างพระบุตรของพระองค์. พระเยซูตรัสว่า “เราเป็นทางนั้น, เป็นความจริง, และเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาเว้นไว้มาทางเรา.” (โยฮัน 14:6) การศึกษาแนวทางชีวิตของพระเยซูขณะอยู่บนแผ่นดินโลกเป็นวิธีหนึ่งที่ดีที่สุดในการทำให้พระยะโฮวาเป็นจริงยิ่งขึ้นสำหรับเรา. ทุกสิ่งที่พระเยซูตรัสหรือทำเป็นภาพสะท้อนอย่างครบถ้วนของบุคลิกภาพและแนวทางของพระบิดาของพระองค์ผู้สถิตในสวรรค์. (โยฮัน 14:9) ขณะที่เราทำการตัดสินใจ เราต้องคิดอย่างรอบคอบถึงวิธีที่พระเยซูจะทรงจัดการเรื่องราว. เมื่อการตัดสินใจของเราสะท้อนให้เห็นการคิดอย่างรอบคอบพร้อมด้วยการอธิษฐานแล้ว เราก็กำลังดำเนินตามรอยพระบาทของพระคริสต์. (1 เปโตร 2:21) ผลก็คือ เรากำลังดำเนินกับพระเจ้า.
ก่อผลด้วยพระพรอะไรบ้าง?
17. หากเราดำเนินในทางของพระยะโฮวา เราจะพบ “ความสุข” อะไร?
17 การดำเนินกับพระยะโฮวาพระเจ้าเป็นการดำเนินชีวิตที่น่าพอใจ. อย่าลืมสิ่งที่พระยะโฮวาทรงสัญญากับประชาชนของพระองค์เกี่ยวกับการแสวงหา “ทางที่ดี.” พระองค์ตรัสว่า “จงดำเนินในทางนั้นเถิด, แลเจ้าทั้งหลายจะได้ความสุขสำหรับจิตวิญญาณของพวกเจ้า.” (ยิระมะยา 6:16) “ความสุข” ที่ว่านั้นหมายถึงอะไร? หมายถึงชีวิตที่สบายซึ่งเต็มไปด้วยความสนุกเพลิดเพลินและความหรูหราฟุ่มเฟือยไหม? เปล่าเลย. พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมให้สิ่งที่ดีกว่านั้นมากนัก เป็นสิ่งที่คนร่ำรวยที่สุดในท่ามกลางมนุษย์ยากจะหาพบ. การได้ความสุขคือการพบความสงบใจ, ความยินดี, ความพอใจ, และความสำเร็จในการรับใช้พระเจ้า. ความสุขดังกล่าวหมายความว่าคุณสามารถมั่นใจได้ว่าคุณได้เลือกทางที่ดีที่สุดในชีวิต. ความสงบใจดังกล่าวเป็นพระพรที่หาได้ยากในโลกที่มีแต่ปัญหานี้!
18. พระยะโฮวาทรงประสงค์จะประทานพระพรอะไรให้คุณ และคุณมีความตั้งใจเช่นไร?
18 แน่นอน การมีชีวิตก็เป็นพระพรอันล้ำเลิศอยู่แล้ว. แม้จะเป็นช่วงชีวิตที่สั้น ๆ แต่ก็ดีกว่าไม่มีชีวิตเลย. อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาไม่เคยมุ่งหมายให้ช่วงชีวิตของคุณเป็นแค่การเดินทางสั้น ๆ จากวัยหนุ่มสาวที่แข็งแรงไปจนถึงวัยชราที่ทุกข์ลำบาก. พระยะโฮวาทรงประสงค์ให้คุณได้รับพระพรอันล้ำเลิศที่สุดในบรรดาพระพรทั้งมวล. พระองค์ทรงประสงค์ให้คุณดำเนินกับพระองค์ตลอดไป! มีการแสดงเรื่องนี้ไว้อย่างเหมาะสมที่มีคา 4:5 (ล.ม.) ว่า “ส่วนประชาชนทั้งสิ้น ต่างก็จะดำเนินในนามแห่งพระเจ้าของเขา; แต่ส่วนเราจะดำเนินในพระนามของพระยะโฮวาพระเจ้าของเราจนถึงเวลาไม่กำหนด ตลอดไปเป็นนิตย์.” คุณจะทะนุถนอมพระพรดังกล่าวไว้ไหม? คุณต้องการดำเนินชีวิตที่พระยะโฮวาทรงเรียกอย่างที่ดึงดูดใจเราว่า “ชีวิตจริง ๆ” นั้นไหม? (1 ติโมเธียว 6:19) ดังนั้น ในทุกวิถีทาง จงตั้งใจที่จะดำเนินกับพระยะโฮวาในวันนี้, วันพรุ่งนี้, และทุก ๆ วันหลังจากนั้นจนตลอดนิรันดรกาล!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 คัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลบางฉบับเปลี่ยนคำว่า “ศอก” ในข้อนี้เป็นคำที่ใช้บอกเวลา เช่น “ชั่วขณะหนึ่ง” (ดิ เอมฟาติก ไดอะกลอตต์) หรือ “นาทีเดียว” (ฉบับแปลในภาษาของประชาชน โดยชาลส์ บี. วิลเลียมส์.) อย่างไรก็ดี คำที่ใช้ในต้นฉบับเดิมมีความหมายอย่างชัดแจ้งว่าหนึ่งศอก ซึ่งยาวประมาณ 18 นิ้ว (45 เซนติเมตร).
คุณจะตอบอย่างไร?
• การดำเนินกับพระเจ้าหมายความเช่นไร?
• ทำไมคุณรู้สึกว่าจำเป็นต้องดำเนินกับพระเจ้า?
• อะไรจะช่วยคุณให้ดำเนินกับพระเจ้า?
• คนที่ดำเนินกับพระเจ้าจะประสบพระพรอะไรบ้าง?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
โดยทางคัมภีร์ไบเบิล เราได้ยินพระสุรเสียงของพระยะโฮวาตรัสจากข้างหลังเราว่า “ทางนี้แหละ”
[ภาพหน้า 25]
ณ การประชุมต่าง ๆ เราได้รับอาหารฝ่ายวิญญาณที่เหมาะกับเวลา