จงเลียนแบบความอดกลั้นของพระยะโฮวา
จงเลียนแบบความอดกลั้นของพระยะโฮวา
“พระยะโฮวาไม่ได้ทรงเฉื่อยช้าในเรื่องคำสัญญาของพระองค์ . . . แต่พระองค์อดกลั้นพระทัย.”—2 เปโตร 3:9, ล.ม.
1. พระยะโฮวาเสนอของประทานอะไรแก่มนุษย์ซึ่งไม่มีอะไรจะเทียบได้?
พระยะโฮวาเสนอบางสิ่งให้เราอย่างที่ไม่มีใครอื่นเสนอให้ได้. เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาและล้ำค่ายิ่ง แต่กระนั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะซื้อขายกันได้หรือได้รับเป็นค่าจ้าง. สิ่งนั้นก็คือชีวิตนิรันดร์ ซึ่งสำหรับพวกเราส่วนใหญ่แล้ว หมายถึงการมีชีวิตไม่รู้สิ้นสุดในอุทยานบนแผ่นดินโลก. (โยฮัน 3:16) นั่นจะก่อให้เกิดความปีติยินดีเสียจริง ๆ! เหตุที่ก่อให้เกิดความเศร้าสลด เช่น การต่อสู้กัน, ความรุนแรง, ความยากจน, อาชญากรรม, ความเจ็บป่วย, และแม้กระทั่งความตาย จะไม่มีอีกต่อไป. ผู้คนจะอยู่อย่างสันติและปรองดองกันเต็มที่ภายใต้การปกครองด้วยความรักของราชอาณาจักรของพระเจ้า. เราปรารถนาอุทยานดังกล่าวอย่างยิ่งสักเพียงไร!—ยะซายา 9:6, 7; วิวรณ์ 21:4, 5.
2. ทำไมพระยะโฮวายังไม่ได้ทำลายโลกของซาตาน?
2 พระยะโฮวาก็ทรงจดจ่อคอยท่าเวลาที่พระองค์จะให้มีอุทยานขึ้นบนแผ่นดินโลกเช่นกัน. ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะพระองค์ทรงรักความชอบธรรมและความยุติธรรม. (บทเพลงสรรเสริญ 33:5) พระองค์หาชอบพระทัยไม่ที่เห็นโลกไม่แยแสหรือดำเนินสวนทางกับหลักการอันชอบธรรมของพระองค์ โลกที่บอกปัดสิทธิอำนาจของพระองค์และข่มเหงประชาชนของพระองค์. ถึงกระนั้น มีเหตุผลอันดีที่พระองค์ยังไม่ดำเนินการทำลายโลกชั่วของซาตาน. เหตุผลต่าง ๆ ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อสงสัยในเรื่องสิทธิอันชอบธรรมในการปกครองของพระองค์. ในการจัดการกับข้อสงสัยเหล่านี้ พระยะโฮวาทรงสำแดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งที่ดึงดูดใจเป็นพิเศษ อันเป็นคุณลักษณะที่หลายคนในทุกวันนี้ไม่มี นั่นคือ ความอดกลั้น.
3. (ก) คำกรีกและคำฮีบรูที่ได้รับการแปลในคัมภีร์ไบเบิลว่า “ความอดกลั้นใจ” มีความหมายประการใด? (ข) จากนี้ไปเราจะพิจารณาคำถามอะไรบ้าง?
3 มีคำกรีกคำหนึ่งที่ได้รับการแปลในคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลโลกใหม่ สามครั้งว่า “ความอดกลั้นใจ.” คำดังกล่าวมีความหมายตามตัวอักษรว่า “ความยาวของจิตใจ” และจึงมีการแปลบ่อยครั้งว่า “ความอดกลั้นไว้นาน” และครั้งหนึ่งแปลว่า “แสดงความอดทน.” ทั้งคำกรีกและคำฮีบรูที่มีการแปลว่า “ความอดกลั้นใจ” แฝงความคิดของการยอมทนและไม่โกรธเคืองง่าย ๆ. ความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวาเป็นประโยชน์ต่อเราอย่างไร? เราเรียนอะไรได้จากความอดกลั้นพระทัยและความอดทนของพระยะโฮวาและของผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์? เรารู้อย่างไรว่าความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวาไม่ได้เป็นแบบไร้ขีดจำกัด? ให้เรามาพิจารณากัน.
พิจารณาเรื่องความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวา
4. อัครสาวกเปโตรเขียนไว้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวา?
4 อัครสาวกเปโตรเขียนเกี่ยวกับความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวาว่า “ดูก่อนพวกที่รัก อย่าให้ข้อเท็จจริงข้อนี้พ้นจากการสังเกตของท่านทั้งหลาย คือว่าวันเดียวสำหรับพระยะโฮวาเป็นเหมือนพันปี และพันปีก็เป็นเหมือนวันเดียว. พระยะโฮวาไม่ได้ทรงเฉื่อยช้าในเรื่องคำสัญญาของพระองค์เหมือนบางคนถือว่าช้านั้น แต่พระองค์อดกลั้นพระทัยกับท่านทั้งหลาย เพราะพระองค์ไม่ประสงค์จะให้คนหนึ่งคนใดถูกทำลาย แต่ทรงปรารถนาจะให้คนทั้งปวงกลับใจเสียใหม่.” (2 เปโตร 3:8, 9, ล.ม.) ขอสังเกตสองจุดที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ที่ช่วยเราให้เข้าใจความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวา.
5. มุมมองเรื่องเวลาของพระยะโฮวาส่งผลกระทบอย่างไรต่อการกระทำของพระองค์?
5 จุดแรกคือมุมมองเรื่องเวลาของพระยะโฮวาต่างจากมุมมองของเรา. สำหรับผู้ทรงดำรงอยู่เป็นนิตย์ พันปีก็เป็นเหมือนวันเดียว. พระองค์ไม่ได้ถูกจำกัดหรือถูกกดดันด้วยเวลา แต่พระองค์ก็ไม่เฉื่อยช้าในการลงมือจัดการลูกา 1:78, ล.ม.; 1 โยฮัน 4:8) พระองค์สามารถลบล้างผลเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่พระองค์ทรงยอมให้ความทุกข์มีอยู่ชั่วคราวนี้ได้อย่างสิ้นเชิงและถาวร.—บทเพลงสรรเสริญ 37:10.
ปัญหา. เนื่องจากมีพระปัญญาที่ไม่มีขีดจำกัด พระยะโฮวาทรงรู้ดีว่าเมื่อไรเป็นเวลาเหมาะที่สุดที่จะดำเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และพระองค์ทรงอดใจรอคอยวันเวลานั้น. อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรลงความเห็นว่าพระยะโฮวาเพิกเฉยความทุกข์ใด ๆ ที่ผู้รับใช้ของพระองค์อาจประสบในระหว่างนี้. พระองค์เป็นพระเจ้าที่มี “ความสงสารอันอ่อนละมุน” และทรงเป็นแบบฉบับของความรัก. (6. เราไม่ควรสรุปเช่นไรเกี่ยวกับพระเจ้า และเพราะเหตุใด?
6 เป็นเรื่องธรรมดาที่การรอคอยบางสิ่งที่เราปรารถนาจะได้รับนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย. (สุภาษิต 13:12) ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีใครชักช้าในการทำตามที่เขาสัญญาไว้ คนอื่น ๆ ก็อาจสรุปว่าเขาไม่ได้มุ่งมั่นจะทำตามคำสัญญา. คงจะไม่สุขุมสักเพียงไรที่จะคิดอย่างนั้นกับพระเจ้า! หากเราหลงเข้าใจว่าการอดกลั้นพระทัยของพระเจ้าคือความเฉื่อยช้า เวลาที่ผ่านไปก็อาจทำให้เราเริ่มคิดสงสัยและท้อใจได้อย่างง่ายดาย และเสี่ยงที่จะตกอยู่ในสภาพเงื่องหงอยฝ่ายวิญญาณ. แย่ยิ่งกว่านั้น เราอาจถูกชักนำให้หลงโดยคนเหล่านั้นที่เปโตรเตือนไว้ก่อนหน้านั้นให้ระวัง ซึ่งก็คือ พวกที่เยาะเย้ย ผู้ซึ่งไม่มีความเชื่อ. คนเหล่านั้นจะเย้ยว่า “การประทับของพระองค์ที่ทรงสัญญาไว้นี้อยู่ที่ไหนล่ะ? ก็ตั้งแต่สมัยที่บรรพบุรุษของเราได้ล่วงหลับไปในความตาย สิ่งทั้งปวงก็ดำเนินต่อไปเหมือนตั้งแต่ตอนเริ่มต้นการทรงสร้างนั้นทีเดียว.”—2 เปโตร 3:4, ล.ม.
7. ความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวาเกี่ยวข้องอย่างไรกับความปรารถนาของพระองค์ที่จะให้คนทั้งปวงกลับใจเสียใหม่?
7 จุดที่สองที่เราได้จากคำกล่าวของเปโตรก็คือ พระยะโฮวาอดกลั้นพระทัยเพราะพระองค์ปรารถนาให้คนทั้งปวงกลับใจเสียใหม่. ผู้ที่แข็งขืนไม่ยอมหันกลับจากทางชั่วของตนจะถูกพระยะโฮวาสำเร็จโทษ. อย่างไรก็ดี พระเจ้าไม่ได้พึงพอพระทัยในความตายของคนชั่ว. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พระองค์ทรงยินดีที่เห็นผู้คนกลับใจ หันกลับจากทางชั่วของตน และดำรงชีวิตอยู่ต่อไป. (ยะเอศเคล 33:11) นั่นเป็นเหตุที่พระองค์ยังคงอดกลั้นพระทัยอยู่ต่อไป และให้มีการประกาศข่าวดีไปตลอดทั่วโลกเพื่อผู้คนอาจจะมีโอกาสมากพอที่จะรอดชีวิต.
8. ความอดกลั้นพระทัยของพระเจ้าเห็นได้อย่างไรจากวิธีที่พระองค์ปฏิบัติกับชาติอิสราเอล?
8 ความอดกลั้นพระทัยของพระเจ้ายังเห็นได้จากวิธีที่พระองค์ปฏิบัติกับชาติอิสราเอลโบราณ. เป็นเวลาหลายศตวรรษ พระองค์ทรงยอมทนกับการไม่เชื่อฟังของพวกเขา. โดยทางผู้พยากรณ์ของพระองค์ พระองค์ทรงกระตุ้นพวกเขาครั้งแล้วครั้งเล่าว่า “จงหันกลับจากทางชั่วของเจ้าทั้ง2 กษัตริย์ 17:13, 14, ล.ม.
หลายและรักษาบัญญัติของเรา ข้อกฎหมายของเรา ตามกฎหมายทั้งปวงที่เราได้สั่งบรรพบุรุษของเจ้า และที่เราได้ให้แก่เจ้าโดยทางผู้พยากรณ์ผู้รับใช้ของเรา.” ผลเป็นอย่างไร? น่าเสียดายที่พวกเขา “ไม่ฟัง.”—9. ความอดกลั้นพระทัยของพระเยซูสะท้อนถึงความอดกลั้นพระทัยของพระบิดาอย่างไร?
9 ท้ายที่สุด พระยะโฮวาได้ส่งพระบุตรของพระองค์ ผู้ทรงเชิญชวนชาวยิวอย่างไม่หยุดหย่อนให้กลับมาคืนดีกับพระเจ้า. ความอดกลั้นพระทัยของพระเยซูได้สะท้อนถึงความอดกลั้นพระทัยของพระบิดาอย่างสมบูรณ์แบบ. เนื่องจากรู้ดีว่าอีกไม่นานพระองค์จะถูกประหาร พระองค์คร่ำครวญว่า “โอยะรูซาเลม ๆ ที่ได้ฆ่าบรรดาศาสดาพยากรณ์, และเอาหินขว้างผู้ที่รับใช้มาหาเจ้า, เราใคร่จะรวบรวมลูกของเจ้าไว้เนือง ๆ เหมือนแม่ไก่กกลูกอยู่ใต้ปีกของมัน, แต่เจ้าไม่ยอม.” (มัดธาย 23:37) ถ้อยคำที่สะเทือนอารมณ์นี้ไม่ได้มาจากผู้พิพากษาใจแข็งที่กระหายจะลงโทษ แต่มาจากผู้ที่เป็นมิตรซึ่งมีความรักใคร่และแสดงความอดทนต่อผู้คน. เช่นเดียวกับพระบิดาของพระองค์ในสวรรค์ พระเยซูประสงค์ให้คนทั้งปวงกลับใจเสียใหม่เพื่อจะพ้นการพิพากษาลงโทษ. บางคนฟังคำเตือนของพระเยซู และหนีพ้นการพิพากษาอันน่ากลัวที่ตกแก่กรุงเยรูซาเลมในปี ส.ศ. 70.—ลูกา 21:20-22.
10. ความอดกลั้นพระทัยของพระเจ้าเป็นประโยชน์ต่อเราในทางใด?
10 ความอดกลั้นพระทัยของพระเจ้าเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจสำหรับเรามิใช่หรือ? ทั้ง ๆ ที่มนุษยชาติไม่เชื่อฟังพระองค์อย่างเหลือทน พระยะโฮวาก็ยังให้โอกาสเราแต่ละคนพร้อมกับคนอื่น ๆ อีกหลายล้านคนได้มารู้จักพระองค์และรับเอาความหวังเรื่องความรอด. เปโตรเขียนถึงเพื่อนคริสเตียนว่า “จงถือว่าการที่องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้ทรงอดกลั้นพระทัยไว้นานนั้นก็เป็นที่ให้เรารอด.” (2 เปโตร 3:15) เรารู้สึกขอบคุณมิใช่หรือที่ความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวาได้เปิดโอกาสให้เราได้รับความรอด? เราอธิษฐานขอให้พระยะโฮวาอดทนกับเราเรื่อยไปมิใช่หรือขณะที่เรารับใช้พระองค์ในแต่ละวัน?—มัดธาย 6:12.
11. การเข้าใจเกี่ยวกับความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวากระตุ้นเราให้ทำอะไร?
11 เมื่อเราเข้าใจเหตุผลที่พระยะโฮวาทรงอดกลั้นพระทัย นั่นช่วยเราให้อดทนรอคอยความรอดซึ่งพระองค์จะนำมา เราจะไม่ลงความเห็นว่าพระองค์ทรงเฉื่อยช้าในการทำตามที่สัญญาไว้. (บทเพลงร้องทุกข์ 3:26) ขณะที่เราอธิษฐานขอต่อ ๆ ไปให้ราชอาณาจักรของพระเจ้ามา เราวางใจว่าพระเจ้าทรงทราบว่าเมื่อใดเป็นเวลาเหมาะที่สุดที่จะตอบคำอธิษฐานนั้น. นอกจากนี้ เราได้รับการกระตุ้นให้เลียนแบบพระยะโฮวาโดยแสดงความอดทนเหมือนพระองค์ในการปฏิบัติต่อพี่น้องของเราและต่อคนที่เราประกาศให้ฟัง. เราก็เช่นกันไม่ปรารถนาให้ใครถูกทำลาย แต่อยากเห็นพวกเขากลับใจและมีความหวังเรื่องชีวิตนิรันดร์เหมือนกับพวกเรา.—1 ติโมเธียว 2:3, 4.
พิจารณาเรื่องการอดกลั้นใจของพวกผู้พยากรณ์
12, 13. สอดคล้องกับยาโกโบ 5:10 ผู้พยากรณ์ยะซายาแสดงความอดกลั้นใจอย่างบรรลุผลสำเร็จอย่างไร?
12 การพิจารณาความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวาช่วยเราทั้งหยั่งรู้ค่าและปลูกฝังคุณลักษณะดังกล่าว. สำหรับมนุษย์ไม่สมบูรณ์แล้ว การปลูกฝังความอดทนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็สามารถทำได้. เราเรียนรู้จากตัวอย่างของผู้รับใช้ของพระเจ้าสมัยโบราณ. สาวกยาโกโบเขียนดังนี้: “พี่น้องทั้งหลาย ในเรื่องการทนรับการชั่วร้ายและการอดกลั้นใจนั้น จงเอาแบบอย่างของพวกผู้พยากรณ์ที่ได้กล่าวในนามของพระยะโฮวา.” (ยาโกโบ 5:10, ล.ม.) การรู้ว่าคนอื่น ๆ ประสบความสำเร็จในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ ที่คล้ายกันกับที่เราเผชิญนั้นเป็นการปลอบโยนและชูใจเรา.
13 ตัวอย่างเช่น ผู้พยากรณ์ยะซายาจำเป็นต้องมีความอดทนในการทำงานมอบหมายของท่านแน่ ๆ. พระยะโฮวาบ่งชี้ถึงเรื่องนี้เมื่อตรัสแก่ท่านว่า “ไปบอกพลเมืองเหล่านี้ว่า, ‘ฟังแล้วฟังเล่า, ก็จะไม่เห็นเข้าใจ; มองซ้ำมองซาก, แต่ก็จะไม่เห็นอะไร.’ จงไปทำให้ใจของพลเมืองนั้นให้มึนชาไป, และจงกระทำให้หูของเขาตึงไป, และจงป้ายตาของเขาให้ปิด; เกรงว่าเมื่อเห็นกับตาของเขา; และยินกับหู, และเข้าใจด้วยใจของเขา, เขาจะกลับใจเสียใหม่, และเขาจะถูกรักษาให้หาย.” (ยะซายา 6:9, 10) ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการตอบรับจากชนชาตินี้ ยะซายาอดทนแถลงข่าวสารที่เป็นคำเตือนของพระยะโฮวาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 46 ปี! เช่นเดียวกัน ความอดทนจะช่วยเราให้ยืนหยัดในการประกาศข่าวดี แม้ว่าหลายคนไม่ตอบรับ.
14, 15. อะไรช่วยยิระมะยาในการรับมือกับความทุกข์ยากลำบากและความท้อใจ?
ยิระมะยา 20:2; 37:15; 38:6) ท่านถูกข่มเหงเช่นนี้ด้วยน้ำมือของผู้ที่ท่านต้องการจะช่วยพวกเขา. กระนั้น ยิระมะยาไม่แค้นเคืองหรือโต้ตอบ. ท่านเพียรอดทนด้วยอดกลั้นใจอยู่เป็นเวลาหลายสิบปี.
14 ขณะที่เหล่าผู้พยากรณ์ทำงานรับใช้ของตน พวกเขาต้องเผชิญไม่เพียงแต่การไม่ตอบรับเท่านั้น แต่ยังถูกข่มเหงอีกด้วย. ยิระมะยาถูกจับใส่ขื่อ ถูกล่ามโซ่ตรวนอยู่ใน “คุก” และถูกโยนลงบ่อน้ำ. (15 การข่มเหงและการเยาะเย้ยไม่ได้ทำให้ยิระมะยาเลิกรา และก็จะไม่ทำให้เราเลิกราเช่นกัน. แน่ละ เราอาจท้อในบางครั้ง. ยิระมะยาก็เคยท้อใจ. ท่านเขียนว่า “คำของพระยะโฮวาเป็นความดูหมิ่น, แลเป็นความเยาะเย้ยแก่ข้าพเจ้าทุกวัน. ขณะนั้นข้าพเจ้าได้บอกว่า, ข้าพเจ้าจะไม่พูดถึงพระองค์อีก, หรือจะไม่บอกในนามของพระองค์อีกแล้ว.” เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น? ยิระมะยาหยุดประกาศไหม? ท่านกล่าวต่อไปว่า “คำของพระองค์อยู่ในใจข้าพเจ้าเหมือนอย่างไฟปิดไว้ในกะดูกทั้งปวงของตัวข้าพเจ้า, แลข้าพเจ้าจึงเหน็ดเหนื่อยด้วยการนิ่งอยู่, แลข้าพเจ้าจะนิ่งต่อไปมิได้.” (ยิระมะยา 20:8, 9) ขอสังเกตว่าเมื่อท่านมุ่งสนใจการเยาะเย้ยของผู้คน ท่านสูญเสียความยินดี. เมื่อท่านหันมาใส่ใจความล้ำเลิศและความสำคัญของข่าวสารนั้น ท่านกลับมามีความยินดีอีก. ยิ่งกว่านั้น พระยะโฮวาอยู่กับยิระมะยา “อย่างผู้มีฤทธิ์” และทรงเสริมกำลังให้ท่านประกาศคำของพระองค์ด้วยใจแรงกล้าและด้วยความกล้าหาญ.—ยิระมะยา 20:11.
16. เราจะรักษาความยินดีในงานประกาศข่าวดีไว้ได้อย่างไร?
16 ผู้พยากรณ์ยิระมะยามีความยินดีในงานที่ท่านทำไหม? แน่นอนที่สุด! ท่านทูลพระยะโฮวาว่า “คำโอวาทของพระองค์ข้าพเจ้าได้พบแล้ว, แลข้าพเจ้าได้กินคำนั้น, แลคำโอวาทของพระองค์เป็นที่ให้เกิดความอภิรมย์ยินดีในใจข้าพเจ้า, เพราะข้าพเจ้าเรียกชื่อด้วยนามของพระองค์, โอ้พระยะโฮวา.” (ยิระมะยา 15:16) ยิระมะยาชื่นชมยินดีที่ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนของพระเจ้าองค์เที่ยงแท้และประกาศพระคำของพระองค์. เราก็มีความปีติยินดีได้เช่นกัน. นอกจากนั้น เรายังมีความชื่นชมยินดีเช่นเดียวกับเหล่าทูตสวรรค์ ที่ผู้คนมากมายจริง ๆ ตลอดทั่วโลกตอบรับข่าวสารราชอาณาจักร, กลับใจ, และดำเนินอยู่บนเส้นทางที่นำไปสู่ชีวิตนิรันดร์.—ลูกา 15:10.
“ความเพียรอดทนของโยบ”
17, 18. โยบเพียรอดทนในเรื่องใด และผลเป็นเช่นไร?
17 หลังจากให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับพวกผู้พยากรณ์สมัยโบราณ สาวกยาโกโบเขียนว่า “ท่านทั้งหลายเคยได้ยินถึงความเพียรอดทนของโยบและได้เห็นผลที่พระยะโฮวาทรงประทานแล้วว่า พระยะโฮวาทรงเปี่ยมไปด้วยความรักใคร่อันอ่อนละมุนและเมตตา.” (ยาโกโบ 5:11, ล.ม.) คำกรีกที่ได้รับการแปลว่า “เพียรอดทน” ในข้อคัมภีร์นี้มีความหมายคล้ายกันกับคำกรีกที่ยาโกโบใช้ซึ่งได้รับการแปลว่า “การอดกลั้นใจ” ในข้อก่อน. เมื่อกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ ผู้คงแก่เรียนคนหนึ่งเขียนว่า “คำที่ได้รับการแปลว่า “การอดกลั้นใจ” หมายถึงความอดกลั้นเมื่อผู้คนข่มเหงเรา คำที่ได้รับการแปลว่า “เพียรอดทน” หมายถึงความอุตสาหะพากเพียรอย่างกล้าหาญเมื่ออยู่ในสภาพการณ์ที่ยากลำบาก.”
18 โยบประสบความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส. ท่านสิ้นเนื้อประดาตัว, สูญเสียลูก ๆ, และเป็นโรคที่ก่อความเจ็บปวดทรมาน. นอกจากนั้น ท่านยังต่อสู้กับข้อกล่าวหาผิด ๆ ที่ว่าพระยะโฮวาทรงลงโทษท่าน. โยบไม่ได้ทนทุกข์โดยไม่ปริปาก โยบ 35:2) อย่างไรก็ดี ท่านไม่เคยสูญเสียความเชื่อหรือความซื่อสัตย์มั่นคง. ท่านไม่แช่งด่าพระเจ้าอย่างที่ซาตานบอกว่าท่านจะทำ. (โยบ 1:11, 21, ฉบับแปลใหม่) ผลเป็นอย่างไร? “พระยะโฮวาได้ทรงอวยพรชีวิตบั้นปลายของโยบให้รุ่งเรืองยิ่งกว่าชีวิตในบั้นต้นของท่าน.” (โยบ 42:12) พระยะโฮวาบันดาลให้โยบหายขาดจากโรค ให้มีทรัพย์สมบัติเป็นสองเท่า และอวยพรท่านให้มีชีวิตที่บริบูรณ์และมีความสุขกับคนที่ท่านรัก. ความอดทนอย่างซื่อสัตย์ของโยบยังช่วยให้ท่านเข้าใจบุคลิกลักษณะของพระยะโฮวามากขึ้นอีกด้วย.
ท่านโอดครวญถึงสภาพการณ์ของท่าน และถึงกับพูดในเชิงว่าท่านมีความชอบธรรมมากกว่าพระเจ้า. (19. เราเรียนรู้อะไรจากความเพียรอดทนด้วยความอดกลั้นใจของโยบ?
19 เราเรียนรู้อะไรจากความเพียรอดทนด้วยความอดกลั้นใจของโยบ? เช่นเดียวกับโยบ เราอาจเจ็บป่วยหรือประสบความทุกข์ยาก. เราอาจไม่เข้าใจเต็มที่ว่าทำไมพระยะโฮวาจึงยอมให้เราประสบความทุกข์ร้อนอย่างหนึ่งอย่างใด. ถึงกระนั้น เรามั่นใจได้อย่างหนึ่งว่า ถ้าเรารักษาความซื่อสัตย์ เราจะได้รับการอวยพร. พระยะโฮวาย่อมจะประทานบำเหน็จให้แก่ผู้ที่แสวงหาพระองค์อย่างจริงจัง. (เฮ็บราย 11:6) พระเยซูตรัสว่า “ผู้ใดทนได้จนถึงที่สุด ผู้นั้นจะรอด.”—มัดธาย 10:22; 24:13.
“วันของพระยะโฮวาจะมา”
20. ทำไมเราจึงมั่นใจได้ว่าวันของพระยะโฮวาจะมา?
20 ถึงแม้พระยะโฮวาทรงอดกลั้นพระทัย แต่พระองค์ก็ทรงยุติธรรมด้วย และจะไม่ปล่อยให้ความชั่วมีอยู่ตลอดไป. ความอดกลั้นพระทัยของพระองค์มีขีดจำกัด. เปโตรเขียนว่า “[พระเจ้า] มิได้ทรงยับยั้งไว้จากการลงโทษโลกในสมัยโบราณ.” ขณะที่โนฮากับครอบครัวของท่านได้รับการสงวนชีวิต แต่โลกที่ไม่นับถือพระเจ้าถูกน้ำท่วมทำลาย. เช่นเดียวกัน พระยะโฮวาทรงพิพากษาลงโทษเมืองโซโดมกับโกโมร์ราห์ ทำลายเมืองทั้งสองจนเป็นเถ้าถ่าน. การพิพากษาลงโทษเหล่านี้เป็น “แบบอย่างสำหรับคนที่ดูหมิ่นพระเจ้าเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น.” เราสามารถมั่นใจได้ว่า “วันของพระยะโฮวาจะมา.”—2 เปโตร 2:5, 6; 3:10, ล.ม.
21. เราอาจจะแสดงความอดทนและความอดกลั้นใจได้อย่างไร และเราจะพิจารณาอะไรในบทความหน้า?
21 ฉะนั้น ให้เราเลียนแบบความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวาด้วยการช่วยคนอื่น ๆ ให้กลับใจเพื่อว่าพวกเขาจะมีโอกาสได้รับความรอด. เช่นเดียวกัน ให้เราเลียนแบบเหล่าผู้พยากรณ์โดยการประกาศข่าวดีด้วยความอดทนต่อ ๆ ไปแม้ว่าจะไม่มีการตอบรับจากผู้ที่เราประกาศให้ฟัง. นอกจากนี้ เรามั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาจะอวยพรเราอย่างอุดม หากเราทนรับความทุกข์ยากและรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงเช่นเดียวกับโยบ. เรามีเหตุผลเต็มเปี่ยมที่จะชื่นชมยินดีในงานรับใช้ของเราเมื่อเราคำนึงถึงว่าพระยะโฮวาทรงอวยพรการงานประกาศข่าวดีตลอดทั่วโลกของประชาชนของพระองค์อย่างล้นเหลือสักเพียงไร. เราจะพิจารณาเรื่องนี้กันในบทความหน้า.
คุณจำได้ไหม?
• เพราะเหตุใดพระยะโฮวาจึงอดกลั้นพระทัย?
• เราเรียนรู้อะไรจากการอดกลั้นใจของเหล่าผู้พยากรณ์?
• โยบแสดงความเพียรอดทนอย่างไร และผลเป็นอย่างไร?
• เรารู้อย่างไรว่าความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวาไม่ได้เป็นแบบไร้ขีดจำกัด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 18]
ความอดกลั้นพระทัยของพระเยซูได้สะท้อนถึงความอดกลั้นพระทัยของพระบิดาอย่างสมบูรณ์แบบ
[ภาพหน้า 20]
พระยะโฮวาทรงตอบแทนความอดทนของยิระมะยาอย่างไร?
[ภาพหน้า 21]
พระยะโฮวาทรงตอบแทนความอดทนของโยบอย่างไร?