อย่ากลัวเลยพระยะโฮวาทรงอยู่กับคุณ!
อย่ากลัวเลยพระยะโฮวาทรงอยู่กับคุณ!
นานกว่า 50 ปีมาแล้ว หลังการระเบิดของนิวเคลียร์ครั้งแรกได้ไม่นาน แฮโรลด์ ซี. อูเรย์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลได้พูดถึงอนาคตไว้ดังนี้: “เราจะกินด้วยความกลัว, นอนด้วยความกลัว, อยู่ด้วยความกลัวและตายด้วยความกลัว.” จริงทีเดียว โลกของเราในทุกวันนี้เต็มไปด้วยความกลัว และนี่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก! ทุก ๆ วันหนังสือพิมพ์ประโคมข่าวที่น่าสะพรึงกลัวเกี่ยวกับการก่อการร้าย, อาชญากรรมที่รุนแรง, และโรคประหลาดต่าง ๆ.
ในฐานะคริสเตียน เรารู้ว่าสภาพการณ์เช่นนี้มีความหมายอย่างไร. สภาพการณ์เหล่านี้บ่งชี้ว่าเรากำลังมีชีวิตอยู่ใน “สมัยสุดท้าย” ของระบบชั่วนี้ ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลพยากรณ์ไว้ว่าจะมี “วิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้” เป็นลักษณะสำคัญ. (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) เพราะเหตุนี้เราจึงยิ่งมั่นใจว่าในไม่ช้าพระยะโฮวาจะทรงเปลี่ยนโลกนี้ให้เป็นโลกใหม่ที่ซึ่งความชอบธรรมจะดำรงอยู่. (2 เปโตร 3:13) แต่ในเวลานี้ พวกเราที่เป็นคริสเตียนประสบกับความกลัวด้วยไหม?
ความกลัวกับผู้รับใช้ของพระเจ้า
ยาโคบ, ดาวิด, และเอลียาต่างก็เป็นผู้รับใช้พระยะโฮวาที่เคยประสบกับความกลัวมาแล้วไม่มากก็น้อยเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย. (เยเนซิศ 32:6, 7; 1 ซามูเอล 21:11, 12; 1 กษัตริย์ 19:2, 3) ทั้งสามคนไม่ได้ขาดความเชื่อ. ตรงกันข้าม พวกเขาแสดงออกถึงความไว้วางใจอย่างมั่นคงในพระยะโฮวา. แต่ถึงอย่างไร ยาโคบ, ดาวิด, และเอลียาก็เป็นมนุษย์ ฉะนั้น พวกเขาจึงอาจรู้สึกกลัวได้. สาวกยาโกโบเขียนว่า “เอลียาเป็นมนุษย์ที่มีความรู้สึกเช่นเราทั้งหลาย.”—ยาโกโบ 5:17, ล.ม.
เราเองก็อาจหวั่นกลัวเมื่อคิดถึงปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในขณะนี้ หรือที่อาจต้องเจอในอนาคต. ความกลัวเช่นนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้. ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า ซาตานพญามารมุ่งมั่นที่จะ “ทำสงคราม” กับผู้ที่ “ปฏิบัติตามข้อบัญญัติต่าง ๆ ของพระเจ้าและมีงานเป็นพยานถึงพระเยซู.” (วิวรณ์ 12:17, ล.ม.) แม้ว่าคำกล่าวนี้จะเกี่ยวข้องกับคริสเตียนผู้ถูกเจิมโดยเฉพาะ แต่เปาโลกล่าวว่า “ทุกคน ที่ปรารถนาจะดำเนินชีวิตด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้าร่วมกับพระคริสต์เยซูก็จะถูกข่มเหงด้วย.” (2 ติโมเธียว 3:12, ล.ม.) กระนั้น เมื่อเราเผชิญกับปัญหา ไม่จำเป็นที่ความกลัวจะครอบงำเราจนทำอะไรไม่ได้. เพราะเหตุใด?
“พระเจ้าผู้ทรงช่วยให้เรารอด”
ดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนไว้ว่า “พระเจ้าเป็นพระเจ้าผู้ทรงช่วยให้เรารอด.” (บทเพลงสรรเสริญ 68:20) พระยะโฮวาทรงแสดงให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่าทรงมีความสามารถที่จะช่วยประชาชนของพระองค์ให้รอด ไม่ว่าจะโดยช่วยให้พ้นจากสถานการณ์อันตรายหรือโดยประทานกำลังแก่พวกเขาเพื่อจะอดทนได้. (บทเพลงสรรเสริญ 34:17; ดานิเอล 6:22; 1 โกรินโธ 10:13) จากที่คุณได้ศึกษาในคัมภีร์ไบเบิล มี ‘การช่วยให้รอด’ เช่นนั้นกี่ครั้งที่คุณจำได้?
โดยอาศัยดัชนีสรรพหนังสือของว็อชเทาเวอร์ * คุณน่าจะลองค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น น้ำท่วมโลกในสมัยโนฮา, การช่วยโลตและลูกสาวออกจากโซโดมและโกโมร์ราห์, การเดินทางออกจากอียิปต์และข้ามทะเลแดงของชาวอิสราเอล, หรือการล้มแผนของฮามานที่จะทำลายชาติยิว. การอ่านและตรึกตรองเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้จะทำให้คุณมีความเชื่อเข้มแข็งยิ่งขึ้นว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าผู้ทรงช่วยให้รอด. และการมีความเชื่อเช่นนี้จะช่วยคุณให้เผชิญการทดลองความเชื่อได้โดยไม่หวั่นกลัว.
ตัวอย่างในปัจจุบัน
คุณนึกออกไหมว่ามีใครบ้างในประชาคมเดียวกันกับคุณหรือใกล้เคียงที่เป็นตัวอย่างในเรื่องความเพียรอดทน? อาจ
เป็นคนที่เคยถูกคุมขังเนื่องจากได้รักษาความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า. คุณอาจรู้จักคริสเตียนสูงอายุที่กำลังรับใช้พระยะโฮวาแม้จะมีปัญหาสุขภาพ. หรืออาจคิดถึงเยาวชนที่รักษาตัวต่างหากจากโลกแม้เผชิญความกดดันมากมายจากเพื่อนนักเรียน. แล้วก็ยังมีบิดาหรือมารดาไร้คู่ที่กำลังเลี้ยงดูบุตรตามลำพัง หรือคนโสดที่อาจรับใช้พระยะโฮวาแม้จะรู้สึกว้าเหว่. คุณได้เรียนอะไรจากคนเหล่านี้? การคิดใคร่ครวญถึงการดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ของพวกเขาจะช่วยคุณให้อดทนและไม่หวั่นกลัวไม่ว่าคุณจะประสบการทดลองในเรื่องใดก็ตาม.เราต้องไม่หวั่นกลัวไม่เฉพาะแต่เมื่อเผชิญการต่อต้านและการข่มเหงเท่านั้น แต่รวมถึงเมื่อเราเริ่มสงสัยความรักของพระยะโฮวาที่มีต่อเราด้วย. เราจำเป็นต้องเสริมสร้างความมั่นใจที่ว่าค่าไถ่ของพระคริสต์ใช้ได้กับเราเป็นรายบุคคล. (ฆะลาเตีย 2:20) ครั้นแล้ว เราจะเข้าใกล้พระยะโฮวาได้โดยไม่รู้สึกหวั่นกลัว. หากเรารู้สึกว่าไม่มีค่าคู่ควรกับความรักของพระยะโฮวา เราสามารถใคร่ครวญถ้อยคำที่พระเยซูได้ตรัสกับเหล่าสาวกว่า “นกกระจาบสองตัวเขาขายสามสตางค์มิใช่หรือ และนกนั้นแม้สักตัวเดียวจะตกลงถึงดินนอกจากพระบิดาของท่านพอพระทัยก็มิได้. ถึงผมของท่านก็ทรงนับไว้แล้วทุกเส้น. เหตุฉะนั้นอย่ากลัวเลย ท่านทั้งหลายก็ประเสริฐกว่านกกระจาบหลายตัว.”—มัดธาย 10:29-31.
บ่อยครั้ง วารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! มักจะลงประสบการณ์ของพยานพระยะโฮวาสมัยปัจจุบันที่เผชิญสถานการณ์ที่ลำบากโดยไม่หวั่นกลัว. นี่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่รู้สึกเป็นทุกข์กับสิ่งที่ต้องเผชิญ. แต่พวกเขาไม่ปล่อยให้ความรู้สึกเช่นนั้นทำให้พวกเขาเลิกรับใช้พระยะโฮวา. เรื่องราวที่ได้รับการตีพิมพ์ของพวกเขาสามารถช่วยคุณให้อดทนโดยไม่หวั่นกลัวได้เช่นกัน. ขอพิจารณาสองตัวอย่างต่อไปนี้.
การบาดเจ็บทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไป
ตื่นเถิด! ฉบับ 8 พฤษภาคม 2003 ได้ลงบทความเรื่อง “การบาดเจ็บที่ทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนไป.” ในบทความนั้น สแตนลีย์ ออมเบวา พยานพระยะโฮวาคนหนึ่งในเคนยาได้เล่าย่อ ๆ เกี่ยวกับปัญหายุ่งยากที่เขาเผชิญซึ่งเป็นผลมาจากการถูกรถยนต์ที่แล่นมาอย่างเร็วพุ่งชน. เมื่อสุขภาพของเขาทรุดลง เขาต้องตกงานและสูญเสียสวัสดิการทุกอย่าง. ในเรื่องราวของเขา บราเดอร์ออมเบวายอมรับว่า “เมื่อผมเริ่มเข้าใจความร้ายแรงของสิ่งที่เกิดขึ้น ผมก็เกิดความรู้สึกในแง่ลบ, คิดถึงแต่ตนเอง, และมีอารมณ์หงุดหงิด. บางครั้ง ผมโมโหและเกรี้ยวกราด.” แม้จะตกอยู่ในสภาพที่ลำบากเช่นนั้น ชายคริสเตียนคนนี้ก็ไม่หวั่นกลัว. เขาไม่ปล่อยให้ความผิดหวังครอบงำและทำให้เขาวางมือจากทุกสิ่งทุกอย่าง. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เขาวางใจในพระยะโฮวา. บราเดอร์ออมเบวากล่าวว่า “พระองค์ทรงค้ำจุนผมเสมอในทุก ๆ สิ่งที่ผมประสบ มากจนบางครั้งผมรู้สึกละอายใจ. ผมตั้งใจแน่วแน่ที่จะอ่านและคิดใคร่ครวญถึงข้อคัมภีร์ที่ผมรู้ว่าจะช่วยปลอบโยนในสถานการณ์แบบนี้.”
ข้อคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาของบราเดอร์ออมเบวาช่วยหลายคนให้อดทนกับการทดลองได้โดยไม่หวั่นกลัว. สตรีคริสเตียนคนหนึ่งเขียนว่า “ดิฉันร้องไห้เมื่อได้อ่านเรื่องนี้. ดิฉันรู้สึกว่าพระยะโฮวากำลังแสดงออกถึงความอบอุ่นและความห่วงใยที่เปี่ยมด้วยความรักของพระองค์และทรงให้การชูใจแก่ดิฉัน.” พยานฯ อีกคนหนึ่งเขียนว่า “บทความเช่นนี้ให้กำลังใจอย่างมากแก่พวกเราบางคนซึ่งอยู่ในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน รวมถึงคนที่ทนทุกข์อยู่เงียบ ๆ.”
รับมือกับความทุกข์ใจ
อีกประสบการณ์หนึ่งที่น่าประทับใจคือประสบการณ์ของเฮอร์เบิร์ต เจนนิงส์ ซึ่งเล่าไว้ในบทความเรื่อง “ท่านไม่ * บราเดอร์เจนนิงส์เป็นโรคไบโพลาร์ (อาการผิดปกติทางอารมณ์สองอย่างที่ตรงข้ามกัน). เมื่อเล่าถึงช่วงแรก ๆ ที่รู้ตัวว่าป่วย เขากล่าวว่า “เพียงการเข้าไปร่วมประชุมคริสเตียนก็ต้องพยายามอย่างจริงจัง. กระนั้นก็ตาม ผมเชื่อมั่นแน่นอนในคุณค่าของการสมาคมคบหาฝ่ายวิญญาณ. เพื่อเอาชนะอุปสรรคดังกล่าว ผมมักจะเดินเข้าหอประชุมหลังจากกลุ่มคนนั่งเป็นที่เป็นทางแล้ว ครั้นระเบียบวาระจบลง ผมก็ออกจากหอประชุมไปก่อนที่เสียงจ้อกแจ้กจะเริ่มขึ้น.”
รู้ว่า ชีวิตของท่านจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่งนี้.”การประกาศก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน. บราเดอร์เจนนิงส์เล่าว่า “บางครั้งแม้มาถึงบ้านหลังหนึ่งแล้ว แค่จะกดกริ่งหน้าบ้านผมก็ยังไม่กล้า. อย่างไรก็ดี ผมไม่ละความพยายาม เพราะผมตระหนักดีว่างานรับใช้ที่เราทำนี้หมายถึงความรอดสำหรับตัวเอง และสำหรับคนที่ยินดีรับฟังด้วย. (1 ติโมเธียว 4:16) ชั่วประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ผมก็สามารถควบคุมอารมณ์ได้ แล้วไปบ้านถัดจากนั้น และพยายามอีก. โดยการเข้าส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในงานรับใช้ ผมจึงรักษาสุขภาพฝ่ายวิญญาณได้ดีพอสมควร และนั่นช่วยเพิ่มความสามารถของผมที่จะรับมือกับปัญหาได้ดีขึ้น.”
เรื่องราวที่บราเดอร์เจนนิงส์ได้เล่าโดยไม่ปิดบังช่วยผู้อ่านหลายคนให้รับมือกับความทุกข์โดยไม่หวั่นกลัวเช่นกัน. ตัวอย่างเช่น สตรีคริสเตียนคนหนึ่งเขียนว่า “ตลอด 28 ปีที่ดิฉันได้อ่านวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ไม่มีบทความใดทำให้ดิฉันซาบซึ้งใจมากเท่ากับบทความนี้. ดิฉันต้องเลิกทำงานรับใช้เต็มเวลาและรู้สึกผิดมาก. ดิฉันคิดว่าถ้าดิฉันมีความเชื่อมากกว่านี้ก็คงทำงานนี้ต่อไปได้. เมื่อได้อ่านว่าบราเดอร์เจนนิงส์ต้องถอนตัวจากงานมอบหมายของเขาเพื่อรักษาอาการป่วย ดิฉันก็มองสถานการณ์ของตนเองอย่างสมดุล. บทความนี้เป็นคำตอบสำหรับคำอธิษฐานของดิฉันจริง ๆ!”
คริสเตียนคนหนึ่งก็เขียนมาคล้าย ๆ กันว่า “หลังจากรับใช้เป็นผู้ปกครองในประชาคมมาสิบปี ผมก็ต้องสละสิทธิพิเศษนั้นเนื่องจากมีอาการป่วยทางจิต. ผมรู้สึกล้มเหลวมากถึงขนาดที่บ่อยครั้งผมไม่สามารถจะอ่านเรื่องราวชีวิตจริงซึ่งมักกล่าวถึงความสำเร็จที่น่าทึ่งของประชาชนของพระยะโฮวาได้. แต่ความพากเพียรของบราเดอร์เจนนิงส์ทำให้ผมมีกำลังใจ. ผมอ่านบทความนี้นับครั้งไม่ถ้วน.”
ก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจ
เช่นเดียวกับบราเดอร์ออมเบวาและบราเดอร์เจนนิงส์ พยานพระยะโฮวาจำนวนมากมายรับใช้พระยะโฮวาพระเจ้าอย่างไม่หวั่นกลัวต่อไปแม้เผชิญอุปสรรคที่บั่นทอนกำลังใจ. ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังทำเช่นนั้นคุณก็ควรได้รับคำชมเชย. ขอให้มั่นใจว่า “พระเจ้าไม่ใช่อธรรมที่จะทรงลืมการงานของท่านและความรักที่ท่านได้สำแดงต่อพระนามของพระองค์, ในการที่ท่านได้ปรนนิบัติสิทธชนนั้น, และยังกำลังปรนนิบัติอยู่.”—เฮ็บราย 6:10.
เช่นเดียวกับที่พระยะโฮวาได้ทรงช่วยประชาชนที่ซื่อสัตย์ในกาลโบราณให้เอาชนะเหล่าศัตรู พระองค์สามารถช่วยคุณให้เอาชนะอุปสรรคใด ๆ ที่คุณอาจพบเจอ. ดังนั้น จงจดจำถ้อยคำที่พระยะโฮวาได้ตรัสผ่านผู้พยากรณ์ยะซายาไว้ให้ดี ที่ว่า “อย่ากลัวเลย, ด้วยว่าเราอยู่กับเจ้า, อย่าท้อใจ, เพราะเราเป็นพระเจ้าของเจ้า, เราจะหนุนกำลังเจ้า, เออ, เราจะช่วยเจ้า, เออ, เราจะยกชูเจ้าไว้ด้วยมือขวาอันชอบธรรมของเรา.”—ยะซายา 41:10.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
[ภาพหน้า 16]
เช่นเดียวกับสแตนลีย์ ออมเบวา (ภาพบน) และเฮอร์เบิร์ต เจนนิงส์ (ภาพขวา) คนมากมายกำลังรับใช้พระยะโฮวาโดยไม่หวั่นกลัว
[ที่มาของภาพหน้า 14]
USAF photo