คุณมี “ความกล้าที่จะพูด” ไหม?
คุณมี “ความกล้าที่จะพูด” ไหม?
ผู้คนมากกว่าหกล้านคนใน 235 ดินแดนมีสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลเรียกว่า “ความกล้าที่จะพูด.” (1 ติโมเธียว 3:13, ล.ม.; ฟิลิปปอย 1:20; เฮ็บราย 3:6; 1 โยฮัน 3:21) การมี “ความกล้าที่จะพูด” หมายถึงอะไร? อะไรจะช่วยเราให้มีความกล้าเช่นนั้น? ในโอกาสใดบ้างที่ความกล้าเช่นนั้นช่วยเราให้พูดโดยไม่มีสิ่งใดมาเป็นอุปสรรค?
พจนานุกรมอธิบายศัพท์พันธสัญญาเดิมและใหม่ของไวน์ (ภาษาอังกฤษ) อธิบายว่า คำภาษากรีกสำหรับวลี “ความกล้าที่จะพูด” บ่งชี้ถึง “เสรีภาพในการพูด, การพูดโดยไม่สงวนถ้อยคำ, . . . ไม่กลัวที่จะพูดอย่างกล้าหาญ; ฉะนั้น คำนี้จึงถ่ายทอดความคิดเกี่ยวกับความมั่นใจ, การมีใจกล้า, ความกล้าหาญ โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับคำพูด.” อย่างไรก็ตาม การพูดอย่างกล้าหาญเช่นนั้นเป็นคนละเรื่องกับการพูดแบบขวานผ่าซากหรือหยาบคาย. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “จงให้วาจาของท่านประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ.” (โกโลซาย 4:6) การมีความกล้าที่จะพูดเกี่ยวข้องกับการเป็นคนผ่อนหนักผ่อนเบาและขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้สภาพการณ์ที่ทำให้ทุกข์ใจหรือการกลัวมนุษย์มาทำให้เราหยุดพูด.
ความกล้าที่จะพูดเป็นสิ่งที่เรามีมาแต่กำเนิดไหม? ขอให้พิจารณาสิ่งที่อัครสาวกเปาโลเขียนไปถึงคริสเตียนในเมืองเอเฟโซส์. ท่านกล่าวว่า “พระคุณนี้ทรงโปรดประทานแก่ข้าพเจ้าผู้เป็นคนเล็กกว่าคนเล็กที่สุดในสิทธชนทั้งหมด, ให้ประกาศความมั่งคั่งอันสมบูรณ์ของพระคริสต์ซึ่งจะหาที่สุดไม่ได้แก่พวกต่างชาติ.” เปาโลกล่าวเสริมว่าโดยทางพระเยซูคริสต์นี่เอง “เราจึงมีใจกล้า, และมีโอกาสจะเข้าไปถึงพระองค์ได้โดยความไว้ใจเพราะความศรัทธาในพระองค์.” (เอเฟโซ 3:8-12) ความกล้าที่จะพูดไม่ใช่สิ่งที่เรามีมาแต่กำเนิด หากแต่เป็นผลจากการมีสัมพันธภาพกับพระยะโฮวาพระเจ้าโดยอาศัยความเชื่อในพระเยซูคริสต์. ให้เรามาดูว่าอะไรสามารถช่วยเราให้มีความกล้าเช่นนี้และเราจะแสดงออกถึงความกล้านี้ได้อย่างไรเมื่อเราประกาศ, สั่งสอน, และอธิษฐาน.
อะไรช่วยเราให้ประกาศด้วยใจกล้า?
พระเยซูคริสต์เป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมที่สุดของผู้มีความกล้าที่จะพูด. ความมีใจแรงกล้ากระตุ้นพระองค์ให้ฉวยทุกโอกาสที่จะประกาศ. ไม่ว่าในขณะที่ทรงพักผ่อน, รับประทานอาหารในบ้านของผู้อื่น, หรือเมื่อทรงดำเนินอยู่บนถนน ไม่เคยมีสักครั้งที่พระเยซูจะปล่อยให้โอกาสในการพูดเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าหลุดลอยไป. แม้การเยาะเย้ยถากถางหรือการต่อต้านซึ่ง ๆ หน้าก็ไม่อาจทำให้พระมัดธาย 23:13-36) แม้แต่เมื่อทรงถูกจับกุมและถูกพิจารณาคดี พระเยซูก็ยังตรัสโดยไม่หวั่นกลัว.—โยฮัน 18:6, 19, 20, 37.
เยซูนิ่งเงียบได้. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงเปิดโปงพวกผู้นำศาสนาจอมปลอมในสมัยของพระองค์ด้วยความกล้าหาญ. (อัครสาวกของพระเยซูก็พูดอย่างกล้าหาญเช่นเดียวกัน. ในวันเพนเทคอสต์ ปีสากลศักราช 33 เปโตรพูดด้วยความกล้าต่อหน้าฝูงชนมากกว่า 3,000 คน. โปรดสังเกตว่า เพียงไม่นานก่อนหน้านั้น เปโตรยังขลาดกลัวเมื่อถูกหญิงรับใช้คนหนึ่งจำได้ว่าท่านเป็นสาวกของพระเยซู. (มาระโก 14:66-71; กิจการ 2:14, 29, 41) เมื่อถูกลากตัวมาอยู่ต่อหน้าพวกผู้นำศาสนา เปโตรกับโยฮันก็ไม่ครั่นคร้าม. พวกเขาไม่ลังเลที่จะให้คำพยานด้วยความกล้าเกี่ยวกับการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์. ที่จริง เป็นเพราะการพูดอย่างกล้าหาญของเปโตรกับโยฮันนี่เองที่ทำให้พวกผู้นำศาสนาตระหนักว่าอัครสาวกทั้งสองได้เคยอยู่กับพระเยซูมาก่อน. (กิจการ 4:5-13) อะไรทำให้พวกเขาพูดได้อย่างกล้าหาญเช่นนั้น?
พระเยซูได้สัญญากับอัครสาวกของพระองค์ว่า “เมื่อเขาจะอายัดท่านไว้นั้น อย่าคิดกระวนกระวายในใจว่าจะพูดอย่างไรหรือจะกล่าวอะไร, เพราะว่าคำที่ท่านจะพูดนั้นจะทรงประทานแก่ท่านในเวลาโมงนั้น. ด้วยมิใช่ท่านพูดเอง, แต่พระวิญญาณแห่งพระบิดาเป็นผู้ตรัสแทนท่าน.” (มัดธาย 10:19, 20) พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ช่วยเปโตรและคนอื่น ๆ ให้เอาชนะความอายหรือความกลัวซึ่งอาจทำให้ไม่กล้าพูด. พลังอันทรงฤทธิ์นี้สามารถช่วยเราได้เช่นเดียวกัน.
นอกจากนั้น พระเยซูได้มอบงานทำให้คนเป็นสาวกแก่ผู้ติดตามพระองค์ด้วย. นี่นับว่าเหมาะสม เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ได้รับมอบ “อำนาจทั้งสิ้น . . . ทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก.” และ ‘พระองค์ทรงอยู่กับพวกเขา.’ (มัดธาย 28:18-20, ล.ม.) การรู้ว่ามีพระเยซูคอยหนุนหลังทำให้สาวกรุ่นแรกมีความมั่นใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับเหล่าผู้มีอำนาจที่มุ่งมั่นจะขัดขวางงานประกาศของพวกเขา. (กิจการ 4:18-20; 5:28, 29) การรู้เช่นนี้สามารถช่วยให้เรามีความมั่นใจเช่นเดียวกัน.
เปาโลได้ชี้ถึงเหตุผลอีกประการหนึ่งที่เราสามารถพูดได้อย่างกล้าหาญ โดยที่ท่านเชื่อมความหวังเข้ากับความ “กล้ามากขึ้นในการที่จะพูด.” (2 โกรินโธ 3:12; ฟิลิปปอย 1:20) เนื่องจากข่าวสารแห่งความหวังนี้เป็นเรื่องยอดเยี่ยมเกินกว่าจะเก็บไว้กับตัว คริสเตียนจึงต้องบอกเรื่องนี้แก่คนอื่น ๆ. จริงทีเดียว ความหวังของเราเป็นเหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้เรากล้าที่จะพูด.—เฮ็บราย 3:6.
ประกาศด้วยใจกล้า
เราจะประกาศด้วยใจกล้าได้อย่างไรแม้เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้หวาดหวั่น? ขอให้คิดถึงตัวอย่างของอัครสาวกเปาโล. ขณะถูกคุมขังอยู่ในกรุงโรม เปาโลได้ขอให้เพื่อนร่วมความเชื่อของท่านอธิษฐานเพื่อจะ ‘ทรงประทานให้ท่านมีคำพูด, เพื่อท่านจะได้เล่ากิตติคุณนั้นด้วยใจกล้าตามที่ท่านควรจะกล่าว.’ (เอเฟโซ 6:19, 20) คำอธิษฐานเหล่านั้นได้รับคำตอบไหม? แน่นอน! ขณะที่ถูกคุมขัง เปาโลก็ยัง “ประกาศแผ่นดินของพระเจ้า . . . โดยใจกล้า, หามีผู้หนึ่งผู้ใดห้ามปรามท่านไม่.”—กิจการ 28:30, 31.
การฉวยโอกาสเพื่อให้คำพยานในที่ทำงาน, ที่โรงเรียน, หรือขณะเดินทางอาจเป็นการทดสอบว่าเรามีความกล้าที่จะพูดหรือไม่. ความอาย, การกลัวปฏิกิริยาตอบสนองของผู้คน, หรือการขาดความมั่นใจในความสามารถของตนเองอาจทำให้เราไม่พูด. อัครสาวกเปาโลเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ด้วย. ท่านเขียนว่า “เราได้รวบรวมความกล้าโดยพึ่งในพระเจ้าของเราเพื่อจะบอกข่าวดีของพระเจ้าแก่ท่านทั้งหลายด้วยความบากบั่นเป็นอันมาก.” (1 เธซะโลนิเก 2:2, ล.ม.) เนื่องจากเปาโลได้วางใจในพระยะโฮวา ท่านจึงทำสิ่งที่เหนือความสามารถของตนได้.
การอธิษฐานช่วยผู้หญิงที่ชื่อเชอร์รี่ให้กล้าพูดเมื่อมีโอกาสจะให้คำพยานอย่างไม่เป็นทางการ. วันหนึ่ง ขณะกำลังรอสามีซึ่งกำลังทำธุระอยู่ เธอสังเกตว่าผู้หญิงคนหนึ่งกำลังคอยใครอยู่เหมือนกัน. เชอร์รี่กล่าวว่า “ดิฉันรู้สึกว่าพูดไม่ออก ดิฉันจึงอธิษฐานขอความกล้าจากพระยะโฮวา.” ขณะที่เชอร์รี่เข้าไปหาผู้หญิงคนนั้น นักเทศน์นิกายแบพติสต์ก็มาถึง. เชอร์รี่ไม่ได้คาดหมายว่าจะเจอกับนักเทศน์. แต่เธออธิษฐานอีกครั้งและสามารถให้คำพยานได้. เธอเสนอหนังสือ
ให้แก่ผู้หญิงคนนั้นแล้วนัดหมายเพื่อกลับเยี่ยมเยียน. เมื่อเราฉวยทุกโอกาสเพื่อให้คำพยาน เราก็มั่นใจได้ว่าการวางใจพระยะโฮวาจะช่วยให้เราพูดได้อย่างกล้าหาญ.เมื่อสั่งสอน
การมีความกล้าที่จะพูดเกี่ยวข้องอย่างมากกับการสอน. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเกี่ยวกับ “ชายที่รับใช้อย่างดีงาม” ในประชาคมว่า “[พวกเขา] ก็ได้ชื่อเสียงดีและความกล้าที่จะพูดเรื่องความเชื่อในพระคริสต์เยซู.” (1 ติโมเธียว 3:13, ล.ม.) พวกเขาได้มาซึ่งความกล้าที่จะพูดเมื่อพวกเขานำสิ่งที่สอนผู้อื่นมาใช้กับตนเอง. การทำเช่นนั้นเป็นการปกป้องประชาคมและทำให้ประชาคมเข้มแข็งขึ้น.
เมื่อเรามีความกล้าที่จะพูดขณะสั่งสอน คำแนะนำที่เราให้ก็มีประสิทธิภาพมากกว่าและมีโอกาสที่คนอื่นจะทำตามมากขึ้น. แทนที่จะรู้สึกอึดอัดใจเนื่องจากตัวอย่างที่ไม่ดีของผู้สอน ผู้ฟังจะได้รับการหนุนใจเมื่อเห็นว่าผู้สอนเองก็นำสิ่งที่สอนไปปฏิบัติเช่นกัน. การมีความกล้าเช่นนี้จะช่วยผู้ที่มีคุณวุฒิฝ่ายวิญญาณให้ ‘ปรับพี่น้องของตนให้เข้าที่’ ก่อนที่ปัญหาจะแย่ลง. (ฆะลาเตีย 6:1, ล.ม.) ในทางตรงกันข้าม คนที่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีจะรู้สึกลังเลใจที่จะให้คำแนะนำเพราะเขารู้สึกว่าตนเองไม่มีสิทธิ์จะพูด. การให้คำแนะนำที่จำเป็นช้าไปอาจมีผลเสียหายอย่างร้ายแรง.
การที่เราพูดด้วยความกล้าไม่ได้หมายถึงการเป็นคนชอบวิพากษ์วิจารณ์, ถือความคิดตนเป็นใหญ่, หรือยืนกราน. เปาโลกระตุ้นเตือนฟิเลโมน “โดยความรัก.” (ฟิเลโมน 8, 9, ฉบับแปล 2002) และดูเหมือนว่าคำพูดของอัครสาวกได้รับการตอบรับอย่างดี. ที่จริง เมื่อผู้ปกครองให้คำแนะนำไม่ว่าในเรื่องใด เขาควรทำเพราะความรัก!
แน่ทีเดียว การมีความกล้าที่จะพูดเป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อเราให้คำแนะนำ. ความกล้าดังกล่าวยังเป็นสิ่งสำคัญในโอกาสอื่น ๆ ด้วย. เปาโลเขียนถึงประชาคมโครินท์ดังนี้: “ข้าพเจ้ากล้าพูดกับท่านทั้งหลายตรง ๆ. ข้าพเจ้าภูมิใจในพวกท่านมาก.” (2 โกรินโธ 7:4, ล.ม.) เปาโลไม่ลังเลที่จะกล่าวชมเชยพี่น้องชายหญิงของท่านเมื่อเห็นว่าสมควร. ความรักกระตุ้นท่านให้มองคุณลักษณะที่ดีของเพื่อนร่วมความเชื่อ แม้ท่านจะทราบว่าพวกเขามีข้อบกพร่องก็ตาม. ประชาคมคริสเตียนในทุกวันนี้ก็ได้รับการเสริมสร้างเช่นกันเมื่อผู้ปกครองไม่ลังเลใจที่จะกล่าวชมเชยและหนุนกำลังใจพี่น้องชายหญิง.
เพื่อจะเป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพ คริสเตียนทุกคนต้องมีความกล้าที่จะพูด. เชอร์รี่ซึ่งได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ต้องการจะสนับสนุนให้ลูก ๆ ของเธอให้คำพยานที่โรงเรียน. เธอยอมรับว่า “แม้ดิฉันจะเติบโตในความจริง แต่ดิฉันไม่ค่อยได้ให้คำพยานที่โรงเรียน และแทบไม่เคยให้คำพยานอย่างไม่เป็นทางการเลย. ดิฉันถามตัวเองว่า ‘ฉันกำลังวางตัวอย่างแบบไหนไว้ให้ลูก ๆ?’ ” เพราะเหตุนี้เชอร์รี่จึงรู้สึกว่าเธอต้องพยายามมากขึ้นเพื่อจะให้คำพยานอย่างไม่เป็นทางการ.
ใช่แล้ว คนอื่นมองดูการกระทำของเราและสังเกตว่าการประพฤติของเราเป็นอย่างที่เราสอนหรือไม่. ดังนั้น ขอให้เรามีความกล้าที่จะพูดโดยพยายามอย่างจริงจังเพื่อให้การประพฤติของเราสอดคล้องกับสิ่งที่เราพูด.
เมื่ออธิษฐาน
การมีความกล้าที่จะพูดเป็นเรื่องสำคัญเป็นพิเศษเมื่อเราทูลอธิษฐานต่อพระยะโฮวา. เราสามารถทูลทุกสิ่งต่อพระยะโฮวาได้โดยไม่มีสิ่งใดขัดขวางด้วยความมั่นใจว่าพระองค์ทรงฟังและจะทรงตอบคำอธิษฐานของเรา. ด้วยเหตุนี้ เราจึงรู้สึกเป็นสุขที่ได้มีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดและอบอุ่นกับพระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์. เราไม่ควรลังเลที่จะเข้าเฝ้าพระยะโฮวา โดยคิดว่าตัวเองต่ำต้อยเกินไป. จะว่าอย่างไรถ้าความรู้สึกผิดเนื่องจากได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือทำบาปทำให้เราไม่กล้าพูดจากใจจริง? เราจะยังเข้าเฝ้าองค์ใหญ่ยิ่งสูงสุดแห่งเอกภพได้อย่างสะดวกใจไหม?
ตำแหน่งอันสูงส่งของพระเยซูฐานะมหาปุโรหิตทำให้เรามีเหตุผลที่จะมั่นใจเมื่อทูลอธิษฐาน. ที่เฮ็บราย 4:15, 16 เราอ่านว่า “เรามิได้มีมหาปุโรหิตที่จะร่วมสุขร่วมทุกข์กับเราไม่ได้ แต่พระองค์ได้ทรงถูกทดลองเหมือนอย่างเราทุกประการ ถึงกระนั้นก็ยังปราศจากความบาป เหตุฉะนั้นเราทั้งหลายจงมีใจกล้าเข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณ, เพื่อเราจะได้รับพระเมตตา, และจะได้พบพระคุณที่จะช่วยเราในวาระที่ต้องการ.” นี่แหละคือคุณค่าแห่งการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูและบทบาทของพระองค์ฐานะมหาปุโรหิต.
ถ้าเราพยายามอย่างจริงจังที่จะเชื่อฟังพระยะโฮวา เราก็มีเหตุผลทุกประการที่จะคาดหมายว่าพระองค์จะทรงฟังเราด้วยความพอพระทัย. อัครสาวกโยฮันเขียนว่า “ดูก่อนพวกที่รัก ถ้าใจของเราไม่ได้ปรับโทษตัวเรา, เราก็มีความกล้าจำเพาะพระเจ้า. และเราขอสิ่งใด ๆ, เราคงได้สิ่งนั้นจากพระองค์, เพราะเราประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์, และปฏิบัติตามชอบพระทัยของพระองค์.”—1 โยฮัน 3:21, 22.
การเข้าเฝ้าพระยะโฮวาในคำอธิษฐานโดยไม่มีสิ่งใดขัดขวางหมายความว่าเราสามารถทูลพระองค์ได้ทุกเรื่อง. ไม่ว่าจะมีสิ่งใดทำให้เรากลัว, เป็นห่วง, กังวล, หรือหวาดหวั่น เราสามารถทูลเรื่องนั้นกับพระยะโฮวาได้ โดยมั่นใจว่าพระองค์จะฟังคำอธิษฐานที่เราทูลด้วยใจจริง. แม้แต่เมื่อเราทำบาปร้ายแรง หากเราได้กลับใจอย่างจริงใจแล้วเราก็ไม่ต้องรู้สึกผิดจนไม่กล้าอธิษฐาน.
ความกล้าที่จะพูดเป็นของประทานอันไม่พึงได้รับที่มีค่าอย่างแท้จริง. เมื่อเรามีความกล้าเช่นนี้เราก็สามารถถวายเกียรติแด่พระเจ้าได้ขณะที่เราประกาศและสั่งสอน และเราสามารถเข้าใกล้พระเจ้ามากยิ่งขึ้นเมื่อเราอธิษฐาน. ขอเรา “พูดด้วยความกล้าหาญต่อ ๆ ไป อย่าเลิก เพราะมีบำเหน็จอันยิ่งใหญ่รออยู่” คือ บำเหน็จแห่งชีวิตนิรันดร์.—เฮ็บราย 10:35, ล.ม.
[ภาพหน้า 13]
อัครสาวกเปาโลพูดด้วยใจกล้า
[ภาพหน้า 15]
การสอนที่บังเกิดผลต้องอาศัยความกล้าที่จะพูด
[ภาพหน้า 16]
การมีความกล้าที่จะพูดเมื่ออธิษฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก