จงรักพระเจ้าผู้ทรงรักคุณ
จงรักพระเจ้าผู้ทรงรักคุณ
“จงรักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดหัวใจของเจ้าและด้วยสุดชีวิตของเจ้าและด้วยสุดจิตใจของเจ้า.”—มัดธาย 22:37, ล.ม.
1, 2. อะไรอาจกระตุ้นให้มีการตั้งคำถามที่ว่าพระบัญญัติข้อไหนสำคัญที่สุด?
ดูเหมือนว่ามีคำถามหนึ่งซึ่งเป็นคำถามที่โต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนในหมู่พวกฟาริซายในสมัยพระเยซู. พระบัญญัติของโมเซซึ่งมีมากกว่า 600 ข้อ ข้อไหนสำคัญที่สุด? เป็นพระบัญญัติที่เกี่ยวกับเครื่องบูชาไหม? ที่จริง มีการถวายเครื่องบูชาทั้งเพื่อขออภัยบาปและเพื่อถวายการขอบพระคุณพระเจ้า. หรือว่าพระบัญญัติที่สำคัญสูงสุดอาจได้แก่พระบัญญัติว่าด้วยการทำสุหนัต? พระบัญญัตินี้ก็นับว่าสำคัญด้วย เนื่องจากการทำสุหนัตเป็นเครื่องหมายของสัญญาที่พระยะโฮวาได้ทำกับอับราฮาม.—เยเนซิศ 17:9-13.
2 ในอีกด้านหนึ่ง ฝ่ายที่เคร่งจารีตดูเหมือนจะหาเหตุผลว่าเนื่องจากพระบัญญัติทุกข้อ ที่พระเจ้าประทานให้นั้นล้วนสำคัญ—แม้ว่าบางข้ออาจดูเหมือนสำคัญน้อยกว่า—จึงเป็นเรื่องผิดที่จะยกให้พระบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งเหนือกว่าข้ออื่น ๆ. พวกฟาริซายตัดสินใจว่าจะโยนคำถามที่สร้างความขัดแย้งข้อนี้ให้พระเยซูตอบ โดยอาจหวังว่าพระองค์จะตรัสอะไรบางอย่างที่บั่นทอนความน่าเชื่อถือของพระองค์เอง. คนหนึ่งในพวกเขาเข้ามาหาพระเยซูและถามว่า “ในธรรมบัญญัตินั้น พระบัญญัติข้อไหนสำคัญที่สุด?”—มัดธาย 22:34-36, ฉบับแปล 2002.
3. ตามที่พระเยซูตรัส พระบัญญัติข้อใดสำคัญที่สุด?
3 คำตอบของพระเยซูมีความสำคัญยิ่งสำหรับเราในทุกวันนี้. ในคำตอบ พระองค์ทรงสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของการนมัสการแท้อยู่เสมอมาและจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป. พระเยซูทรงยกข้อความจากพระบัญญัติ 6:5 ตรัสว่า “ ‘จงรักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดหัวใจของเจ้าและด้วยสุดชีวิตของเจ้าและด้วยสุดจิตใจของเจ้า.’ นี่เป็นบัญญัติข้อสำคัญที่สุดและเป็นบัญญัติข้อแรก.” แม้ว่าฟาริซายคนนั้นถามถึงพระบัญญัติเพียงข้อเดียว พระเยซูทรงเพิ่มให้เขาอีกข้อหนึ่ง. พระองค์ทรงยกข้อความจากเลวีติโก 19:18 ตรัสว่า “ข้อสองก็เหมือนกัน คือว่า ‘เจ้าต้องรักเพื่อนบ้านของเจ้าเหมือนรักตนเอง.’ ” จากนั้น พระเยซูทรงชี้ว่าพระบัญญัติสองข้อนี้ครอบคลุมการนมัสการบริสุทธิ์ทั้งหมด. เพื่อกันไม่ให้ใครพยายามเรียกร้องให้พระองค์จัดลำดับความสำคัญของพระบัญญัติข้ออื่น ๆ พระองค์ทรงสรุปว่า “พระบัญญัติและคำพยากรณ์ทั้งสิ้นรวมอยู่ในบัญญัติสองข้อนี้.” (มัดธาย 22:37-40, ล.ม.) ในบทความนี้ เราจะพิจารณาพระบัญญัติที่สำคัญที่สุดในสองข้อนี้. เหตุใดเราต้องรักพระเจ้า? เราจะแสดงโดยวิธีใดว่าเรารักพระเจ้า? และเราจะพัฒนาความรักนี้ได้อย่างไร? เป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะทราบคำตอบสำหรับคำถามดังกล่าว เพราะเพื่อจะเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวา เราต้องรักพระองค์ด้วยสิ้นสุดหัวใจ, ชีวิต, และจิตใจของเรา.
ความสำคัญของความรัก
4, 5. (ก) เหตุใดฟาริซายผู้นี้ไม่แปลกใจที่พระเยซูตอบอย่างนั้น? (ข) อะไรมีค่าต่อพระเจ้ามากกว่าเครื่องบูชาและของถวาย?
4 ดูเหมือนว่าฟาริซายที่ถามพระเยซูไม่ได้รู้สึกตกใจหรือแปลกใจที่ได้คำตอบแบบนั้น. เขาทราบว่าความรักต่อพระเจ้าเป็นแง่มุมสำคัญของการนมัสการแท้ แม้ว่าหลายคนไม่ได้แสดงความรักดังกล่าว. ในธรรมศาลา เป็นธรรมเนียมที่พระบัญญัติ 6:4-9 ที่พระเยซูทรงยกข้อความมาตรัส. ตามที่มาระโกได้บันทึกไว้ในเรื่องเดียวกันนี้ หลังจากนั้นฟาริซายผู้นี้ก็พูดกับพระเยซูว่า “ดีแล้วอาจารย์เจ้าข้า, ท่านกล่าวถูกจริงว่า ‘พระเจ้ามีแต่พระองค์เดียว, และนอกจากพระองค์นั้นพระเจ้าอื่นไม่มีเลย,’ และซึ่งจะรักพระองค์ด้วยสุดใจสุดความเข้าใจและสิ้นสุดกำลัง, และรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง, ก็ประเสริฐกว่าของถวายและของบูชาทั้งสิ้น.”—มาระโก 12:32, 33.
จะท่องหรืออ่านออกเสียงเชมา คือคำประกาศยืนยันความเชื่อ และคำประกาศนี้มีข้อความตอนหนึ่งซึ่งพบใน5 ที่จริง แม้ว่าพระบัญญัติเรียกร้องให้ถวายเครื่องบูชาเผาและเครื่องบูชาต่าง ๆ แต่สิ่งที่มีค่าอย่างแท้จริงสำหรับพระเจ้าคือสภาพหัวใจที่เปี่ยมด้วยความรักของผู้รับใช้พระองค์. นกกระจอกตัวหนึ่งที่ถวายแด่พระเจ้าด้วยความรักและความเลื่อมใสศรัทธามีค่าต่อพระองค์ยิ่งกว่าแกะหลายพันตัวที่ถวายแด่พระองค์ด้วยแรงกระตุ้นที่ไม่ถูกต้อง. (มีคา 6:6-8) ขอให้นึกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหญิงม่ายยากจนที่พระเยซูทรงสังเกตเห็น ณ พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม. เหรียญค่าเล็กน้อยสองเหรียญที่เธอหย่อนลงหีบบริจาคไม่สามารถซื้อได้แม้แต่นกกระจอกตัวหนึ่ง. ถึงกระนั้น การบริจาคดังกล่าวซึ่งทำด้วยความรักจากหัวใจต่อพระยะโฮวามีความหมายต่อพระองค์มากยิ่งกว่าเงินบริจาคก้อนโตที่คนรวยได้ให้จากเงินเหลือใช้ของพวกเขา. (มาระโก 12:41-44) ช่างให้กำลังใจสักเพียงไรที่ทราบว่า พระยะโฮวาทรงถือว่าสิ่งมีค่าที่สุดคือสิ่งที่เราทุกคนสามารถแสดงออกได้ ไม่ว่าสภาพการณ์ของเราจะเป็นอย่างไร นั่นคือความรักที่เรามีต่อพระองค์!
6. เปาโลเขียนเกี่ยวกับความสำคัญของความรักไว้เช่นไร?
6 อัครสาวกเปาโลเน้นความสำคัญของความรักในการนมัสการแท้โดยเขียนว่า “แม้ข้าพเจ้าพูดภาษาแปลก ๆ ได้, เป็นภาษามนุษย์ก็ดี, เป็นภาษาทูตสวรรค์ก็ดี, แต่ไม่มีความรัก, ข้าพเจ้าเป็นเหมือนฉาบหรือฉิ่งที่กำลังส่งเสียง. แม้ข้าพเจ้าจะพยากรณ์ได้, และเข้าใจในข้อลับลึกทั้งปวง, และมีความรู้ทั้งสิ้น, และมีความเชื่อมากยิ่งที่สุดพอจะยกภูเขาไปได้, แต่ไม่มีความรัก, ข้าพเจ้าก็ไม่มีค่าอะไรเลย. แม้ข้าพเจ้าจะบริจาคของสารพัตรเพื่อเลี้ยงคนจน, หรือยอมเอาตัวเผาไฟเสีย, แต่ไม่มีความรัก, จะหาเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้าไม่.” (1 โกรินโธ 13:1-3) เห็นได้ชัด ความรักเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้เพื่อการนมัสการของเราจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า. แต่เราจะแสดงว่าเรารักพระยะโฮวาโดยวิธีใด?
วิธีที่เราแสดงว่าเรารักพระยะโฮวา
7, 8. เราจะแสดงได้โดยวิธีใดว่าเรารักพระยะโฮวา?
7 หลายคนเชื่อว่าความรักเป็นอารมณ์ที่เราควบคุมได้ยาก; ผู้คนพูดถึงการตกหลุมรัก. ถึงกระนั้น ความรักแท้ไม่ได้เป็นเพียงบางสิ่งที่เรารู้สึก. ความรักแท้นั้นมีลักษณะเฉพาะที่อาจให้คำนิยามได้ด้วยการกระทำ ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึก. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงความรักว่าเป็น “ทางดีใหญ่ยิ่งกว่า” และเป็นสิ่งที่เรา “พยายามแสวงหา.” (1 โกรินโธ 12:31; 14:1) คริสเตียนได้รับการสนับสนุนให้รัก ไม่เพียงแต่ “ถ้อยคำและลิ้นเท่านั้น, แต่ให้เรารักด้วยการประพฤติและด้วยความจริง.”—1 โยฮัน 3:18.
8 ความรักต่อพระเจ้ากระตุ้นเราให้ทำสิ่งซึ่งเป็นที่พอพระทัยพระองค์ รวมทั้งปกป้องและเชิดชูพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ทั้งทางคำพูดและการกระทำ. ความรักต่อพระเจ้ากระตุ้นเราให้หลีกเลี่ยงการรักโลกและแนวทางของโลกซึ่งไม่เลื่อมใสพระเจ้า. (1 โยฮัน 2:15, 16) คนที่รักพระเจ้าเกลียดสิ่งชั่ว. (บทเพลงสรรเสริญ 97:10) ความรักต่อพระเจ้ายังหมายรวมถึงการรักเพื่อนบ้านด้วย ซึ่งเราจะพิจารณากันในบทความถัดไป. นอกจากนั้น ความรักต่อพระเจ้าเรียกร้องให้เราเชื่อฟังพระองค์. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “นี่แหละเป็นความรักพระเจ้า, คือว่าให้เราทั้งหลายประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์.”—1 โยฮัน 5:3.
9. พระเยซูทรงแสดงให้เห็นอย่างไรถึงความรักที่ทรงมีต่อพระเจ้า?
9 พระเยซูทรงแสดงไว้อย่างสมบูรณ์แบบว่าความรักต่อพระเจ้าหมายถึงอะไร. ความรักกระตุ้นพระองค์ให้ละจากพระนิเวศในสวรรค์และมาอยู่บนแผ่นดินโลกในฐานะมนุษย์. ความรักกระตุ้นพระองค์ให้ถวายเกียรติแด่พระบิดาด้วยสิ่งที่พระองค์ทำและสอน. ความรักกระตุ้นพระองค์ให้ “ยอมเชื่อฟังจนถึงความมรณา.” (ฟิลิปปอย 2:8) ความเชื่อฟังนั้น ซึ่งแสดงถึงความรักของพระองค์ เปิดทางให้เหล่าผู้ซื่อสัตย์มีฐานะชอบธรรมต่อพระพักตร์พระเจ้า. เปาโลเขียนดังนี้: “คนเป็นอันมากเป็นคนบาปเพราะคนคนเดียว [อาดาม] ที่มิได้เชื่อฟังฉันใด คนเป็นอันมากก็เป็นคนชอบธรรมเพราะพระองค์ผู้เดียว [พระคริสต์เยซู] ที่ได้ทรงเชื่อฟังฉันนั้น.”—โรม 5:19, ฉบับแปลใหม่.
10. เหตุใดความรักต่อพระเจ้าหมายรวมถึงการเชื่อฟัง?
2 โยฮัน 6, ล.ม.) คนที่รักพระยะโฮวาอย่างแท้จริงปรารถนาให้พระองค์ชี้นำ. โดยสำนึกว่าพวกเขาไม่อาจนำก้าวเท้าของตนเองได้อย่างประสบผลสำเร็จ พวกเขาวางใจในสติปัญญาของพระเจ้าและยอมอยู่ใต้การชี้นำด้วยความรักของพระองค์. (ยิระมะยา 10:23) พวกเขาเป็นเหมือนกับชาวเมืองเบรอยะในสมัยโบราณที่มีจิตใจสูงซึ่งได้ตอบรับข่าวสารของพระเจ้าด้วย “ใจกระตือรือร้น” ปรารถนาอย่างยิ่งที่จะทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. (กิจการ 17:11, ล.ม.) พวกเขาตรวจดูพระคัมภีร์อย่างรอบคอบเพื่อจะเข้าใจพระทัยประสงค์ของพระเจ้าเต็มที่ยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยพวกเขาให้แสดงความรักด้วยการเชื่อฟังต่อไป.
10 เช่นเดียวกับพระเยซู เราแสดงความรักโดยเชื่อฟังพระเจ้า. โยฮัน อัครสาวกที่พระเยซูทรงรัก เขียนดังนี้: “นี่แหละคือสิ่งซึ่งความรักหมายถึง คือว่าให้เราดำเนินตามบัญญัติต่าง ๆ ของพระองค์ต่อ ๆ ไป.” (11. การรักพระเจ้าด้วยสิ้นสุดหัวใจ, จิตใจ, ชีวิต, และกำลังหมายความเช่นไร?
11 ดังที่พระเยซูตรัส ความรักต่อพระเจ้าเกี่ยวข้องกับหัวใจ, จิตใจ, ชีวิต, และกำลังทั้งสิ้นของเรา. (มาระโก 12:30) ความรักเช่นนั้นออกมาจากหัวใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้สึก, ความปรารถนา, และความคิดในส่วนลึกที่สุดของเรา และเราปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำให้พระยะโฮวาพอพระทัย. เราแสดงความรักโดยใช้ความสามารถในการคิดด้วย. การอุทิศตัวของเราไม่ได้ทำโดยปราศจากความรู้; เราได้มารู้จักพระยะโฮวา—คุณลักษณะ, มาตรฐาน, และพระประสงค์ของพระองค์. เราใช้ชีวิตทั้งสิ้นที่เรามีอยู่เพื่อรับใช้และสรรเสริญพระองค์. และเราใช้กำลังของเราเพื่อบรรลุจุดประสงค์นั้นด้วยเช่นกัน.
เหตุผลที่เราควรรักพระยะโฮวา
12. เหตุใดพระเจ้าทรงเรียกร้องให้เรารักพระองค์?
12 เหตุผลหนึ่งที่เราควรรักพระยะโฮวาคือ พระองค์ทรงเรียกร้องเราให้สะท้อนคุณลักษณะของพระองค์. พระเจ้าทรงเป็นทั้งแหล่งกำเนิดและแบบอย่างอันยอดเยี่ยมของความรัก. อัครสาวกโยฮันได้รับการดลใจให้เขียนว่า “พระเจ้าทรงเป็นความรัก.” (1 โยฮัน 4:8) มนุษย์ถูกสร้างตามแบบพระเจ้า; เราถูกออกแบบให้มีความรัก. ที่จริง พระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวาตั้งอยู่บนฐานของความรัก. พระองค์ทรงประสงค์ให้ผู้อยู่ใต้อำนาจพระองค์เป็นคนที่รับใช้พระองค์เพราะพวกเขารักและปรารถนาแนวทางอันชอบธรรมแห่งการปกครองของพระองค์. จริงทีเดียว ความรักเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้เพื่อสิ่งทรงสร้างทั้งมวลจะมีสันติสุขและความปรองดอง.
13. (ก) เหตุใดชาวอิสราเอลได้รับพระบัญชาว่า “จงรักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า”? (ข) เหตุใดจึงมีเหตุผลที่พระยะโฮวาทรงคาดหมายให้เรารักพระองค์?
13 เหตุผลอีกประการหนึ่งที่เรารักพระยะโฮวาคือ เราหยั่งรู้ค่าสิ่งที่พระองค์ได้ทำเพื่อเรา. ขอให้ระลึกถึงพระดำรัสที่พระเยซูตรัสกับชาวยิว ที่ว่า “จงรักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า.” พวกเขาไม่ได้ถูกคาดหมายให้รักพระเจ้าที่ทรงอยู่ห่างไกลและไม่รู้จัก. พวกเขาต้องรักพระเจ้าผู้ได้เผยให้เห็นความรักของพระองค์ต่อพวกเขา. พระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าของพวกเขา. พระองค์เป็นผู้ที่ได้นำพวกเขาออกจากอียิปต์เข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา, ผู้ทรงปกป้องและค้ำจุนและทะนุถนอมพวกเขา, ผู้ทรงตีสอนพวกเขาด้วยความรัก. และในทุกวันนี้ พระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าของเรา ผู้ประทานพระบุตรให้เป็นค่าไถ่ที่ทำให้เรามีโอกาสได้รับชีวิตนิรันดร์. นับว่ามีเหตุผลสักเพียงไรที่พระยะโฮวาทรงคาดหมายให้เรารักพระองค์เป็นการตอบแทน! ความรักของเราเป็นการรักตอบ; เราถูกขอให้รักพระเจ้าผู้ทรงรักเรา. เรารักพระเจ้าผู้ “ได้ทรงรักเราก่อน.”—1 โยฮัน 4:19.
14. ความรักของพระยะโฮวานั้นเหมือนกับความรักของบิดามารดาที่เปี่ยมด้วยความรักอย่างไร?
14 ความรักของพระยะโฮวาต่อมนุษยชาติเป็นเหมือนกับความรักของบิดามารดาที่มีต่อบุตร. แม้ว่าไม่สมบูรณ์ บิดามารดาที่เปี่ยมด้วยความรักบากบั่นขันแข็งหลายปีในการดูแลบุตร ทำเช่นนั้นด้วยความเสียสละอย่างใหญ่หลวงทั้งด้านวัตถุและด้านอื่น ๆ. บิดามารดาสอน, ให้กำลังใจ, สนับสนุน, และตีสอนบุตรเพราะพวกเขาต้องการให้บุตรมีความสุขความเจริญ. บิดามารดาปรารถนาอะไรเป็นการตอบแทน? พวกเขาต้องการให้บุตรรักพวกเขาและเอาใจใส่สิ่งที่พวกเขาได้สอนเพื่อประโยชน์ของบุตร. นับว่าสมเหตุผลมิใช่หรือที่พระบิดาองค์สมบูรณ์ผู้อยู่ในสวรรค์จะคาดหมายจากเราให้แสดงความหยั่งรู้ค่าด้วยความรักต่อทุกสิ่งที่พระองค์ได้ทำเพื่อเรา?
ปลูกฝังความรักต่อพระเจ้า
15. ขั้นแรกที่ต้องทำในการปลูกฝังความรักต่อพระเจ้าคืออะไร?
15 เราไม่เคยเห็นพระเจ้าหรือได้ยินพระสุรเสียงของพระองค์. (โยฮัน 1:18) ถึงกระนั้น พระองค์ทรงเชิญเราให้เข้าสู่สายสัมพันธ์อันเปี่ยมด้วยความรักกับพระองค์. (ยาโกโบ 4:8) เราจะทำอย่างนั้นได้โดยวิธีใด? ขั้นแรกที่ต้องทำก่อนที่เราจะรักใครสักคนหนึ่งคือการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลนั้น; เป็นเรื่องยากที่จะรู้สึกรักใครคนหนึ่งอย่างลึกซึ้งหากเราไม่รู้จักเขา. พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมพระคำของพระองค์ไว้ให้ คือคัมภีร์ไบเบิล เพื่อเราจะเรียนรู้เกี่ยวกับพระองค์ได้. นั่นคือเหตุผลที่พระยะโฮวาทรงสนับสนุนเราโดยทางองค์การของพระองค์ให้อ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำ. คัมภีร์ไบเบิลสอนเราเกี่ยวกับพระเจ้า, คุณลักษณะของพระองค์, รวมทั้งการปฏิบัติของพระองค์ต่อผู้คนตลอดช่วงเวลาหลายพันปี. เมื่อเราคิดรำพึงเรื่องราวเหล่านั้น ความหยั่งรู้ค่าและความรักที่เรามีต่อพระองค์ก็จะเพิ่มมากขึ้น.—โรม 15:4.
16. การใคร่ครวญเกี่ยวกับงานรับใช้ของพระเยซูเสริมความรักที่เรามีต่อพระเจ้าอย่างไร?
16 วิธีหลักวิธีหนึ่งที่เราสามารถทำให้ความรักต่อพระโยฮัน 14:9) คุณรู้สึกประทับใจมิใช่หรือในความเมตตาที่พระเยซูทรงแสดงให้เห็นเมื่อปลุกลูกชายคนเดียวของหญิงม่ายให้กลับมีชีวิตอีกครั้ง? (ลูกา 7:11-15) เป็นเรื่องที่ดึงดูดใจมิใช่หรือที่ทราบว่าพระองค์—ผู้ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าและเป็นบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์—ทรงถ่อมใจล้างเท้าให้เหล่าสาวกของพระองค์? (โยฮัน 13:3-5) คุณรู้สึกจับใจมิใช่หรือที่ทราบว่าแม้พระองค์ทรงยิ่งใหญ่กว่าและฉลาดกว่ามนุษย์คนใด ๆ พระองค์ทรงวางตัวในแบบที่ทุกคนจะเข้าหาได้ง่าย รวมถึงเด็ก ๆ ด้วย? (มาระโก 10:13, 14) เมื่อเราใคร่ครวญสิ่งเหล่านี้ด้วยความหยั่งรู้ค่า เรากลายเป็นเหมือนคริสเตียนที่เปโตรเขียนถึง ที่ว่า “[พระเยซู] ผู้ที่ท่านทั้งหลายยังไม่ได้เห็นแต่ท่านยังรักพระองค์อยู่.” (1 เปโตร 1:8) เมื่อความรักที่เรามีต่อพระเยซูเพิ่มมากขึ้น ความรักที่เรามีต่อพระยะโฮวาก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน.
ยะโฮวาเพิ่มมากขึ้นก็คือ การคิดใคร่ครวญเกี่ยวกับชีวิตและงานรับใช้ของพระเยซู. ที่จริง พระเยซูทรงสะท้อนภาพพระบิดาของพระองค์อย่างสมบูรณ์แบบถึงขนาดที่พระองค์ตรัสได้ว่า “ผู้ที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดา.” (17, 18. การคิดรำพึงเกี่ยวกับการจัดเตรียมอันเปี่ยมด้วยความรักเช่นไรของพระยะโฮวาสามารถทำให้เรารักพระองค์มากขึ้นได้?
17 อีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถทำให้ความรักที่เรามีต่อพระเจ้าเพิ่มมากขึ้นก็คือ การใคร่ครวญเกี่ยวกับการจัดเตรียมมากมายอันเปี่ยมด้วยความรักที่พระองค์ได้ทำให้เราเพลิดเพลินกับชีวิต—ความสวยงามของสิ่งทรงสร้าง, ของกินอร่อย ๆ มากมายไม่รู้จักจบสิ้น, มิตรภาพอันอบอุ่นจากเพื่อนที่ดี, รวมไปถึงสิ่งอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วนที่นำความเพลิดเพลินและความอิ่มใจให้เรา. (กิจการ 14:17) ยิ่งเราเรียนเกี่ยวกับพระเจ้าของเรามากเท่าไร เราก็ยิ่งมีเหตุผลมากขึ้นเท่านั้นที่จะขอบพระคุณความดีและความเอื้อเฟื้ออันไม่มีขอบเขตจำกัดของพระองค์. ขอให้คิดถึงสรรพสิ่งที่พระยะโฮวาได้ทำเพื่อคุณเป็นส่วนตัว. คุณไม่เห็นด้วยหรอกหรือว่าคุณสมควรจะรักพระองค์อย่างแท้จริง?
18 ในบรรดาของประทานมากมายที่มาจากพระเจ้านั้น อย่างหนึ่งก็คือโอกาสที่เราจะเข้าเฝ้าพระองค์ในคำอธิษฐานเวลาใดก็ได้ โดยรู้ว่า “พระองค์ผู้สดับคำอธิษฐาน” ทรงฟังเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 65:2) พระยะโฮวาประทานอำนาจแก่พระบุตรผู้เป็นที่รักของพระองค์ให้เป็นตัวแทนทั้งในการปกครองและการพิพากษา. แต่พระองค์ไม่ได้ประทานอำนาจแก่ใคร รวมทั้งพระบุตรด้วย ในการสดับคำอธิษฐาน. พระองค์ทรงสดับคำอธิษฐานของเราด้วยพระองค์เอง. ความสนพระทัยด้วยความรักเป็นส่วนตัวที่พระยะโฮวาทรงแสดงให้เห็นนี้ดึงดูดเราให้เข้าใกล้ชิดพระองค์.
19. คำสัญญาอะไรของพระยะโฮวาดึงดูดเราให้เข้าใกล้พระองค์?
19 เราถูกดึงดูดให้เข้าใกล้พระยะโฮวาด้วยเมื่อเราพิจารณาสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์จะประทานแก่มนุษยชาติ. พระองค์ได้ทรงสัญญาว่าจะนำอวสานมาสู่ความเจ็บป่วย, ความโศกเศร้า, และความตาย. (วิวรณ์ 21:3, 4) เมื่อมนุษยชาติได้รับการช่วยให้มีสภาพสมบูรณ์แล้ว จะไม่มีใครอีกที่ซึมเศร้า, สิ้นหวัง, หรือทุกข์โศกเศร้า. ความหิว, ความยากจน, และสงครามจะไม่มีอีกต่อไป. (บทเพลงสรรเสริญ 46:9; 72:16) แผ่นดินโลกจะถูกเปลี่ยนเป็นอุทยาน. (ลูกา 23:43) พระยะโฮวาจะทรงนำพระพรเหล่านี้มาให้ ไม่ใช่เพราะพระองค์จำเป็นต้องทำ แต่เพราะพระองค์ทรงรักเรา.
20. โมเซกล่าวอะไรเกี่ยวกับผลประโยชน์ของการรักพระยะโฮวา?
20 ด้วยเหตุนั้น มีเหตุผลหนักแน่นที่จะรักพระเจ้าของเราและพัฒนาให้ความรักนั้นเพิ่มมากขึ้น. คุณจะเสริมให้ความรักที่มีต่อพระเจ้ามั่นคงยิ่งขึ้นและยอมให้พระองค์ชี้นำแนวทางดำเนินชีวิตแก่คุณเสมอไปไหม? คุณต้องเลือกด้วยตัวคุณเอง. โมเซตระหนักถึงผลประโยชน์ของการปลูกฝังและรักษาความรักต่อพระยะโฮวา. ท่านกล่าวต่อชาวอิสราเอลเมื่อนานมาแล้วว่า “ท่านต้องเลือกเอาชีวิตเพื่อท่านจะมีชีวิตอยู่ต่อไป ตัวท่านและลูกหลานของท่าน โดยรักพระยะโฮวาพระเจ้าของท่าน โดยรับฟังพระสุรเสียงของพระองค์และโดยติดสนิทกับพระองค์ เพราะพระองค์คือชีวิตและอายุยืนนานของท่าน.”—พระบัญญัติ 30:19, 20, ล.ม.
คุณจำได้ไหม?
• เหตุใดจึงสำคัญที่เราจะรักพระยะโฮวา?
• เราจะแสดงความรักต่อพระเจ้าได้โดยวิธีใด?
• เรามีเหตุผลอะไรที่จะรักพระยะโฮวา?
• เราสามารถปลูกฝังความรักต่อพระเจ้าได้โดยวิธีใด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 20]
พระยะโฮวาทรงเห็นค่าอย่างแท้จริงในสิ่งที่เราทุกคนสามารถแสดงออกได้ นั่นคือความรักที่เรามีต่อพระองค์
[ภาพหน้า 23]
“ผู้ที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดา.”—โยฮัน 14:9