สามี—จงยอมรับและเลียนแบบความเป็นประมุขของพระคริสต์
สามี—จงยอมรับและเลียนแบบความเป็นประมุขของพระคริสต์
“พระคริสต์เป็นศีรษะของชายทุกคน.”—1 โกรินโธ 11:3.
1, 2. (ก) อาจวัดความสำเร็จของสามีโดยวิธีใด? (ข) เหตุใดจึงสำคัญที่จะตระหนักว่าการสมรสเริ่มต้นมาจากพระเจ้า?
คุณจะวัดความสำเร็จของสามีอย่างไร? โดยความสามารถด้านปัญญาหรือร่างกายไหม? โดยความสามารถในการหาเงินไหม? หรือว่าจะวัดกันเป็นพิเศษโดยดูว่าเขาปฏิบัติต่อภรรยาและบุตรด้วยความรักและกรุณาไหม? เมื่อวัดโดยวิธีหลัง สามีหลายคนได้คะแนนต่ำมาก เนื่องจากพวกเขาได้รับอิทธิพลจากน้ำใจของโลกและมาตรฐานของมนุษย์. เพราะเหตุใด? ส่วนใหญ่แล้ว เนื่องจากพวกเขาไม่ตระหนักและไม่ได้ใช้คำชี้นำจากผู้ริเริ่มการสมรส—ผู้ ‘ทรงชักกระดูกซี่โครงออกจากชายนั้นและได้สร้างขึ้นเป็นหญิง, แล้วประทานให้ชายนั้น.’—เยเนซิศ 2:21-24.
2 พระเยซูคริสต์ยืนยันเรื่องราวนี้ในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการที่พระเจ้าทรงริเริ่มการสมรส โดยตรัสกับพวกที่จ้องโจมตีในสมัยพระองค์ว่า “พวกท่านไม่ได้อ่านหรือว่า, พระผู้ทรงสร้างมนุษย์แต่เดิมได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง, และตรัสว่า, ‘เพราะเหตุนั้นบุรุษจึงต้องละบิดามารดาของตนไปผูกพันอยู่กับภรรยา, และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้ออันเดียวกัน?’ เขาจึงไม่เป็นสองต่อไป, แต่เป็นเนื้ออันเดียวกัน. เหตุฉะนั้นซึ่งพระเจ้าได้ผูกพันกันแล้ว [ด้วยสายสมรส] อย่าให้มนุษย์ทำให้พรากจากกันเลย.” (มัดธาย 19:4-6) ข้อเท็จจริงก็คือกุญแจสำคัญซึ่งนำไปสู่ชีวิตสมรสที่ประสบความสำเร็จก็คือการตระหนักว่าการสมรสเริ่มต้นมาจากพระเจ้าและความสำเร็จขึ้นอยู่กับการใช้คำสั่งสอนที่พบในคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้า.
กุญแจที่นำไปสู่ความสำเร็จของสามี
3, 4. (ก) อะไรทำให้พระเยซูทรงมีความรู้อย่างดีในเรื่องชีวิตสมรส? (ข) ใครคือมเหสีโดยนัยของพระเยซู และสามีทั้งหลายควรปฏิบัติต่อภรรยาอย่างไร?
3 เครื่องช่วยอย่างหนึ่งที่จะทำให้สามีประสบความสำเร็จคือการศึกษาคำตรัสของพระเยซูและเลียนแบบสิ่งที่พระองค์ทำ. พระองค์ทรงมีความรู้อย่างดีในเรื่องนี้ เพราะพระองค์ทรงอยู่ด้วยตอนที่พระเจ้าสร้างมนุษย์คู่แรกและตอนที่ทั้งสองสมรสกัน. พระยะโฮวาพระเจ้าตรัสกับพระองค์ว่า “ให้เราสร้างมนุษย์ตามแบบเรา ให้มีลักษณะคล้ายกับเรา.” (เยเนซิศ 1:26, ล.ม.) ใช่แล้ว พระเจ้ากำลังตรัสกับผู้ที่พระองค์ทรงสร้างก่อนใครหรือสิ่งอื่นใด และเป็นผู้ที่ “อยู่เคียงข้างพระองค์เป็นนายช่าง.” (สุภาษิต 8:22-30, ล.ม.) พระองค์ผู้นี้เป็น “ผู้แรกที่บังเกิดก่อนสรรพสิ่งทรงสร้าง.” พระองค์ทรงเป็น “ผู้แรกที่พระเจ้าทรงสร้าง” ทรงดำรงอยู่ก่อนที่เอกภพจะถูกสร้างขึ้นเสียด้วยซ้ำ.—โกโลซาย 1:15, ล.ม.; วิวรณ์ 3:14, ล.ม.
4 พระเยซูทรงถูกเรียกว่า “พระเมษโปดกของพระเจ้า” และมีการพรรณนาภาพโดยนัยว่าพระองค์เป็นสามี. ครั้งหนึ่ง ทูตสวรรค์องค์หนึ่งกล่าวว่า “เชิญมานี่เถิด ข้าพเจ้าจะสำแดงให้ท่านเห็นเจ้าสาวที่เป็นมเหสีของพระเมษโปดกนั้น.” (โยฮัน 1:29; วิวรณ์ 21:9) ถ้าอย่างนั้น เจ้าสาวหรือมเหสีของพระองค์นั้นได้แก่ใคร? “มเหสีของพระเมษโปดก” ประกอบด้วยเหล่าสาวกผู้ซื่อสัตย์ของพระคริสต์ซึ่งได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณ และจะร่วมปกครองกับพระองค์ในสวรรค์. (วิวรณ์ 14:1, 3) ด้วยเหตุนั้น วิธีที่พระเยซูทรงปฏิบัติต่อเหล่าสาวกเมื่อพระองค์ทรงอยู่กับพวกเขาบนแผ่นดินโลกเป็นแบบอย่างสำหรับสามีในเรื่องวิธีปฏิบัติต่อภรรยา.
5. พระเยซูทรงเป็นแบบอย่างสำหรับใคร?
5 จริงอยู่ มีการกล่าวถึงพระเยซูในคัมภีร์ไบเบิลว่าเป็นตัวอย่างสำหรับเหล่าสาวกทั้งหมด ดังที่เราอ่านว่า “พระคริสต์ได้ทรงรับทนทุกข์ทรมานเพื่อท่านทั้งหลาย ให้เป็นแบบอย่างแก่ท่าน, เพื่อท่านจะได้ตามรอยพระบาทของพระองค์.” (1 เปโตร 2:21) อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ชาย. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “พระคริสต์เป็นศีรษะของชายทุกคน, และ ชายเป็นศีรษะของหญิง, และพระเจ้าเป็นศีรษะของพระคริสต์.” (1 โกรินโธ 11:3) เนื่องจากพระคริสต์ทรงเป็นประมุขของชาย สามีจึงจำเป็นต้องทำตามแบบอย่างของพระองค์. ดังนั้น เพื่อครอบครัวจะประสบความสำเร็จและมีความสุข ต้องใช้หลักการในเรื่องความเป็นประมุข. เพื่อจะบรรลุผลอย่างนั้น สามีจำเป็นต้องปฏิบัติต่อภรรยาด้วยวิธีที่เปี่ยมด้วยความรักอย่างที่พระเยซูทรงปฏิบัติต่อภรรยาโดยนัยของพระองค์ คือเหล่าสาวกผู้ถูกเจิม.
วิธีรับมือปัญหาในชีวิตสมรส
6. สามีควรอยู่กับภรรยาอย่างไร?
6 ในโลกปัจจุบันที่ยุ่งยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามีจำเป็นต้องทำตามแบบอย่างของพระเยซูในเรื่องความอดทน, ความรัก, และความหนักแน่นในการเชิดชูหลักการอันชอบธรรม. (2 ติโมเธียว 3:1-5) เกี่ยวกับแบบอย่างที่พระเยซูทรงวางไว้ เราอ่านในคัมภีร์ไบเบิลดังนี้: “ท่านทั้งหลายที่เป็นสามี จงอยู่กับ [ภรรยา] ต่อ ๆ ไปในลักษณะเดียวกันตามความรู้.” (1 เปโตร 3:7, ล.ม.) ใช่แล้ว สามีจำเป็นต้องรับมือกับปัญหาในชีวิตสมรสด้วยความรู้ เช่นเดียวกับที่พระเยซูทรงรับมือกับปัญหาต่าง ๆ. พระองค์ทรงทนความลำบากอันหนักหนาสาหัสกว่าที่มนุษย์คนใด ๆ เคยทน แต่พระองค์ทรงตระหนักว่าซาตาน, ผีปิศาจ, และโลกที่ชั่วช้านี้เป็นต้นเหตุของความลำบากเหล่านี้. (โยฮัน 14:30; เอเฟโซ 6:12) พระเยซูไม่เคยแปลกใจที่พบกับความยากลำบาก ดังนั้น คู่สมรสก็ไม่น่าจะแปลกใจเช่นกันเมื่อประสบกับ “ความลำบากในเนื้อหนังของตน.” คัมภีร์ไบเบิลเตือนว่าคนที่สมรสสามารถคาดหมายได้เลยว่าจะประสบความยุ่งยากลำบาก.—1 โกรินโธ 7:28, ล.ม.
7, 8. (ก) อะไรเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในการอยู่กับภรรยาตามความรู้? (ข) เหตุใดภรรยาจึงสมควรได้รับเกียรติ?
7 คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า สามีควรอยู่กับภรรยา “ตามความรู้ ให้เกียรตินางเหมือนภาชนะที่อ่อนแอกว่า คือเพศหญิง.” (1 เปโตร 3:7, ล.ม.) แทนที่จะใช้อำนาจเหนือภรรยาอย่างขาดความกรุณา ดังที่คัมภีร์ไบเบิลบอกล่วงหน้าไว้ว่าพวกผู้ชายโดยทั่วไปจะทำอย่างนั้น สามีที่ได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าจะให้เกียรติเธอ. (เยเนซิศ 3:16) เขาจะต้องการปฏิบัติต่อเธอเช่นกับสมบัติล้ำค่า ไม่ใช้กำลังทางกายที่มีมากกว่าทำให้เธอเจ็บปวด. แทนที่จะทำอย่างนั้น เขาจะคำนึงถึงความรู้สึกของเธอ ปฏิบัติต่อเธอด้วยความนับถือและให้เกียรติเสมอ.
8 เหตุใดสามีควรให้เกียรติภรรยาอย่างเหมาะสม? คัมภีร์ไบเบิลตอบดังนี้: “เพราะท่านทั้งสองได้รับชีวิตอันเป็นพระคุณเป็นมรดก เพื่อว่าคำอธิษฐานของท่านจะไม่มีอุปสรรคขัดขวาง.” (1 เปโตร 3:7, ฉบับแปลใหม่) สามีจำเป็นต้องเข้าใจว่าพระยะโฮวาไม่ทรงถือว่าผู้ชายที่นมัสการพระองค์เหนือกว่าผู้หญิงที่นมัสการพระองค์แต่อย่างใด. ผู้หญิงที่ถูกนับว่าคู่ควรจะได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าจะร่วมรับรางวัลชีวิตนิรันดร์อย่างเดียวกับผู้ชาย—หลายคนยังได้รับชีวิตในสวรรค์ด้วยซ้ำ ซึ่งที่นั่น ‘ไม่มีชายหรือหญิง.’ (ฆะลาเตีย 3:28) ดังนั้น สามีต้องจำไว้ว่าสิ่งที่ทำให้ใครคนหนึ่งมีค่าต่อพระเจ้าคือความซื่อสัตย์ และไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเขาเป็นชายหรือหญิง, สามีหรือภรรยา, หรือแม้แต่เด็ก.—1 โกรินโธ 4:2.
9. (ก) ตามที่เปโตรกล่าว สามีควรให้เกียรติภรรยาด้วยเหตุผลอะไร? (ข) พระเยซูทรงแสดงอย่างไรว่าพระองค์ทรงให้เกียรติผู้หญิง?
9 มีการเน้นถึงความจำเป็นที่สามีจะปฏิบัติต่อภรรยาโดยให้เกียรติเธอในส่วนท้ายของคำแนะนำของอัครสาวกเปโตร ที่ว่า “เพื่อว่าคำอธิษฐานของท่านจะไม่มีอุปสรรคขัดบทเพลงร้องทุกข์ของยิระมะยา 3:43, 44) ด้วยความฉลาดสุขุม ผู้ชายคริสเตียน—ทั้งที่สมรสแล้วและคนที่คิดจะสมรส—จะศึกษาตัวอย่างของพระเยซูว่าทรงปฏิบัติต่อผู้หญิงอย่างให้เกียรติอย่างไร. พระองค์ทรงต้อนรับพวกเธอเข้าร่วมกลุ่มที่ทำงานกับพระองค์ในงานรับใช้ และพระองค์ทรงปฏิบัติต่อพวกเธอด้วยความกรุณาและนับถือ. ในโอกาสหนึ่ง พระเยซูทรงถึงกับเปิดเผยความจริงที่น่าพิศวงที่สุดเรื่องหนึ่งแก่ผู้หญิงบางคนก่อน และบอกให้พวกเธอบอกต่อเรื่องนั้นกับพวกผู้ชาย!—มัดธาย 28:1, 8-10; ลูกา 8:1-3.
ขวาง.” อุปสรรคที่ขวางกั้นเช่นนั้นอาจเป็นอันตรายสักเพียงไร! การที่สามีปฏิบัติต่อภรรยาโดยไม่ให้เกียรติเธออาจถึงกับทำให้คำอธิษฐานของเขาถูกขัดขวาง ดังที่เกิดขึ้นกับผู้รับใช้ของพระเจ้าบางคนในอดีตที่ไม่ให้เกียรติภรรยา. (ตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสามี
10, 11. (ก) เหตุใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสามีจำเป็นต้องศึกษาตัวอย่างของพระเยซู? (ข) สามีควรแสดงความรักต่อภรรยาอย่างไร?
10 ดังกล่าวแล้วข้างต้น คัมภีร์ไบเบิลเปรียบความสัมพันธ์ของสามีกับภรรยาเหมือนกับความสัมพันธ์ของพระคริสต์กับ “เจ้าสาว” ของพระองค์ ซึ่งก็คือประชาคมแห่งเหล่าสาวกผู้ถูกเจิม. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “สามีเป็นประมุขของภรรยาของตนเหมือนพระคริสต์เป็นประมุขของประชาคมด้วย.” (เอเฟโซ 5:23, ล.ม.) ถ้อยคำดังกล่าวน่าจะสนับสนุนสามีให้ตรวจสอบว่าพระเยซูทรงนำเหล่าสาวกอย่างไร. เฉพาะแต่โดยตรวจสอบอย่างนี้เท่านั้นสามีจึงจะสามารถปฏิบัติตามตัวอย่างของพระเยซูได้อย่างถูกต้องและให้การชี้นำ, ความรัก, และการเอาใจใส่แก่ภรรยา เหมือนกับที่พระเยซูทรงปฏิบัติต่อประชาคมของพระองค์.
11 คัมภีร์ไบเบิลกล่าวกระตุ้นคริสเตียนดังนี้: “สามีทั้งหลาย จงรักภรรยาของตนเสมออย่างที่พระคริสต์ทรงรักประชาคมและได้สละพระองค์เองเพื่อประชาคม.” (เอเฟโซ 5:25, ล.ม.) ในบทก่อนหน้านั้นของเอเฟโซ “ประชาคม” ถูกเรียกเป็น “พระกายของพระคริสต์.” กายโดยนัยนี้มีสมาชิกจำนวนมากทั้งสองเพศ ซึ่งทั้งหมดมีส่วนช่วยให้กายนี้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ. แน่นอน พระเยซูทรงเป็น “ศีรษะของกาย คือประชาคม.”—เอเฟโซ 4:12; โกโลซาย 1:18, ล.ม.; 1 โกรินโธ 12:12, 13, 27.
12. พระเยซูทรงแสดงออกซึ่งความรักต่อพระกายโดยนัยของพระองค์อย่างไร?
12 พระเยซูทรงแสดงความรักต่อกายโดยนัยของพระองค์ คือ “ประชาคม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยท่าทีเอื้ออาทรของพระองค์ในการดูแลผลประโยชน์ของคนที่จะมาเป็นสมาชิกของประชาคม. ตัวอย่างเช่น เมื่อเหล่าสาวกเหน็ดเหนื่อย พระองค์ตรัสว่า “จงไปหาที่สงัดหยุดพักหายเหนื่อยสักหน่อยหนึ่ง.” (มาระโก 6:31) เมื่อพรรณนาถึงสิ่งต่าง ๆ ที่พระเยซูทรงทำเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนจะถูกประหาร อัครสาวกคนหนึ่งเขียนดังนี้: “พระองค์ทรงรักพวกศิษย์ของพระองค์ [กล่าวคือ สมาชิกแห่งพระกายโดยนัยของพระองค์] . . . , พระองค์ยังทรงรักเขาจนถึงที่สุด.” (โยฮัน 13:1) ช่างเป็นตัวอย่างที่ดีจริง ๆ ที่พระเยซูทรงวางไว้เกี่ยวกับวิธีที่สามีจะปฏิบัติต่อภรรยา!
13. สามีได้รับคำเตือนสติอย่างไรให้รักภรรยา?
13 อัครสาวกเปาโลใช้ตัวอย่างที่พระเยซูทรงวางไว้สำหรับสามีต่อไปอีกเมื่อท่านเตือนพวกเขาว่า “สามีควรจะรักภรรยาของตนเหมือนรักกายของตนเองด้วย. ผู้ที่รักเอเฟโซ 5:28, 29, 33.
ภรรยาของตนเองก็รักตัวเอง ด้วยว่าไม่มีผู้ที่เกลียดชังเนื้อหนังของตนเอง, แต่ย่อมเลี้ยงบำรุงไว้, เหมือนพระคริสต์ทรงเลี้ยงบำรุงคริสตจักร.” เปาโลกล่าวเสริมอีกว่า “ท่านทั้งหลายทุกคนจงต่างคนต่างรักภรรยาของตนเหมือนรักตัวเอง.”—14. สามีปฏิบัติอย่างไรต่อร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ของเขา และนี่ชี้ถึงอะไรเกี่ยวกับวิธีที่เขาควรปฏิบัติต่อภรรยา?
14 ขอให้คิดทบทวนคำพูดของเปาโล. ชายที่มีสติสมประกอบจะตั้งใจทำให้ตัวเขาเองบาดเจ็บไหม? เมื่อชายคนหนึ่งเดินสะดุดหัวแม่เท้า เขาจะตีหัวแม่เท้านั้นเพราะมันทำให้เขาสะดุดล้มไหม? เขาไม่ทำอย่างนั้นแน่! สามีจะทำให้ตัวเองอับอายขายหน้าต่อหน้าเพื่อน ๆ หรือซุบซิบกับคนอื่นเรื่องข้อบกพร่องของเขาเองไหม? ไม่! ถ้าอย่างนั้น ทำไมเขาจึงจะนินทาว่าร้ายภรรยา หรือทำอะไรที่แย่ยิ่งกว่านั้นอีก หากเธอทำผิดพลาด? สามีควรคิดถึงไม่เพียงผลประโยชน์ของตนเอง แต่คำนึงถึงผลประโยชน์ของภรรยาด้วย.—1 โกรินโธ 10:24; 13:5.
15. (ก) พระเยซูทรงทำอะไรเมื่อเหล่าสาวกแสดงความอ่อนแอในฐานะมนุษย์? (ข) ตัวอย่างของพระองค์สอนบทเรียนอะไร?
15 ขอให้พิจารณาว่าพระเยซูทรงแสดงให้เห็นความห่วงใยอย่างไรต่อเหล่าสาวกในคืนก่อนพระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อพวกเขาแสดงความอ่อนแอในฐานะมนุษย์. แม้ว่าพระองค์ตรัสซ้ำหลายครั้งขอให้พวกเขาอธิษฐาน แต่พวกเขาผล็อยหลับไปสามครั้งในสวนเกทเซมาเน. ทันใดนั้น พวกผู้ชายอาวุธครบมือก็เข้าล้อมพวกเขา. พระเยซูทรงถามคนพวกนั้นว่า “ท่านทั้งหลายมาหาผู้ใด?” เมื่อพวกเขาตอบว่า “มาหาเยซูชาวบ้านนาซาเร็ธ” พระองค์ทรงตอบว่า “เราเป็นผู้นั้นแหละ.” โดยที่ทรงทราบว่า ‘เวลามาถึงแล้ว’ ที่พระองค์จะต้องสิ้นพระชนม์ พระองค์ตรัสว่า “ถ้าท่านแสวงหาเรา, จงปล่อยให้คนเหล่านี้ไปเถิด.” พระเยซูทรงคำนึงเสมอถึงสวัสดิภาพของเหล่าสาวกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าสาวโดยนัยของพระองค์ และพระองค์ทรงเปิดช่องทางให้พวกเขาหลุดพ้นจากการจับกุม. โดยศึกษาวิธีที่พระเยซูปฏิบัติต่อเหล่าสาวก สามีทั้งหลายจะพบหลักการหลายอย่างที่พวกเขาสามารถใช้ได้ในเรื่องที่ว่าเขาควรปฏิบัติต่อภรรยาอย่างไร.—โยฮัน 18:1-9; มาระโก 14:34-37, 41.
ความรักของพระเยซูไม่เป็นเพียงอารมณ์ความรู้สึก
16. พระเยซูทรงรู้สึกอย่างไรต่อมาร์ทา แต่กระนั้นพระองค์ตรัสแก้ไขเธออย่างไร?
16 คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “พระเยซูทรงรักมาร์ทากับน้องสาวและลาซะโร” และครอบครัวนี้ต้อนรับพระองค์เป็นแขกที่บ้านอยู่บ่อยครั้ง. (โยฮัน 11:5, ล.ม.) ถึงกระนั้น พระเยซูมิได้รีรอที่จะให้คำแนะนำแก่มาร์ทาเมื่อเธอให้ความสนใจเกินควรแก่อาหารที่เธอเตรียม ซึ่งทำให้เธอมีเวลาไม่มากนักที่จะรับเอาการสอนที่เสริมสร้างฝ่ายวิญญาณจากพระองค์. พระองค์ตรัสว่า “มาร์ทา มาร์ทา เจ้ากระวนกระวายและพะวงกับหลายสิ่ง. แต่ที่จำเป็นมีไม่กี่สิ่ง หรือเพียงสิ่งเดียว.” (ลูกา 10:41, 42, ล.ม.) ไม่ต้องสงสัย ความรักซึ่งเห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงมีต่อมาร์ทาทำให้เธอตอบรับคำแนะนำของพระองค์ได้ไม่ยาก. คล้ายกัน สามีควรปฏิบัติต่อภรรยาอย่างกรุณา, เปี่ยมด้วยความรัก, ใช้ถ้อยคำที่เลือกอย่างดี. ถึงกระนั้น เมื่อจำเป็นต้องแก้ไข นับว่าเหมาะที่จะกล่าวอย่างตรงไปตรงมาแบบเดียวกับพระเยซู.
17, 18. (ก) เปโตรทักท้วงพระเยซูอย่างไร และทำไมเปโตรจึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข? (ข) สามีมีหน้าที่รับผิดชอบอะไร?
17 ในอีกโอกาสหนึ่ง พระเยซูทรงอธิบายแก่เหล่าอัครสาวกว่าพระองค์ต้องไปยังกรุงเยรูซาเลม ที่นั่นพระองค์จะต้องทนรับความทุกข์ทรมานจาก “พวกผู้เฒ่าผู้แก่และพวกมัดธาย 16:21-23, ล.ม.
ปุโรหิตใหญ่และพวกอาลักษณ์ และจะถูกประหาร แล้วในวันที่สามจะถูกปลุกให้เป็นขึ้นมาใหม่.” เมื่อได้ฟังดังนั้นแล้ว เปโตรพาพระเยซูออกไปและเริ่มทักท้วงพระองค์ดังนี้: “พระองค์เจ้าข้า จงกรุณาพระองค์เองเถิด พระองค์จะไม่ประสบเหตุการณ์เช่นนั้นเลย.” เห็นได้ชัด ความคิดของเปโตรเลอะเลือนไปเพราะความรู้สึกส่วนตัว. จำเป็นต้องแก้ไขทัศนะของท่าน. ดังนั้น พระเยซูตรัสกับท่านว่า “จงไปอยู่ข้างหลังเรา ซาตาน! เจ้าเป็นหินสะดุดแก่เรา เพราะที่เจ้าคิดนั้น ไม่ใช่ความคิดของพระเจ้า แต่เป็นความคิดของมนุษย์.”—18 พระเยซูเพิ่งตรัสถึงพระทัยประสงค์ของพระเจ้า กล่าวคือ การที่พระองค์จะประสบความทุกข์ยากหลายอย่างและถูกฆ่า. (บทเพลงสรรเสริญ 16:10; ยะซายา 53:12) ดังนั้น เปโตรทำไม่ถูกที่ทักท้วงพระเยซูอย่างนั้น. ถูกแล้ว เปโตรจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างหนักแน่น เช่นเดียวกับที่เราทุกคนจำเป็นต้องได้รับในบางครั้ง. ในฐานะหัวหน้าครอบครัว สามีมีอำนาจและความรับผิดชอบที่จะแก้ไขสมาชิกครอบครัว รวมทั้งภรรยาด้วย. แม้ว่าอาจจำเป็นต้องทำอย่างหนักแน่น แต่การแก้ไขนี้ควรทำด้วยท่าทีที่กรุณาและเปี่ยมด้วยความรัก. ดังนั้น เช่นเดียวกับที่พระเยซูทรงช่วยเปโตรให้มีทัศนะที่ถูกต้อง บางครั้งสามีอาจจำเป็นต้องทำอย่างเดียวกันนั้นต่อภรรยา. ตัวอย่างเช่น สามีอาจจำเป็นต้องชี้ให้ภรรยาเห็นด้วยท่าทีที่กรุณาว่าทำไมจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหากเสื้อผ้าหรือการใช้เครื่องเพชรหรือเครื่องสำอางของเธอเริ่มหันเหไปจากแบบของการประดับตัวที่แสดงถึงความถ่อมเจียมตัวอย่างที่พระคัมภีร์แนะนำ.—1 เปโตร 3:3-5.
เป็นประโยชน์ที่สามีจะอดทน
19, 20. (ก) มีปัญหาอะไรก่อตัวขึ้นในหมู่อัครสาวกของพระเยซู และพระเยซูทรงจัดการอย่างไร? (ข) ความพยายามของพระเยซูเกิดผลอย่างไร?
19 หากมีข้อผิดพลาดที่จำเป็นต้องจัดการ สามีไม่ควรคาดหมายว่าความพยายามอย่างจริงใจของตนเพื่อแก้ไขเรื่องนั้นจะประสบผลสำเร็จในทันที. พระเยซูต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับทัศนะของเหล่าอัครสาวก. ตัวอย่างเช่น การประชันขันแข่งกันที่ก่อตัวขึ้นในหมู่พวกเขาซึ่งปรากฏให้เห็นอีกเมื่อถึงช่วงท้าย ๆ งานรับใช้ของพระเยซู. พวกเขาเถียงกันว่าใครในพวกเขาที่ดูเหมือนว่าใหญ่ที่สุด. (มาระโก 9:33-37; 10:35-45) ไม่นานนักหลังจากเกิดเหตุการณ์แบบนี้เป็นครั้งที่สอง พระเยซูทรงจัดการฉลองปัศคาครั้งสุดท้ายของพระองค์กับพวกเขาเป็นส่วนตัว. ในโอกาสนั้น ไม่มีสักคนในหมู่พวกเขาที่เริ่มต้นทำตามธรรมเนียมที่ดูเหมือนว่าเป็นงานต่ำต้อยโดยการล้างเท้าให้ผู้อื่น. พระเยซูทรงทำเสียเอง. จากนั้น พระองค์ตรัสว่า “เราได้วางแบบอย่างให้แก่ท่านทั้งหลายแล้ว.”—โยฮัน 13:2-15.
20 สามีที่มีเจตคติถ่อมใจแบบเดียวกับพระเยซูคงจะได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากภรรยา. แต่จำเป็นต้องเพียรอดทน. ต่อมา ในคืนวันปัศคานั้นเอง เหล่าอัครสาวกเถียงกันอีกด้วยเรื่องที่ว่าใครในพวกเขาที่ดูเหมือนว่าใหญ่ที่สุด. (ลูกา 22:24) บ่อยครั้ง การเปลี่ยนเจตคติและการประพฤติต้องใช้เวลาและค่อยเป็นค่อยไป. กระนั้น ผลที่ได้รับช่างน่าพอใจยินดีสักเพียงไร เช่นเดียวกับในกรณีของเหล่าอัครสาวก!
21. เมื่อเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ในทุกวันนี้ สามีควรจำอะไรไว้และควรทำเช่นไร?
21 ปัจจุบัน ชีวิตสมรสประสบปัญหาหนักอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน. หลายคนไม่ได้ถือว่าคำปฏิญาณการสมรสเป็นเรื่องจริงจังอีกต่อไป. ฉะนั้น สามีทั้งหลาย จงใคร่ครวญถึงต้นกำเนิดของการสมรส. จำไว้ว่าการสมรสมีต้นกำเนิดมาจากพระเจ้า เป็นสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นโดยพระยะโฮวา พระเจ้าของเราผู้เปี่ยมด้วยความรัก. พระองค์ทรงจัดเตรียมให้พระเยซู พระบุตรของพระองค์ไม่เพียงให้เป็นผู้ไถ่—ผู้ช่วยให้เรารอด—แต่ยังให้เป็นแบบอย่างสำหรับสามีด้วย.—มัดธาย 20:28; โยฮัน 3:29; 1 เปโตร 2:21.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดจึงสำคัญที่เราจะตระหนักถึงต้นกำเนิดของการสมรส?
• สามีได้รับคำแนะนำให้รักภรรยาในทางใดบ้าง?
• ตัวอย่างอะไรของพระเยซูที่ปฏิบัติต่อเหล่าสาวกซึ่งแสดงถึงวิธีที่สามีควรใช้ความเป็นประมุขแบบเดียวกับพระคริสต์?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 14]
เหตุใดสามีควรศึกษาตัวอย่าง วิธีที่พระเยซูทรงปฏิบัติต่อผู้หญิง?
[ภาพหน้า 15]
เมื่อเหล่าสาวกเหนื่อย พระเยซูแสดงให้เห็นว่าทรงคำนึงถึงความรู้สึกของพวกเขา
[ภาพหน้า 16]
สามีควรให้คำแนะนำแก่ภรรยาด้วยคำพูดที่กรุณาและเลือกอย่างดี