การเลือกที่นำไปสู่ความสุข
การเลือกที่นำไปสู่ความสุข
“ถ้าฉันเลือกใหม่ได้อีกทีก็จะดี!” กี่ครั้งแล้วที่คุณได้พูดอย่างนั้นกับตัวเอง? เราทุกคนต้องการเลือกอย่างที่จะไม่ทำให้เราเสียใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเลือกดังกล่าวมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเรา. แต่เราจะเลือกอย่างที่นำไปสู่ความสุขได้อย่างไร?
ประการแรก เราต้องมีมาตรฐานที่ไว้ใจได้อย่างแท้จริง. มาตรฐานดังกล่าวมีอยู่ไหม? หลายคนคิดว่าไม่มี. ตามการสำรวจความเห็นครั้งหนึ่งในสหรัฐ 75 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาวิทยาลัยปีสุดท้ายเชื่อว่าไม่มีมาตรฐานที่ว่าอะไรถูกอะไรผิด และแนวคิดเรื่องความดีกับความชั่วย่อมต่างกันไปตาม “ค่านิยมของปัจเจกบุคคลและความหลากหลายทางวัฒนธรรม.”
มีเหตุผลจริง ๆ ไหมที่จะคิดว่ามาตรฐานด้านศีลธรรมเป็นเพียงเรื่องของความคิดเห็นส่วนตัวหรือเป็นความเห็นของคนส่วนใหญ่? ไม่ ไม่มีเหตุผลที่จะคิดอย่างนั้น. หากผู้คนมีอิสระจะทำอะไรก็ตามที่เขาอยากทำ ผลที่เกิดขึ้นคงจะเป็นความสับสนอลหม่าน. ใครหรือจะต้องการอยู่ในเขตที่ไม่มีกฎหมาย, ไม่มีศาล, และไม่มีตำรวจ? นอกจากนี้ ความคิดเห็นส่วนตัวใช่ว่าจะเป็นเครื่องนำทางที่ไว้ใจได้เสมอไป. เราอาจเลือกทำอะไรบางอย่างที่เราคิดว่าถูกต้องแล้วก็มารู้ทีหลังว่าเราเข้าใจผิดไป. ที่จริง ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ยืนยันความจริงของคำสอนจากคัมภีร์ไบเบิลข้อนี้ที่ว่า “ไม่ใช่ที่มนุษย์ซึ่งดำเนินนั้นจะได้กำหนดก้าวของตัวได้.” (ยิระมะยา 10:23) ถ้าเช่นนั้น เราจะหันไปหาการชี้นำจากที่ไหนเมื่อทำการตัดสินใจในประเด็นสำคัญ ๆ เกี่ยวกับชีวิต?
ขุนนางหนุ่มที่กล่าวถึงในบทความก่อนได้ไปหาพระเยซูอย่างฉลาดสุขุม. ดังที่เราได้เห็น ในการตอบคำถามของชายหนุ่มคนนี้ พระเยซูทรงอ้างอิงถึงพระบัญญัติของพระเจ้า. โยฮัน 7:16) ที่จริง พระคำของพระเจ้าเป็นแหล่งแห่งการชี้นำที่ไว้ใจได้ซึ่งจะช่วยเราให้ทำการเลือกอย่างฉลาดสุขุมในชีวิต. ขอให้เราพิจารณาหลักการบางอย่างที่พบในพระคำของพระเจ้า ซึ่งถ้านำมาใช้แล้วก็จะส่งเสริมความสุขของเรา.
พระเยซูทรงยอมรับว่าพระยะโฮวาพระเจ้าเป็นแหล่งสูงสุดของความรู้และสติปัญญา อีกทั้งทรงทราบว่าอะไรดีที่สุดสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงสร้างมา. ฉะนั้น พระเยซูตรัสว่า “คำสอนของเราไม่เป็นของเราเอง, แต่เป็นของพระองค์ที่ทรงใช้เรามา.” (กฎทอง
ในคำเทศน์บนภูเขาอันลือชื่อ พระเยซูทรงสอนหลักพื้นฐานข้อหนึ่งซึ่งสามารถช่วยเราตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุมในเรื่องสัมพันธภาพของเรากับคนอื่น. พระองค์ได้ตรัสดังนี้: “เหตุฉะนั้นสิ่งสารพัตรซึ่งท่านปรารถนาให้มนุษย์ทำแก่ท่าน, จงกระทำอย่างนั้นแก่เขาเหมือนกัน.” (มัดธาย 7:12) บ่อยครั้งมีการเรียกหลักความประพฤติข้อนี้ว่า กฎทอง.
คำสอนของพระเยซูในมัดธาย 7:12 เป็นการกระตุ้นให้ลงมือทำ. เพื่อเป็นตัวอย่าง ขอพิจารณาอุปมาของพระเยซูเรื่องชาวซะมาเรียผู้มีไมตรีจิต. ชาวยิวคนหนึ่งถูกทุบตีและถูกทิ้งไว้ข้างทางในสภาพปางตาย. ปุโรหิตและชาวเลวีเห็นเขาแต่ก็เดินผ่านไป. เห็นได้ชัดว่าเขาทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระเยซู. ในทางตรงข้าม ชาวซะมาเรียที่เดินทางผ่านมาได้หยุดเพื่อช่วยเหลือ. เขาเอาผ้าพันบาดแผลให้ชายคนนี้แล้วพาไปที่โรงแรม. เขาทำกับชายคนนี้ในสิ่งที่เขาต้องการให้คนอื่นทำกับตัวเขา. เขานำกฎทองมาใช้—และได้ทำการเลือกอย่างถูกต้อง.—ลูกา 10:30-37.
มีหลายวิธีที่เราสามารถนำกฎความประพฤติข้อนี้มาใช้พร้อมกับเกิดผลที่น่ายินดี. สมมุติว่ามีครอบครัวหนึ่งย้ายมาอยู่ใหม่ในละแวกบ้านของคุณ. คุณลองริเริ่มเข้าไปพูดจาต้อนรับพวกเขาสิ. คุณอาจช่วยเขาให้รู้จักคุ้นเคยกับบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งตอบคำถามและช่วยเขาในเรื่องอื่น ๆ ตามความจำเป็นของเขา. โดยริเริ่มแสดงการใส่ใจกันฉันเพื่อนบ้าน คุณจะพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านใหม่ของคุณ. นอกจากนี้ คุณจะมีความพึงพอใจที่รู้ว่าคุณทำสิ่งที่พระเจ้าพอพระทัย. นี่เป็นการตัดสินใจที่ฉลาดมิใช่หรือ?
การเลือกที่อาศัยความรักต่อคนอื่น
นอกจากกฎทองแล้ว พระเยซูทรงให้คำแนะนำอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยคุณให้เลือกอย่างฉลาดสุขุม. เมื่อมีผู้ถามว่าบัญญัติข้อใดสำคัญที่สุดในพระบัญญัติของโมเซ พระเยซูได้ตรัสตอบว่า “ ‘จงรักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดหัวใจของเจ้า ด้วยสุดชีวิตของเจ้า และด้วยสุดความคิดของเจ้า.’ นี่เป็นบัญญัติข้อสำคัญที่สุดและเป็นบัญญัติข้อแรก. บัญญัติข้อที่สองก็เช่นกัน คือ ‘จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง.’ พระบัญญัติและคำพยากรณ์ทั้งสิ้นรวมอยู่ในบัญญัติสองข้อนี้.”—มัดธาย 22:36-40, ล.ม.
คืนก่อนการสิ้นพระชนม์ พระเยซูทรงให้ “บัญญัติใหม่” แก่เหล่าสาวกของพระองค์ ให้พวกเขารักซึ่งกันและกัน. (โยฮัน 13:34) ทำไมพระองค์พรรณนาบัญญัตินี้ว่าเป็นบัญญัติใหม่? ที่จริง พระองค์ได้ทรงอธิบายไปแล้วมิใช่หรือว่า การรักเพื่อนบ้านเป็นหนึ่งในบัญญัติสองข้อที่ครอบคลุมพระบัญญัติทั้งสิ้น? ภายใต้พระบัญญัติของโมเซ ชาวอิสราเอลได้รับพระบัญชาว่า “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง.” (เลวีติโก 19:18) อย่างไรก็ดี ตอนนี้พระเยซูทรงบัญชาให้เหล่าสาวกของพระเจ้าทำมากกว่านั้นอีก. ในคืนเดียวกันนั้น พระเยซูทรงแจ้งให้สาวกทราบว่าพระองค์กำลังจะประทานชีวิตของพระองค์เพื่อพวกเขา. จากนั้นพระองค์ตรัสแก่พวกเขาว่า “นี่แหละเป็นบัญญัติของเรา, คือให้ท่านทั้งหลายรักกันและกันเหมือนเราได้รักท่าน. ความรักใหญ่กว่านี้ไม่มี, คือว่าซึ่งผู้หนึ่งผู้ใดจะสละชีวิตของตัวเพื่อมิตรสหายของตน.” (โยฮัน 15:12, 13) ใช่แล้ว บัญญัตินี้ใหม่ในแง่ที่ว่าเรียกร้องให้เอาผลประโยชน์ของคนอื่นมาก่อนผลประโยชน์ของตนเอง.
มีหลายวิธีที่เราสามารถแสดงความรักแบบไม่เห็นแก่ตัว ไม่เพียงแต่เอาใจใส่ผลประโยชน์ของเราเองเท่านั้น. ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าคุณอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์และอยากฟังดนตรีเสียงดังที่ทำให้คุณคึกคักทว่าทำให้เพื่อนบ้านหัวเสีย. คุณจะเต็มใจลดความสนุกเพลิดเพลินของคุณลงไหมเพื่อให้เพื่อนบ้านมีความสงบสุขบ้าง? กล่าวอีกนัยหนึ่ง คุณ
จะเอาสวัสดิภาพของเพื่อนบ้านมาก่อนสวัสดิภาพของคุณเองไหม?ขอพิจารณาอีกเหตุการณ์หนึ่ง. วันหนึ่งในฤดูหนาวที่อากาศเย็นและหิมะตกในแคนาดา ชายสูงอายุคนหนึ่งได้ต้อนรับพยานพระยะโฮวาสองคนที่มาเยี่ยม. ระหว่างการสนทนา ชายผู้นี้ได้กล่าวว่าเขามีอาการทางหัวใจซึ่งทำให้เขาไม่สามารถกวาดหิมะออกไปจากหน้าบ้านของตัวเองได้. ราว ๆ หนึ่งชั่วโมงต่อมา เขาได้ยินเสียงพลั่วขูดพื้นเสียงดัง. พยานฯ สองคนได้กลับมากวาดหิมะออกจากทางเดินเข้าบ้านของเขารวมทั้งบันไดหน้าประตู. เขาเขียนจดหมายถึงสำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาที่แคนาดาว่า “วันนี้ผมได้พบความรักแบบคริสเตียนแท้ในชีวิตจริง. ปกติผมมองโลกทุกวันนี้ในแง่ร้าย แต่ตอนนี้ผมเปลี่ยนมุมมองใหม่จริง ๆ. ความนับถือที่ผมมีอยู่แล้วต่อความพยายามของพวกคุณทั่วโลกก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น.” ใช่แล้ว การเลือกที่จะให้ความช่วยเหลือไม่ว่าจะดูเหมือนเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม อาจมีผลกระทบต่อคนอื่นในทางที่ดี. การเลือกแบบเสียสละตัวเองเช่นนั้นช่างทำให้มีความสุขเสียจริง ๆ!
การเลือกที่อาศัยความรักต่อพระเจ้า
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เราต้องพิจารณาเมื่อทำการเลือกคือสิ่งที่พระเยซูพรรณนาว่าเป็นบัญญัติข้อที่สำคัญที่สุด นั่นคือ เรารักพระเจ้า. พระเยซูตรัสถ้อยคำดังกล่าวกับชาวยิวซึ่งมีสัมพันธภาพกับพระยะโฮวาฐานะเป็นชาติที่อุทิศแด่พระองค์แล้ว. กระนั้น ชาวอิสราเอลเป็นรายบุคคลต้องเลือกว่าเขาจะรับใช้พระเจ้าของตนด้วยความรักแบบสุดชีวิตและสุดหัวใจหรือไม่.—พระบัญญัติ 30:15, 16.
เช่นเดียวกัน การเลือกของคุณสะท้อนให้เห็นว่าคุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระเจ้า. ตัวอย่างเช่น ขณะที่คุณหยั่งรู้ค่ามากขึ้นในคุณค่าที่ใช้ได้จริงของคัมภีร์ไบเบิล คุณก็เช่นกันเผชิญการตัดสินใจเลือก. คุณจะเต็มใจศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายที่จะเข้ามาเป็นผู้ติดตามพระเยซูไหม? การเลือกทำเช่นนั้นจะนำความสุขมาให้คุณอย่างแน่นอน เพราะพระเยซูตรัสว่า “ผู้ที่สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณก็มีความสุข.”—มัดธาย 5:3, ล.ม.
เราไม่ทราบว่าขุนนางหนุ่มเสียใจหรือไม่ที่ได้ตัดสินใจเช่นนั้น. อย่างไรก็ดี เราทราบว่าอัครสาวกเปโตรรู้สึกอย่างไรหลังจากติดตามพระเยซูคริสต์เป็นเวลาหลายปี. ในราวปีสากลศักราช 64 ขณะที่เปโตรใกล้จะจบชีวิตลง ท่านได้สนับสนุนเพื่อนร่วมความเชื่อว่า “จงพยายามสุดกำลัง เพื่อในที่สุด [พระเจ้า] จะทรงเห็นว่าพวกท่านปราศจากด่างพร้อยและตำหนิ และมีสันติสุข.” (2 เปโตร 1:14; 3:14, ล.ม.) เห็นได้ชัด เปโตรไม่ได้เสียใจในการเลือกของท่านเมื่อ 30 กว่าปีก่อน และท่านได้สนับสนุนคนอื่นให้ยึดมั่นกับการเลือกที่พวกเขาได้ทำไปนั้น.
การปฏิบัติตามคำแนะนำของเปโตรหมายถึงการเลือกที่จะรับเอาหน้าที่รับผิดชอบในการเป็นสาวกคนหนึ่งของพระเยซูและปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระเจ้า. (ลูกา 9:23; 1 โยฮัน 5:3) การทำเช่นนี้อาจดูเหมือนว่ายาก แต่เราได้รับคำสัญญาของพระเยซูซึ่งทำให้มั่นใจที่ว่า “เจ้าทั้งหลายที่ตรากตรำและมีภาระมากจงมาหาเราเถิด แล้วเราจะทำให้เจ้าทั้งหลายสดชื่น. จงรับแอกของเราแบกไว้และเรียนจาก เรา เพราะเราเป็นคนอ่อนโยนและถ่อมใจ แล้วเจ้าทั้งหลายจะสดชื่น. เพราะแอกของเราก็พอเหมาะและภาระของเราก็เบา.”—มัดธาย 11:28-30, ล.ม.
ขอพิจารณาประสบการณ์ของอาร์เทอร์. ตอนอายุสิบขวบ อาร์เทอร์เริ่มต้นเรียนไวโอลินโดยมุ่งหวังจะเป็นนักดนตรีอาชีพ. พอถึงตอนอายุ 14 ปี เขามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับฐานะนักไวโอลินคอนเสิร์ต. ถึงกระนั้น เขาก็ไม่มีความสุข. พ่อของเขามีคำถามเสมอในเรื่องความหมายของชีวิตและได้เชิญครูสอนวิชาศาสนามาที่บ้านของเขา; กระนั้น พ่อไม่เคยจุใจกับคำตอบของครูเหล่านั้น. พวกเขาพูดคุยกันเป็นครอบครัวในเรื่องที่ว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่จริง ๆ หรือไม่และทำไมพระองค์ยอมให้มีความชั่ว. ครั้นแล้วพ่อของอาร์เทอร์ได้เริ่มพิจารณาพระคัมภีร์กับพยานพระยะโฮวา. การสนทนานั้นกระทบใจพ่อของอาร์เทอร์ นำไปสู่การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลทั้งครอบครัว.
ในที่สุด อาร์เทอร์ได้มาเข้าใจจากพระคัมภีร์ว่าเหตุใดพระเจ้าทรงยอมให้มีความทุกข์ และได้เห็นชัดถึงจุดมุ่งหมายของชีวิต. อาร์เทอร์พร้อมกับสมาชิกในครอบครัวของเขาอีกสามคนได้ทำการเลือกอย่างที่เขาไม่เคยคิดเสียใจ. เขาได้อุทิศชีวิตแด่พระยะโฮวา. เขาบอกว่า “ผมมีความสุขมากที่พระยะโฮวาได้ทรงอวยพรผมให้มีความรู้เกี่ยวกับความจริงและทรงช่วยผมให้พ้นจากการแข่งขันชิงดีที่มีอยู่ทั่วไปในท่ามกลางนักดนตรีอาชีพ. เพื่อจะประสบผลสำเร็จ ผู้คนจะทำทุกอย่างโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม.”
อาร์เทอร์ยังคงชอบเล่นไวโอลินเพื่อให้ความบันเทิงแก่เพื่อน ๆ อยู่ แต่ชีวิตเขามิได้มุ่งอยู่ที่การเล่นไวโอลิน. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ชีวิตเขารวมจุดอยู่ที่การรับใช้พระเจ้า. เขารับใช้อยู่ที่สำนักงานสาขาแห่งหนึ่งของพยานพระยะโฮวา. เช่นเดียวกับอาร์เทอร์และคนอื่นอีกนับล้าน แต่ไม่เหมือนกับขุนนางหนุ่มผู้ร่ำรวย คุณก็เช่นกันสามารถเลือกอย่างที่จะนำความสุขมากที่สุดมาให้คุณ นั่นคือการเลือกตอบรับคำเชิญจากพระเยซูที่ให้มาเป็นผู้ติดตามพระองค์.
[ภาพหน้า 6]
การตัดสินใจให้ความช่วยเหลืออาจก่อผลกระทบในทางดีต่อชีวิตของคนอื่น
[ภาพหน้า 7]
คุณจะศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและเข้ามาเป็นผู้ติดตามพระเยซูไหม?