จงสอนลูกของคุณให้เป็นผู้สร้างสันติ
จงสอนลูกของคุณให้เป็นผู้สร้างสันติ
เนื่องจากตื่นเต้นกับเรื่องที่ครอบครัวของเธอจะย้ายไปยังอีกฝั่งหนึ่งของประเทศ นิโคลวัยแปดขวบ ได้เล่าให้กาบรีเอลเพื่อนสนิทของเธอฟังอยู่เรื่อย ๆ ถึงความคืบหน้าล่าสุดอย่างละเอียดยิบ. วันหนึ่ง จู่ ๆ กาบรีเอลก็ตวาดใส่นิโคลว่าเธอไม่สนใจหรอกว่านิโคลจะย้ายไปไหน. ด้วยความเจ็บปวดและโกรธอยู่ลึก ๆ ในใจ นิโคลบอกคุณแม่ของเธอว่า “หนูไม่อยากเห็นหน้ากาบรีเอลอีก!”
ปัญหาของเด็กอย่างเรื่องของนิโคลกับกาบรีเอลนั้นบ่อยครั้งบิดามารดาต้องเข้ามาช่วยเหลือ—ไม่เพียงแต่เพื่อช่วยบรรเทาความรู้สึกเจ็บปวดแต่เพื่อช่วยให้ลูกรู้วิธีจัดการกับเรื่องนั้นด้วย. โดยปกติแล้วเด็กเล็ก ๆ มักแสดง “นิสัยอย่างเด็ก” และบ่อยครั้งพวกเขาไม่รู้เลยว่าคำพูดและการกระทำของเขาอาจก่อความเสียหายได้. (1 โครินท์ 13:11) พวกเขาจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ ซึ่งสามารถช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่สงบราบรื่นกับคนอื่น ๆ ในครอบครัวและในที่อื่น ๆ ด้วย.
บิดามารดาที่เป็นคริสเตียนสนใจอย่างจริงจังที่จะฝึกอบรมลูกของตนให้ “แสวงหาสันติสุขและพยายามสร้างสันติสุข.” (1 เปโตร 3:11) ความสุขที่เกิดจากการเป็นผู้สร้างสันติคุ้มค่ากับความพยายามทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อเอาชนะความรู้สึกเคลือบแคลงสงสัย ความข้องขัดใจ และความเกลียดชัง. ถ้าคุณเป็นบิดามารดา คุณจะสอนลูกของคุณให้เป็นผู้สร้างสันติได้อย่างไร?
ช่วยลูกให้มีความปรารถนาที่จะทำให้ “พระเจ้าแห่งสันติสุข” พอพระทัย
พระยะโฮวาถูกเรียกว่า “พระเจ้าแห่งสันติสุข” และมีการระบุว่าพระองค์เป็นผู้ “ประทานสันติสุข.” (ฟิลิปปอย 4:9; โรม 15:33) ด้วยเหตุนี้ บิดามารดาที่ฉลาดสุขุมจึงใช้คัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้าอย่างชำนิชำนาญ เพื่อปลูกฝังลูกของตนให้มีความปรารถนาที่จะทำให้พระเจ้าพอพระทัยและเลียนแบบคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระองค์. ตัวอย่างเช่น จงช่วยลูกให้วาดมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งที่อัครสาวกโยฮันเห็นในนิมิตที่น่าประทับใจ—รุ้งซึ่งงดงามดุจมรกต ล้อมรอบราชบัลลังก์ของพระยะโฮวา. * (วิวรณ์ 4:2, 3) จงอธิบายว่ารุ้งนี้หมายถึงสันติสุขและความร่มเย็นที่มีอยู่รอบพระที่นั่งของพระยะโฮวาและพระพรเช่นนั้นจะแผ่ไปถึงทุกคนที่เชื่อฟังพระองค์.
นอกจากนี้พระยะโฮวายังให้การชี้นำผ่านทางพระเยซู พระบุตรของพระองค์ ซึ่งถูกเรียกว่า “องค์สันติราช.” (ยะซายา 9:6, 7) ดังนั้น จงอ่านและพิจารณากับลูก ๆ ของคุณถึงเรื่องต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งพระเยซูทรงสอนบทเรียนอันมีค่าเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทและการโต้เถียงกัน. (มัดธาย 26:51-56; 9:33-35) อธิบายว่าเหตุใดเปาโล ซึ่งเมื่อก่อนเคย “เป็นคนโอหังบังอาจ” ได้เปลี่ยนแนวทางชีวิตของท่านและได้เขียนว่า “ทาสขององค์พระผู้เป็นเจ้าไม่ควรทะเลาะวิวาท แต่ต้องสุภาพอ่อนโยนต่อทุกคน . . . รู้จักอดกลั้นในสภาพการณ์ที่ไม่ดี.” (1 ติโมเธียว 1:13; 2 ติโมเธียว 2:24) ปฏิกิริยาตอบสนองของลูกอาจทำให้คุณทั้งแปลกใจและยินดีอย่างมาก.
อีวานจำได้ว่าตอนที่อายุเจ็ดขวบเขาเคยถูกเด็กคนหนึ่งที่นั่งรถโรงเรียนด้วยกันเยาะเย้ย. เขาบอกว่า “ผมโมโหเด็กคนนั้นมากจนผมรู้สึกอยากแก้แค้น! แล้วผมก็นึกถึงเรื่องหนึ่งซึ่งได้เรียนที่บ้านเกี่ยวกับคนเหล่านั้นที่เริ่มจะต่อสู้กัน. ผมรู้ว่าพระยะโฮวาไม่ประสงค์ให้ผม ‘ทำชั่วตอบแทนชั่วแก่ผู้หนึ่งผู้ใด’ และ ‘อยู่อย่างสันติกับคนทั้งปวง.’ ” (โรม 12:17, 18) แล้วอีวานก็พบว่าเขามีความเข้มแข็งและความกล้าหาญในการแก้ไขสถานการณ์ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ให้สงบลงได้ด้วยท่าทีที่อ่อนสุภาพ. เขาต้องการทำให้พระเจ้าแห่งสันติสุขพอพระทัย.
เป็นบิดามารดาที่สร้างสันติ
บ้านของคุณเป็นสถานที่ที่อบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งสันติสุขไหม? ถ้าเป็นเช่นนั้น ลูกของคุณก็สามารถเรียนมากขึ้นเกี่ยวกับสันติสุขโดยเพียงแต่สังเกตดูคุณ. ประสิทธิภาพในการสอนลูกของคุณให้เป็นผู้สร้างสันติส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับว่าคุณเลียนแบบแนวทางแห่งสันติสุขของพระเจ้าและพระคริสต์ถึงขีดไหน.—โรม 2:21.
รัสส์และซินดีพยายามอย่างหนักในการอบรมสั่งสอนลูกชายทั้งสองคนของเขา โดยกระตุ้นเตือนลูก ๆ ให้ปฏิบัติด้วยความรักเมื่อถูกคนอื่นยั่วยุ. ซินดีกล่าวว่า “ท่าทีที่รัสส์และดิฉันแสดงต่อลูก ๆ และคนอื่น ๆ ในยามที่มีเรื่องยุ่งยากเกิดขึ้นนั้นมีผลกระทบอย่างมากต่อวิธีที่ลูก ๆ จะจัดการกับสภาพการณ์ที่คล้าย ๆ กัน.”
แม้แต่เมื่อคุณทำสิ่งผิดพลาด—และมีบิดามารดาคนใดบ้างที่ไม่ผิดพลาด?—คุณก็ยังใช้โอกาสนั้นสอนบทเรียนอันมีค่าได้. สตีเฟนยอมรับว่า “มีหลายครั้งที่ผมและเทอร์รีภรรยาผมทำเกินกว่าเหตุและตีสอนลูกสามคนก่อนจะรู้ข้อเท็จจริงทั้งหมด. เมื่อเป็นเช่นนั้น เราขอโทษลูก.” เทอร์รียังเสริมว่า “เราบอกให้ลูก ๆ รู้ว่าเราก็ไม่สมบูรณ์เช่นกันและเราก็ทำผิดพลาดด้วย. เรารู้สึกว่าการทำเช่นนั้นไม่เพียงแต่ส่งเสริมสันติสุขในครอบครัว แต่ยังช่วยลูกให้เรียนรู้วิธีติดตามแนวทางแห่งสันติสุขด้วย.”
ลูกของคุณกำลังเรียนรู้วิธีที่จะเป็นผู้สร้างสันติโดยสังเกตจากวิธีที่คุณปฏิบัติต่อพวกเขาไหม? พระเยซูทรงเตือนว่า “ด้วยเหตุนั้น สารพัดสิ่งที่เจ้าทั้งหลายต้องการให้คนอื่นมัดธาย 7:12) แม้คุณเองอาจมีข้อบกพร่อง แต่ขอให้มั่นใจว่าความรักและความเอาใจใส่ที่คุณแสดงต่อลูก ๆ จะก่อผลดี. ลูกของคุณจะตอบรับง่ายขึ้นเมื่อคุณให้การชี้นำด้วยความรัก.
ทำต่อเจ้า จงทำอย่างนั้นต่อเขา.” (ช้าในการโกรธ
สุภาษิต 19:11 (ล.ม.) กล่าวว่า “คนที่เข้าใจเรื่องราวอย่างลึกซึ้งย่อมไม่โกรธเร็ว.” คุณจะช่วยลูก ๆ พัฒนาความเข้าใจเช่นนั้นได้อย่างไร? เดวิดอธิบายถึงวิธีการที่ดีซึ่งเขาและแมรีแอนภรรยาของเขารู้สึกว่าเป็นประโยชน์ต่อลูกชายและลูกสาวของเขา. เขากล่าวว่า “เมื่อลูกรู้สึกไม่พอใจใครบางคนที่พูดหรือทำอะไรบางอย่างที่ทำให้เขารู้สึกเจ็บ เราจะช่วยลูกให้พยายามเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น. เราถามลูกด้วยคำถามง่าย ๆ เช่น ‘คนนั้นเหนื่อยล้ามาทั้งวันแล้วไหม? เขาหวงใครหรืออะไรไหม?’ ” มีใครทำให้เขาเจ็บใจไหม? แมรีแอนเสริมว่า “คำถามนี้มักจะช่วยลูกให้สงบสติอารมณ์ได้แทนที่จะปล่อยให้พวกเขาอยู่กับความคิดในแง่ลบหรือทุ่มเถียงกันว่าใครถูกใครผิด.”
การฝึกอบรมเช่นนั้นอาจให้ผลที่น่าทึ่ง. ขอให้สังเกตว่านิโคล ซึ่งมีการกล่าวถึงในตอนต้นของบทความนี้ได้รับการช่วยเหลืออย่างไรจากมิเชลคุณแม่ของเธอ ในวิธีที่ไม่เพียงแต่ช่วยให้เธอกับกาบรีเอลกลับมาเป็นเพื่อนกันอีก. มิเชลกล่าวว่า “ดิฉันกับนิโคลอ่านหนังสือจงเรียนจากครูผู้ยิ่งใหญ่ บท 14 ด้วยกัน. * จากนั้นดิฉันอธิบายว่าพระเยซูทรงหมายความเช่นไรเมื่อพระองค์ตรัสว่า เราควรให้อภัยผู้อื่น ‘ถึงเจ็ดสิบเจ็ดครั้ง.’ หลังจากที่ดิฉันตั้งใจฟังเมื่อนิโคลระบายความรู้สึกของเธอ ดิฉันช่วยเธอให้คิดถึงความรู้สึกของกาบรีเอลว่าจะโศกเศร้าและข้องขัดใจสักเพียงไรเนื่องจากเพื่อนที่ดีที่สุดกำลังจะย้ายไปไกลมาก.”—มัดธาย 18:21, 22.
ความเข้าใจใหม่ของนิโคลเกี่ยวกับสาเหตุที่อาจทำให้กาบรีเอลพูดโพล่งออกมานั้น ได้ช่วยเธอให้พัฒนาความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและกระตุ้นเธอให้โทรศัพท์ไปขอโทษกาบรีเอล. มิเชลกล่าวว่า “ตั้งแต่นั้นมา นิโคลก็พบความสุขจากการเป็นคนที่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น และจากการทำดีต่อคนอื่นเพื่อทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจขึ้น.”—ฟิลิปปอย 2:3, 4.
จงช่วยลูกของคุณไม่ให้กลายเป็นคนช่างกังวลเพราะความผิดพลาดและความเข้าใจผิด. คุณอาจจะมีความรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจที่ได้เห็นลูกของคุณแสดงความเป็นไมตรีและมีความรักต่อผู้อื่นจากใจจริง.—โรม 12:10; 1 โครินท์ 12:25.
ส่งเสริมความงดงามของการให้อภัย
สุภาษิต 19:11 (ล.ม.) กล่าวว่า ‘การมองข้ามการล่วงละเมิดก็เป็นความงดงาม.’ ในช่วงที่เจ็บปวดรวดร้าวที่สุดนั้น พระเยซูทรงเลียนแบบพระบิดาของพระองค์และทรงแสดงเจตคติที่พร้อมจะให้อภัย. (ลูกา 23:34) ลูกของคุณสามารถเรียนรู้เรื่องความงดงามของการให้อภัยเมื่อตัวเขาเองรู้สึกสบายใจเมื่อคุณให้อภัยเขา.
ตัวอย่างเช่น วิลลีวัยห้าขวบ ชอบระบายสีภาพกับคุณยายของเขา. ครั้งหนึ่ง จู่ ๆ คุณยายก็หยุดระบายสี ดุว่าวิลลีอย่างแรง แล้วก็เดินหนีไป. วิลลีเสียใจมาก. แซมพ่อของหนูน้อยคนนี้กล่าวว่า “คุณยายของวิลลีเป็นโรคอัลไซเมอร์. ดังนั้น เราจึงอธิบายให้วิลลีฟังแบบที่เขาสามารถเข้าใจได้.” หลังจากเตือนวิลลีว่าคนอื่นเคยให้อภัยเขาหลายครั้งแล้ว และเขาก็ควรจะทำแบบเดียวกันนี้กับคนอื่นด้วย แซมรู้สึกทึ่งกับปฏิกิริยาของวิลลี. แซมกล่าวว่า “คุณนึกภาพออกไหมว่าผมและภรรยารู้สึกอย่างไร เมื่อเราเฝ้าดูลูกน้อยของเราเดินไปหาคุณยายวัย 80 ปี พูดกับคุณยายด้วยน้ำเสียงที่แสดงถึงความเสียใจ แล้วก็จูงมือคุณยายกลับไปนั่งที่โต๊ะ?”
โกโลซาย 3:13) แม้แต่เมื่อผู้คนจงใจยั่วหรือก่อกวนด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม จงรับรองกับลูกว่า การแสดงท่าทีที่อ่อนสุภาพอาจก่อผลดีอย่างมาก เพราะ “เมื่อทางของคนใดเป็นที่ชอบพระทัยพระยะโฮวา, แม้ศัตรูของคนนั้นพระองค์จะทรงกระทำให้อยู่ด้วยกันได้ด้วยความสงบสุข.”—สุภาษิต 16:7.
นับว่างดงามจริง ๆ เมื่อเด็กเรียนที่จะ “ทน . . . เรื่อยไป” ต่อข้อบกพร่องและความผิดพลาดของคนอื่นและให้อภัย. (ช่วยลูกของคุณต่อ ๆ ไปให้เป็นผู้สร้างสันติ
เมื่อบิดามารดาใช้พระคำของพระเจ้าในการสั่งสอนลูกของตน “ในสภาพที่มีสันติสุข” และเป็น “ผู้ที่สร้างสันติสุข” พวกเขาก็เป็นแหล่งแห่งพระพรอันแท้จริงสำหรับลูกของเขา. (ยาโกโบ 3:18) บิดามารดาที่ทำเช่นนั้นกำลังเตรียมลูกให้มีสิ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อขจัดความขัดแย้งและเป็นผู้ที่สร้างสันติ. สิ่งนี้ช่วยได้มากทีเดียวที่จะทำให้ลูกมีความสุขและความอิ่มใจพอใจไปตลอดชีวิต.
แดนและแคทีมีลูกที่เป็นวัยรุ่นสามคน ซึ่งทุกคนกำลังทำงานรับใช้พระยะโฮวาอย่างขันแข็ง. แดนกล่าวว่า “แม้การฝึกอบรมลูกในช่วงที่พวกเขาเป็นเด็ก ๆ จะเป็นเรื่องท้าทายมาก แต่เราก็ดีใจที่ลูกของเราได้โตขึ้นกลายเป็นผู้รับใช้พระยะโฮวาที่ขยันขันแข็ง. เวลานี้พวกเขาเข้ากับคนอื่นได้ดี และพวกเขาก็ให้อภัยผู้อื่นอย่างไม่อั้นเมื่อมีบางสิ่งรบกวนความสงบสุข. แคทีกล่าวว่า “นั่นให้กำลังใจเราเป็นพิเศษ เนื่องจากสันติสุขเป็นผลพระวิญญาณประการหนึ่งของพระเจ้า.”—กาลาเทีย 5:22-23.
ดังนั้น ในฐานะที่เป็นบิดามารดาคริสเตียน จึงนับว่ามีเหตุผลที่ดีที่จะไม่ “ท้อถอย” หรือ “เลื่อยล้า” ในการสอนลูกของตนให้ดำรงชีวิตอย่างสันติ แม้ความคืบหน้าดูเหมือนจะช้าอยู่บ้างในตอนแรก ๆ. เมื่อคุณทำเช่นนั้น ขอให้มั่นใจว่า ‘พระเจ้าแห่งความรักและสันติสุขจะสถิตกับคุณ.’—กาลาเทีย 6:9; 2 โครินท์ 13:11.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 6 ดูรูปภาพหน้า 75 ในหนังสือพระธรรมวิวรณ์—ใกล้จะถึงจุดสุดยอด! จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 16 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
[กรอบ/ภาพหน้า 20]
อิทธิพลที่ดีหรือ?
เรียงความที่จัดพิมพ์โดยเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อซึ่งมีชื่อเรื่องว่า “ความรุนแรงในสื่อบันเทิง” กล่าวว่า “แนวคิดที่ว่าความรุนแรงเป็นวิธีแก้ปัญหาอย่างหนึ่งนั้นมีการเน้นในสื่อบันเทิง ซึ่งทั้งตัวผู้ร้ายและพระเอกต่างก็ใช้ความรุนแรงกันอยู่บ่อย ๆ.” มีประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นของรายการทีวี, ภาพยนตร์, และมิวสิกวิดีโอที่แสดงให้เห็นผลอันเลวร้ายของความรุนแรง. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เรียงความนั้นกล่าวว่า “ความรุนแรงเพียงแต่ถูกนำเสนอว่าเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล, เป็นไปตามธรรมชาติ, และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้—เป็นวิธีที่โดดเด่นที่สุดในการแก้ปัญหา.”
คุณเห็นความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนเรื่องการดูทีวีในบ้านของคุณไหม? อย่ายอมให้สื่อบันเทิงบั่นทอนความพยายามของคุณในการสอนลูก ๆ ให้เป็นผู้สร้างสันติ.
[ภาพหน้า 17]
จงปลูกฝังลูกของคุณให้มีความปรารถนาที่จะทำให้ “พระเจ้าแห่งสันติสุข” พอพระทัย
[ภาพหน้า 18]
จงใช้ความพยายามเพื่อแก้ไขคำพูดและการกระทำที่สร้างความเจ็บปวด
[ภาพหน้า 19]
ลูกของคุณควรเรียนรู้ที่จะขอโทษและให้อภัย