จุดเด่นจากพระธรรมมัดธาย
พระคำของพระยะโฮวามีชีวิต
จุดเด่นจากพระธรรมมัดธาย
คนแรกที่เขียนเรื่องราวอันน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับชีวิตและงานรับใช้ของพระเยซูคือมัดธาย ซึ่งเป็นมิตรสหายที่ใกล้ชิดคนหนึ่งของพระเยซูคริสต์และเคยเป็นคนเก็บภาษีมาก่อน. กิตติคุณของมัดธายแต่เดิมเขียนเป็นภาษาฮีบรูและในภายหลังได้รับการแปลเป็นภาษากรีก พระธรรมนี้เขียนเสร็จราวปีสากลศักราช 41 และเป็นเหมือนสะพานที่เชื่อมโยงพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูเข้าสู่พระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก.
กิตติคุณที่กระตุ้นหนุนใจและเต็มไปด้วยความหมายนี้แสดงให้เห็นว่าพระเยซู พระบุตรของพระเจ้าทรงเป็นพระมาซีฮาตามคำสัญญา จึงดูเหมือนว่าพระธรรมนี้ถูกเขียนขึ้นเพื่อผู้อ่านชาวยิวเป็นประการสำคัญ. การเอาใจใส่เรื่องราวในกิตติคุณนี้อย่างจริงจังจะทำให้เรามีความเชื่อเข้มแข็งยิ่งขึ้นในพระเจ้าองค์เที่ยงแท้, พระบุตรของพระองค์, และคำสัญญาของพระองค์.—ฮีบรู 4:12.
“ราชอาณาจักรสวรรค์มาใกล้แล้ว”
มัดธายเน้นอรรถบทเรื่องราชอาณาจักรและการสอนของพระเยซู แม้ว่าการทำเช่นนั้นจะหมายถึงการเสนอเรื่องราวแบบที่ไม่ตามลำดับเหตุการณ์ก็ตาม. ตัวอย่างเช่น มีการกล่าวถึงคำเทศน์บนภูเขาของพระเยซูในตอนต้นของพระธรรมเล่มนี้ แม้ว่าพระเยซูทรงเทศนาเรื่องดังกล่าวประมาณหนึ่งปีหลังจากพระองค์เริ่มงานรับใช้.
ระหว่างการรับใช้ของพระเยซูในแกลิลี พระองค์ทรงทำการอัศจรรย์, สอนเรื่องการประกาศแก่อัครสาวก 12 คน, กล่าวประณามพวกฟาริซาย, และเล่าอุทาหรณ์หลายเรื่องเกี่ยวกับราชอาณาจักร. ครั้นแล้ว พระองค์เสด็จจากแกลิลีและ “ข้ามแม่น้ำจอร์แดนมายังเขตแดนแคว้นยูเดีย.” (มัด. 19:1) ระหว่างทาง พระเยซูตรัสกับสาวกของพระองค์ว่า ‘พวกเราจะขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเลม และบุตรมนุษย์จะถูกตัดสินลงโทษถึงตาย และในวันที่สามจะถูกปลุกให้เป็นขึ้นมา.’—มัด. 20:18, 19.
คำตอบสำหรับคำถามเกี่ยวกับข้อคัมภีร์:
3:16—ตอนที่พระเยซูทรงรับบัพติสมา “ท้องฟ้าก็เปิดออก” ในแง่ใด? วลีนี้ดูเหมือนบ่งชี้ว่า ความทรงจำของพระเยซูเกี่ยวกับชีวิตทางภาคสวรรค์ก่อนมาบังเกิดเป็นมนุษย์ได้หวนคืนสู่พระองค์.
5:21, 22—การแสดงความโกรธออกมาเป็นเรื่องที่ร้ายแรงยิ่งกว่าการเก็บความโกรธเอาไว้ไหม? พระเยซูทรงเตือนว่าผู้ที่ผูกพยาบาทพี่น้องของตนก็ทำบาปร้ายแรง. อย่างไรก็ตาม การระบายความโกรธด้วยคำพูดที่ดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นเรื่องที่ร้ายแรงยิ่งกว่า ทำให้ผู้ที่พูดจาเช่นนั้นต้องให้การต่อศาลที่สูงกว่าศาลยุติธรรมในท้องถิ่น.
5:48—เป็นไปได้จริง ๆ หรือที่เราจะเป็นคน “ดีพร้อมอย่างที่พระบิดา [ของเรา] ผู้สถิตในสวรรค์ทรงดีพร้อม”? ใช่ เป็นไปได้ในแง่หนึ่ง. ในตอนนั้นพระเยซูกำลังพิจารณาเรื่องความรัก และพระองค์ทรงบอกผู้ที่ฟังพระองค์ให้เลียนแบบพระเจ้าและเป็นคนดีพร้อม หรือสมบูรณ์พร้อมในความรักของพวกเขา. (มัด. 5:43-47) โดยวิธีใด? โดยการแผ่ความรักไปยังศัตรูของพวกเขาด้วย.
7:16—“ผล” ต่าง ๆ ที่ระบุศาสนาแท้คืออะไร? ผลเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงความประพฤติของเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเชื่อของเรา ซึ่งก็คือคำสอนต่าง ๆ ที่เรายึดถือด้วย.
10:34-38—ข่าวสารในพระคัมภีร์เป็นต้นเหตุที่ทำให้ครอบครัวแตกแยกไหม? ไม่เลย. การแตกแยกเกิดจากการที่สมาชิกครอบครัวซึ่งไม่มีความเชื่อยึดอยู่กับจุดยืนของเขา. พวกเขาอาจเลือกที่จะปฏิเสธหรือต่อต้านคำสอนคริสเตียน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแตกแยกในครอบครัว.—ลูกา 12:51-53.
11:2-6—หากการได้ยินพระสุรเสียงที่แสดงความพอพระทัยของพระเจ้าทำให้โยฮันรู้แล้วว่าพระเยซูคือพระมาซีฮา แล้วทำไมโยฮันจึงถามพระเยซูว่า “ท่านคือผู้ที่จะมานั้นหรือ”? โยฮันอาจถามเช่นนี้เพื่อขอการยืนยันจากตัวพระเยซูเอง. แต่ที่มากกว่านั้นก็คือ โยฮันอยากรู้ว่าจะ มี “ผู้อื่น” อีกไหมที่จะเป็นผู้เสด็จมาด้วยอำนาจแห่งราชอาณาจักรและทำให้ความหวังทั้งสิ้นของชาวยิวสำเร็จเป็นจริง. คำตอบของพระเยซูแสดงให้เห็นว่าจะไม่มีผู้สืบตำแหน่งต่อจากพระองค์.
19:28—“อิสราเอลสิบสองตระกูล” ที่จะถูกพิพากษาหมายถึงอะไร? นั่นไม่ได้หมายถึงอิสราเอลฝ่ายวิญญาณ 12 ตระกูล. (กลา. 6:16; วิ. 7:4-8) พระเยซูกำลังตรัสกับเหล่าอัครสาวกที่จะเป็นส่วนแห่งอิสราเอลฝ่ายวิญญาณ พวกเขาจะไม่พิพากษาผู้ที่เป็นส่วนอิสราเอลฝ่ายวิญญาณด้วยกัน. พระเยซูทรงทำ ‘สัญญาเรื่องราชอาณาจักรกับพวกเขา’ และพวกเขาจะเป็น “ราชอาณาจักรและปุโรหิตของพระเจ้า.” (ลูกา 22:28-30; วิ. 5:10) คนเหล่านั้นที่เป็นอิสราเอลฝ่ายวิญญาณจะ “พิพากษาโลก.” (1 โค. 6:2) ดังนั้น ปรากฏชัดว่า “อิสราเอลสิบสองตระกูล” ที่จะถูกคนเหล่านั้นซึ่งนั่งบนบัลลังก์ฝ่ายสวรรค์พิพากษาจึงหมายถึงโลกแห่งมนุษยชาติ ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนของชนชั้นปุโรหิตหลวงนั้น ดังที่มีการแสดงภาพไว้โดยอิสราเอล 12 ตระกูลในวันไถ่โทษ.—เลวี., บท 16.
บทเรียนสำหรับเรา:
4:1-10. เรื่องนี้สอนเราว่าซาตานมีจริงและมันไม่ใช่ลักษณะของความชั่วร้าย. มันใช้ “ความปรารถนาทางกาย ความปรารถนาทางตา หรือการโอ้อวดทรัพย์สมบัติ” เพื่อล่อใจเรา. อย่างไรก็ตาม การใช้หลักการในพระคัมภีร์จะช่วยเรารักษาความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าให้คงอยู่ต่อไปได้.—1 โย. 2:16.
5:1–7:29. จงสำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ. จงเป็นคนรักสันติ. ไม่คิดถึงเรื่องที่ผิดศีลธรรม. จงรักษาคำพูด. เมื่ออธิษฐาน ควรให้ความสำคัญกับเรื่องทางฝ่ายวิญญาณก่อนผลประโยชน์ทางวัตถุ. จงมั่งคั่งจำเพาะพระพักตร์พระเจ้า. แสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของพระเจ้าก่อนสิ่งอื่น. อย่าเป็นคนช่างตำหนิวิจารณ์. จงทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. ช่างเป็นบทเรียนที่ใช้การได้จริงซึ่งรวมอยู่ในคำเทศน์บนภูเขา!
9:37, 38. เราควรปฏิบัติสอดคล้องกับสิ่งที่เราร้องขอต่อนายที่ให้ “ส่งคนงานออกไปในงานเกี่ยวของพระองค์” โดยมีส่วนร่วมอย่างขยันขันแข็งในงานสอนคนให้เป็นสาวก.—มัด. 28:19, 20.
10:32, 33. เราไม่ควรกลัวที่จะพูดเรื่องความเชื่อของเรา.
13:51, 52. การเข้าใจความหมายของความจริงเรื่องราชอาณาจักร ทำให้เกิดความรับผิดชอบในเรื่องการสอนคนอื่น ๆ และการช่วยพวกเขาให้เข้าใจความจริงอันล้ำค่าเหล่านี้.
14:12, 13, 23. เพื่อจะคิดรำพึงอย่างมีความหมายได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมีเวลาอยู่ตามลำพัง.—มโก. 6:46; ลูกา 6:12.
17:20. เราต้องมีความเชื่อเพื่อจะเอาชนะอุปสรรคที่เป็นเสมือนขุนเขาซึ่งขัดขวางความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณของเรา และเพื่อจะรับมือกับความทุกข์ยากต่าง ๆ. เราไม่ควรละเลยเรื่องการเสริมสร้างความเชื่อของเราให้เข้มแข็งทั้งในพระยะโฮวาและคำสัญญาของพระองค์.—มโก. 11: 23; ลูกา 17:6.
18:1-4; 20:20-28. การเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์และภูมิหลังทางศาสนาที่มุ่งเน้นเรื่องตำแหน่งทำให้สาวกของพระเยซูเป็นห่วงมากเกินไปในเรื่องการเป็นใหญ่. เราควรปลูกฝังความถ่อมใจขณะที่เราระวังแนวโน้มที่ผิดบาปและรักษาทัศนะที่ถูกต้องในเรื่องสิทธิพิเศษในประชาคมและหน้าที่รับผิดชอบของเรา.
“บุตรมนุษย์จะถูกมอบให้เขา”
พระเยซูมาถึงกรุงเยรูซาเลมในวันที่ 9 เดือนไนซาน ปีสากลศักราช 33 โดย “ทรงประทับบนหลังลา.” (มัด. 21:5) วันรุ่งขึ้น พระองค์เสด็จไปที่พระวิหารและทรงชำระพระวิหารนั้น. ในวันที่ 11 เดือนไนซาน พระองค์ทรงสั่งสอนในพระวิหาร, ประณามพวกอาลักษณ์และฟาริซาย, และหลังจากนั้น พระองค์ทรงบอกให้เหล่าอัครสาวกทราบถึง “สัญญาณบอกว่าพระองค์ประทับอยู่และบอกว่าเป็นช่วงสุดท้ายของยุค.” (มัด. 24:3) วันต่อมา พระองค์ทรงบอกพวกเขาว่า “เจ้าทั้งหลายรู้ว่าจากนี้อีกสองวันจะเป็นเทศกาลปัศคา และบุตรมนุษย์จะถูกมอบให้เขาตรึงบนเสา.”—มัด. 26:1, 2.
ตอนนี้คือวันที่ 14 เดือนไนซาน. หลังจากตั้งการประชุมอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ที่จวนจะมาถึง พระเยซูถูกทรยศ, ถูกจับกุม, ถูกทดลอง, และถูกมัด. 28:19.
ตรึง. ในวันที่สาม พระองค์ถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตาย. ก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นไปในสวรรค์ พระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม์ทรงบัญชาเหล่าสาวกของพระองค์ว่า “ฉะนั้น จงไปสอนคนจากทุกชาติให้เป็นสาวก.”—คำตอบสำหรับคำถามเกี่ยวกับข้อคัมภีร์:
22:3, 4, 9—มีการออกไปเชิญผู้คนมายังงานเลี้ยงสมรสสามครั้งเมื่อไร? มีการประกาศคำเชิญครั้งแรกเพื่อรวบรวมชนชั้นเจ้าสาวตอนที่พระเยซูและสาวกของพระองค์เริ่มงานประกาศในปี ส.ศ. 29 และดำเนินเรื่อยมาจนถึงปี ส.ศ. 33. มีการป่าวประกาศคำเชิญครั้งที่สองออกไปตั้งแต่ตอนที่มีการหลั่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ในวันเพนเทคอสต์ ปี ส.ศ. 33 ถึงปี ส.ศ. 36. คำเชิญทั้งสองครั้งนี้มุ่งเชิญเฉพาะชาวยิว, ผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนายิว, และชาวซะมาเรียเท่านั้น. อย่างไรก็ตาม มีการประกาศคำเชิญครั้งที่สามแก่ผู้คนที่อยู่ตามถนนนอกเมือง ซึ่งก็คือคนต่างชาติที่ไม่ได้รับสุหนัต โดยเริ่มขึ้นในปี ส.ศ. 36 พร้อมกับการเปลี่ยนศาสนาของนายทหารชาวโรมันที่ชื่อคอร์เนลิอุส และการประกาศนี้ยังดำเนินเรื่อยมาจนถึงสมัยของเรานี้.
23:15—เหตุใดผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาของพวกฟาริซาย จึง “สมกับโทษในเกเฮนนา” ยิ่งกว่าพวกฟาริซายเองเป็นสองเท่า? บางคนที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาของพวกฟาริซายอาจเคยเป็นคนบาปที่ชั่วช้า. อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนมาเป็นฟาริซายที่สุดโต่งกลับทำให้พวกเขาชั่วช้ายิ่งขึ้น เป็นไปได้ว่าเขาอาจกลายเป็นพวกที่สุดโต่งยิ่งกว่าครูที่น่าตำหนิของพวกเขา. ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึง “สมกับโทษในเกเฮนนา” ถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับฟาริซายชาวยิว.
27:3-5—ยูดารู้สึกเสียใจในเรื่องอะไร? ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าความเสียใจของยูดาเป็นการกลับใจจริง ๆ. แทนที่จะขอการอภัยโทษจากพระเจ้า เขาไปสารภาพการกระทำผิดของเขาต่อพวกปุโรหิตใหญ่และพวกผู้เฒ่าผู้แก่. โดยการทำ “บาปซึ่งนำไปสู่ความตาย” สมควรอยู่แล้วที่ยูดาจะตรอมตรมด้วยความรู้สึกผิดและสิ้นหวัง. (1 โย. 5:16) ความเสียใจของเขาเกิดจากการที่เขาตกอยู่ในสภาพที่สิ้นหวัง.
บทเรียนสำหรับเรา:
21:28-31. การทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าเป็นสิ่งที่พระยะโฮวาทรงถือว่าสำคัญจริง ๆ. ตัวอย่างเช่น เราควรมีส่วนร่วมอย่างขยันขันแข็งในการประกาศราชอาณาจักรและในงานสอนคนให้เป็นสาวก.—มัด. 24:14; 28:19, 20.
22:37-39. พระบัญญัติที่ใหญ่สุดสองข้อสรุปสิ่งที่พระเจ้าทรงประสงค์จากผู้ที่นมัสการพระองค์ได้รวบรัดจริง ๆ!
[ภาพหน้า 31]
คุณเข้าร่วมในงานเก็บเกี่ยวอย่างกระตือรือร้นไหม?
[ที่มาของภาพ]
© 2003 BiblePlaces.com
[ภาพหน้า 31]
มัดธายเน้นอรรถบทเรื่องราชอาณาจักร