จงรักษาทัศนะตามหลักพระคัมภีร์ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
จงรักษาทัศนะตามหลักพระคัมภีร์ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
“จงรักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า . . . ด้วยสุดความคิดของเจ้า และด้วยสุดกำลังของเจ้า.”—มโก. 12:30.
1. พระเจ้าทรงมีพระประสงค์เช่นไรสำหรับมนุษยชาติ?
ความเจ็บป่วยและความตายไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในพระประสงค์ของพระยะโฮวาพระเจ้าสำหรับมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้าง. พระองค์ทรงจัดให้อาดามและฮาวาอยู่ในสวนเอเดน หรืออุทยานแห่งความเพลิดเพลิน “ให้ทำงานรักษาสวน” ไม่ใช่เพียง 70 หรือ 80 ปี แต่ตลอดไป. (เย. 2:8, 15; เพลง. 90:10) หากมนุษย์คู่แรกรักษาความซื่อสัตย์ต่อพระยะโฮวาและอยู่ใต้อำนาจปกครองของพระองค์ด้วยความรัก เขาก็จะไม่เจ็บป่วย, อ่อนแรง, และตาย.
2, 3. (ก) หนังสือท่านผู้ประกาศพรรณนาภาพของวัยชราไว้อย่างไร? (ข) ใครเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความตายที่สืบทอดมาจากอาดาม และผลกระทบจากความตายจะถูกลบล้างไปอย่างไร?
2 ท่านผู้ประกาศบท 12 พรรณนาภาพที่ชัดเจนของ “ยามทุกข์ร้อน” ที่มาพร้อม ๆ กับวัยชราของมนุษย์ไม่สมบูรณ์. (อ่านท่านผู้ประกาศ 12:1-7.) ผมขาวถูกเปรียบเหมือนดอกของ “ต้นอาละมันด์.” ขาถูกเปรียบเหมือน “คนข้อแข็ง” ที่บัดนี้โค้งงอและเดินยักแย่ยักยัน. สตรีซึ่งมองที่หน้าต่างเพื่อจะเห็นแสงแล้วพบแต่ความมืดเป็นภาพเปรียบเทียบอันเหมาะเจาะกับสายตาที่มืดมัว. เนื่องจากฟันบางซี่หักหายไป “หญิงโม่แป้งจะเลิกโม่เพราะจำนวนหญิงลดน้อยลงไป.”
3 แน่นอน ขาที่สั่นเทา, สายตาที่ฝ้าฟาง, และเหงือกที่ไร้ฟันไม่ใช่พระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับมนุษยชาติ. นอกจากนั้น ความตายที่สืบทอดมาจากอาดามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ ‘การงานของมาร’ ที่พระบุตรของพระเจ้าจะลบล้างให้หมดไปโดยทางราชอาณาจักรมาซีฮาของพระองค์. อัครสาวกโยฮันเขียนว่า “ที่พระบุตรของพระเจ้าเสด็จมาก็เพื่อทำลายการงานของมัน.”—1 โย. 3:8.
เป็นธรรมดาที่จะห่วงอย่างสมเหตุสมผล
4. เหตุใดผู้รับใช้พระยะโฮวาจึงห่วงเรื่องสุขภาพอย่างสมเหตุสมผล แต่พวกเขายอมรับอะไร?
4 ในเวลานี้ ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาบางคนมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและวัยชราซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ไม่สมบูรณ์. ความเป็นห่วงที่สมเหตุผลเกี่ยวกับสุขภาพของเราภายใต้สภาพการณ์เช่นนั้นเป็นเรื่องธรรมดาและก่อผลดีด้วยซ้ำ. เราต้องการรับใช้พระยะโฮวา ‘ด้วยสุดกำลังของเรา’ มิใช่หรือ? (มโก. 12:30) แต่ในอีกด้านหนึ่ง ขณะที่พยายามรักษาสุขภาพให้ดีตามสมควร เราควรมองเรื่องต่าง ๆ ตามความเป็นจริงและยอมรับว่าเราทำอะไรได้ไม่มากนักที่จะชะลอความแก่ชราหรือเพื่อจะหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยทุกอย่าง.
5. เราได้ข้อคิดอะไรจากวิธีที่ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้ารับมือกับความเจ็บป่วย?
5 ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวาหลายคนต้องต่อสู้กับปัญหาสุขภาพ. เอปาโฟรดิทุสเป็นคนหนึ่งที่ต้องต่อสู้อย่างนั้น. (ฟิลิป. 2:25-27) ติโมเธียว เพื่อนร่วมงานที่ภักดีของอัครสาวกเปาโล มีปัญหาบ่อย ๆ เกี่ยวกับกระเพาะอาหารซึ่งเปาโลได้แนะนำท่านให้ดื่ม “เหล้าองุ่นบ้าง.” (1 ติโม. 5:) เปาโลเองก็ต้องต่อสู้กับ “หนามในเนื้อหนัง” ซึ่งอาจหมายถึงปัญหาเกี่ยวกับดวงตาของท่านหรือความเจ็บป่วยอย่างอื่นที่รักษาไม่ได้ในสมัยนั้น. ( 232 โก. 12:7; ฆลา. 4:15; 6:11) เปาโลวิงวอนขอพระยะโฮวาในเรื่อง “หนามในเนื้อหนัง” ของท่าน. (อ่าน 2 โครินท์ 12:8-10.) พระเจ้าไม่ได้ช่วยเปาโลโดยขจัด “หนามในเนื้อหนัง” นั้นด้วยการอัศจรรย์. แทนที่จะทำอย่างนั้น พระองค์ทรงช่วยเสริมกำลังท่านให้ทนได้. ฤทธิ์อำนาจของพระยะโฮวาจึงปรากฏชัดจากความอ่อนแอของเปาโล. แน่นอน เราได้ข้อคิดหลายอย่างจากเรื่องนี้.
อย่าห่วงเกินไปในเรื่องการดูแลสุขภาพ
6, 7. เหตุใดเราไม่ควรห่วงเกินไปเรื่องสุขภาพของเรา?
6 ดังที่คุณทราบอยู่แล้ว พยานพระยะโฮวายอมรับความช่วยเหลือทางการแพทย์และการรักษาหลาย ๆ วิธี. วารสารตื่นเถิด! ของเรามักลงบทความเกี่ยวกับสุขภาพ. และแม้ว่าเราไม่สนับสนุนการรักษาโดยวิธีใดวิธีหนึ่งโดยเฉพาะ เรารู้สึกขอบคุณที่บุคลากรทางการแพทย์ให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือ. แน่นอน เราตระหนักว่าเรายังไม่อาจจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์พร้อมได้ในเวลานี้. ดังนั้น นับว่าฉลาดสุขุมที่เราจะไม่หมกมุ่นมากเกินไปหรือกังวลอยู่ตลอดในเรื่องสุขภาพ. ทัศนคติของเราน่าจะแตกต่างจากผู้คนที่ “ไม่มีความหวัง” ซึ่งคิดว่าชีวิตมีอยู่เพียงเท่านี้และพยายามหาหนทางรักษาความเจ็บป่วยของตนโดยพร้อมจะใช้วิธีการรักษาแบบใดก็ตาม. (เอเฟ. 2:2, 12) เราตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ยอมสูญเสียความพอพระทัยของพระยะโฮวาเพื่อแลกกับการรักษาชีวิตในปัจจุบันเอาไว้ เพราะเราเชื่อมั่นว่าหากเรารักษาความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า เราจะ “ยึดชีวิตแท้ไว้ให้มั่น” อันได้แก่ชีวิตนิรันดร์ในระบบใหม่ที่พระองค์ทรงสัญญาไว้.—1 ติโม. 6:12, 19; 2 เป. 3:13.
7 เราไม่ห่วงเกินไปในเรื่องสุขภาพเนื่องด้วยเหตุผลอีกอย่างหนึ่ง. ความเป็นห่วงเกินไปในเรื่องสุขภาพอาจทำให้เรากลายเป็นคนที่คิดแต่เรื่องของตนเอง. อัครสาวกเปาโลเตือนให้ระวังอันตรายเช่นนี้เมื่อท่านกระตุ้นพี่น้องในเมืองฟิลิปปอยว่า ‘อย่าห่วงแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น แต่ห่วงเรื่องของคนอื่นด้วย.’ (ฟิลิป. 2:4) นับว่าเหมาะสมที่จะดูแลตัวเราเองอย่างสมเหตุผล แต่การให้ความสนใจอย่างกระตือรือร้นต่อพี่น้องและประชาชนที่เรานำ “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร” ไปให้จะป้องกันเราไว้ไม่ให้กังวลหรือสนใจมากเกินไปในเรื่องสุขภาพของตัวเราเอง.—มัด. 24:14.
8. ความเป็นห่วงเกินไปในเรื่องสุขภาพอาจทำให้เราทำอะไร?
8 อันตรายอยู่ตรงที่คริสเตียนอาจปล่อยให้ความเป็นห่วงเรื่องสุขภาพเข้ามาเบียดบังและผลักให้ผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักรกลายเป็นเรื่องสำคัญในอันดับรอง. การหมกมุ่นกับการดูแลสุขภาพอาจทำให้เราพยายามยัดเยียดความเห็นส่วนตัวให้ผู้อื่นในเรื่องคุณค่าของอาหาร, การรักษา, หรืออาหารเสริมบางอย่าง. ขอพิจารณาหลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่อยู่ในคำกล่าวของเปาโล ที่ว่า “[จง] ตรวจดูให้แน่ใจว่าสิ่งไหนสำคัญกว่า พวกท่านจะได้ปราศจากตำหนิและไม่เป็นเหตุให้คนอื่นหลงผิดจนถึงวันของพระคริสต์.”—ฟิลิป. 1:10.
สิ่งไหนสำคัญกว่า?
9. สิ่งหนึ่งที่สำคัญกว่าที่เราไม่ควรละเลยคืออะไร และเพราะเหตุใด?
9 หากเราตรวจดูให้แน่ใจว่าสิ่งไหนสำคัญกว่า เราก็จะมีส่วนร่วมอย่างขันแข็งในงานเยียวยารักษาฝ่ายวิญญาณ. งานนี้สำเร็จผลด้วยการประกาศและการสอนพระคำของพระเจ้า. กิจกรรมที่น่ายินดีนี้นำผลประโยชน์มาสู่ตัวเราและคนที่เราสอน. (สุภา. 17:22; 1 ติโม. 4:15, 16) เป็นครั้งคราว วารสารหอสังเกตการณ์และตื่นเถิด!ลงบทความเกี่ยวกับพี่น้องคริสเตียนของเราซึ่งป่วยหนัก. บางครั้งเรื่องเหล่านี้อธิบายวิธีที่พี่น้องเหล่านั้นรับมือหรือแม้แต่ลืมปัญหาของตัวเองไปชั่วคราว โดยพยายามหาโอกาสช่วยผู้อื่นให้มารู้จักพระยะโฮวาและคำสัญญาอันยอดเยี่ยมของพระองค์. *
10. เหตุใดการเลือกวิธีรักษาของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญ?
10 เมื่อมีปัญหาสุขภาพ คริสเตียนแต่ละคนที่เป็นผู้ใหญ่ต้อง “แบกภาระของตนเอง” ในเรื่องความรับผิดชอบที่จะเลือกวิธีรักษา. (กลา. 6:5) แต่เราควรจำไว้ว่า การเลือก ของเราในเรื่องวิธีรักษานั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพระยะโฮวา. เช่นเดียวกับที่ความนับถือต่อหลักการในคัมภีร์ไบเบิลกระตุ้นเราให้ “ละเว้น . . . จากเลือด” ความนับถืออย่างลึกซึ้งต่อพระคำของพระเจ้าควรกระตุ้นเราให้หลีกเลี่ยงวิธีรักษาที่อาจก่อผลเสียหายฝ่ายวิญญาณหรือส่งผลเสียต่อสายสัมพันธ์ของเรากับพระยะโฮวา. (กิจ. 15:20) กระบวนการบางอย่างในการวินิจฉัยโรคและการรักษาอาจดูเหมือนว่าเข้าข่ายของการใช้อำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ. พระยะโฮวาไม่พอพระทัยชาวอิสราเอลที่ออกหากซึ่งหันไปพึ่ง “อำนาจลึกลับ” หรือกิจปฏิบัติเกี่ยวกับลัทธิผีปิศาจ. พระองค์ทรงประกาศว่า “หยุดนำเครื่องบูชาธัญชาติอันไร้ค่ามาอีก. เครื่องหอม—เป็นสิ่งน่าสะอิดสะเอียนแก่เรา. วันข้างขึ้นและวันซะบาโต การเรียกชุมนุม—เราไม่อาจทนต่อการใช้อำนาจลึกลับในการประชุมตามพิธีได้.” (ยซา. 1:13, ล.ม.) แน่นอน ช่วงเวลาที่เราเจ็บป่วยอยู่นั้นไม่ใช่เวลาที่เราจะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่อาจขัดขวางคำอธิษฐานและทำลายสายสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า.—ทุกข์. 3:44.
จำเป็นต้อง “มีสติ”
11, 12. ‘ความมีสติ’ มีบทบาทอย่างไรเมื่อเราเลือกวิธีดูแลสุขภาพ?
11 เมื่อเราป่วย เราไม่อาจคาดหมายให้พระยะโฮวารักษาเราอย่างอัศจรรย์ แต่เราอาจอธิษฐานขอสติปัญญาในการเลือกวิธีรักษา. เราควรเลือกวิธีรักษาโดยอาศัยการชี้นำของหลักการในคัมภีร์ไบเบิลและวิจารณญาณที่ดี. ในกรณีที่เป็นความเจ็บป่วยร้ายแรง นับว่าสุขุมที่จะปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหลายคนหากเป็นไปได้ ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวคิดที่สุภาษิต 15:22 (ล.ม.) ซึ่งบอกว่า “แผนการล้มเหลวเมื่อไม่มีการพูดคุยแบบไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่เมื่อมีที่ปรึกษาจำนวนมากก็มีความสำเร็จ.” อัครสาวกเปาโลกระตุ้นเพื่อนร่วมความเชื่อ “ให้ดำเนินชีวิตในยุคนี้อย่างมีสติ ด้วยความชอบธรรม และด้วยความเลื่อมใสพระเจ้า.”—ทิทุส 2:12.
12 หลายคนพบว่าตัวเขาเองอยู่ในสภาพที่คล้ายกันกับหญิงคนหนึ่งที่ป่วยในสมัยพระเยซู. ที่มาระโก 5:25, 26 เราอ่านดังนี้: “ผู้หญิงคนหนึ่งมีอาการตกเลือดมาสิบสองปีแล้ว นางรักษากับหมอมาแล้วหลายคนและได้รับความเจ็บปวดมามาก อีกทั้งเสียทรัพย์สินที่มีจนหมดตัวแต่ก็ยังไม่หาย ซ้ำยังเป็นหนักกว่าเดิม.” พระเยซูทรงรักษาหญิงคนนี้และปฏิบัติต่อเธอด้วยความเมตตาสงสาร. (มโก. 5:27-34) ด้วยความท้อแท้สิ้นหวัง คริสเตียนบางคนอาจถูกล่อใจให้เลือกวิธีการวินิจฉัยโรคหรือการรักษาที่ขัดกับหลักการของการนมัสการบริสุทธิ์.
13, 14. (ก) ซาตานอาจใช้การเลือกวิธีรักษาเพื่อทำลายความซื่อสัตย์มั่นคงของเราได้โดยวิธีใด? (ข) เหตุใดเราควรรักษาตัวอยู่ห่างจากสิ่งใดก็ตามที่อาจเกี่ยวข้องกับอำนาจลึกลับ?
13 ซาตานจะใช้วิธีการใดก็ตามที่มันทำได้เพื่อชักนำเราให้ออกจากการนมัสการแท้. เช่นเดียวกับที่มันใช้การทำผิดศีลธรรมและวัตถุนิยมเพื่อทำให้บางคนหลงผิด มันพยายามทำลายความซื่อสัตย์มั่นคงของคนอื่น ๆ โดยอาศัยการรักษาที่น่าสงสัยซึ่งที่จริงเป็นการใช้อำนาจลึกลับและลัทธิผีปิศาจ. เราอธิษฐานขอพระยะโฮวาช่วยเราให้รอดพ้นจาก “ตัวชั่วร้าย” และจาก ‘การทำชั่วทุกอย่าง.’ เราจึงไม่ควรพาตัวเองไปอยู่ในเงื้อมมือของซาตานด้วยการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งใดก็ตามที่อาจเกี่ยวข้องกับลัทธิผีปิศาจและอำนาจลึกลับ.—มัด. 6:13; ติโต 2:14.
บัญ. 18:10-12) เปาโลจัดให้ “การถือผี” อยู่ในกลุ่ม “การกระทำที่เกิดจากความปรารถนาของกายที่มีบาป.” (กลา. 5:19, 20) นอกจากนั้น “คนถือผี” จะไม่มีส่วนในระบบใหม่ของพระยะโฮวา. (วิ. 21:8) ดังนั้น เห็นได้ชัดว่าสิ่งใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับลัทธิผีปิศาจแม้เพียงน้อยนิดก็เป็นที่เกลียดชังในสายพระเนตรพระยะโฮวา.
14 พระยะโฮวาทรงห้ามชาวอิสราเอลกระทำการเสี่ยงทายและทำคาถาอาคม. (“ให้คนทั้งปวงเห็นว่าท่านทั้งหลายเป็นคนมีเหตุผล”
15, 16. (ก) เหตุใดเราต้องอาศัยสติปัญญาในการเลือกวิธีดูแลสุขภาพ? (ข) คณะกรรมการปกครองในศตวรรษแรกให้คำแนะนำที่สุขุมอะไร?
15 ดังพิจารณาไปแล้วข้างต้น หากเรามีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับกระบวนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา นับว่าสุขุมที่เราจะปฏิเสธการรักษานั้น. แน่ล่ะ เพียงแค่การที่ตัวเราเองไม่สามารถอธิบายได้ว่าวิธีการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้เกิดผลได้อย่างไรก็ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าการรักษานั้นเกี่ยวข้องกับลัทธิผีปิศาจบางรูปแบบเสมอไป. การรักษาทัศนะตามหลักพระคัมภีร์ในเรื่องการดูแลสุขภาพนั้นจำเป็นต้องอาศัยสติปัญญาจากพระคำของพระเจ้ารวมทั้งวิจารณญาณที่ดีของเราเองด้วย. ที่สุภาษิตบท 3 เราพบคำแนะเตือนดังต่อไปนี้: “จงวางใจในพระยะโฮวาด้วยสุดใจของเจ้า, อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง. จงรับพระองค์ให้เข้าส่วนในทางทั้งหลายของเจ้า, และพระองค์จะชี้ทางเดินของเจ้าให้แจ่มแจ้ง. . . . จงสงวนพระปัญญาอันเลิศและความสุขุมรอบคอบไว้ . . . เพื่อว่าจะได้เป็นชีวิตแก่วิญญาณของเจ้า.”—สุภา. 3:5, 6, 21, 22.
16 ดังนั้น ในขณะที่พยายามรักษาสุขภาพให้ดีเท่าที่เป็นไปได้ เราต้องระวังเพื่อจะไม่สูญเสียความโปรดปรานของพระเจ้าขณะที่เราพยายามรับมือกับความเจ็บป่วยหรือความแก่ชรา. ในการดูแลสุขภาพก็เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ เราควร ‘ให้คนทั้งปวงเห็นว่าเราเป็นคนมีเหตุผล’ โดยการดำเนินชีวิตสอดคล้องกับหลักการในคัมภีร์ไบเบิล. (ฟิลิป. 4:5) ในจดหมายฉบับหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คณะกรรมการปกครองในศตวรรษแรกสั่งคริสเตียนให้ละเว้นจากการบูชารูปเคารพ, เลือด, และการผิดประเวณี. จดหมายฉบับนั้นให้คำรับรองด้วยว่า “ถ้าพวกท่านระวังรักษาตัวให้พ้นจากสิ่งเหล่านี้ พวกท่านจะเจริญ.” (กิจ. 15:28, 29) เจริญอย่างไร?
ดูแลตัวเองอย่างสมเหตุผลโดยคำนึงถึงสุขภาพที่สมบูรณ์ในอนาคต
17. เราได้รับประโยชน์ด้านร่างกายแล้วอย่างไรจากการที่เราปฏิบัติตามหลักการในคัมภีร์ไบเบิล?
17 เราแต่ละคนน่าจะถามตัวเองว่า ‘ฉันเข้าใจถึงประโยชน์ที่ฉันได้รับแล้วจากการปฏิบัติตามหลักการในคัมภีร์ไบเบิลอย่างเคร่งครัดในเรื่องเลือดและการผิดประเวณีไหม?’ และขอให้พิจารณาด้วยถึงผลประโยชน์ที่เราได้รับอยู่แล้วซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามของเราที่จะ “ชำระตัวให้ปราศจากมลทินทุกอย่างทั้งทางกายและทางใจ.” (2 โก. 7:1) โดยปฏิบัติตามมาตรฐานในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนตัว เราหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยด้านร่างกายหลายอย่าง. เราเจริญเพราะเราหลีกเลี่ยงการใช้ยาสูบและยาอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายซึ่งทำให้ร่างกายเป็นมลทินและทำลายสายสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า. ขอให้พิจารณาด้วยถึงประโยชน์ด้านสุขภาพที่เป็นผลมาจากการมีนิสัยกินดื่มพอประมาณ. (อ่านสุภาษิต 23:20; ทิทุส 2:2, 3.) แม้การพักผ่อนและการออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้สุขภาพโดยทั่วไปของเราดี แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราเจริญทั้งทางกายและฝ่ายวิญญาณนั้นเป็นเพราะเรายอมรับการชี้นำจากพระคัมภีร์.
18. (ก) เราควรสนใจอะไรเป็นเรื่องหลัก? (ข) เราสามารถคอยท่าจะได้เห็นความสำเร็จของคำพยากรณ์อะไรที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ?
1 ติโม. 4:8; เพลง. 36:9) ในโลกใหม่ของพระเจ้า จะมีการเยียวยารักษาทั้งด้านร่างกายและฝ่ายวิญญาณอย่างเต็มที่โดยการให้อภัยบาปซึ่งอาศัยเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซู. พระเยซูคริสต์ พระเมษโปดกของพระเจ้า จะนำเราไปสู่ “น้ำพุทั้งหลายที่มีน้ำแห่งชีวิต” และพระเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาทุกหยดจากตาของเรา. (วิ. 7:14-17; 22:1, 2) เราจะเห็นความสำเร็จเป็นจริงของคำพยากรณ์นี้ด้วย ที่ว่า “จะไม่มีใครที่อาศัยอยู่ที่นั่นพูดว่า ‘ข้าพเจ้าป่วยอยู่.’ ”—ยซา. 33:24.
18 เหนือสิ่งอื่นใด เราควรเอาใจใส่สุขภาพฝ่ายวิญญาณของเราและเสริมสายสัมพันธ์อันล้ำค่าที่เรามีกับพระยะโฮวาให้เข้มแข็ง. พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์และทรงเป็นบ่อเกิดแห่ง “ชีวิตปัจจุบันและชีวิตอนาคต” ของเราในโลกใหม่ที่พระองค์ทรงสัญญา. (19. ขณะดูแลสุขภาพตัวเองอย่างสมเหตุผล เราสามารถมั่นใจอะไร?
19 เราเชื่อมั่นว่าการช่วยให้รอดใกล้จะมาถึงแล้ว และเราคอยท่าอย่างกระตือรือร้นให้ถึงวันที่พระยะโฮวาจะเปลี่ยนกระบวนการที่ทำให้คนเราเจ็บป่วยและเสียชีวิตให้มีผลในทางตรงกันข้าม. ในระหว่างนี้ เรามั่นใจว่าพระบิดาของเราผู้เปี่ยมด้วยความรักจะช่วยเราให้อดทนในการรับมือกับความเจ็บป่วย เพราะ ‘พระองค์ทรงใฝ่พระทัยเรา.’ (1 เป. 5:7) ด้วยเหตุนั้น ให้เราเอาใจใส่ดูแลสุขภาพให้ดี แต่ขอให้ทำอย่างที่สอดคล้องเสมอกับคำแนะนำที่ชัดเจนในพระคำของพระเจ้าที่มีขึ้นโดยการดลใจ!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 รายชื่อบทความแบบนี้บางบทความมีอยู่ในกรอบหน้า 17 ของหอสังเกตการณ์ ฉบับ 1 กันยายน 2003
เพื่อทบทวน
• ใครเป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย และใครจะปลดเปลื้องเราให้พ้นผลกระทบของบาป?
• แม้เป็นเรื่องธรรมดาที่เราห่วงเรื่องสุขภาพ แต่เราควรหลีกเลี่ยงอะไร?
• เหตุใดวิธีรักษาที่เราเลือกจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพระยะโฮวา?
• ในเรื่องสุขภาพ เราจะได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติตามหลักการในคัมภีร์ไบเบิลได้อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
มนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างให้เจ็บป่วยและแก่ชรา
[ภาพหน้า 25]
แม้มีปัญหาสุขภาพ ประชาชนของพระยะโฮวามีความยินดีในงานรับใช้