จงเลียนแบบพระเยซู—โดยสอนด้วยความรัก
จงเลียนแบบพระเยซู—โดยสอนด้วยความรัก
“ไม่เคยมีใครพูดเหมือนคนนี้เลย.”—โย. 7:46
1. ประชาชนมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อวิธีที่พระเยซูสอน?
ขอให้นึกภาพว่าคงต้องเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสักเพียงไรที่ได้ยินพระเยซูสอน! คัมภีร์ไบเบิลช่วยให้เราพอจะนึกภาพออกถึงผลกระทบที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้นกับคนที่พบพระองค์. ตัวอย่างเช่น ลูกาผู้เขียนกิตติคุณเล่าว่าประชาชนในเมืองที่พระองค์เจริญวัยขึ้นมา “อัศจรรย์ใจในถ้อยคำจากพระโอษฐ์ของพระองค์.” มัดธายรายงานว่าคนที่ได้ฟังพระเยซูเมื่อพระองค์ทรงสอนคำเทศน์บนภูเขาต่างก็ “อัศจรรย์ใจในวิธีสอนของพระองค์.” และโยฮันก็ให้ข้อสังเกตว่าพวกเจ้าหน้าที่ซึ่งถูกส่งมาจับพระเยซูแต่กลับไปมือเปล่าได้พูดว่า “ไม่เคยมีใครพูดเหมือนคนนี้เลย.”—ลูกา 4:22; มัด. 7:28; โย. 7:46
2. พระเยซูทรงใช้วิธีสอนแบบใด?
2 พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้นไม่ได้มองผิด. พระเยซูทรงเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย. พระองค์ทรงสอนอย่างชัดเจน, เรียบง่าย, และมีเหตุผลอย่างที่ไม่อาจโต้แย้งได้. พระองค์ทรงใช้ตัวอย่างเปรียบเทียบและคำถามอย่างชำนาญ. พระองค์ทรงปรับการสอนให้เข้ากับคนที่พระองค์ตรัสด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีฐานะสูงหรือต่ำต้อย. ความจริงที่พระองค์ทรงสอนนั้นเข้าใจง่าย แต่ก็ลึกซึ้งอย่างแท้จริง. อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้พระเยซูทรงเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ไม่ได้มีเพียงแค่สิ่งเหล่านี้.
คุณลักษณะสำคัญยิ่ง—ความรัก
3. ในฐานะผู้สอน พระเยซูทรงต่างจากพวกหัวหน้าศาสนาในสมัยพระองค์อย่างไร?
3 คงต้องมีบางคนในหมู่พวกอาลักษณ์และฟาริซายที่ฉลาดปราดเปรื่องและมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้. อะไรทำให้วิธีสั่งสอนของพระเยซูแตกต่างจากคนพวกนี้? พวกหัวหน้าศาสนาในเวลานั้นไม่มีความรักต่อสามัญชน. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกเขาดูถูกสามัญชน ถือว่าพวกเขาเป็น “คนถูกแช่งสาป.” (โย. 7:49) ไม่เหมือนกับคนเหล่านั้น พระเยซูทรงสะเทือนพระทัยด้วยความรู้สึกสงสารพวกเขา เพราะพวกเขา “ถูกขูดรีดและถูกทิ้งขว้างเหมือนแกะไม่มีผู้เลี้ยง.” (มัด. 9:36) พระองค์ทรงอบอุ่น, เห็นอกเห็นใจ, และกรุณา. นอกจากนั้น พวกหัวหน้าศาสนาไม่มีความรักแท้ต่อพระเจ้า. (โย. 5:42) แต่พระเยซูทรงรักพระบิดาและทรงยินดีทำตามพระประสงค์ของพระบิดา. พวกหัวหน้าศาสนาบิดเบือนพระคำของพระเจ้า เพื่อประโยชน์ของตัวเอง แต่พระเยซูทรงรัก “พระคำของพระเจ้า”—พระองค์ทรงสอน, อธิบาย, ปกป้อง, และดำเนินชีวิตตามพระคำนั้น. (ลูกา 11:28) พระคริสต์ทรงมีความรักอย่างลึกซึ้งซึ่งส่งผลอย่างมากต่อสิ่งที่พระองค์ทรงสอน, วิธีที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อผู้คน, และวิธีที่พระองค์ทรงสอนพวกเขา.
4, 5. (ก) เหตุใดจึงสำคัญที่จะสอนด้วยความรัก? (ข) เหตุใดความรู้และความสามารถจึงสำคัญในการสอนด้วย?
4 แล้วพวกเราล่ะ? ในฐานะสาวกของพระคริสต์ เราต้องการเลียนแบบพระองค์ในงานรับใช้และในการดำเนินชีวิตของเรา. (1 เป. 2:21) ด้วยเหตุนั้น เป้าหมายของเราไม่ใช่เพียงเพื่อบอกความรู้ในคัมภีร์ไบเบิล แต่เราต้องการสะท้อนคุณลักษณะของพระยะโฮวาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรัก. ไม่ว่าเรามีความรู้และความสามารถในการสอนมากหรือว่ามีเพียงเล็กน้อย ความรักที่เราแสดงออกมาจะช่วยเราได้มากในการเข้าถึงหัวใจของคนที่เราประกาศ. เพื่อจะมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงในงานทำให้คนเป็นสาวก เราต้องเลียนแบบพระเยซูโดยสอนด้วยความรัก.
5 แน่นอน เพื่อจะเป็นผู้สอนที่ดี เราต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะสอนและต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้นั้น. พระเยซูทรงช่วยเหล่าสาวกให้มีทั้งสองอย่างนั้น และพระยะโฮวาทรงช่วยเราให้ทำอย่างนั้นในทุกวันนี้โดยทางองค์การของพระองค์. (อ่านยะซายา 54:13; ลูกา 12:42) ถึงกระนั้น เราควรตั้งเป้าที่จะสอนไม่เพียงแค่โดยใช้ความสามารถในการคิด แต่สอนด้วยความรู้สึกจากหัวใจด้วย. เมื่อเรามีความรู้, ความสามารถ, และความรัก ก็อาจเกิดผลในการสอนอย่างน่าพอใจที่สุดได้. ถ้าอย่างนั้น มีวิธีใดบ้างที่ช่วยให้เราสามารถแสดงความรักเมื่อเราสอน? พระเยซูและเหล่าสาวกทำอย่างนั้นโดยวิธีใด? ให้เรามาพิจารณาด้วยกัน.
เราต้องรักพระยะโฮวา
6. เราพูดถึงคนที่เรารักอย่างไร?
6 เราชอบพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เราชอบ. เมื่อเราพูดถึงสิ่งที่เราชอบ เราจะพูดอย่างมีชีวิตชีวาและกิริยาท่าทีทั้งหมดของเราก็จะสะท้อนให้เห็นถึงความกระตือรือร้นและความสุข. เป็นจริงอย่างนั้นโดยเฉพาะเมื่อเราพูดถึงคนที่เรารัก. ตามปกติแล้ว เราอยากบอกคนอื่นถึงสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับคนที่เรารัก. เรายกย่อง, ให้เกียรติ, และปกป้องเขา. เราทำอย่างนั้นเพราะเราต้องการให้คนอื่นรู้สึกประทับใจตัวเขาและคุณลักษณะของเขาอย่างที่เรารู้สึก.
7. ความรักที่พระเยซูมีต่อพระเจ้ากระตุ้นพระองค์ให้ทำอะไร?
7 ก่อนที่เราจะสามารถช่วยคนอื่นให้รักพระยะโฮวาได้ เราเองต้องรู้จักและรักพระองค์. ที่จริง การนมัสการแท้มีรากฐานอยู่ที่ความรักต่อพระเจ้า. (มัด. 22:36-38) พระเยซูทรงวางตัวอย่างไว้อย่างสมบูรณ์แบบ. พระองค์ทรงรักพระยะโฮวาอย่างสุดหัวใจ, ความคิด, ชีวิต, และกำลังของพระองค์. หลังจากได้ใช้เวลาด้วยกันอาจจะหลายพันล้านปีในสวรรค์ พระเยซูทรงรู้จักพระบิดาเป็นอย่างดี. ผลเป็นอย่างไร? พระเยซูตรัสว่า “เรารักพระบิดา.” (โย. 14:31) ความรักดังกล่าวสามารถเห็นได้ในทุกสิ่งที่พระเยซูตรัสและทำ. ความรักนี้กระตุ้นพระองค์ให้ทำสิ่งที่พระเจ้าพอพระทัยเสมอ. (โย. 8:29) ความรักนี้กระตุ้นพระองค์ให้ประณามพวกหัวหน้าศาสนาที่กล่าวอ้างอย่างหน้าซื่อใจคดว่าเป็นตัวแทนของพระเจ้า. ความรักนี้ยังกระตุ้นพระองค์ด้วยให้พูดเกี่ยวกับพระยะโฮวาและช่วยคนอื่น ๆ ให้รู้จักและรักพระเจ้า.
8. ความรักต่อพระเจ้ากระตุ้นเหล่าสาวกของพระเยซูให้ทำอะไร?
8 เช่นเดียวกับพระเยซู เหล่าสาวกในศตวรรษแรกรักพระยะโฮวา และความรักนี้กระตุ้นพวกเขาให้ประกาศข่าวดีด้วยความกล้าหาญและด้วยใจแรงกล้า. พวกเขาทำให้กรุงเยรูซาเลมเต็มไปด้วยคำสอนของพวกเขา แม้ว่าพวกหัวหน้าศาสนาที่มีอำนาจต่อต้านพวกเขา. เหล่าสาวกไม่อาจเลิกพูดในเรื่องที่พวกเขาได้เห็นและได้ยิน. (กิจ. 4:20; 5:28) พวกเขารู้ว่าพระยะโฮวาทรงอยู่กับพวกเขาและอวยพรพวกเขา—และพระองค์ก็ทรงอวยพรพวกเขาจริง ๆ! ที่จริง หลังจากพระเยซูสิ้นพระชนม์ยังไม่ถึง 30 ปี อัครสาวกเปาโลก็สามารถเขียนได้แล้วว่าข่าวดีได้มีการประกาศ “ท่ามกลางมนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้ฟ้า.”—โกโล. 1:23
9. เราจะเสริมความรักที่มีต่อพระเจ้าให้มั่นคงได้โดยวิธีใด?
9 ถ้าเราต้องการเป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง เราเองก็จำเป็นต้องคอยตรวจดูให้แน่ใจว่าเราได้เสริมความบทเพลงสรรเสริญ 104:33, 34
รักที่มีต่อพระเจ้าให้มั่นคงอยู่เสมอ. เราจะทำอย่างนั้นได้อย่างไร? โดยที่เราพูดกับพระเจ้าบ่อย ๆ ในคำอธิษฐาน. นอกจากนั้น เราทำให้ความรักที่มีต่อพระองค์แรงกล้ายิ่งขึ้นโดยศึกษาพระคำของพระองค์, โดยอ่านหนังสือต่าง ๆ ที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก, และโดยเข้าร่วมการประชุมคริสเตียน. เมื่อเราเติบโตขึ้นด้านความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า หัวใจเราก็จะเต็มด้วยความรักที่มีต่อพระองค์. เมื่อเป็นอย่างนั้น ขณะที่เราแสดงความรักต่อพระเจ้าทั้งทางคำพูดและการกระทำ คนอื่น ๆ ก็จะสังเกตเห็นและอาจถูกชักนำให้เข้ามาหาพระยะโฮวา.—อ่านเราต้องรักสิ่งที่เราสอน
10. ลักษณะเด่นของผู้สอนที่ดีคืออะไร?
10 ลักษณะเด่นของผู้สอนที่ดีก็คือเขารักสิ่งที่เขาสอน. เขาต้องเชื่อว่าสิ่งที่เขาสอนเป็นความจริง, สำคัญ, และมีค่า. ถ้าผู้สอนเห็นความสำคัญของสิ่งที่เขาสอน จะเห็นได้ชัดเลยว่าเขากระตือรือร้น และเขาจะก่อผลกระทบที่มีพลังต่อคนที่เขาสอน. ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้สอนไม่เห็นค่าสิ่งที่เขาสอนจริง ๆ เขาจะคาดหมายได้อย่างไรว่าคนที่เขาสอนจะเห็นค่าสิ่งที่ตนได้ยิน? อย่าประเมินค่าแบบอย่างของคุณในฐานะผู้สอนพระคำของพระเจ้าต่ำเกินไป. พระเยซูตรัสว่า “ทุกคนที่ได้รับการสอนอย่างครบถ้วนจะเป็นเหมือนครูของตน.”—ลูกา 6:40
11. เหตุใดพระเยซูทรงรักสิ่งที่พระองค์สอน?
11 พระเยซูทรงรักสิ่งที่พระองค์สอน. พระองค์ทรงทราบว่าพระองค์ทรงมีสิ่งที่มีค่ามากจะให้ผู้อื่น คือความจริงเกี่ยวกับพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์, “ถ้อยคำของพระเจ้า” เอง, และ “ถ้อยคำที่ให้ชีวิตนิรันดร์.” (โย. 3:34; 6:68) เช่นเดียวกับแสงสว่างที่แรงกล้า ความจริงที่พระเยซูทรงสอนเปิดโปงสิ่งที่ไม่ดีและเน้นสิ่งที่ดี. ความจริงเหล่านั้นทำให้คนถ่อมที่เคยถูกพวกหัวหน้าศาสนาเท็จหลอกให้หลงผิดและถูกพญามารกดขี่มีความหวังและกำลังใจ. (กิจ. 10:38) ความรักที่พระเยซูมีต่อความจริงเห็นได้ไม่เพียงในคำสอนของพระองค์ แต่ในทุกสิ่งที่พระองค์ทำด้วย.
12. อัครสาวกเปาโลรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับข่าวดี?
12 เช่นเดียวกับพระเยซู สาวกของพระองค์รักและเห็นค่าความจริงเกี่ยวกับพระยะโฮวาและพระคริสต์มากจนพวกผู้ต่อต้านไม่อาจทำให้พวกเขาเลิกประกาศความจริงแก่คนอื่น ๆ. เปาโลเขียนถึงเพื่อนคริสเตียนในกรุงโรมว่า “ข้าพเจ้าจึงกระตือรือร้นจะประกาศข่าวดี . . . ด้วยว่าข้าพเจ้าไม่อายในเรื่องข่าวดี ที่จริง ข่าวดีเป็นฤทธิ์ของพระเจ้าเพื่อทุกคนที่มีความเชื่อจะรอด.” (โรม 1:15, 16) เปาโลถือว่าเป็นเกียรติที่จะประกาศความจริง. ท่านเขียนว่า “ข้าพเจ้า . . . ได้รับพระกรุณาอันใหญ่หลวงโดยทรงโปรดให้ข้าพเจ้าประกาศให้ชนต่างชาติรู้ข่าวดีเรื่องความมั่งคั่งของพระคริสต์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้.” (เอเฟ. 3:8) ไม่ใช่เรื่องยากที่จะนึกภาพออกถึงความกระตือรือร้นของเปาโลขณะที่ท่านสอนคนอื่น ๆ เกี่ยวกับพระยะโฮวาและพระประสงค์ของพระองค์.
13. มีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้รักข่าวดี?
13 ข่าวดีที่พบในพระคำของพระเจ้าสามารถทำให้เรารู้จักพระผู้สร้างและเข้ามามีสายสัมพันธ์อันเปี่ยมด้วยความรักกับพระองค์. ข่าวดีนี้ให้คำตอบที่น่าพอใจสำหรับคำถามสำคัญ ๆ เกี่ยวกับชีวิตและมีพลังที่จะเปลี่ยนชีวิตเรา, ทำให้เรามีความหวัง, และเสริมกำลังเราในยามยากลำบาก. นอกจากนั้น ข่าวดีนี้ยังชี้ทางไปถึงชีวิตที่มีความหมายและไม่รู้สิ้นสุด. ไม่มีความรู้ใดที่มีค่าหรือสำคัญยิ่งไปกว่าข่าวดีนี้อีกแล้ว. ข่าวดีนี้เป็นของขวัญล้ำค่าที่พระเจ้าประทานแก่เรา ทำให้เรามีความยินดีใหญ่หลวง. และข่าวดีนี้ทำให้เรามีความยินดีมากขึ้นไปอีกเมื่อเราให้ของประทานนี้แก่คนอื่น ๆ.—กิจ. 20:35
14. เราจะเสริมความรักที่เรามีต่อสิ่งที่เราสอนให้แรงกล้ายิ่งขึ้นได้โดยวิธีใด?
14 คุณจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเสริมความรักที่คุณมีต่อข่าวดีให้แรงกล้ายิ่งขึ้น? เมื่ออ่านพระคำของพระเจ้า จงหยุดบ้างเพื่อใคร่ครวญสิ่งที่คุณได้อ่านไป. ตัวอย่างเช่น จงนึกภาพว่าตัวคุณเองกำลังไปด้วยกันกับพระเยซูระหว่างที่ทรงรับใช้บนแผ่นดินโลกหรือกำลังเดินทางไปด้วยกันกับอัครสาวกเปาโล. ขอให้นึกภาพว่าตัวคุณเองอยู่ในโลกใหม่ และมองเห็นภาพว่าชีวิตในเวลานั้นจะแตกต่างไปอย่างไร. ขอให้ใคร่ครวญถึงพระพรที่คุณได้รับเมื่อคุณเชื่อฟังข่าวดี. ถ้าคุณ1 ติโมเธียว 4:15, 16
รักษาความรักต่อข่าวดีไว้ให้แรงกล้า คนที่คุณสอนก็จะรู้สึกได้ถึงความรักนั้น. ดังนั้น เรามีเหตุผลที่ดีที่ควรคิดใคร่ครวญอย่างละเอียดถึงสิ่งที่เราได้เรียนรู้และเอาใจใส่สิ่งที่เราสอน.—อ่านเราต้องรักผู้คน
15. เหตุใดผู้สอนควรรักคนที่เขาสอน?
15 ครูที่ดีทำให้คนที่เขาสอนรู้สึกสบายใจ ทำให้พวกเขาอยากมีส่วนร่วมในสิ่งที่กำลังเรียนรู้และยินดีแสดงความรู้สึกของตน. ครูที่เปี่ยมด้วยความรักให้ความรู้เพราะเขาสนใจคนที่เขาสอนจริง ๆ. เขาปรับการสอนให้เข้ากับความจำเป็นและระดับความเข้าใจของคนที่เขาสอน. เขาคำนึงถึงความสามารถและสภาพการณ์ของคนที่เขาสอน. เมื่อผู้สอนมีความรักอย่างนั้น คนที่เขาสอนก็จะมองเห็น และการเรียนการสอนก็จะน่าเพลิดเพลิน.
16. พระเยซูทรงแสดงความรักต่อผู้คนโดยวิธีใดบ้าง?
16 พระเยซูทรงแสดงความรักแบบนั้น. การแสดงออกซึ่งความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระองค์ก็คือการที่พระองค์ยอมสละชีวิตมนุษย์สมบูรณ์ของพระองค์เพื่อคนอื่นจะได้รับการช่วยให้รอด. (โย. 15:13) ระหว่างที่ทรงรับใช้ พระเยซูดูแลผู้คนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยทั้งทางกายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝ่ายวิญญาณ. แทนที่จะคาดหมายให้ผู้คนมาหาพระองค์ พระองค์ทรงเดินเท้านับร้อยนับพันกิโลเมตรเพื่อบอกข่าวดีแก่พวกเขา. (มัด. 4:23-25; ลูกา 8:1) พระองค์ทรงอดทนและมีความเข้าใจ. เมื่อสาวกของพระองค์จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข พระองค์ทรงว่ากล่าวแก้ไขพวกเขาด้วยความรัก. (มโก. 9:33-37) พระองค์ทรงหนุนกำลังใจพวกเขาโดยแสดงความมั่นใจว่าพวกเขาจะเป็นผู้ประกาศข่าวดีที่มีประสิทธิภาพ. ไม่มีใครเป็นครูที่เปี่ยมด้วยความรักมากยิ่งกว่าพระเยซู. ความรักที่พระองค์ทรงแสดงต่อเหล่าสาวกกระตุ้นพวกเขาให้แสดงความรักตอบต่อพระองค์และทำตามพระบัญชาของพระองค์เสมอ.—อ่านโยฮัน 14:15
17. สาวกของพระเยซูแสดงความรักต่อคนอื่นอย่างไร?
17 เช่นเดียวกับพระเยซู เหล่าสาวกของพระองค์แสดงความรักอย่างลึกซึ้งต่อคนที่พวกเขาประกาศ. พวกเขารับใช้คนอื่นและประสบความสำเร็จในการประกาศข่าวดีทั้ง ๆ ที่ต้องอดทนการข่มเหงและเสี่ยงชีวิต. พวกเขารักคนที่ตอบรับข่าวดีจริง ๆ! คำพูดของอัครสาวกเปาโลนั้นน่าประทับใจอย่างแท้จริง ที่ว่า “เมื่ออยู่กับพวกท่าน เราปฏิบัติต่อพวกท่านด้วยความอ่อนโยนเหมือนแม่ลูกอ่อนทะนุถนอมลูกของตน. เรารักพวกท่านอย่างยิ่ง เราจึงยินดีจะให้พวกท่านไม่เพียงแต่ข่าวดีของพระเจ้าเท่านั้น แต่ชีวิตของเราด้วย เพราะว่าพวกท่านเป็นที่รักของเรา.”—1 เทส. 2:7, 8
18, 19. (ก) เหตุใดเราจึงเต็มใจเสียสละเพื่อทำงานประกาศให้สำเร็จ? (ข) จงยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าคนอื่นสังเกตเห็นความรักที่เราแสดงออก.
18 คล้ายกัน ในสมัยปัจจุบัน พยานพระยะโฮวาประกาศไปทั่วโลกเพื่อค้นหาคนที่ปรารถนาจะรู้จักและรับใช้พระเจ้า. ที่จริง ตลอด 17 ปีที่ผ่านไป เราได้ใช้เวลากว่าพันโย. 17:3; 1 ติโม. 2:3, 4) ความรักกระตุ้นเราให้ช่วยผู้มีหัวใจสุจริตได้มารู้จักและรักพระยะโฮวาเหมือนกันกับเรา.
ล้านชั่วโมงในแต่ละปีในการประกาศและงานทำให้คนเป็นสาวก และเรายังคงทำงานนี้กันต่อไป. เราทำอย่างนั้นด้วยความเต็มใจ แม้ว่างานประกาศต้องใช้เวลา, แรงกาย, และทรัพย์สินเงินทอง. เช่นเดียวกับพระเยซู เราเข้าใจว่าพระบิดาผู้สถิตในสวรรค์ผู้เปี่ยมด้วยความรักทรงปรารถนาให้ผู้คนได้รับความรู้ที่ทำให้มีชีวิตนิรันดร์. (19 คนอื่นสังเกตเห็นความรักที่เราแสดงออก. ตัวอย่างเช่น พี่น้องหญิงไพโอเนียร์คนหนึ่งในสหรัฐเขียนจดหมายหลายฉบับเพื่อปลอบโยนคนที่สูญเสียผู้เป็นที่รัก. ชายคนหนึ่งเขียนจดหมายตอบว่า “ความรู้สึกแรกของผมก็คือแปลกใจที่มีใครคนหนึ่งได้พยายามมากขนาดนี้โดยการเขียนจดหมายถึงคนที่ไม่รู้จักกันเลย เพื่อจะช่วยเขาให้อดทนกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก. ผมลงความเห็นได้แต่เพียงว่าคุณต้องมีความรักต่อเพื่อนมนุษย์และต่อพระเจ้าที่ทรงชี้นำผู้คนให้เดินในแนวทางแห่งชีวิต.”
20. เป็นเรื่องสำคัญเพียงไรที่จะสอนด้วยความรัก?
20 มีคำกล่าวว่า เมื่อความรักและความสามารถประสานงานกัน คุณคาดหมายได้เลยว่าจะเห็นผลงานชิ้นเอก. ในการสอน เราพยายามช่วยนักศึกษาให้พัฒนาความคิดจิตใจที่รู้จักพระยะโฮวาและหัวใจที่รักพระองค์. เพื่อจะเป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง เราจำเป็นต้องมีความรักสามต่อ—ความรักต่อพระเจ้า, ความรักต่อความจริง, และความรักต่อผู้คน. เมื่อเราพัฒนาความรักเช่นนั้นและแสดงความรักนั้นในงานรับใช้ เราจะประสบไม่เพียงแต่ความยินดีที่ได้ให้ แต่จะมีความอิ่มใจด้วยที่รู้ว่าเรากำลังเลียนแบบพระเยซูและทำให้พระยะโฮวาทรงพอพระทัย.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เมื่อเราสอนข่าวดีแก่คนอื่น เหตุใดจึงสำคัญที่จะมี . . .
ความรักต่อพระเจ้า?
ความรักต่อสิ่งที่เราสอน?
ความรักต่อคนที่เราสอน?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
อะไรทำให้วิธีการสอนของพระเยซูแตกต่างจากพวกอาลักษณ์และฟาริซาย?
[ภาพหน้า 18]
เพื่อจะสอนได้ดีต้องมีความรู้, ความสามารถ, และที่สำคัญที่สุดคือต้องมีความรัก