คุณกำลังติดตามพระคริสต์อย่างเต็มที่ไหม?
คุณกำลังติดตามพระคริสต์อย่างเต็มที่ไหม?
‘ดังที่พวกท่านดำเนินชีวิตอย่างนั้นจริง . . . ให้พวกท่านทำเช่นนั้นต่อ ๆ ไปให้มากยิ่งขึ้น.’—1 เทส. 4:1
1, 2. (ก) หลายคนในสมัยของพระเยซูได้รู้เห็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่อะไร? (ข) เหตุใดยุคสมัยของเรานี้จึงมีความสำคัญด้วยเช่นกัน?
คุณเคยคิดไหมว่าคงเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมสักเพียงไรถ้าคุณมีชีวิตอยู่ตอนที่พระเยซูทรงอยู่บนแผ่นดินโลก? คุณอาจคิดถึงการมีโอกาสได้รับการรักษาจากพระเยซูแล้วก็ไม่ต้องทนทุกข์เพราะความเจ็บปวดทางกาย. หรือคุณอาจคิดถึงความยินดีอย่างแท้จริงที่สามารถได้เห็นและได้ยินพระเยซู ซึ่งทำให้คุณมีโอกาสได้เรียนรู้จากพระองค์หรือเห็นพระองค์ทำการอัศจรรย์. (มโก. 4:1, 2; ลูกา 5:3-9; 9:11) คงเป็นสิทธิพิเศษจริง ๆ ถ้าได้อยู่ที่นั่นตอนที่พระเยซูทรงทำสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด! (ลูกา 19:37) ไม่มีคนในยุคใดหลังจากนั้นที่ได้รู้เห็นสิ่งต่าง ๆ เช่นนั้น และสิ่งที่พระเยซูทรงทำให้สำเร็จไปแล้วบนแผ่นดินโลก “โดยถวายพระองค์เองเป็นเครื่องบูชา” จะไม่มีการทำซ้ำอีก.—ฮีบรู 9:26; โย. 14:19
2 อย่างไรก็ตาม ยุคสมัยที่เราอยู่นี้ก็เป็นยุคที่สำคัญด้วยเหมือนกัน. เพราะเหตุใด? ในเวลานี้เรามีชีวิตอยู่ในสมัยที่พระคัมภีร์บอกล่วงหน้าว่าเป็น “เวลาอวสาน” และเป็น “สมัยสุดท้าย.” (ดานิ. 12:1-4, 9, ล.ม.; 2 ติโม. 3:1) ในช่วงเวลานี้เองที่ซาตานถูกเหวี่ยงลงจากสวรรค์. ในไม่ช้า มันจะถูกมัดและเหวี่ยงลงไป “ในขุมลึก.” (วิ. 12:7-9, 12; 20:1-3) ในช่วงเวลานี้ เราก็มีสิทธิพิเศษใหญ่หลวงด้วยที่จะประกาศ “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร” ไปทั่วโลก บอกผู้คนให้ทราบความหวังเกี่ยวกับอุทยานในอนาคต ซึ่งเป็นงานที่จะไม่มีการทำซ้ำอีก.—มัด. 24:14
3. ก่อนจะเสด็จขึ้นไปสวรรค์ พระเยซูทรงมีรับสั่งให้เหล่าสาวกทำอะไร และงานนั้นจะเกี่ยวข้องกับอะไร?
กิจ. 1:8) งานดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการสอนทั่วโลก. โดยมีเป้าหมายอะไร? เพื่อสอนคนให้เป็นสาวก—ให้มาร่วมเป็นผู้ติดตามพระคริสต์—ก่อนอวสานจะมาถึง. (มัด. 28:19, 20) เราต้องทำอะไรเพื่อจะทำงานที่พระคริสต์ทรงมอบหมายให้สำเร็จ?
3 ก่อนพระเยซูจะเสด็จขึ้นไปสวรรค์ พระองค์ทรงบอกเหล่าสาวกว่า “เจ้าจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเลมและทั่วแคว้นยูเดียกับแคว้นซะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก.” (4. (ก) คำกล่าวของเปโตรที่พบใน 2 เปโตร 3:11, 12 เน้นถึงความจำเป็นอะไร? (ข) เราจำเป็นต้องระวังในเรื่องอะไร?
4 ขอให้สังเกตสิ่งที่อัครสาวกเปโตรพูด: “ท่านทั้งหลายควรเป็นคนที่ประพฤติบริสุทธิ์ และทำสิ่งที่แสดงว่าท่านเลื่อมใสพระเจ้า พร้อมกับเฝ้าคอยและคิดถึงเวลาที่วันของพระยะโฮวามาถึงอยู่เสมอ!” (2 เป. 3:11, 12) ถ้อยคำของเปโตรเน้นความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังในสมัยสุดท้ายนี้เพื่อให้การกระทำด้วยความเลื่อมใสพระเจ้าเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเสมอ. การกระทำด้วยความเลื่อมใสพระเจ้ารวมถึงการประกาศข่าวดี. จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีสักเพียงไรที่เราสังเกตเห็นว่าพี่น้องทั่วโลกกำลังทำงานมอบหมายของพระคริสต์ในการประกาศอย่างกระตือรือร้น! ในขณะเดียวกัน เราตระหนักว่าเราจำเป็นต้องระวังไม่ให้ความกดดันในแต่ละวันจากโลกของซาตานและจากแนวโน้มของตัวเราเองซึ่งเป็นมนุษย์ที่ผิดบาปทำให้ความกระตือรือร้นของเราในการทำงานรับใช้พระเจ้าลดน้อยลง. ดังนั้น ให้เรามาพิจารณาวิธีที่จะทำให้เราสามารถติดตามพระคริสต์ต่อ ๆ ไป.
ยินดีรับเอาหน้าที่รับผิดชอบที่พระเจ้าทรงมอบหมาย
5, 6. (ก) เปาโลชมเชยเพื่อนร่วมความเชื่อในกรุงเยรูซาเลมในเรื่องใด และท่านเตือนพวกเขาให้ระวังอะไร? (ข) ทำไมเราควรขยันขันแข็งในการทำหน้าที่รับผิดชอบที่พระเจ้าทรงมอบหมายแก่เรา?
5 ในจดหมายถึงคริสเตียนในกรุงเยรูซาเลม อัครสาวกเปาโลชมเชยเพื่อนร่วมความเชื่อสำหรับประวัติของพวกเขาในอดีตที่อดทนอย่างซื่อสัตย์แม้ถูกข่มเหง. ท่านกล่าวว่า “จงระลึกเสมอถึงวันเวลาในอดีต ในคราวเมื่อพวกท่านได้รับความสว่างแล้ว พวกท่านได้พากเพียรต่อสู้อย่างหนักขณะที่ประสบความลำบาก.” พระยะโฮวาทรงระลึกถึงแนวทางชีวิตที่ซื่อสัตย์ของพวกเขา. (ฮีบรู 6:10; 10:32-34) คำชมเชยที่อบอุ่นของเปาโลคงให้กำลังใจคริสเตียนชาวฮีบรูเหล่านั้นอย่างมาก. อย่างไรก็ตาม ในจดหมายฉบับเดียวกันนี้ เปาโลยังเตือนด้วยให้ระวังแนวโน้มของมนุษย์เรา ซึ่งหากไม่ควบคุมอาจทำให้ความกระตือรือร้นในการรับใช้พระเจ้าลดน้อยลง. ท่านกล่าวว่าคริสเตียนควรระวังอย่า “เป็นคนที่ไม่ยอมฟัง” หรือขอตัวและไม่ทำตามพระบัญชาของพระเจ้า.—ฮีบรู 12:25
6 คำเตือนที่ให้ระวังแนวโน้มที่จะขอตัวและไม่รับเอาหน้าที่รับผิดชอบที่พระเจ้าทรงมอบหมายยังใช้ได้ด้วยกับคริสเตียนในปัจจุบัน. เราตระหนักว่าเราจำเป็นต้องตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำหน้าที่รับผิดชอบของคริสเตียนอย่างขยันขันแข็งและอย่าให้ความกระตือรือร้นของเราในการรับใช้พระเจ้าลดน้อยลง. (ฮีบรู 10:39) ที่จริง การถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย.—1 ติโม. 4:16
7, 8. (ก) อะไรจะช่วยเราให้รักษาความกระตือรือร้นในการรับใช้พระเจ้า? (ข) ถ้าเราสูญเสียความกระตือรือร้นที่เคยมีในตอนแรก เราควรจำอะไรไว้เกี่ยวกับพระยะโฮวาและพระเยซู?
7 อะไรจะช่วยป้องกันเราไม่ให้ขอตัวและไม่ทำตามพันธะหน้าที่ของพระเจ้า? วิธีสำคัญวิธีหนึ่งที่จะต่อสู้กับแนวโน้มนั้นก็คือด้วยการใคร่ครวญเป็นประจำถึงความหมายของคำปฏิญาณการอุทิศตัวของเรา. โดยสาระสำคัญ เราปฏิญาณกับพระยะโฮวาว่าเราจะให้การทำตามพระประสงค์ของพระองค์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในชีวิตของเรา และเราต้องการรักษาคำปฏิญาณนั้น. (อ่านมัดธาย 16:24) ด้วยเหตุนั้น บางครั้งเราจำเป็นต้องหยุดคิดและถามตัวเองว่า ‘ฉันยังตั้งใจแน่วแน่ในการดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวแด่พระเจ้าเหมือนตอนที่ฉันรับบัพติสมาไหม? หรือว่าฉันสูญเสียความกระตือรือร้นที่มีอยู่ในตอนแรกไปเสียแล้ว?’
8 ถ้าการตรวจสอบตัวเองอย่างตรงไปตรงมาแสดงให้ซฟัน. 3:16, 17) ในอันดับแรก ถ้อยคำที่ช่วยให้มั่นใจดังกล่าวใช้ได้กับชาวอิสราเอลในสมัยโบราณที่กลับมายังกรุงเยรูซาเลมจากการเป็นเชลยในกรุงบาบิโลน. อย่างไรก็ตาม คำรับรองนี้ยังคงเป็นจริงสำหรับประชาชนของพระเจ้าในปัจจุบัน. เนื่องจากงานที่เราทำเป็นงานของพระยะโฮวา เราควรจำไว้ว่าทั้งพระยะโฮวาและพระบุตรทรงหนุนหลังเราและเสริมกำลังเราให้ทำหน้าที่รับผิดชอบที่พระเจ้าทรงมอบหมายแก่เราได้อย่างเต็มที่. (มัด. 28:20; ฟิลิป. 4:13) ถ้าเราพยายามทำงานของพระเจ้าอย่างกระตือรือร้นต่อ ๆ ไป พระองค์จะทรงอวยพรเราและช่วยเราให้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณต่อไป.
เห็นว่าเราไม่ได้ขยันขันแข็งเหมือนเดิม เราควรระลึกถึงถ้อยคำของผู้พยากรณ์ซะฟันยาที่กระตุ้นให้เรากระตือรือร้นขึ้น. ท่านกล่าวว่า “อย่าได้อ่อนหย่อนกำลังมือของท่านลงเลย. พระยะโฮวาพระเจ้าของท่านก็สถิตอยู่ในท่ามกลางท่าน, พระองค์ประกอบด้วยฤทธิ์อันยิ่งก็จะช่วยให้รอด, พระองค์จะชอบพระทัยในท่านด้วยความยินดี.” (จง ‘แสวงหาราชอาณาจักรก่อน’ อย่างกระตือรือร้น
9, 10. จุดสำคัญของเรื่องสอนใจของพระเยซูเกี่ยวกับงานเลี้ยงใหญ่คืออะไร และเราได้บทเรียนอะไรจากเรื่องนี้?
9 ขณะรับประทานอาหารในบ้านของผู้ปกครองคนหนึ่งในพวกฟาริซาย พระเยซูทรงยกเรื่องสอนใจขึ้นมาเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการเลี้ยงอาหารเย็นที่จัดขึ้นอย่างใหญ่โต. ในเรื่องสอนใจนั้น พระองค์ทรงพรรณนาว่ามีการเปิดโอกาสให้หลายคนได้มีส่วนในราชอาณาจักรสวรรค์. เรื่องที่พระองค์ทรงยกขึ้นมายังแสดงให้เห็นด้วยว่า ‘การขอตัว’ หมายถึงอะไร. (อ่านลูกา 14:16-21) แขกที่ได้รับเชิญในเรื่องสอนใจของพระเยซูยกเหตุผลต่าง ๆ ขึ้นมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่เข้าร่วมงานเลี้ยง. คนหนึ่งบอกว่าเขาต้องไปดูนาที่เพิ่งซื้อ. อีกคนหนึ่งบอกว่าเขาซื้อวัวมาและอยากจะไปตรวจดูวัวเหล่านั้น. ส่วนอีกคนหนึ่งพูดว่า ‘ข้าพเจ้าไปไม่ได้เพราะข้าพเจ้าเพิ่งแต่งงาน.’ ข้ออ้างเหล่านี้ฟังไม่ขึ้นเลย. คนที่ซื้อนาหรือปศุสัตว์ปกติจะตรวจให้ดีก่อนแล้วค่อยซื้อ จึงไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะตรวจดูอีกหลังจากที่ซื้อแล้ว. และมีเหตุผลไหมที่การแต่งงานของใครคนหนึ่งซึ่งเพิ่งผ่านไปจะขัดขวางเขาไว้ไม่ให้รับคำเชิญที่สำคัญเช่นนั้น? ไม่น่าแปลกใจเลยที่เจ้าภาพในเรื่องสอนใจนั้นโกรธมาก!
10 ประชาชนของพระเจ้าทุกคนสามารถได้บทเรียนจากเรื่องสอนใจของพระเยซู. บทเรียนอะไร? เราไม่ควรปล่อยให้เรื่องส่วนตัวแบบที่พระเยซูตรัสถึงในเรื่องสอนใจนั้นมีความสำคัญมากถึงขนาดที่ให้เรื่องนั้นมาก่อนการรับใช้พระเจ้า. ถ้าคริสเตียนไม่จัดให้เรื่องส่วนตัวอยู่ในลำดับที่ถูกต้อง ความกระตือรือร้นในงานรับใช้ก็ย่อมจะค่อย ๆ ลดน้อยลงไป. (อ่านลูกา 8:14) เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอย่างนั้น เราดำเนินชีวิตตามคำกระตุ้นเตือนของพระเยซูที่ว่า “ดังนั้น จงแสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของพระองค์ก่อนเสมอไป.” (มัด. 6:33) ช่างให้กำลังใจจริง ๆ ที่เห็นว่าผู้รับใช้ของพระเจ้า ทั้งคนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ กำลังทำตามคำแนะนำที่สำคัญนี้! ที่จริง หลายคนได้พยายามทำให้รูปแบบชีวิตของตนเรียบง่ายเพื่อจะสามารถมีเวลามากขึ้นในการทำงานรับใช้. พวกเขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่าการแสวงหาราชอาณาจักรเป็นอันดับแรกในชีวิตอย่างกระตือรือร้นทำให้มีความสุขอย่างแท้จริงและอิ่มใจอย่างยิ่ง.
11. บันทึกเรื่องใดในคัมภีร์ไบเบิลที่แสดงให้เห็นความสำคัญของการรับใช้พระเจ้าอย่างกระตือรือร้นและอย่างสุดหัวใจ?
11 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการรับใช้พระเจ้าอย่างกระตือรือร้น ขอให้สังเกตเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของกษัตริย์ยะโฮอาศแห่งอิสราเอล. เนื่องด้วยความเป็นห่วงกังวลว่าชาติอิสราเอลจะประสบความหายนะด้วยน้ำมือของซีเรีย ยะโฮอาศจึงมากันแสงต่อหน้าเอลีชา (อะลีซา). ผู้พยากรณ์สั่งให้ท่านยิงลูกธนูดอกหนึ่งออกจากหน้าต่างไปทางประเทศซีเรีย เพื่อบ่งชี้ว่าพระยะโฮวาจะช่วยให้พวกเขาชนะชาตินี้. เรื่องนี้คงทำให้กษัตริย์มีกำลังใจอย่างแน่นอน. แล้วเอลีชาก็บอกยะโฮอาศให้ฟาดลูกธนูกับพื้นดิน. 2 กษัต. 13:14-19) เราเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้? พระยะโฮวาจะทรงอวยพรเราอย่างอุดมก็ต่อเมื่อเราทำงานของพระองค์อย่างสุดหัวใจและอย่างกระตือรือร้น.
ยะโฮอาศฟาดสามครั้ง. เอลีชาโกรธมากในเรื่องนี้ เพราะการเอาลูกธนูฟาดพื้นดินสักห้าหกครั้งจะบ่งบอกเป็นนัย ๆ ว่าพวกเขาจะ “ตีชาวซุเรียให้สาบสูญไป.” เมื่อเป็นอย่างนี้ ยะโฮอาศจะได้รับชัยชนะเพียงแค่สามครั้ง. เพราะการกระทำที่ไม่กระตือรือร้น ยะโฮอาศจึงประสบความสำเร็จเพียงแค่ส่วนหนึ่ง. (12. (ก) อะไรจะช่วยเราให้รักษาความกระตือรือร้นในการรับใช้พระเจ้าขณะที่รับมือกับข้อท้าทายต่าง ๆ ในชีวิต? (ข) จงเล่าว่าคุณกำลังได้รับประโยชน์อย่างไรจากการทำงานรับใช้อย่างขยันขันแข็งอยู่เสมอ.
12 ข้อท้าทายต่าง ๆ ในชีวิตทดสอบว่าเรากระตือรือร้นและอุทิศตัวให้กับการรับใช้พระเจ้าขนาดไหน. พี่น้องหลายคนกำลังรับมือกับความลำบากทางเศรษฐกิจ. คนอื่น ๆ หงุดหงิดรำคาญใจเพราะความเจ็บป่วยที่รุนแรงทำให้พวกเขารับใช้พระยะโฮวาได้จำกัด. ถึงกระนั้น เราแต่ละคนสามารถทำอะไรบางอย่างได้เพื่อจะรักษาความกระตือรือร้นและติดตามพระคริสต์อย่างเต็มที่ต่อ ๆ ไป. โปรดสังเกตข้อเสนอแนะบางประการและข้อคัมภีร์บางข้อในกรอบ “อะไรจะช่วยคุณให้ติดตามพระคริสต์อยู่เสมอ?” ขอให้พิจารณาถึงวิธีที่คุณจะใช้ข้อเสนอแนะและข้อคัมภีร์เหล่านั้นอย่างเต็มที่. หากคุณทำอย่างนั้น คุณก็จะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง. การรับใช้อย่างขยันขันแข็งเสมอทำให้เราหนักแน่นมั่นคง, ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น, และทำให้เรามีสันติสุขและความสุขมากขึ้น. (1 โค. 15:58) นอกจากนั้น การรับใช้พระเจ้าอย่างสุดชีวิตช่วยให้เรา “คิดถึงเวลาที่วันของพระยะโฮวามาถึงอยู่เสมอ.”—2 เป. 3:12
จงประเมินสภาพการณ์อย่างตรงไปตรงมา
13. เพื่อจะบอกได้ว่าการรับใช้พระเจ้าอย่างสุดชีวิตมีความหมายอย่างไรสำหรับเราเป็นส่วนตัว เราต้องทำอะไร?
13 อย่างไรก็ตาม นับว่าดีที่จะจำไว้ว่าการรับใช้อย่างสุดชีวิตไม่ได้เป็นเรื่องของการใช้เวลาในงานรับใช้ว่ามากน้อยแค่ไหน. สภาพการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน. คนที่ใช้เวลาเพียงชั่วโมงหรือสองชั่วโมงรับใช้ในแต่ละเดือนอาจทำให้พระยะโฮวาพอพระทัยมาก ถ้านั่นคือทั้งหมดที่เขาสามารถทำได้จริง ๆ ตามที่สุขภาพของเขาอำนวยให้. (เทียบกับมาระโก 12:41-44) ดังนั้น เพื่อจะบอกได้ว่าการรับใช้พระเจ้าอย่างสุดชีวิตมีความหมายอย่างไรสำหรับเราเป็นส่วนตัว เราต้องประเมินสภาพการณ์และความสามารถของเราอย่างตรงไปตรงมา. ในฐานะสาวกของพระคริสต์ เราต้องการมีทัศนะอย่างที่พระคริสต์ทรงมี. (อ่านโรม 15:5; 1 โค. 2:16) พระเยซูทรงจัดให้อะไรมีความสำคัญที่สุดในชีวิตของพระองค์? พระองค์ทรงบอกฝูงชนที่มาจากเมืองคาเปอร์นาอุมว่า “เราต้องประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าแก่เมืองอื่น ๆ ด้วย เพราะเราถูกส่งมาเพื่อการนี้.” (ลูกา 4:43; โย. 18:37) โดยนึกถึงความกระตือรือร้นของพระเยซูในงานรับใช้ จงประเมินสภาพการณ์ของคุณเพื่อดูว่าคุณจะสามารถขยายงานรับใช้ได้หรือไม่.—1 โค. 11:1
14. เราสามารถขยายงานรับใช้ของเราได้โดยวิธีใดบ้าง?
14 การพิจารณาอย่างละเอียดเกี่ยวกับสภาพการณ์ของเราอาจช่วยให้เราลงความเห็นว่าเราสามารถเพิ่มเวลาที่เราใช้ในงานรับใช้ได้. (มัด. 9:37, 38) ตัวอย่างเช่น หนุ่มสาวหลายคนที่เพิ่งเรียนจบได้ขยายงานรับใช้ของตนและตอนนี้มีความยินดีที่เกิดจากการรับใช้เป็นไพโอเนียร์อย่างกระตือรือร้น. คุณอยากมีความยินดีเช่นนั้นด้วยไหม? พี่น้องบางคนได้พิจารณาสภาพการณ์ของตนและเห็นว่าพวกเขาสามารถย้ายไปอยู่อีกเขตหนึ่งในประเทศของตน หรือแม้แต่ในต่างประเทศ ซึ่งขาดแคลนผู้ประกาศราชอาณาจักร. ส่วนคนอื่น ๆ ได้เรียนอีกภาษาหนึ่งเพื่อช่วยผู้คนที่พูดภาษาต่างประเทศ. แม้ว่าการขยายงานรับใช้อาจเป็นเรื่องยาก แต่ก็ทำให้ได้รับพระพรมากมาย และเราอาจช่วยหลายคนให้ “ได้รับความรู้ถ่องแท้เรื่องความจริง.”—1 ติโม. 2:3, 4; 2 โค. 9:6
ตัวอย่างในคัมภีร์ไบเบิลที่ควรเลียนแบบ
15, 16. เราอาจเลียนแบบตัวอย่างของใครในการเป็นผู้ติดตามพระคริสต์ที่กระตือรือร้น?
15 บางคนที่ได้มาเป็นอัครสาวกตอบอย่างไรเมื่อพระคริสต์เรียกพวกเขาให้เป็นผู้ติดตามพระองค์? บันทึกกล่าวถึงมัดธายว่า “เขาก็ละทุกสิ่งแล้วลุกขึ้นตามพระองค์ไป.” (ลูกา 5:27, 28) ส่วนเปโตรและอันเดรอัสซึ่งกำลังจับปลาอยู่ เราอ่านว่า “ทั้งสองละอวนแล้วตามพระองค์ไปทันที.” ถัดจากนั้น พระเยซูทรงเห็นยาโกโบและโยฮันซึ่งกำลังชุนอวนอยู่กับบิดา. พวกเขาตอบคำเชิญของพระเยซูอย่างไร? “ทั้งสองก็ละเรือกับบิดาแล้วตามพระองค์ไปทันที.”—มัด. 4:18-22
16 ตัวอย่างที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่งก็คือเซาโลซึ่งภายหลังได้มาเป็นอัครสาวกเปาโล. แม้ว่าเคยข่มเหงเหล่าสาวกของพระคริสต์อย่างบ้าคลั่ง เขาได้เปลี่ยนวิถีชีวิตและกลายเป็น ‘ภาชนะที่ถูกเลือกไว้’ เพื่อประกาศพระนามของพระคริสต์. เปาโล “เริ่มประกาศเรื่องพระเยซูตามธรรมศาลาทันทีว่าพระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้า.” (กิจ. 9:3-22) และแม้ว่าต้องอดทนความลำบากมากมายและการข่มเหง เปาโลไม่เคยสูญเสียความกระตือรือร้น.—2 โค. 11:23-29; 12:15
17. (ก) คุณปรารถนาจะทำอะไรในการติดตามพระคริสต์? (ข) เราได้รับพระพรอะไรจากการทำตามพระประสงค์ของพระยะโฮวาอย่างสุดหัวใจและสุดกำลัง?
17 เป็นเรื่องแน่นอนว่าเราต้องการเลียนแบบตัวอย่างที่ดีของสาวกเหล่านั้นและตอบรับคำเชิญของพระคริสต์อย่างกระตือรือร้นและไม่สงวนตัว. (ฮีบรู 6:11, 12) เราจะได้รับพระพรอะไรเมื่อเราพยายามต่อ ๆ ไปที่จะติดตามพระคริสต์อย่างกระตือรือร้นและอย่างเต็มที่? เราประสบความยินดีอย่างแท้จริงในการทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าและได้รับความอิ่มใจจากการตอบรับสิทธิพิเศษในการรับใช้และหน้าที่รับผิดชอบในประชาคมที่มีเพิ่มขึ้น. (เพลง. 40:8; อ่าน 1 เทสซาโลนิเก 4:1) เมื่อเราพยายามอย่างขันแข็งในการติดตามพระคริสต์ เราได้รับพระพรอันอุดมและยั่งยืนโดยที่มีสันติสุขในใจ, ความอิ่มใจยินดี, ได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้า, และมีความหวังจะได้รับชีวิตนิรันดร์.—1 ติโม. 4:10
คุณจำได้ไหม?
• เราได้รับมอบหมายงานสำคัญอะไร และเราควรมีทัศนะอย่างไรต่องานนั้น?
• เราต้องระวังแนวโน้มอะไร และเพราะเหตุใด?
• เราควรประเมินอะไรอย่างตรงไปตรงมา?
• อะไรจะช่วยเราให้ติดตามพระคริสต์ต่อ ๆ ไป?
[คำถาม]
[กรอบ/ภาพหน้า 27]
อะไรจะช่วยคุณให้ติดตามพระคริสต์อยู่เสมอ?
▪ อ่านพระคำของพระเจ้าทุกวัน และใคร่ครวญสิ่งที่คุณอ่าน.—เพลง. 1:1-3; 1 ติโม. 4:15
▪ อธิษฐานบ่อย ๆ เพื่อขอการค้ำจุนและการชี้นำจากพระวิญญาณของพระเจ้า.—ซคา. 4:6; ลูกา 11:9, 13
▪ คบหากับคนที่รับใช้อย่างกระตือรือร้นจากใจจริง.—สุภา. 13:20; ฮีบรู 10:24, 25
▪ สำนึกถึงความเร่งด่วนของวันเวลาที่เรากำลังมีชีวิตอยู่.—เอเฟ. 5:15, 16
▪ สำนึกถึงผลเสียหายร้ายแรงของการ “ขอตัว.”—ลูกา 9:59-62
▪ คิดใคร่ครวญเป็นประจำถึงคำปฏิญาณการอุทิศตัวของคุณและพระพรอันอุดมที่ได้รับจากการรับใช้พระยะโฮวาและการติดตามพระคริสต์อย่างสุดหัวใจ.—เพลง. 116:12-14; 133:3; สุภา. 10:22