เยาวชนทั้งหลาย—จงเสริมความปรารถนาให้แรงกล้ายิ่งขึ้นที่จะรับใช้พระยะโฮวา
เยาวชนทั้งหลาย—จงเสริมความปรารถนาให้แรงกล้ายิ่งขึ้นที่จะรับใช้พระยะโฮวา
“ในปฐมวัยของเจ้าจงระลึกถึงพระองค์ผู้ได้ทรงสร้างตัวเจ้านั้น.”—ผู้ป. 12:1
1. เด็ก ๆ ในชาติอิสราเอลได้รับคำเชิญให้ทำอะไร?
เมื่อประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว โมเซผู้พยากรณ์ของพระยะโฮวาสั่งเหล่าปุโรหิตและผู้เฒ่าผู้แก่ของชาติอิสราเอลว่า “จงให้คนทั้งปวงมาประชุมกัน, ทั้งชายหญิงกับเด็กทั้งปวง . . . ,ให้เขาทั้งหลายได้ยินฟัง, และกลัวเกรงพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า, และเชื่อฟังประพฤติตามพระบัญญัติทั้งปวงนี้.” (บัญ. 31:12) โปรดสังเกตว่าใครได้รับคำสั่งให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อการนมัสการ: ชาย, หญิง, และเด็ก. ใช่แล้ว แม้แต่ผู้เยาว์ก็อยู่ในกลุ่มคนที่ได้รับคำสั่งให้ฟัง, เรียนรู้, และปฏิบัติตามพระบัญชาของพระยะโฮวา.
2. พระยะโฮวาทรงแสดงความห่วงใยอย่างไรต่อเยาวชนในประชาคมคริสเตียนยุคแรก?
2 ในศตวรรษแรก พระยะโฮวายังคงแสดงความห่วงใยต่อเยาวชนที่เลื่อมใสพระเจ้า. ตัวอย่างเช่น พระองค์ทรงดลใจอัครสาวกเปาโลให้เขียนคำแนะนำสั่งสอนที่เจาะจงแก่เยาวชนในจดหมายบางฉบับที่ท่านส่งไปถึงประชาคมต่าง ๆ. (อ่านเอเฟโซส์ 6:1; โกโลซาย 3:20) เยาวชนคริสเตียนที่นำคำแนะนำเหล่านั้นไปใช้รู้สึกขอบคุณมากยิ่งขึ้นต่อพระบิดาที่อยู่ในสวรรค์ผู้เปี่ยมด้วยความรักและได้รับพระพรจากพระองค์.
3. เยาวชนในปัจจุบันแสดงความปรารถนาของตนอย่างไรที่จะรับใช้พระเจ้า?
3 เยาวชนในปัจจุบันได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อการนมัสการพระยะโฮวาไหม? แน่นอน! ด้วยเหตุนั้น จึงเป็นเรื่องที่ทำให้ประชาชนทั้งสิ้นของพระยะโฮวายินดีที่เห็นว่าเยาวชนที่เป็นผู้รับใช้พระเจ้ามากมายทั่วโลกเอาใจใส่คำกระตุ้นของเปาโลที่ว่า “ให้เราพิจารณากันและกันเพื่อเร้าใจให้เกิดความรักและการดี อย่าขาดการประชุมกันอย่างที่บางคนทำเป็นนิสัย แต่ให้ชูใจกัน และทำอย่างนั้นให้มากขึ้นเมื่อพวกท่านเห็นวันนั้นใกล้เข้ามา.” (ฮีบรู 10:24, 25) นอกจากนั้น ผู้เยาว์หลายคนไปประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้ากับบิดามารดา. (มัด. 24:14) และเพื่อแสดงถึงความรักจากหัวใจของพวกเขาต่อพระยะโฮวา ทุกปีมีเยาวชนมากมายที่เสนอตัวรับบัพติสมาและชื่นชมกับพระพรต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากการเป็นสาวกของพระคริสต์.—มัด. 16:24; มโก. 10:29, 30
จงตอบรับคำเชิญเสียแต่บัดนี้
4. เยาวชนจะตอบรับคำเชิญของพระเจ้าที่ให้มารับใช้พระองค์ได้เมื่อไร?
4 ท่านผู้ประกาศ 12:1 กล่าวว่า “ในปฐมวัยของเจ้าจงระลึกถึงพระองค์ผู้ได้ทรงสร้างตัวเจ้านั้น.” พวกคุณที่เป็นเยาวชนต้องมีอายุเท่าไรจึงจะตอบรับคำเชิญอันอบอุ่นนี้ที่ให้มานมัสการและรับใช้พระยะโฮวา? ไม่มีการระบุอายุไว้ในพระคัมภีร์. ด้วยเหตุนั้น อย่าได้รีรอเพราะคิดว่าคุณอายุน้อยเกินไปที่จะรับใช้พระยะโฮวาและเชื่อฟังพระองค์. ไม่ว่าคุณอายุเท่าไร คุณได้รับการสนับสนุนให้ตอบรับคำเชิญโดยไม่ชักช้า.
5. บิดามารดาจะช่วยลูก ๆ ให้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณได้โดยวิธีใด?
5 หลายคนในพวกคุณได้รับความช่วยเหลือให้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณจากบิดาหรือมารดา หรือจากทั้งบิดาและมารดา. โดยวิธีนี้ คุณเป็นเหมือนกับติโมเธียว. เมื่อท่าน2 ติโม. 3:14, 15) บิดามารดาของคุณอาจกำลังอบรมสั่งสอนคุณคล้าย ๆ กันด้วยการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับคุณ, อธิษฐานกับคุณ, พาคุณไปร่วมการประชุมประจำประชาคมและการประชุมใหญ่ของประชาชนของพระเจ้า, และพาไปด้วยในงานรับใช้ตามบ้าน. ที่จริง การสอนแนวทางของพระเจ้าแก่คุณเป็นหน้าที่รับผิดชอบที่บิดามารดาได้รับจากพระยะโฮวาซึ่งสำคัญอย่างยิ่ง. คุณเห็นคุณค่าความรักและความห่วงใยที่บิดามารดามีต่อคุณไหม?—สุภา. 23:22
ยังเป็นทารกอยู่ ท่านได้รับการสอนหนังสือบริสุทธิ์จากยูนิเกผู้เป็นมารดาและจากโลอิสยายของท่าน. (6. (ก) ตามที่กล่าวในบทเพลงสรรเสริญ 110:3 พระยะโฮวาทรงพอพระทัยการนมัสการแบบใด? (ข) เราจะพิจารณาอะไรต่อจากนี้?
6 ถึงกระนั้น เมื่อคุณที่เป็นผู้เยาว์เติบโตขึ้น พระยะโฮวาทรงประสงค์ให้คุณทำเช่นเดียวกับติโมเธียวโดย “ทำให้รู้แน่ว่าอะไรคือพระประสงค์อันดีของพระเจ้าซึ่งเป็นที่ชอบพระทัยและสมบูรณ์พร้อม.” (โรม 12:2) ถ้าคุณทำอย่างนั้น คุณก็จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาคมไม่ใช่เพราะบิดามารดาของคุณอยากให้คุณทำ แต่เพราะคุณอยากทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า. ถ้าคุณรับใช้พระยะโฮวาอย่างเต็มใจ นั่นย่อมจะทำให้พระองค์ทรงพอพระทัย. (เพลง. 110:3) ถ้าอย่างนั้น คุณจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าคุณต้องการจะเสริมความปรารถนาที่จะเชื่อฟังพระยะโฮวาและปฏิบัติตามการชี้นำจากพระองค์? เราจะพิจารณาสามวิธีสำคัญที่คุณจะทำอย่างนั้นได้. สามวิธีนี้ได้แก่การศึกษา, การอธิษฐาน, และการประพฤติ. ให้เราพิจารณาวิธีเหล่านี้ทีละอย่าง.
จงทำความรู้จักพระยะโฮวาในฐานะบุคคล
7. พระเยซูทรงวางตัวอย่างไว้อย่างไรในฐานะนักศึกษาพระคัมภีร์ และอะไรช่วยพระองค์ให้ทำอย่างนั้น?
7 วิธีแรกที่คุณแสดงว่าคุณต้องการเพิ่มพูนความปรารถนาที่จะรับใช้พระยะโฮวาก็คือโดยการอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน. คุณสามารถสนองความจำเป็นฝ่ายวิญญาณและได้รับความรู้อันล้ำค่าจากคัมภีร์ไบเบิลด้วยการอ่านพระคำของพระเจ้าเป็นประจำ. (มัด. 5:3) พระเยซูทรงวางตัวอย่างไว้. ในโอกาสหนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงพระชนมายุ 12 พรรษา บิดามารดาของพระองค์พบพระองค์ “นั่งอยู่ในพระวิหารท่ามกลางพวกอาจารย์ กำลังฟังและซักถามพวกเขาอยู่.” (ลูกา 2:44-46) เมื่อเป็นเด็ก พระเยซูได้พัฒนาความปรารถนาที่จะเข้าใจพระคัมภีร์อยู่แล้ว. อะไรช่วยพระองค์ให้ทำอย่างนั้น? ไม่ต้องสงสัยว่ามาเรียมารดาของพระองค์และโยเซฟบิดาเลี้ยงมีบทบาทสำคัญ. ทั้งสองคนเป็นผู้รับใช้พระเจ้าที่สอนเรื่องพระเจ้าแก่พระเยซูตั้งแต่ที่ทรงเป็นทารก.—มัด. 1:18-20; ลูกา 2:41, 51
8. (ก) พ่อแม่ควรเริ่มปลูกฝังความรักต่อพระคำของพระเจ้าไว้ในตัวลูกเมื่อไร? (ข) จงเล่าประสบการณ์ที่ยืนยันให้เห็นคุณค่าของการอบรมสั่งสอนลูกตั้งแต่เป็นทารก.
8 คล้ายกัน พ่อแม่ที่เกรงกลัวพระเจ้าในทุกวันนี้เห็นคุณค่าของการปลูกฝังความปรารถนาที่จะได้รับความจริงในคัมภีร์ไบเบิลไว้ในหัวใจลูกตั้งแต่เขายังเป็นทารก. (บัญ. 6:6-9) นั่นคือสิ่งที่สตรีคริสเตียนคนหนึ่งชื่อรูบีได้ทำหลังจากคลอดโจเซฟลูกชายคนแรก. เธออ่านหนังสือของฉันเกี่ยวด้วยเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ให้เขาฟังทุกวัน. เมื่อเขาเริ่มโตขึ้น เธอสอนเขาให้จำข้อพระคัมภีร์ต่าง ๆ. โจเซฟได้รับประโยชน์จากการสอนอย่างนี้ไหม? ไม่นานหลังจากที่เขาเริ่มพูด เขาสามารถเล่าหลายเรื่องในคัมภีร์ไบเบิลด้วยคำพูดของตัวเอง. และเมื่อเขาอายุได้ห้าขวบ เขาก็ทำส่วนมอบหมายในโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้าเป็นครั้งแรก.
9. เหตุใดจึงสำคัญที่คุณจะอ่านคัมภีร์ไบเบิลและใคร่ครวญเรื่องที่คุณอ่าน?
9 เพื่อคุณจะก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ พวกคุณที่เป็นเยาวชนควรทำเป็นนิสัยที่จะอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวันตลอดช่วงที่เป็นวัยรุ่นจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่. (เพลง. 71:17) เหตุใดการอ่านคัมภีร์ไบเบิลจะช่วยคุณให้ก้าวหน้า? ขอให้สังเกตคำตรัสของพระเยซูที่อธิษฐานถึงพระบิดา: “พวกเขาจะมีชีวิตนิรันดร์ ถ้าพวกเขารับความรู้ต่อ ๆ ไปเกี่ยวกับพระองค์ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว.” (โย. 17:3) จริงทีเดียว เมื่อคุณรับความรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวามากขึ้น คุณก็จะเห็นชัดยิ่งขึ้นว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลจริง ๆ และความรักที่มีต่อพระองค์ก็จะลึกซึ้งยิ่งขึ้น. (ฮีบรู 11:27) ด้วยเหตุนั้น แต่ละครั้งที่คุณอ่านส่วนหนึ่งจากคัมภีร์ไบเบิล จงใช้โอกาสนั้นเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพระยะโฮวา. จงถามตัวเองว่า ‘เรื่อง นี้สอนอะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวาในฐานะที่ทรงเป็นบุคคล? ส่วนนี้ของคัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็นอย่างไรในเรื่องความรักของพระเจ้าและความห่วงใยที่พระองค์ทรงมีต่อฉัน?’ การใช้เวลาใคร่ครวญคำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้ว่าพระยะโฮวาทรงคิดและรู้สึกอย่างไรและพระองค์ทรงประสงค์ให้คุณทำอะไร. (อ่านสุภาษิต 2:1-5) เช่นเดียวกับติโมเธียวขณะยังเยาว์ คุณจะ “ได้รับการช่วยให้เชื่อมั่น” ในสิ่งที่คุณเรียนจากพระคัมภีร์ และคุณจะถูกกระตุ้นให้นมัสการพระยะโฮวาด้วยความเต็มใจ.—2 ติโม. 3:14
การอธิษฐานทำให้ความรักของคุณต่อพระยะโฮวาลึกซึ้งยิ่งขึ้นอย่างไร?
10, 11. การอธิษฐานช่วยคุณอย่างไรให้มีความปรารถนามากขึ้นที่จะรับใช้พระเจ้า?
10 วิธีที่สองที่คุณสามารถเสริมความปรารถนาให้แรงกล้ายิ่งขึ้นที่จะรับใช้พระยะโฮวาอย่างสุดหัวใจก็คือโดยการอธิษฐานของคุณ. ที่บทเพลงสรรเสริญ 65:2 เราอ่านว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้สดับคำอธิษฐาน, บรรดามนุษย์โลกจะได้เข้ามาเฝ้าพระองค์.” แม้แต่ในช่วงที่พระเจ้าทรงทำสัญญากับชาติอิสราเอลแล้ว คนต่างชาติที่มายังพระวิหารของพระยะโฮวาสามารถเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยคำอธิษฐาน. (1 กษัต. 8:41, 42) พระเจ้าไม่ทรงลำเอียง. คนเหล่านั้นที่ทำตามพระบัญญัติของพระองค์ได้รับการรับรองว่าพระองค์จะสดับฟังพวกเขา. (สุภา. 15:8) แน่นอน “บรรดามนุษย์โลก” ในที่นี้หมายถึงพวกคุณที่เป็นเยาวชนด้วย.
11 คุณรู้ว่าการสื่อความที่ดีเป็นพื้นฐานของมิตรภาพแท้. คุณคงชอบพูดคุยกับเพื่อนสนิทเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในความคิดความรู้สึกของคุณและเรื่องที่คุณกังวล. คล้ายกัน คุณติดต่อสื่อความกับพระผู้สร้างองค์ยิ่งใหญ่ของคุณโดยการอธิษฐานอย่างจริงใจ. (ฟิลิป. 4:6, 7) จงพูดกับพระยะโฮวาราวกับว่าคุณกำลังระบายความในใจกับพ่อแม่ที่รักคุณหรือกับเพื่อนสนิท. ที่จริง ความรู้สึกที่คุณมีต่อพระยะโฮวาจะส่งผลอย่างชัดเจนต่อวิธีที่คุณอธิษฐาน. คุณจะสังเกตว่ายิ่งคุณมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระยะโฮวามากเท่าใด คุณก็จะอธิษฐานอย่างมีความหมายมากยิ่งขึ้น.
12. (ก) เหตุใดการอธิษฐานที่มีความหมายจึงเกี่ยวข้องไม่เพียงแค่คำพูด? (ข) อะไรจะช่วยคุณให้ตระหนักว่าพระยะโฮวาทรงอยู่ใกล้คุณ?
12 แต่จำไว้ว่าการอธิษฐานที่มีความหมายเกี่ยวข้องไม่เพียงแค่คำพูด. การอธิษฐานที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับความรู้สึกในส่วนลึกที่สุดของคุณ. ในคำอธิษฐาน จงแสดงให้เห็นถึงความรักอันอบอุ่น, ความนับถืออันลึกซึ้ง, และความไว้วางใจพระยะโฮวาอย่างเต็มที่. เมื่อคุณเข้าใจวิธีที่พระยะโฮวาทรงตอบคำอธิษฐานของคุณ คุณก็จะตระหนักด้วยตัวเองอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อนว่า “พระยะโฮวาทรงสถิตอยู่ใกล้คนทั้งปวงที่ทูลต่อพระองค์.” (เพลง. 145:18) ใช่แล้ว พระยะโฮวาจะทรงเข้ามาใกล้คุณ เสริมกำลังให้คุณต่อสู้กับพญามารและสามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่ถูกต้องในชีวิต.—อ่านยาโกโบ 4:7, 8
13. (ก) มิตรภาพที่พี่น้องหญิงคนหนึ่งมีกับพระเจ้าช่วยเธออย่างไร? (ข) มิตรภาพที่คุณมีกับพระเจ้าช่วยคุณอย่างไรให้รับมือกับแรงกดดันจากคนรุ่นเดียวกัน?
13 ขอให้พิจารณาวิธีที่เชอรีได้รับการเสริมกำลังจากการมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระยะโฮวา. เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยม เธอได้รับรางวัลมากมายเพราะเธอเรียนเก่งและเล่นกีฬาเก่งมาก. เมื่อเรียนจบเธอก็ได้รับข้อเสนอให้รับทุนการศึกษาซึ่งจะทำให้เธอสามารถเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา. เชอรีกล่าวว่า “ข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอที่ล่อใจทีเดียว และมัด. 6:33
โค้ชและเพื่อนนักเรียนก็กดดันดิฉันมากให้รับทุนนี้.” แต่เธอตระหนักว่าในการเรียนสูงระดับนี้เธอต้องทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการเรียนและการซ้อมกีฬาโดยที่เหลือเวลาเพียงน้อยนิดสำหรับการรับใช้พระยะโฮวา. เชอรีทำอย่างไร? เธอกล่าวว่า “หลังจากที่ได้อธิษฐานถึงพระยะโฮวา ดิฉันก็ปฏิเสธทุนการศึกษานั้นและเริ่มรับใช้เป็นไพโอเนียร์ประจำ.” ตอนนี้ เธอรับใช้เป็นไพโอเนียร์มาได้ห้าปีแล้ว. เธอกล่าวว่า “ดิฉันไม่เสียใจเลย. การรู้ว่าตัวเองได้ตัดสินใจทำสิ่งที่พระยะโฮวาทรงพอพระทัยทำให้ดิฉันมีความสุข. ที่จริง ถ้าเราให้ราชอาณาจักรของพระเจ้ามาเป็นอันดับแรก พระองค์จะทรงให้สิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดแก่เรา.”—ความประพฤติที่ดีแสดงให้เห็นว่าคุณ “มีใจบริสุทธิ์”
14. เหตุใดความประพฤติที่ดีของคุณจึงสำคัญในสายพระเนตรของพระยะโฮวา?
14 วิธีที่สามที่คุณสามารถแสดงให้เห็นว่าคุณรับใช้พระยะโฮวาด้วยความเต็มใจก็คือโดยการประพฤติของคุณ. พระยะโฮวาทรงอวยพรเยาวชนที่รักษาตัวสะอาดด้านศีลธรรม. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 24:3-5) หนุ่มน้อยซามูเอลไม่เลียนแบบการกระทำที่ผิดศีลธรรมของลูกชายสองคนของมหาปุโรหิตเอลี. ความประพฤติที่ดีของซามูเอลไม่ได้ถูกมองข้าม. บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ฝ่ายกุมารซามูเอลก็วัฒนาขึ้น, ได้มีความชอบต่อพระยะโฮวา, และต่อมนุษย์ด้วย.”—1 ซามู. 2:26
15. มีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้คุณรักษาความประพฤติที่ดีไว้?
15 เรามีชีวิตอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยผู้คนที่รักตัวเอง, เย่อหยิ่ง, ไม่เชื่อฟังพ่อแม่, อกตัญญู, ไม่ภักดี, ดุร้าย, ทะนงตัว, เป็นคนรักการสนุกสนานแทนที่จะรักพระเจ้า ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยเพียงบางอย่างที่เปาโลกล่าวถึง. (2 ติโม. 3:1-5) ดังนั้น จึงนับว่าเป็นเรื่องท้าทายจริง ๆ ที่คุณจะรักษาความประพฤติที่ดีไว้แม้ว่าต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชั่วช้าอย่างนี้. อย่างไรก็ตาม แต่ละครั้งที่คุณทำสิ่งที่ถูกต้องและปฏิเสธที่จะทำสิ่งผิด คุณก็พิสูจน์ว่าคุณอยู่ฝ่ายพระยะโฮวาในประเด็นเกี่ยวกับอำนาจการปกครองเหนือเอกภพ. (โยบ 2:3, 4) คุณรู้สึกอิ่มใจด้วยที่รู้ว่าคุณกำลังตอบรับคำวิงวอนอันอบอุ่นของพระยะโฮวาที่ว่า “ศิษย์ของเราเอ๋ย, จงมีปัญญาขึ้น, และกระทำให้ใจของเรามีความยินดี; เพื่อเราจะมีคำตอบคนที่ตำหนิเราได้.” (สุภา. 27:11) นอกจากนั้น การรู้ว่าคุณได้รับความพอพระทัยจากพระยะโฮวาจะเสริมให้คุณมีความปรารถนาแรงกล้ายิ่งขึ้นที่จะรับใช้พระองค์.
16. พี่น้องหญิงคนหนึ่งได้ทำให้พระทัยพระยะโฮวายินดีอย่างไร?
16 สตรีคริสเตียนคนหนึ่งชื่อแครอลยึดมั่นในหลักการของคัมภีร์ไบเบิลขณะที่เธอเรียนอยู่ในโรงเรียนตอนที่เป็นวัยรุ่น และคนอื่นสังเกตเห็นความประพฤติที่ดีของเธอ. มีอะไรเกิดขึ้นในตอนนั้น? แครอลถูกเพื่อนร่วมชั้นเยาะเย้ยเพราะสติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึกจากพระคัมภีร์ทำให้เธอไม่เข้าร่วมในการฉลองวันนักขัตฤกษ์และธรรมเนียมที่แสดงถึงความรักชาติ. ในโอกาสเหล่านั้น บางครั้งเธอมีโอกาสได้อธิบายความเชื่อของเธอแก่คนอื่น ๆ. หลายปีต่อมา แครอลได้รับไปรษณียบัตรจากอดีตเพื่อนร่วมชั้นซึ่งเขียนมาว่า “ฉันอยากจะติดต่อกับเธอมานานแล้วเพื่อจะขอบคุณเธอ. ฉันสังเกตเห็นความประพฤติและตัวอย่างที่ดีของเธอในฐานะคริสเตียนตอนที่เป็นวัยรุ่น รวมทั้งจุดยืนที่เธอยึดมั่นอย่างกล้าหาญในเรื่องวันหยุดต่าง ๆ. เธอเป็นพยานพระยะโฮวาคนแรกที่ฉันติดต่อด้วย.” ตัวอย่างของแครอลทำให้เพื่อนร่วมชั้นคนนี้ของเธอประทับใจอย่างมากจนในภายหลังเธอเริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. เธอเขียนบอกมาในไปรษณียบัตรถึงแครอลว่าเธอได้รับบัพติสมาเป็นพยานฯ มา 40 กว่าปีแล้ว! เช่นเดียวกับแครอล พวกคุณที่เป็นเยาวชนในปัจจุบันซึ่งยึดมั่นหลักการในคัมภีร์ไบเบิลอย่างกล้าหาญอาจกระตุ้นคนที่มีหัวใจสุจริตให้มาเรียนรู้จักพระยะโฮวา.
เยาวชนสรรเสริญพระยะโฮวา
17, 18. (ก) คุณรู้สึกอย่างไรต่อเยาวชนที่อยู่ในประชาคมของคุณ? (ข) มีอนาคตเช่นไรคอยอยู่สำหรับเยาวชนที่เกรงกลัวพระเจ้า?
17 เราทุกคนในองค์การของพระยะโฮวาซึ่งดำเนินงานอยู่ทั่วโลกรู้สึกตื่นเต้นที่เห็นเยาวชนที่มีใจแรงกล้าจำนวนมากกำลังมีส่วนร่วมในการนมัสการแท้! เยาวชนเหล่านี้เสริมความปรารถนาของตนให้แรงกล้ายิ่งขึ้นที่จะนมัสการพระยะโฮวาโดยอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน, โดยอธิษฐาน, และโดยประพฤติตัวสอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้า. เยาวชนที่เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างนั้นทำให้บิดามารดาและประชาชนทั้งหมดของพระยะโฮวาชื่นใจ.—สุภา. 23:24, 25
18 ในอนาคต เยาวชนที่ซื่อสัตย์จะถูกนับรวมอยู่ในกลุ่มคนที่จะรอดชีวิตเข้าสู่โลกใหม่ที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้. (วิ. 7:9, 14) ที่นั่น พวกเขาจะได้รับพระพรอันยอดเยี่ยมมากมายขณะที่พวกเขารู้สึกขอบคุณพระยะโฮวามากขึ้นเรื่อย ๆ และพวกเขาจะสามารถสรรเสริญพระองค์ตลอดไป.—เพลง. 148:12, 13
คุณอธิบายได้ไหม?
• เยาวชนจะมีส่วนร่วมในการนมัสการแท้ในสมัยนี้ได้อย่างไร?
• ทำไมคุณจำเป็นต้องคิดใคร่ครวญเพื่อจะได้ประโยชน์จากการอ่านคัมภีร์ไบเบิล?
• การอธิษฐานช่วยให้คุณเข้าใกล้พระยะโฮวาอย่างไร?
• ด้วยการรักษาความประพฤติที่ดี คริสเตียนพิสูจน์ให้เห็นอะไร และการทำอย่างนี้เป็นประโยชน์อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 5]
คุณมีนิสัยในการอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวันไหม?