จงมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการเก็บเกี่ยวที่ยิ่งใหญ่ฝ่ายวิญญาณ
จงมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการเก็บเกี่ยวที่ยิ่งใหญ่ฝ่ายวิญญาณ
“จงหมกมุ่นในการทำงานขององค์พระผู้เป็นเจ้าซึ่งมีให้ทำมากมาย.”—1 โค. 15:58
1. พระเยซูทรงเชิญเหล่าสาวกให้ทำอะไร?
ขณะเดินทางผ่านแคว้นซะมาเรียตอนสิ้นสากลศักราช 30 พระเยซูทรงหยุดพักสั้น ๆ ที่บ่อน้ำแห่งหนึ่งใกล้เมืองซีคาร์. ที่นั่น พระองค์ตรัสกับเหล่าสาวกว่า “เงยหน้ามองดูทุ่งนาเถิด รวงข้าวเหลืองอร่ามพร้อมจะเกี่ยวได้แล้ว.” (โย. 4:35) พระเยซูไม่ได้ตรัสถึงการเกี่ยวจริง ๆ แต่ตรัสถึงการรวบรวมคนที่หัวใจสุจริตซึ่งจะมาเป็นสาวกของพระองค์. คำตรัสของพระองค์บอกเป็นนัย ๆ ว่าควรลงมือเกี่ยวได้แล้ว. มีงานมากมายที่ต้องทำและมีเวลาเหลือเพียงเล็กน้อยที่จะทำงานนี้ให้สำเร็จ!
2, 3. (ก) อะไรบ่งชี้ว่าเรากำลังมีชีวิตอยู่ในฤดูเกี่ยว? (ข) บทความนี้จะพิจารณาอะไร?
2 คำตรัสของพระเยซูเกี่ยวกับการเกี่ยวมีความหมายเป็นพิเศษสำหรับสมัยของเรา. เรามีชีวิตอยู่ในเวลาที่ทุ่งนาแห่งมนุษยชาติในโลก “เหลืองอร่ามพร้อมจะเกี่ยวได้แล้ว.” แต่ละปีได้มีการเชิญหลายล้านคนให้รับเอาความจริงที่ให้ชีวิต และมีสาวกใหม่หลายแสนคนรับบัพติสมา. เรามีสิทธิพิเศษที่จะมีส่วนร่วมในการเกี่ยวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ภายใต้การดูแลของพระยะโฮวาพระเจ้าผู้เป็นเจ้าของงานเกี่ยว. คุณกำลัง “หมกมุ่น” ในงานเกี่ยวนี้อยู่ไหม?—1 โค. 15:58
3 ระหว่างสามปีครึ่งที่รับใช้บนแผ่นดินโลก พระเยซูทรงเตรียมเหล่าสาวกไว้ให้พร้อมสำหรับบทบาทของพวกเขาในฐานะคนงานเกี่ยว. พระเยซูทรงสอนบทเรียนสำคัญหลายอย่างแก่เหล่าสาวก ซึ่งบทความนี้จะพิจารณาสามอย่าง. แต่ละบทเรียนเน้นคุณลักษณะที่มีค่าอย่างยิ่งสำหรับเราขณะที่เราพยายามทำอย่างเต็มที่ในการรวบรวมสาวกในสมัยนี้. ให้เรามาพิจารณาคุณลักษณะเหล่านี้ทีละอย่าง.
จำเป็นต้องมีความถ่อมใจ
4. พระเยซูทรงอธิบายให้เห็นความสำคัญของความถ่อมใจอย่างไร?
4 ขอให้นึกภาพฉากเหตุการณ์ต่อไปนี้: เหล่าสาวกเพิ่งโต้เถียงกันว่าใครเป็นใหญ่ที่สุด. ความรู้สึกไม่ไว้ใจกันและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันคงจะยังเห็นได้อยู่จากสีหน้าของพวกเขา. ดังนั้น พระเยซูทรงเรียกเด็กเล็กคนหนึ่งมายืนอยู่กลางพวกเขา. โดยมุ่งความสนใจไปที่เด็กตัวเล็ก ๆ คนนี้ พระองค์ตรัสว่า “ผู้ที่ถ่อมตัวลงเหมือนเด็กเล็ก ๆ คนนี้จะเป็นใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักรสวรรค์.” (อ่านมัดธาย 18:1-4) แทนที่จะคิดอย่างโลกซึ่งวัดคุณค่าของคนเราโดยดูที่อำนาจ, ความมั่งคั่ง, และยศศักดิ์ เหล่าสาวกต้องเข้าใจว่าถ้าพวกเขาต้องการเป็นใหญ่ พวกเขาต้องเป็นคน “ถ่อม” ในสายตาของคนอื่น. พระยะโฮวาจะทรงอวยพรและใช้พวกเขาก็ต่อเมื่อพวกเขาแสดงความถ่อมใจอย่างแท้จริง.
5, 6. เหตุใดคุณต้องมีความถ่อมใจเพื่อจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในงานเกี่ยว? จงยกตัวอย่าง.
5 จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ผู้คนเป็นอันมากในโลกทุ่มเทชีวิตเพื่อแสวงหาอำนาจ, ความมั่งคั่ง, และยศศักดิ์. ผลก็คือ พวกเขาแทบไม่มีเวลาหรือไม่มีเวลาเลยที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับพระเจ้าและรับใช้พระองค์. (มัด. 13:22) ตรงกันข้าม ประชาชนของพระยะโฮวามีความสุขในการเป็นคน “ถ่อม” ในสายตาของคนอื่นเพื่อจะได้รับพระพรและความพอพระทัยจากเจ้าของงานเกี่ยว.—มัด. 6:24; 2 โค. 11:7; ฟิลิป. 3:8
6 ขอให้พิจารณาตัวอย่างของฟรานซิสโก ซึ่งรับใช้เป็นผู้ปกครองในทวีปอเมริกาใต้. เมื่อเป็นหนุ่ม เขาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นไพโอเนียร์. เขาเล่าว่า “ในเวลาต่อมาเมื่อผมหมั้นแล้ว ผมสามารถหางานหนึ่งได้ซึ่งจะทำให้ผมกับภรรยามีความมั่นคงมากขึ้นทางการเงิน. แต่แทนที่จะ
ทำงานนั้น เราตัดสินใจว่าจะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและรับใช้เต็มเวลาด้วยกันต่อไป. ต่อมา เมื่อเรามีลูกข้อท้าทายก็เพิ่มขึ้น. แต่พระยะโฮวาทรงช่วยเราให้รักษาความตั้งใจของเรา.” ฟรานซิสโกกล่าวตอนท้ายว่า “ผมได้รับสิทธิพิเศษรับใช้เป็นผู้ปกครองมานานกว่า 30 ปีแล้ว และยังได้รับงานมอบหมายพิเศษอื่น ๆ อีกหลายอย่างด้วย. เราไม่เคยเสียใจเลยที่ได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย.”7. คุณพยายามนำคำแนะนำในโรม 12:16 ไปใช้อย่างไร?
7 ถ้าคุณปฏิเสธ “สิ่งที่สูงส่ง” ของโลกนี้และยอมให้ ‘ความถ่อมใจ’ นำชีวิตของคุณ คุณเองก็คาดหวังได้ว่าจะได้รับพระพรและสิทธิพิเศษต่าง ๆ หลายอย่างเพิ่มขึ้นในงานเกี่ยว.—โรม 12:16; มัด. 4:19, 20; ลูกา 18:28-30
ความขยันขันแข็งทำให้ได้รับพระพร
8, 9. (ก) จงสรุปใจความของอุทาหรณ์สอนใจของพระเยซูเกี่ยวกับเงินตะลันต์. (ข) อุทาหรณ์สอนใจนี้อาจให้กำลังใจใครเป็นพิเศษ?
8 คุณลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่เราจำเป็นต้องมีเพื่อจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในงานเกี่ยวก็คือความขยันขันแข็ง. พระเยซูทรงอธิบายเรื่องนี้โดยยกอุทาหรณ์สอนใจเกี่ยวกับเงินตะลันต์. * อุทาหรณ์สอนใจดังกล่าวเป็นเรื่องของชายคนหนึ่งซึ่งก่อนจะเดินทางไปต่างแดนได้มอบทรัพย์สมบัติให้ทาสสามคนดูแล. ทาสคนแรกและคนที่สองได้รับเงินห้าตะลันต์และสองตะลันต์ตามลำดับ; ส่วนคนที่สามได้รับหนึ่งตะลันต์. หลังจากที่นายจากไปแล้ว ทาสสองคนแรกก็ใช้เงินที่ได้รับนั้น “ค้าขาย” ทันทีอย่างขยันขันแข็ง. แต่ทาสคนที่สามนั้น “เกียจคร้าน.” เขาฝังเงินตะลันต์ไว้ในดิน. เมื่อนายกลับมาก็ให้รางวัลแก่ทาสสองคนแรกโดยแต่งตั้งพวกเขาให้ดูแล “ของจำนวนมาก.” นายริบเงินตะลันต์ที่ให้ทาสคนที่สามคืนมาและขับไล่ทาสนั้นออกจากเรือนของเขา.—มัด. 25:14-30
9 ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณคงปรารถนาจะเลียนแบบทาสที่ขยันขันแข็งในอุทาหรณ์สอนใจของพระเยซูและมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่เท่าที่ทำได้ในงานสอนคนให้เป็นสาวก. แต่จะว่าอย่างไรถ้าสถานการณ์ต่าง ๆ ในตอนนี้เป็นเหตุให้คุณทำได้น้อยลงมาก? อาจเป็นได้ที่ความลำบากทางเศรษฐกิจทำให้คุณต้องทำงานหลายชั่วโมงเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว. หรือบางทีอายุที่มากขึ้นอาจทำให้สุขภาพของคุณไม่ดีและไม่มีกำลังวังชาเหมือนแต่ก่อน. ถ้าเป็นเช่นนั้น อุทาหรณ์สอนใจเกี่ยวกับเงินตะลันต์มีแนวคิดที่ให้กำลังใจคุณ.
10. นายในอุทาหรณ์สอนใจเกี่ยวกับเงินตะลันต์แสดงความมีเหตุผลอย่างไร และเหตุใดเรื่องนี้จึงทำให้คุณมีกำลังใจ?
10 โปรดสังเกตว่านายในอุทาหรณ์สอนใจนี้รู้ว่าทาสแต่ละคนมีความสามารถต่างกัน. นายแสดงให้เห็นอย่างนั้นเมื่อมอบเงินตะลันต์ให้ “ตามความสามารถของแต่ละคน.” (มัด. 25:15) ดังที่คาดหมายไว้ ทาสคนแรกเกิดผลมากกว่าทาสคนที่สองมาก. อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่านายเห็นคุณค่าที่ทาสทั้งสองได้ออกแรงอย่างขยันขันแข็งโดยกล่าวกับทาสทั้งสองว่าเขาเป็นทาส “ที่ดีและสัตย์ซื่อ” และให้ทั้งสองได้รับรางวัลเหมือนกัน. (มัด. 25:21, 23) คล้ายกัน เจ้าของงานเกี่ยว คือพระยะโฮวาพระเจ้า ทรงรู้ว่าสภาพการณ์ของตัวคุณเองส่งผลกระทบต่อสิ่งที่คุณสามารถทำได้ในการรับใช้พระองค์. พระองค์จะทรงรับรู้ถึงความพยายามอย่างสุดชีวิตของคุณในการรับใช้พระองค์ และจะทรงอวยพรคุณอย่างที่คุณสมควรจะได้รับอย่างแน่นอน.—มโก. 14:3-9; อ่านลูกา 21:1-4
11. จงยกตัวอย่างที่แสดงว่าการรับใช้อย่างขยันขันแข็งแม้เผชิญสภาพการณ์ที่ยากลำบากอาจทำให้ได้รับพระพรอย่างอุดม.
11 ตัวอย่างของเซลมีรา พี่น้องหญิงซึ่งอยู่ที่ประเทศบราซิล แสดงให้เห็นว่าเพื่อที่เราจะขยันขันแข็งในการรับใช้พระเจ้าได้นั้นไม่จำเป็นต้องรอให้สภาพการณ์ในชีวิตดีพร้อมเสียก่อน. เมื่อยี่สิบปีก่อน สามีของเซลมีราถูกโจรที่มาปล้นยิงตาย ทิ้งลูกเล็ก ๆ สามคนไว้ให้เธอเลี้ยงดูตามลำพัง. เธอทำงานเป็นแม่บ้านวันละหลายชั่วโมงและต้องเดินทางด้วยความเหนื่อยล้าโดยรถประจำทางที่มีผู้โดยสารอัดแน่น. แม้ว่าลำบากอย่างนี้ เธอจัดแจงกิจธุระต่าง ๆ เพื่อจะรับใช้เป็นไพโอเนียร์ประจำได้. ต่อมา ลูกสาวสองคนจากทั้งหมดสามคนร่วมรับใช้เป็นไพโอเนียร์ด้วยกันกับเธอ. เธอเล่าว่า “ตลอดหลายปีที่ผ่านไป มีมากกว่า 20 คนที่ดิฉันได้นำการศึกษาและพวกเขาได้กลายมาเป็นสมาชิก ‘ครอบครัว’ ของดิฉัน. ดิฉันได้รับมิตรภาพและความรักจากพวกเขาจนถึงทุกวันนี้. นั่นเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งซึ่งเงินซื้อไม่ได้.” เจ้าของงานเกี่ยวได้ประทานรางวัลแก่เซลมีราอย่างแน่นอนเพราะความขยันขันแข็งของเธอ!
12. เราจะแสดงอย่างไรว่าเราขยันขันแข็งในงานประกาศ?
12 ถ้าสภาพการณ์ในชีวิตเวลานี้ทำให้คุณมีเวลาจำกัดในการทำงานรับใช้ คุณก็ยังสามารถพยายามมีส่วนร่วมมากขึ้นได้ในงานเกี่ยวโดยการทำงานรับใช้ให้เกิดผลมากขึ้น. เมื่อคุณตั้งใจทำตามข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากการประชุมการรับใช้ในแต่ละสัปดาห์ คุณก็จะพัฒนาความสามารถในการประกาศและได้ลองใช้วิธีการประกาศแบบใหม่ ๆ. (2 ติโม. 2:15) นอกจากนั้น ถ้าเป็นได้ คุณอาจปรับเปลี่ยนตารางเวลาเสียใหม่หรือสละกิจกรรมบางอย่างที่ไม่สำคัญเพื่อจะสามารถสนับสนุนเขตประกาศที่ประชาคมจัดไว้เป็นประจำ.—โกโล. 4:5
13. ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ช่วยเราให้พัฒนาและรักษาความขยันขันแข็งคืออะไร?
13 จำไว้เสมอว่าความขยันขันแข็งเกิดมาจากหัวใจที่สำนึกบุญคุณ. (เพลง. 40:8) ทาสคนที่สามในอุทาหรณ์สอนใจของพระเยซูกลัวนาย โดยมองว่านายเป็นคนเข้มงวดและขาดเหตุผล. ผลก็คือ ชายคนนี้เอาเงินตะลันต์ที่ได้ไปฝังไว้แทนที่จะใช้เงินนี้เพื่อเพิ่มพูนทรัพย์สมบัติของนาย. เพื่อจะไม่เป็นคนที่เพิกเฉยละเลยอย่างนี้ เราต้องพัฒนาและรักษาสายสัมพันธ์อันอบอุ่นกับพระยะโฮวาผู้เป็นเจ้าของงานเกี่ยว. จงจัดเวลาไว้เพื่อศึกษาและใคร่ครวญคุณลักษณะที่น่าดึงดูดใจของพระองค์ เช่น ความรัก, ความอดทน, และความเมตตาของพระองค์. โดยวิธีนี้ หัวใจจะกระตุ้นคุณให้ทำงานรับใช้อย่างดีที่สุด.—ลูกา 6:45; ฟิลิป. 1:9-11
“เจ้าทั้งหลายต้องเป็นคนบริสุทธิ์”
14. คนที่ต้องการเป็นคนงานเกี่ยวต้องบรรลุข้อเรียกร้องสำคัญอะไร?
14 อัครสาวกเปโตรกล่าวถึงพระประสงค์ที่บอกไว้ชัดเจนของพระเจ้าสำหรับผู้รับใช้ของพระองค์บนแผ่นดินโลก โดยอ้างจากพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูว่า “ท่านทั้งหลายจงเป็นคนบริสุทธิ์ในการประพฤติทั้งสิ้นตามอย่างพระองค์ผู้บริสุทธิ์ผู้ทรงเรียกพวกท่านนั้น เพราะมีคำเขียนไว้ว่า ‘เจ้าทั้งหลายต้องเป็นคนบริสุทธิ์ เพราะเราเป็นผู้บริสุทธิ์.’ ” (1 เป. 1:15, 16; เลวี. 19:2; บัญ. 18:13) คำกล่าวนี้เน้นว่าคนงานเกี่ยวต้องสะอาดด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณ. เราสามารถบรรลุข้อเรียกร้องสำคัญนั้นได้โดยทำตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อจะได้รับการชำระล้างให้สะอาด. เราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร? โดยอาศัยความช่วยเหลือจากพระคำแห่งความจริงของพระเจ้า.
15. ความจริงแห่งพระคำของพระเจ้ามีพลังเช่นไรที่เป็นประโยชน์สำหรับเรา?
15 พระคำแห่งความจริงของพระเจ้าเป็นเหมือนกับน้ำที่ชำระล้างให้สะอาด. ตัวอย่างเช่น อัครสาวกเปาโลเขียนว่าประชาคมแห่งคริสเตียนผู้ถูกเจิมมีฐานะที่สะอาดในสายเอเฟ. 5:25-27) ก่อนหน้านั้น พระเยซูก็ตรัสถึงพระคำของพระเจ้าที่พระองค์ทรงประกาศว่ามีพลังในการชำระล้าง. พระเยซูตรัสกับเหล่าสาวกว่า “เจ้าทั้งหลายถูกชำระให้สะอาดแล้วด้วยถ้อยคำที่เรากล่าวกับพวกเจ้า.” (โย. 15:3) ดังนั้น ความจริงแห่งพระคำของพระเจ้ามีพลังในการชำระให้สะอาดด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณ. ต่อเมื่อเรายอมให้ความจริงของพระเจ้าชำระเราโดยวิธีนี้เท่านั้น พระองค์จึงจะทรงยอมรับการนมัสการของเรา.
พระเนตรของพระเจ้า ดุจเจ้าสาวที่บริสุทธิ์สำหรับพระคริสต์ ผู้ทรงชำระประชาคมนี้ให้สะอาด “โดยทรงใช้น้ำ คือพระคำ . . . [เพื่อ] จะเป็นประชาคมที่บริสุทธิ์ปราศจากตำหนิ.” (16. เราจะรักษาตัวเราเองให้สะอาดทางศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณได้อย่างไร?
16 ด้วยเหตุนั้น เพื่อจะเป็นคนงานเกี่ยวของพระเจ้า ก่อนอื่นเราต้องขจัดกิจปฏิบัติทุกอย่างที่เป็นมลทินทางศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณออกไปจากชีวิตเรา. เพื่อจะมีคุณสมบัติสำหรับสิทธิพิเศษในการเป็นคนงานเกี่ยวต่อ ๆ ไป เราต้องเป็นแบบอย่างในการสนับสนุนมาตรฐานสูงด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณของพระยะโฮวา. (อ่าน 1 เปโตร 1:14-16) เช่นเดียวกับที่เราเอาใจใส่สุขอนามัยของเราเองอยู่เสมอ เราต้องยอมรับอำนาจชักนำจากพระคำแห่งความจริงของพระเจ้าที่ทำให้เราบริสุทธิ์สะอาดเป็นประจำ. การทำอย่างนี้เกี่ยวข้องกับการอ่านคัมภีร์ไบเบิลและการเข้าร่วมการประชุมคริสเตียน. นอกจากนั้น นี่ยังหมายถึงการพยายามอย่างจริงใจที่จะนำเอาข้อเตือนใจของพระเจ้ามาใช้ในชีวิตของเราด้วย. การทำอย่างนั้นจะทำให้เราสามารถต่อสู้กับแนวโน้มที่ผิดบาปของตัวเราเองและต้านทานอิทธิพลที่ทำให้แปดเปื้อนของโลกนี้. (เพลง. 119:9; ยโก. 1:21-25) เป็นเรื่องที่ให้กำลังใจสักเพียงไรที่รู้ว่าโดยอาศัยความช่วยเหลือจากพระคำแห่งความจริงของพระเจ้า เราสามารถได้รับการ ‘ชำระให้สะอาด’ แม้แต่บาปที่ร้ายแรง!—1 โค. 6:9-11
17. เพื่อจะรักษาตัวให้สะอาด เราต้องเอาใจใส่คำแนะนำอะไรในคัมภีร์ไบเบิล?
17 คุณยินดีให้พระคำแห่งความจริงของพระเจ้ามีอำนาจชักนำชีวิตคุณให้สะอาดไหม? ตัวอย่างเช่น คุณมีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อคุณตื่นตัวต่ออันตรายของความบันเทิงที่เสื่อมทรามของโลกนี้? (เพลง. 101:3) คุณหลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมที่ไม่จำเป็นกับเพื่อนนักเรียนและเพื่อนร่วมงานซึ่งไม่มีความเชื่อเช่นเดียวกับคุณไหม? (1 โค. 15:33) คุณพยายามอย่างจริงใจไหมที่จะเอาชนะข้ออ่อนแอส่วนตัวที่อาจทำให้คุณไม่บริสุทธิ์สะอาดในสายพระเนตรของพระยะโฮวา? (โกโล. 3:5) คุณอยู่ต่างหากจากความขัดแย้งทางการเมืองของโลกนี้และน้ำใจชาตินิยมซึ่งแทรกซึมอยู่ในกีฬาหลายอย่างที่แข่งขันกันไหม?—ยโก. 4:4
18. การเป็นคนสะอาดทางศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณจะช่วยเราอย่างไรให้เป็นคนงานเกี่ยวที่เกิดผล?
18 การที่คุณทำตามอย่างซื่อสัตย์ในเรื่องเหล่านั้นจะก่อผลที่ดีเยี่ยม. พระเยซูทรงเปรียบเหล่าสาวกผู้ถูกเจิมของพระองค์กับกิ่งของเถาองุ่นโดยตรัสว่า “ทุกกิ่งที่แตกออกจากเรา ถ้าไม่เกิดผล [พระบิดาของเรา] จะทรงตัดทิ้งเสีย ส่วนทุกกิ่งที่เกิดผลพระองค์จะทรงตัดแต่งเพื่อให้เกิดผลมากขึ้น.” (โย. 15:2) เมื่อคุณยอมรับเอาน้ำแห่งความจริงในคัมภีร์ไบเบิลที่ทำให้คุณสะอาด คุณก็จะเกิดผลมากยิ่งขึ้นไปอีก.
พระพรทั้งในขณะนี้และในอนาคต
19. เหล่าสาวกของพระเยซูได้รับพระพรอย่างไรสำหรับความพยายามของพวกเขาในฐานะคนงานเกี่ยว?
19 ในเวลาต่อมา เหล่าสาวกผู้ซื่อสัตย์ที่ตอบรับการฝึกอบรมของพระเยซูได้รับอำนาจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ในวันเพนเทคอสต์ สากลศักราช 33 เพื่อเป็นพยาน “จนถึงกิจ. 1:8) พวกเขาได้รับใช้ต่อไปในฐานะสมาชิกคณะกรรมการปกครอง, มิชชันนารี, และผู้ดูแลเดินทาง และพวกเขามีบทบาทสำคัญในการประกาศข่าวดี “ท่ามกลางมนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้ฟ้า.” (โกโล. 1:23) พวกเขาได้รับพระพรและทำให้คนอื่นได้รับความยินดีจริง ๆ!
ที่สุดปลายแผ่นดินโลก.” (20. (ก) คุณได้รับพระพรอะไรจากการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในงานเกี่ยวฝ่ายวิญญาณ? (ข) คุณตั้งใจจะทำอะไร?
20 ใช่แล้ว โดยแสดงความถ่อมใจ, ขยันขันแข็ง, และสนับสนุนมาตรฐานอันสูงส่งในพระคำของพระเจ้า เราก็จะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิภาพต่อ ๆ ไปในการเก็บเกี่ยวที่ยิ่งใหญ่ฝ่ายวิญญาณซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้. แม้ว่าหลายคนเจ็บปวดและว้าวุ่นใจซึ่งเกิดจากรูปแบบชีวิตของโลกนี้ที่นิยมวัตถุและมุ่งแสวงหาความสนุกเพลิดเพลิน แต่เรามีความยินดีและความพึงพอใจในชีวิตอย่างแท้จริง. (เพลง. 126:6) ที่สำคัญที่สุดคือ ‘งานหนักที่เราทำซึ่งเกี่ยวเนื่องกับองค์พระผู้เป็นเจ้าจะไม่ไร้ประโยชน์.’ (1 โค. 15:58) พระยะโฮวาพระเจ้าผู้เป็นเจ้าของงานเกี่ยวจะประทานบำเหน็จแก่เราตลอดไปสำหรับ ‘การงานของเราและความรักที่เราแสดงต่อพระนามของพระองค์.’—ฮีบรู 6:10-12
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 8 ในเบื้องต้น อุทาหรณ์สอนใจเกี่ยวกับเงินตะลันต์นี้เกี่ยวข้องกับวิธีที่พระเยซูทรงปฏิบัติต่อเหล่าสาวกผู้ถูกเจิมของพระองค์ แต่ก็มีหลักการที่ใช้ได้กับคริสเตียนทุกคน.
คุณจำได้ไหม?
ขณะที่คุณพยายามมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในงานเกี่ยว . . .
• เหตุใดจึงสำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะต้องถ่อมใจ?
• คุณจะพัฒนาและรักษาความขยันขันแข็งได้อย่างไร?
• เหตุใดจึงสำคัญที่คุณจะต้องรักษาตัวให้สะอาดทางศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 17]
ความถ่อมใจสามารถช่วยเราให้ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายซึ่งเน้นเรื่องผลประโยชน์ของราชอาณาจักร