“อย่ากลัวเลย เราจะช่วยเจ้า”
“อย่ากลัวเลย เราจะช่วยเจ้า”
พระเยซูทรงเตือนเหล่าสาวกไว้ว่า “พญามารยังจะจับพวกเจ้าบางคนขังคุกต่อไปเพื่อให้พวกเจ้าถูกทดสอบอย่างเต็มที่.” อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเตือนอย่างนั้นพระเยซูตรัสว่า “อย่ากลัวสิ่งที่เจ้าจะต้องทนรับ.” เนื่องจากซาตานยังคงใช้การคุกคามด้วยการจับขังคุกเป็นวิธียับยั้งการประกาศเรื่องราชอาณาจักร จึงอาจเป็นไปได้ที่บางรัฐบาลจะข่มเหงคริสเตียนแท้. (วิ. 2:10; 12:17) ดังนั้น อะไรจะช่วยเราให้พร้อมจะรับมือแผนของซาตานและ ‘ไม่กลัว’ ดังที่พระเยซูทรงเตือนเรา?
แน่นอน พวกเราส่วนใหญ่เคยรู้สึกกลัวไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง. ถึงกระนั้น พระคำของพระเจ้ารับรองกับเราว่าด้วยความช่วยเหลือจากพระยะโฮวาเราสามารถเอาชนะความกลัวได้. โดยวิธีใด? วิธีหนึ่งที่พระยะโฮวาทรงช่วยเราให้พร้อมรับมือกับการต่อต้านก็คือโดยบอกให้เราทราบกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ซาตานและตัวแทนของมันใช้. (2 โค. 2:11) เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่างว่านี่เป็นวิธีที่พระยะโฮวาทรงช่วยเรา ขอให้พิจารณาเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยคัมภีร์ไบเบิล. นอกจากนั้น เราจะพิจารณาตัวอย่างในสมัยปัจจุบันของเพื่อนร่วมความเชื่อที่ซื่อสัตย์ของเราบางคนที่ “ยืนหยัดต้านทานกลอุบายของพญามารได้.”—เอเฟ. 6:11-13
กษัตริย์ผู้เกรงกลัวพระเจ้าเผชิญหน้ากับผู้ปกครองที่ชั่วร้าย
ในศตวรรษที่แปดก่อนสากลศักราช ซันเฮริบกษัตริย์ที่ชั่วร้ายแห่งอัสซีเรียสามารถพิชิตชาติต่าง ๆ ชาติแล้วชาติเล่า. ด้วยความมั่นใจเต็มที่ เขาจึงมุ่งเป้ามายังประชาชนของพระยะโฮวาและกรุงเยรูซาเลม ซึ่งฮิศคียาห์ผู้เกรงกลัวพระเจ้าปกครองเป็นกษัตริย์. (2 กษัต. 18:1-3, 13) ไม่ต้องสงสัยเลยว่าซาตานฉวยประโยชน์จากเหตุการณ์นี้ โดยกระตุ้นซันเฮริบให้ดำเนินการตามแผนของมัน เพื่อจะทำลายการนมัสการแท้ให้สูญสิ้นไปจากแผ่นดินโลก.—เย. 3:15
ซันเฮริบส่งคณะผู้แทนไปที่กรุงเยรูซาเลมเพื่อสั่งให้กรุงนี้ยอมแพ้แต่โดยดี. หนึ่งในคณะผู้แทนนี้คือรับซาเค ซึ่งทำหน้าที่เป็นโฆษกเอกของกษัตริย์. * (2 กษัต. 18:17) เป้าหมายของรับซาเคก็คือการขู่ขวัญชาวยิวและทำให้พวกเขายอมแพ้โดยไม่ต้องสู้รบกัน. รับซาเคใช้วิธีอะไรเพื่อทำให้ชาวยิวกลัว?
ซื่อสัตย์แม้ถูกตัดขาด
รับซาเคบอกกับตัวแทนของฮิศคียาห์ว่า “มหากษัตริย์คือกษัตริย์อะซูริยะได้ตรัสดังนี้ว่า ‘เจ้าไว้ใจในผู้ใดเล่า? . . . นี่แน่ะ, บัดนี้เจ้าได้ไว้ใจในไม้เท้าซึ่งเป็นเหมือนไม้อ้อช้ำ, คือประเทศอายฆุบโตนั้น, ซึ่งถ้าผู้ใดจะพิงไม้เท้านั้นไม้เท้าจะแทงมือทะลุ.’ ” (2 กษัต. 18:19, 21) ข้อกล่าวหาดังกล่าวของรับซาเคไม่เป็นความจริง เพราะฮิศคียาห์ไม่ได้เป็น พันธมิตรกับอียิปต์. กระนั้น ข้อกล่าวหานี้เน้นถึงสิ่งที่รับซาเคต้องการให้ชาวยิวจดจำไว้ ที่ว่า ‘ไม่มีใครจะช่วยพวกเจ้าได้. พวกเจ้าถูกตัดขาดอยู่ตามลำพังแล้ว.’
ในสมัยปัจจุบัน ผู้ต่อต้านการนมัสการแท้ใช้การขู่คล้าย ๆ กันนั้นเพื่อทำให้คริสเตียนแท้กลัว. พี่น้องหญิงคนหนึ่ง ซึ่งถูกคุมขังเพราะความเชื่อและถูกตัดขาดจากเพื่อนร่วมความเชื่อเป็นเวลาหลายปี ในภายหลังได้เล่าถึงสิ่งที่ช่วยให้เธอไม่พ่ายแพ้แก่ความกลัว. เธอกล่าวว่า “การอธิษฐานช่วยให้ดิฉันใกล้ชิดพระยะโฮวา . . . ดิฉันจำคำรับรองที่ยะซายา 66:2 ได้ที่ว่า พระเจ้าทรงเอาใจใส่ ‘คนที่ถ่อมใจลงและมีจิตต์ฟกช้ำ.’ ข้อพระคัมภีร์นี้ทำให้ดิฉันมีกำลังและช่วยปลอบโยนดิฉันอย่างมากมาโดยตลอด.” คล้ายกัน พี่น้องชายคนหนึ่งซึ่งถูกขังเดี่ยวอยู่หลายปีกล่าวว่า “ผมได้มารู้ว่าห้องขังสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อาจกว้างขวางราวกับเอกภพได้เมื่อเรามีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระเจ้า.” การมีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระยะโฮวาทำให้คริสเตียนทั้งสองคนนี้มีกำลังที่จำเป็นเพื่อจะรับมือได้กับการถูกตัดขาดจากคนอื่น ๆ. (เพลง. 9:9, 10) พวกผู้ข่มเหงอาจแยกพวกเขาจากครอบครัว, เพื่อน ๆ, และเพื่อนร่วมความเชื่อได้ แต่พยานฯ ที่ถูกคุมขังรู้ว่าพวกผู้ต่อต้านไม่มีทางแยกพวกเขาจากพระยะโฮวาได้.—โรม 8:35-39
ดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญจริง ๆ ที่เราจะใช้ทุกโอกาสที่มีเพื่อเสริมสายสัมพันธ์ของเรากับพระยะโฮวาให้เข้มแข็ง! (ยโก. 4:8) เราควรถามตัวเองเป็นประจำว่า ‘พระยะโฮวาทรงอยู่ใกล้ชิดและสำคัญสำหรับฉันขนาดไหน? พระคำของพระองค์มีผลกระทบจริง ๆ ไหมต่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวันของฉัน ไม่ว่าจะเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็ก?’ (ลูกา 16:10) ถ้าเราพยายามเต็มที่เพื่อรักษาสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระเจ้า ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะต้องกลัว. ผู้พยากรณ์ยิระมะยาห์กล่าวแทนชาวยิวที่จิตใจชอกช้ำว่า “โอ้พระยะโฮวา, ข้าพเจ้าได้ร้องออกมาแต่คุกมืดเรียกพระนามของพระองค์ . . . พระองค์ได้เคยเขยิบเข้ามาใกล้ในวันที่ข้าพเจ้าได้ร้องเรียกพระองค์. พระองค์ได้เคยตรัสว่า ‘ไม่ต้องกลัว.’ ”—ทุกข์. 3:55-57
การเพาะความสงสัยไม่ประสบผลสำเร็จ
รับซาเคชักเหตุผลอย่างมีเล่ห์เหลี่ยมเพื่อทำให้เกิดความสงสัย. เขากล่าวว่า “ก็ปูชนียสถานสูงและแท่นบูชาของ [พระยะโฮวา] มิใช่หรือที่เฮเซคียาห์รื้อทิ้งเสียแล้ว? . . . พระเจ้าตรัสแก่ข้าว่า ‘จงขึ้นไปต่อสู้กับแผ่นดินนี้และทำลายเสีย.’ ” (2 กษัต. 18:22, 25, ฉบับ R73) โดยกล่าวอย่างนั้น รับซาเคอ้างว่าพระยะโฮวาจะไม่ช่วยประชาชนของพระองค์เพราะพระองค์ไม่พอพระทัยพวกเขา. แต่จริง ๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้นเลย. พระยะโฮวาทรงพอพระทัยฮิศคียาห์และชาวยิวที่ได้กลับมานมัสการพระองค์อย่างถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง.—2 กษัต. 18:3-7
ในปัจจุบัน พวกผู้ข่มเหงที่เจ้าเล่ห์อาจใช้ข้อมูลที่เป็นความจริงอยู่บ้างเพื่อให้มีจุดที่เห็นพ้องกัน แต่พวกเขาผสมเรื่องเท็จอย่างแยบยลเข้าไปในความจริงนั้นด้วย โดยหวังจะทำให้เกิดความสงสัย. ตัวอย่างเช่น บางครั้งพวกเขาบอกกับพี่น้องที่ติดคุกว่าพี่น้องที่เป็นผู้นำหน้าในประเทศของพวกเขาได้ละทิ้งความเชื่อแล้ว และด้วยเหตุนั้นพวกเขาก็ย่อมจะละทิ้งความเชื่อของตนได้เหมือนกัน. อย่างไรก็ตาม การชักเหตุผลเช่นนั้นไม่สามารถทำให้คริสเตียนที่มีความสังเกตเข้าใจเกิดความสงสัยได้.
ขอให้พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับพี่น้องหญิงคนหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2. ขณะอยู่ในคุก มีคนนำเอาเอกสารมาให้เธอดูซึ่งแสดงว่าพี่น้องชายคนหนึ่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในองค์การได้ละทิ้งความเชื่อไปแล้ว. เจ้าหน้าที่สอบสวนถามว่าเธอศรัทธาในตัวพยานฯ คนนั้นไหม. พี่น้องหญิงคนนี้ตอบว่า “[เขา] เป็นเพียงมนุษย์ไม่สมบูรณ์คนหนึ่ง.” เธอยังเพลง. 146:3
พูดเสริมอีกว่าตราบใดที่เขาปฏิบัติตามหลักการในคัมภีร์ไบเบิล พระเจ้าก็จะทรงใช้เขา. “แต่เพราะคำแถลงของเขาในเอกสารนั้นผิดไปจากที่พระคัมภีร์บอก เขาจึงไม่ใช่พี่น้องของดิฉันอีกต่อไป.” พี่น้องหญิงที่ซื่อสัตย์คนนี้ปฏิบัติอย่างฉลาดสุขุมตามคำเตือนในคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “ท่านทั้งหลายอย่าวางใจในพวกเจ้านาย, หรือในเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ช่วยให้รอดไม่ได้.”—การมีความรู้ถ่องแท้ในพระคำของพระเจ้าและใช้คำแนะนำของพระคัมภีร์จะช่วยป้องกันเราไว้จากการชักเหตุผลอย่างผิด ๆ ที่อาจบั่นทอนความตั้งใจของเราที่จะอดทน. (เอเฟ. 4:13, 14; ฮีบรู 6:19) ดังนั้น เพื่อเราจะมีความคิดที่แจ่มชัดเมื่ออยู่ในภาวะที่กดดัน เราต้องจัดให้การอ่านคัมภีร์ไบเบิลและการศึกษาส่วนตัวมีความสำคัญเป็นอันดับแรก. (ฮีบรู 4:12) ตอนนี้จึงเป็นเวลาที่เราต้องมีความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและเสริมความเชื่อของเราให้เข้มแข็ง. พี่น้องชายคนหนึ่งซึ่งต้องอดทนกับการถูกขังเดี่ยวเป็นเวลาหลายปีกล่าวว่า “ผมอยากสนับสนุนทุกคนให้เห็นคุณค่าอาหารฝ่ายวิญญาณทุกอย่าง ที่เราได้รับ เพราะเราไม่รู้หรอกว่าเราจะต้องใช้ความรู้เหล่านั้นเมื่อไรในวันหน้า.” ที่จริง ถ้าเราศึกษาอย่างถี่ถ้วนในพระคำของพระเจ้าและหนังสือต่าง ๆ ที่ชนชั้นทาสจัดให้ในตอนนี้ เมื่อถึงช่วงเวลาที่วิกฤติในชีวิต พระวิญญาณบริสุทธิ์จะ “ช่วย [พวกเรา] ให้ระลึกถึง” สิ่งที่เราได้เรียนรู้แล้ว.—โย. 14:26
ได้รับการปกป้องจากการข่มขู่
รับซาเคพยายามขู่ชาวยิวให้กลัว. เขากล่าวว่า “มาทำสัญญากันกับพระราชาแห่งอัสซีเรียนายของข้าว่า เราจะให้ม้าสองพันตัวแก่เจ้าถ้าฝ่ายเจ้าหาคนขี่ม้าเหล่านั้นได้ แล้วอย่างนั้นเจ้าจะขับไล่นายกองแต่เพียงคนเดียวในหมู่ข้าราชการผู้น้อยที่สุดของนายของเราอย่างไรได้?” (2 กษัต. 18:23, 24, ฉบับ R73) เมื่อพิจารณาจากมุมมองของมนุษย์ ฮิศคียาห์และประชาชนของท่านไม่มีทางสู้กองทัพอันเกรียงไกรของอัสซีเรียได้เลย.
พวกผู้ข่มเหงในสมัยปัจจุบันก็อาจดูมีอำนาจมากด้วย โดยเฉพาะเมื่อได้รับการหนุนหลังอย่างเต็มที่จากอำนาจรัฐ. เป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอนในกรณีของพวกนาซีซึ่งเป็นผู้ข่มเหงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2. พวกเขาพยายามข่มขู่ผู้รับใช้ของพระเจ้าจำนวนมาก. พี่น้องชายคนหนึ่ง ซึ่งติดคุกอยู่หลายปี เล่าให้ฟังในภายหลังว่าเขาถูกขู่อย่างไร. ในโอกาสหนึ่ง เจ้าหน้าที่ถามเขาว่า “แกเห็นแล้วใช่ไหมว่าน้องชายของแกถูกยิงตายไปแล้ว? แกคงรู้แล้วใช่ไหมว่าควรทำยังไง?” พี่น้องคนนี้ตอบว่า “ผมเป็นพยานพระยะโฮวาและผมจะเป็นต่อไป.” เจ้าหน้าที่ขู่ว่า “ถ้าอย่างนั้น แกคือคนต่อไปที่จะถูกยิง.” อย่างไรก็ตาม พี่น้องของเรายืนหยัดมั่นคง และศัตรูจึงเลิกล้มความตั้งใจและไม่พยายามจะขู่เขาอีกต่อไป. อะไรช่วยให้เขารับมือได้กับการถูกข่มขู่เช่นนั้น? เขาตอบว่า “ผมไว้วางใจในพระนามพระยะโฮวา.”—สุภา. 18:10
โดยมีความเชื่อเต็มเปี่ยมในพระยะโฮวา เราถือโล่ใหญ่ที่ปกป้องเราไว้จากทุกสิ่งที่ซาตานใช้เพื่อทำให้เราได้รับผลเสียหายฝ่ายวิญญาณ. (เอเฟ. 6:16) ฉะนั้น เราควรทูลอธิษฐานถึงพระยะโฮวาขอพระองค์ช่วยให้เรามีความเชื่อที่เข้มแข็ง. (ลูกา 17:5) เรายังจำเป็นต้องใช้สิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความเชื่อซึ่งชนชั้นทาสสัตย์ซื่อจัดให้เรา. เมื่อถูกข่มขู่ เราได้รับการเสริมกำลังเมื่อนึกถึงคำรับรองที่พระยะโฮวาประทานแก่ผู้พยากรณ์ยะเอศเคลซึ่งต้องบอกข่าวสารแก่ชนชาติที่ดื้อรั้น. พระยะโฮวาทรงบอกท่านว่า “เราทำหน้าของท่านให้แข็งอยู่ต่อหน้าของเขา, ทั้งหน้าผากของท่านให้แข็งต่อหน้าผากของเขา. เราทำหน้าผากของท่านให้เป็นดังเพชรที่แข็งกว่าหิน.” (ยเอศ. 3:8, 9) หากจำเป็น พระยะโฮวาทรงสามารถช่วยเราให้แข็งแกร่งเหมือนเพชรเช่นเดียวกับยะเอศเคล.
ต่อต้านการล่อใจต่าง ๆ
พวกผู้ต่อต้านพบว่าเมื่อความพยายามอื่น ๆ ทุกอย่างล้มเหลว บางครั้งการเสนอรางวัลที่ล่อใจอาจทำลายความซื่อสัตย์มั่นคงของบางคนได้. รับซาเคก็ใช้วิธีนี้ด้วย. เขาพูดกับคนที่อยู่ในกรุงเยรูซาเลมว่า “พระราชาแห่งอัสซีเรียตรัสดังนี้ว่า ‘ดีกันเถอะน่ะ และออกมาหาเรา . . . จนเราจะมานำเจ้าไปยังแผ่นดินที่เหมือนแผ่นดินของเจ้าเอง เป็นแผ่นดินที่2 กษัต. 18:31, 32, ฉบับ R73) ความคาดหวังที่จะได้กินขนมปังใหม่ ๆ และได้ดื่มเหล้าองุ่นใหม่คงต้องเป็นเรื่องน่าดึงดูดใจสำหรับคนที่ถูกขังอยู่ภายในกำแพงเมืองที่ถูกปิดล้อม!
มีข้าวและเหล้าองุ่น เป็นแผ่นดินที่มีขนมปังและสวนองุ่น แผ่นดินที่มีมะกอกเทศและน้ำผึ้ง เพื่อเจ้าทั้งหลายจะมีชีวิตอยู่และไม่ตาย.’ ” (ครั้งหนึ่ง ได้มีใช้วิธีนี้เพื่อบั่นทอนความตั้งใจแน่วแน่ของมิชชันนารีคนหนึ่งซึ่งถูกจำคุกอยู่. พวกเขาบอกกับมิชชันนารีคนนี้ว่าเขาจะถูกพาไปอยู่ใน “บ้านที่น่าอยู่” ซึ่งมี “สวนสวย” เป็นเวลาหกเดือนเพื่อให้เขาได้คิดทบทวน. แต่พี่น้องคนนี้ยังตื่นตัวอยู่เสมอทางฝ่ายวิญญาณและไม่ยอมละทิ้งหลักการคริสเตียน. อะไรช่วยเขา? เขาอธิบายในเวลาต่อมาว่า “ผมคิดว่าราชอาณาจักรเป็นความหวังแท้. . . . เพราะผมมีความรู้เกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้าและไม่เคยสงสัยเลยในเรื่องนี้ ผมจึงมีความเชื่อที่เข้มแข็งและรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงได้.”
เรามีความเชื่อมั่นในราชอาณาจักรของพระเจ้าขนาดไหน? อับราฮามปฐมบรรพบุรุษ, อัครสาวกเปาโล, และพระเยซูเองสามารถอดทนการทดสอบที่ยากลำบากได้เพราะเชื่อมั่นในราชอาณาจักร. (ฟิลิป. 3:13, 14; ฮีบรู 11:8-10; 12:2) ถ้าเราจัดให้ราชอาณาจักรเป็นอันดับแรกในชีวิตและนึกถึงพระพรที่ยั่งยืนนานเสมอ เราเองก็จะสามารถต่อต้านการล่อใจจากข้อเสนอต่าง ๆ ที่จะให้เราได้รับการบรรเทาชั่วคราวจากความทุกข์ลำบาก.—2 โค. 4:16-18
พระยะโฮวาจะไม่ทรงละทิ้งเราเลย
แม้ว่ารับซาเคพยายามทำหลายอย่างเพื่อขู่ชาวยิวให้กลัว แต่ฮิศคียาห์กับราษฎรของท่านไว้วางใจในพระยะโฮวาอย่างเต็มที่. (2 กษัต. 19:15, 19; ยซา. 37:5-7) เมื่อเป็นอย่างนั้น พระยะโฮวาทรงตอบคำอธิษฐานทูลขอความช่วยเหลือของพวกเขาโดยทรงส่งทูตสวรรค์องค์หนึ่งมาที่ค่ายทหารของพวกอัสซีเรีย และสังหารนักรบ 185,000 นายภายในคืนเดียว. ในวันถัดมา ซันเฮริบก็ต้องรีบล่าทัพซึ่งเหลือทหารอยู่เพียงน้อยนิดกลับไปกรุงนีนะเวห์เมืองหลวงของเขาด้วยความอัปยศ.—2 กษัต. 19:35, 36
เห็นได้ชัดว่า พระยะโฮวาไม่ทรงละทิ้งคนที่ไว้วางใจพระองค์. ตัวอย่างของพี่น้องของเราในสมัยปัจจุบันซึ่งได้ยืนหยัดมั่นคงเมื่อถูกทดสอบแสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้นในทุกวันนี้ด้วย. ดังนั้น จึงมีเหตุผลที่ดีที่พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์ทรงรับรองกับเราว่า “เรา, ยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า, กำลังยึดมือข้างขวาของเจ้าอยู่, กำลังกล่าวแก่เจ้าว่า ‘อย่ากลัวเลย, เราจะช่วยเจ้า.’ ”—ยซา. 41:13
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 6 “รับซาเค” เป็นตำแหน่งเด่นของข้าราชการชาวอัสซีเรีย. ในบันทึกไม่ได้เปิดเผยชื่อของเขาไว้.
[คำโปรยหน้า 13]
พระยะโฮวาเองทรงรับรองกับผู้รับใช้ของพระองค์มากกว่า 30 ครั้งในพระคัมภีร์ว่า “อย่ากลัวเลย”
[ภาพหน้า 12]
กลยุทธ์ของรับซาเคกับกลยุทธ์ที่ศัตรูของประชาชนของพระเจ้าในปัจจุบันใช้คล้ายกันอย่างไร?
[ภาพหน้า 15]
สายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระยะโฮวาทำให้เราสามารถรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงเมื่อถูกทดสอบ