เอกภาพในหมู่คริสเตียนทำให้พระเจ้าได้รับเกียรติ
เอกภาพในหมู่คริสเตียนทำให้พระเจ้าได้รับเกียรติ
“พยายามอย่างจริงจังเพื่อรักษาความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน.”—เอเฟ. 4:3
1. คริสเตียนในเมืองเอเฟโซส์สมัยศตวรรษแรกทำให้พระเจ้าได้รับเกียรติโดยวิธีใด?
เอกภาพของประชาคมคริสเตียนในเมืองเอเฟโซส์โบราณทำให้พระยะโฮวาพระเจ้าองค์เที่ยงแท้ได้รับเกียรติ. ในศูนย์กลางการค้าที่รุ่งเรืองแห่งนี้ เห็นได้ชัดว่าพี่น้องคริสเตียนบางคนเป็นคนมั่งคั่งซึ่งเป็นเจ้าของทาส ในขณะที่บางคนอยู่ในฐานะทาสและคงยากจนอย่างยิ่ง. (เอเฟ. 6:5, 9) บางคนเป็นชาวยิวที่เรียนรู้ความจริงในช่วงสามเดือนที่อัครสาวกเปาโลพูดในธรรมศาลาเมืองนี้. ส่วนคนอื่น ๆ เคยนมัสการเทพธิดาอาร์เตมิสและเคยใช้วิชาอาคม. (กิจ. 19:8, 19, 26) เห็นได้ชัด ศาสนาคริสเตียนแท้ชักนำผู้คนจากพื้นเพหลายแบบมาอยู่ร่วมกัน. เปาโลสำนึกว่าพระยะโฮวาได้รับเกียรติเพราะเอกภาพของประชาคม. ท่านอัครสาวกเขียนว่า “ขอพระเกียรติจงมีแด่พระองค์โดยทางประชาคม.”—เอเฟ. 3:21
2. มีอะไรบ้างที่คุกคามเอกภาพของคริสเตียนในประชาคมเอเฟโซส์?
2 อย่างไรก็ตาม เอกภาพของประชาคมเอเฟโซส์ถูกคุกคาม. เปาโลเตือนผู้ปกครองประชาคมนี้ว่า “จะมีพวกท่านบางคนพูดบิดเบือนความจริงเพื่อชักนำเหล่าสาวกให้ติดตามพวกเขาไป.” (กิจ. 20:30) นอกจากนั้น มีพี่น้องบางคนที่ไม่ได้สลัดน้ำใจที่ทำให้แตกแยกทิ้งไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเปาโลเตือนว่าน้ำใจแบบนี้ “ดำเนินงานอยู่ในคนที่ไม่เชื่อฟัง.”—เอเฟ. 2:2; 4:22
จดหมายที่เน้นเรื่องเอกภาพ
3, 4. จดหมายของเปาโลถึงพี่น้องในเอเฟโซส์เน้นเอกภาพอย่างไร?
3 เปาโลตระหนักว่าถ้าคริสเตียนต้องการจะร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจ เดียวกันต่อ ๆ ไป พวกเขาแต่ละคนต้องพยายามอย่างจริงจังที่จะส่งเสริมเอกภาพ. พระเจ้าทรงดลใจเปาโลเอเฟ. 1:10) ท่านยังเปรียบคริสเตียนแต่ละคนว่าเหมือนกับหินที่ประกอบกันเป็นอาคาร. “โครงสร้างทั้งหมดซึ่งเชื่อมต่อกันอย่างดีกำลังเจริญขึ้นเป็นพระวิหารบริสุทธิ์สำหรับพระยะโฮวา.” (เอเฟ. 2:20, 21) นอกจากนั้น เปาโลเน้นเรื่องเอกภาพในหมู่คริสเตียนชาวยิวและชาวต่างชาติ และเตือนพี่น้องให้ระลึกด้วยว่าพวกเขามีที่มาจากแหล่งเดียวกัน. ท่านกล่าวถึงพระยะโฮวาว่าเป็น “พระบิดา ผู้ซึ่งทุกครอบครัวในสวรรค์และบนแผ่นดินโลกมีชื่อเนื่องด้วยพระองค์.”—เอเฟ. 3:5, 6, 14, 15
ให้เขียนจดหมายถึงพี่น้องในเอเฟโซส์ซึ่งสาระสำคัญของจดหมายนี้คือเรื่องเอกภาพ. ตัวอย่างเช่น เปาโลเขียนเกี่ยวกับพระประสงค์ของพระเจ้าที่จะ “ทรงรวบรวมสิ่งสารพัด . . . ไว้ในพระคริสต์อีก.” (4 ขณะที่เราพิจารณาหนังสือเอเฟโซส์บท 4 เราจะเห็นเหตุผลที่ต้องพยายามเพื่อจะมีเอกภาพ, วิธีที่พระยะโฮวาทรงช่วยเราให้มีเอกภาพ, และเจตคติที่จะช่วยเราให้รักษาเอกภาพ. โปรดอ่านทั้งบทเพื่อคุณจะได้รับประโยชน์จากการศึกษามากยิ่งขึ้น.
เหตุใดต้องพยายามอย่างจริงจังเพื่อจะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน?
5. เหตุใดทูตสวรรค์ของพระเจ้าสามารถรับใช้อย่างมีเอกภาพ แต่เหตุใดจึงเป็นเรื่องยากกว่าที่เราจะมีเอกภาพ?
5 เปาโลวิงวอนพี่น้องชาวเอเฟโซส์ให้ ‘พยายามรักษาความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน.’ (เอเฟ. 4:3) เพื่อจะเข้าใจความจำเป็นที่ต้องพยายามในเรื่องนี้ ขอให้พิจารณากรณีของทูตสวรรค์ของพระเจ้า. ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดในโลกเหมือนกันทุกประการ ดังนั้น เราจึงลงความเห็นได้ว่าพระยะโฮวาทรงสร้างทูตสวรรค์หลายล้านองค์โดยให้แต่ละองค์มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน. (ดานิ. 7:10) ถึงกระนั้น พวกเขาสามารถรับใช้พระยะโฮวาอย่างมีเอกภาพเนื่องจากพวกเขาทั้งหมดฟังและทำตามพระประสงค์ของพระองค์. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 103:20, 21) แม้แต่ทูตสวรรค์ผู้ซื่อสัตย์ก็ยังมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน คริสเตียนมีความแตกต่างกันยิ่งกว่านั้นอีกเนื่องจากพวกเขามีข้อบกพร่องหลายอย่าง. นี่ทำให้เป็นเรื่องยากกว่าที่เราจะมีเอกภาพ.
6. เจตคติเช่นไรจะช่วยเราให้ร่วมมือกับพี่น้องที่มีข้อบกพร่องต่างกับเรา?
6 เมื่อคนไม่สมบูรณ์พยายามร่วมมือกันอาจเกิดปัญหาได้ง่าย. ตัวอย่างเช่น จะเป็นเช่นไรถ้าพี่น้องที่มีนิสัยอ่อนโยนแต่มักมาสายรับใช้พระยะโฮวาด้วยกันกับพี่น้องอีกคนหนึ่งที่เป็นคนตรงเวลาแต่อารมณ์เสียง่าย? ต่างฝ่ายต่างก็รู้สึกว่าความประพฤติของอีกคนหนึ่งไม่เหมาะสม แต่เขาอาจลืมไปว่าความประพฤติของเขาบางอย่างก็ไม่เหมาะสมพอ ๆ กัน. พี่น้องสองคนนี้จะรับใช้อย่างกลมเกลียวกันได้อย่างไร? ขอให้สังเกตว่าเจตคติที่เปาโลแนะนำต่อไปนี้จะช่วยพวกเขาได้อย่างไร. จากนั้นขอให้ใคร่ครวญวิธีที่เราจะสามารถส่งเสริมเอกภาพด้วยการพัฒนาเจตคติเหล่านี้. เปาโลเขียนเอเฟ. 4:1-3
ว่า “ข้าพเจ้า . . . ขอวิงวอนท่านทั้งหลายให้ดำเนินอย่างเหมาะสม . . . ด้วยความถ่อมใจ และความอ่อนโยนอย่างยิ่ง ด้วยความอดกลั้นไว้นาน ทนกันและกันด้วยความรัก พยายามอย่างจริงจังเพื่อรักษาความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันด้วยสันติสุขซึ่งเป็นสิ่งที่ผูกพันผู้คนให้มีเอกภาพ.”—7. เหตุใดจึงสำคัญที่จะพยายามเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคริสเตียนคนอื่น ๆ ที่ไม่สมบูรณ์?
7 การเรียนรู้ที่จะรับใช้พระเจ้าอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนอื่น ๆ ที่ไม่สมบูรณ์เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งเพราะผู้นมัสการแท้มีกายเดียว. “มีพระกายเดียวและพระวิญญาณเดียว ท่านทั้งหลายถูกเรียกมาด้วยความหวังซึ่งมีอยู่อย่างเดียวเช่นกัน มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อเดียว บัพติสมาเดียว มีพระเจ้าองค์เดียวผู้ทรงเป็นพระบิดาของคนทั้งปวง.” (เอเฟ. 4:4-6) พระวิญญาณและพระพรของพระยะโฮวามีอยู่ในสังคมพี่น้องที่พระเจ้ากำลังใช้อยู่นี้เพียงสังคมเดียวเท่านั้น. แม้แต่ถ้ามีใครในประชาคมทำให้เราผิดหวัง จะมีสังคมไหนอีกหรือที่เราจะหันไปหาได้? ไม่มีที่ไหนอีกแล้วที่เราสามารถได้ยินถ้อยคำที่ให้ชีวิตนิรันดร์.—โย. 6:68
“ของประทานในลักษณะมนุษย์” ส่งเสริมเอกภาพ
8. พระคริสต์ทรงใช้อะไรเพื่อเสริมกำลังเราให้เอาชนะอิทธิพลที่ทำให้แตกแยก?
8 เปาโลกล่าวถึงวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งที่ทหารในสมัยโบราณมักทำกันเพื่อแสดงให้เห็นวิธีที่พระเยซูจัดให้มี “ของประทานในลักษณะมนุษย์” เพื่อช่วยประชาคมให้มีเอกภาพ. ทหารที่ได้รับชัยชนะอาจนำเชลยชาวต่างชาติมาที่บ้านเพื่อเป็นทาสรับใช้ช่วยงานภรรยา. (เพลง. 68:1, 12, 18) คล้ายกัน การที่พระเยซูทรงชนะโลกทำให้พระองค์มีทาสมากมายที่เต็มใจรับใช้พระองค์. (อ่านเอเฟโซส์ 4:7, 8) อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงใช้เชลยโดยนัยเหล่านั้นอย่างไร? “พระองค์ทรงให้บางคนเป็นอัครสาวก บางคนเป็นผู้พยากรณ์ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวดี บางคนเป็นผู้บำรุงเลี้ยงและผู้สอน โดยมุ่งหมายจะปรับเหล่าผู้บริสุทธิ์ให้เข้าที่เพื่อให้ทำงานรับใช้ และทำให้พระกายของพระคริสต์เจริญขึ้น จนกว่าเราทุกคนจะบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวในความเชื่อ.”—เอเฟ. 4:11-13
9. (ก) “ของประทานในลักษณะมนุษย์” ช่วยเรารักษาเอกภาพได้อย่างไร? (ข) เหตุใดสมาชิกทุกคนควรส่งเสริมเอกภาพของประชาคม?
9 ในฐานะผู้เลี้ยงแกะที่เปี่ยมด้วยความรัก “ของประทานในลักษณะมนุษย์” เหล่านี้ช่วยเราให้รักษาเอกภาพไว้. ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ปกครองประชาคมสังเกตว่ามีพี่น้องสองคน “ยั่วยุให้มีการแข่งขันชิงดีกัน” เขาสามารถช่วยส่งเสริมเอกภาพของประชาคมได้มากโดยการให้คำแนะนำเป็นส่วนตัว “ปรับ [พวกเขา] ให้เข้าที่ด้วยใจอ่อนโยน.” (กลา. 5:26–6:1) ในฐานะผู้สอน “ของประทานในลักษณะมนุษย์” เหล่านี้ช่วยเราให้เสริมความเชื่อที่มั่นคงซึ่งอาศัยคัมภีร์ไบเบิล. โดยทำเช่นนั้น พวกเขาส่งเสริมเอกภาพและช่วยเราให้ก้าวหน้าจนเป็นผู้ใหญ่คริสเตียน. เปาโลเขียนว่าทั้งนี้ก็เพื่อ “เราจะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป และถูกซัดไปซัดมาเหมือนโดนคลื่นและถูกพาไปทางนั้นบ้างทางนี้บ้างโดยลมแห่งคำสอนทุกอย่างด้วยกลอุบายของมนุษย์ และด้วยความฉลาดแกมโกงในการปั้นเรื่องเท็จ.” (เอเฟ. 4:13, 14) คริสเตียนทุกคนควรส่งเสริมเอกภาพในสังคมพี่น้อง เช่นเดียวกับที่อวัยวะทุกส่วนในร่างกายเราทำให้อวัยวะอื่น ๆ เจริญขึ้นโดยการจัดหาสิ่งจำเป็นให้.—อ่านเอเฟโซส์ 4:15, 16
พัฒนาเจตคติใหม่
10. โลกที่ไร้ศีลธรรมอาจเป็นภัยคุกคามเอกภาพของเราได้อย่างไร?
10 คุณสังเกตไหมว่าบทสี่ในจดหมายของเปาโลที่เขียนถึงชาวเอเฟโซส์บ่งชี้ว่าการแสดงความรักเป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุเอกภาพในฐานะผู้ใหญ่คริสเตียน? ถัดจากนั้น บทนี้แสดงว่าความรักเกี่ยวข้องกับอะไร. ยกตัวอย่าง หากเราดำเนินในแนวทางแห่งความรัก เราจะไม่ยอมปล่อยให้ตัวเองทำผิดประเวณีและประพฤติไร้ยางอาย. เปาโลกระตุ้นพี่น้องไม่ให้ “ประพฤติอย่างชนต่างชาติอีกต่อไป.” ผู้คนเหล่านั้น “ไม่มีความรู้สึกละอายต่อบาป” และ “พวกเขาจึงปล่อยตัวประพฤติไร้ยางอาย.” (เอเฟ. 4:17-19) โลกที่ไร้ศีลธรรมที่เราอยู่นี้อาจเป็นภัยคุกคามเอกภาพของเรา. ผู้คนนำเรื่องผิดประเวณีมาพูดเป็นเรื่องตลก, ร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำผิดศีลธรรม, ชมความบันเทิงที่มีเนื้อหาแบบนั้น, และทำผิดประเวณีไม่ว่าจะอย่างลับ ๆ หรือเปิดเผย. กระนั้น แม้แต่การเกี้ยวเล่น ๆ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการที่คุณทำราวกับว่าหลงเสน่ห์ใครบางคนที่คุณไม่คิดจะแต่งงานด้วย ก็อาจทำให้คุณถูกตัดขาดจากพระยะโฮวาและจากประชาคมได้. เพราะเหตุใด? เพราะการทำเช่นนี้นำไปสู่การผิดประเวณีได้ง่าย. นอกจากนั้น การเกี้ยวเล่น ๆ ที่ทำให้คนที่แต่งงานแล้วทำผิดประเวณียังเป็นการกระทำที่โหดร้ายด้วย เพราะอาจทำให้เด็ก ๆ ต้องถูกแยกจากพ่อแม่และคู่สมรสที่ไม่ได้ทำผิดถูกแยกจากคู่ของตน. นั่นเป็นการกระทำที่ทำให้แตกแยกจริง ๆ! ไม่แปลกที่เปาโลเขียนว่า “ท่านทั้งหลายไม่ได้เรียนรู้จากพระคริสต์อย่างนั้น”!—เอเฟ. 4:20, 21
11. คัมภีร์ไบเบิลสนับสนุนคริสเตียนให้เปลี่ยนแปลงอะไร?
11 เปาโลเน้นว่าเราควรละทิ้งแนวคิดที่ทำให้แตกแยกและพัฒนาเจตคติที่ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตอย่างกลมเกลียวกับคนอื่น ๆ. ท่านกล่าวว่า “ให้ท่านทั้งหลายละทิ้งบุคลิกภาพเก่าที่เป็นไปตามแนวการประพฤติเดิมของพวกท่านและที่ถูกทำให้เสื่อมเสียตามความปรารถนาที่ล่อลวงของ [บุคลิกภาพเก่า] . . . ให้ท่านทั้งหลายเปลี่ยนพลังกระตุ้นจิตใจเสียใหม่ และสวมบุคลิกภาพใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นตามที่พระเจ้าทรงประสงค์ ซึ่งประกอบด้วยความชอบธรรมและความภักดีที่แท้จริง.” (เอเฟ. 4:22-24) เราจะ “เปลี่ยนพลังกระตุ้นจิตใจเสียใหม่” ได้อย่างไร? ถ้าเราใคร่ครวญด้วยความรู้สึกขอบคุณในสิ่งที่ได้เรียนรู้จากพระคำของพระเจ้าและจากตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่คริสเตียนพร้อมด้วยความพยายามอย่างจริงจัง เราก็จะสามารถมีบุคลิกภาพใหม่ “ที่ถูกสร้างขึ้นตามที่พระเจ้าทรงประสงค์.”
จงพัฒนาวิธีพูดแบบใหม่
12. การพูดความจริงส่งเสริมเอกภาพอย่างไร และทำไมจึงเป็นเรื่องยากที่บางคนจะพูดความจริง?
12 การพูดความจริงสำคัญสำหรับคนที่เป็นอวัยวะของกันและกันในประชาคมหรือในครอบครัว. คำพูดที่เปิดเผยตรงไปตรงมาและกรุณาสามารถชักนำผู้คนให้มาอยู่ด้วยกัน. (โย. 15:15) แต่จะว่าอย่างไรถ้าใครคนหนึ่งโกหกพี่น้องของเขา? เมื่อพี่น้องรู้ความจริง ความไว้วางใจที่เคยมีให้กันก็จะลดน้อยลงไป. เราเข้าใจได้ถึงเหตุผลที่เปาโลเขียน ว่า “ให้พวกท่านแต่ละคนพูดความจริงกับเพื่อนบ้าน เพราะเราเป็นอวัยวะของกันและกัน.” (เอเฟ. 4:25) คนที่ชอบพูดโกหก ซึ่งอาจติดเป็นนิสัยมาตั้งแต่เด็ก อาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะพูดความจริง. แต่พระยะโฮวาทรงเห็นค่าความพยายามของเขาที่จะเปลี่ยนแปลงและจะทรงช่วยเขา.
13. มีอะไรเกี่ยวข้องด้วยกับการขจัดคำพูดหยาบหยามออกไป?
13 พระยะโฮวาทรงสอนเราให้ส่งเสริมความนับถือและเอกภาพทั้งในประชาคมและในครอบครัวโดยกำหนดขอบเขตไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีที่เราควรพูด. “อย่าให้คำหยาบคายออกมาจากปากท่านทั้งหลาย . . . ให้ท่านทั้งหลายขจัดความขุ่นแค้น ความโกรธ การเดือดดาล การตวาด และการพูดหยาบหยามออกไปเสียให้หมดพร้อมกับการชั่วทั้งปวง.” (เอเฟ. 4:29, 31) วิธีหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงคำพูดที่ทำให้คนอื่นขุ่นเคืองก็คือการพัฒนาเจตคติที่แสดงความนับถือผู้อื่นมากขึ้น. ตัวอย่างเช่น คนที่พูดดูถูกเหยียดหยามภรรยาควรพยายามเปลี่ยนเจตคติที่มีต่อเธอ โดยเฉพาะเมื่อเขาเรียนรู้วิธีที่พระยะโฮวาทรงให้เกียรติผู้หญิง. พระเจ้าทรงถึงกับเจิมผู้หญิงบางคนด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้มีโอกาสปกครองในฐานะกษัตริย์กับพระคริสต์. (กลา. 3:28; 1 เป. 3:7) คล้ายกัน ผู้หญิงที่ชอบตวาดสามีควรถูกกระตุ้นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองเมื่อเธอได้เรียนรู้วิธีที่พระเยซูทรงเหนี่ยวรั้งตนไว้เมื่อถูกยั่วยุให้โกรธ.—1 เป. 2:21-23
14. เหตุใดการแสดงความโกรธจึงเป็นอันตราย?
14 สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเราพูดหยาบหยามก็คือการไม่สามารถควบคุมความโกรธ. หากเป็นอย่างนั้นก็ย่อมทำให้เกิดความแตกแยกในกลุ่มคนที่เป็นอวัยวะของกันและกันด้วย. ความโกรธเป็นเหมือนไฟที่ลุกลามได้ง่ายจนควบคุมไม่อยู่และทำให้เกิดความหายนะ. (สุภา. 29:22) คนที่มีเหตุจะแสดงความไม่พอใจต้องระงับความโกรธไว้ให้ดีเพื่อจะไม่ทำให้สายสัมพันธ์อันมีค่าเสียหาย. คริสเตียนควรพยายามที่จะให้อภัย ไม่ผูกใจเจ็บ และไม่รื้อฟื้นเรื่องนั้นขึ้นมาอีก. (เพลง. 37:8; 103:8, 9; สุภา. 17:9) เปาโลให้คำแนะนำชาวเอเฟโซส์ว่า “ถ้าจะโกรธก็โกรธเถิด แต่อย่าทำบาป อย่าโกรธจนถึงดวงอาทิตย์ตก ทั้งอย่าเปิดช่องให้พญามาร.” (เอเฟ. 4:26, 27) เมื่อเราไม่สามารถควบคุมความโกรธ นั่นจะทำให้พญามารมีโอกาสทำลายเอกภาพและแม้กระทั่งทำให้เกิดความขัดแย้งในประชาคม.
15. การเอาของผู้อื่นมาเป็นของตนอาจทำให้เกิดผลเช่นไร?
15 การแสดงความนับถือต่อทรัพย์สินของคนอื่นเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ประชาคมมีเอกภาพ. เราอ่านว่า “ผู้ที่ขโมยอย่าขโมยอีกเลย.” (เอเฟ. 4:28) ประชาชนของพระยะโฮวาได้สร้างความไว้วางใจในหมู่พวกเขา. ถ้าคริสเตียนคนใดทำลายความไว้วางใจดังกล่าวด้วยการเอาของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง เขาย่อมทำลายเอกภาพที่น่ายินดีนั้น.
ความรักต่อพระเจ้าทำให้เรามีเอกภาพ
16. เราจะใช้คำพูดที่ทำให้เจริญขึ้นเพื่อเสริมเอกภาพของเราให้มั่นคงได้อย่างไร?
16 ความรักต่อพระเจ้าทำให้ทุกคนปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความรัก. เมื่อเป็นอย่างนี้ประชาคมคริสเตียนจึงมีเอกภาพ. ความรู้สึกขอบคุณในพระกรุณาของพระยะโฮวากระตุ้นเราให้พยายามอย่างจริงจังที่จะทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ “[จงพูด] คำดี ๆ ที่ทำให้เจริญขึ้นตามความจำเป็นในเวลานั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่คนที่ได้ยินได้ฟัง. . . . จงกรุณาต่อกัน แสดงความเห็นใจกัน ให้อภัยกันอย่างใจกว้างอย่างที่พระเจ้าทรงให้อภัยท่านทั้งหลายอย่างใจกว้างโดยพระคริสต์เช่นกัน.” (เอเฟ. 4:29, 32) พระยะโฮวาทรงให้อภัยมนุษย์ไม่สมบูรณ์อย่างเราด้วยความกรุณา. เราควรให้อภัยคนอื่นแบบนั้นด้วยมิใช่หรือเมื่อเห็นข้อบกพร่องของเขา?
17. เหตุใดเราควรพยายามอย่างจริงจังที่จะส่งเสริมเอกภาพ?
17 เอกภาพของประชาชนของพระเจ้าทำให้พระยะโฮวาได้รับเกียรติ. พระวิญญาณของพระองค์กระตุ้นเราในหลาย ๆ วิธีให้ส่งเสริมเอกภาพ. เราคงไม่อยากปฏิเสธการชี้นำจากพระวิญญาณอย่างแน่นอน. เปาโลเขียนว่า “อย่าทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าโศกเศร้า.” (เอเฟ. 4:30) เอกภาพเป็นสิ่งมีค่าที่เราควรรักษาไว้. ทุกคนที่มีเอกภาพจะมีความยินดีและทำให้พระยะโฮวาได้รับเกียรติ. “ฉะนั้น จงเป็นผู้เลียนแบบพระเจ้าเพราะท่านเป็นบุตรที่รักของพระองค์ และจงประพฤติด้วยความรักต่อไป.”—เอเฟ. 5:1, 2
คุณจะตอบอย่างไร?
• เจตคติอะไรบ้างที่ส่งเสริมเอกภาพในหมู่คริสเตียน?
• การประพฤติของเราส่งเสริมเอกภาพในประชาคมได้อย่างไร?
• คำพูดของเราจะช่วยให้เราร่วมมือกับคนอื่น ๆ ได้อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 17]
คนเหล่านี้ที่มาจากภูมิหลังต่าง ๆ ถูกชักนำให้มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
[ภาพหน้า 18]
คุณเข้าใจไหมว่าการเกี้ยวเล่น ๆ เป็นอันตราย?