ลูกของคุณจะพูดอย่างไร?
ลูกของคุณจะพูดอย่างไร?
ถึงบิดามารดา: ในหอสังเกตการณ์ ฉบับวันที่ 15 มกราคม 2010 หน้า หน้า 16-20, เราได้กล่าวถึงการฝึกซ้อมกับลูก. บทความนี้ให้แนวคิดเพื่อช่วยคุณเตรียมลูกให้พร้อมจะตอบคำถามของเพื่อนที่โรงเรียน. คุณอาจใช้การฝึกซ้อมเหล่านี้ระหว่างการนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็น.
เด็กที่เป็นพยานพระยะโฮวาเผชิญปัญหาหลายอย่าง. เพื่อนนักเรียนมักถามว่าทำไมพวกเขาไม่ร่วมทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การร้องเพลงชาติ, การฉลองวันเกิด, และกิจกรรมต่าง ๆ ในวันหยุด. ถ้ามีคนถามเรื่องเหล่านี้ ลูกของคุณจะตอบอย่างไร?
เด็กคริสเตียนบางคนอาจเพียงแค่บอกว่า “ฉันทำไม่ได้. มันขัดกับศาสนาของฉัน.” เด็กเหล่านี้ควรได้รับคำชมเชยที่ยึดมั่นในจุดยืนของตน. คำตอบแบบนี้อาจจะทำให้คนอื่นไม่ถามต่อ. แต่คัมภีร์ไบเบิลแนะนำเราให้ ‘พร้อมเสมอที่จะปกป้องความเชื่อของเราโดยชี้แจงแก่ทุกคนที่อยากรู้ว่าทำไม’ เราเชื่ออย่างนั้น. (1 เป. 3:15) การทำเช่นนี้มีความหมายมากกว่าเพียงแค่พูดว่า “ฉันทำไม่ได้.” แม้ว่าหลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับเรา แต่ก็อาจมีบางคนที่อยากรู้เหตุผล.
เยาวชนพยานฯ หลายคนเล่าเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลให้เพื่อน ๆ ฟังโดยใช้หนังสือต่าง ๆ เช่น หนังสือจงเรียนจากครูผู้ยิ่งใหญ่. เรื่องเหล่านี้ในพระคัมภีร์อาจช่วยอธิบายเหตุผลที่เด็กพยานฯ ทำหรือไม่ทำอะไรบางอย่าง. เด็กนักเรียนบางคนตั้งใจฟังเรื่องราวในพระคัมภีร์ และโดยวิธีนี้มีหลายคนเริ่มศึกษาพระคัมภีร์. นักเรียนคนอื่น ๆ อาจไม่อยากฟังเรื่องจากพระคัมภีร์อย่างละเอียด. ถ้าไม่อธิบายอย่างละเอียด เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลบางเรื่องอาจยากเกินไปที่เด็กนักเรียนจะเข้าใจ. เมื่อเพื่อนคนหนึ่งชวนมินฮีซึ่งอายุ 11 ปีไปร่วมงานวันเกิด เธอบอกเพื่อนว่า “คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอกให้เราฉลองวันเกิด. มีคนหนึ่งในพระคัมภีร์ชื่อโยฮันผู้ให้บัพติสมาถูกประหารชีวิตในงานวันเกิด.” แต่มินฮีบอกว่า ดูเหมือนเพื่อนไม่เข้าใจคำตอบของเธอ.
บางครั้ง นับว่าดีที่จะให้เพื่อนดูภาพหรืออ่านเรื่องหนึ่งจากหนังสือของเรา. แต่จะว่าอย่างไรถ้าครูไม่อนุญาตให้นำหนังสือศาสนามาให้นักเรียนคนอื่นดู? ลูกของเราจะอธิบายอย่างชัดเจนได้อย่างไรโดยไม่ใช้หนังสือ? คุณจะช่วยลูกให้ปกป้องความเชื่อของเขาได้อย่างไร?
ฝึกซ้อมกับลูก
นับว่าเป็นประโยชน์ถ้าจะฝึกซ้อมด้วยกันที่บ้านโดยให้พ่อแม่แสดงเป็นเพื่อนนักเรียน. เมื่อลูกพยายามปกป้องความเชื่อของตน พ่อแม่ควรชมเชยลูกและชี้ให้เห็นวิธีที่เขาอาจให้เหตุผลได้ดียิ่งขึ้นและบอกด้วยว่าทำไมจึงดีกว่าที่จะทำอย่างนั้น. ตัวอย่างเช่น คุณอาจแนะให้ลูกใช้คำพูดที่นักเรียนในวัยเดียวกันจะเข้าใจได้. โจชัว เด็กชายซึ่งอายุเก้าขวบ กล่าวว่าเพื่อนนักเรียนของเขาไม่เข้าใจคำบางคำ เช่น “สติรู้สึกผิดชอบ” และ “ความภักดี.” เขาจึงต้องหาคำง่าย ๆ เพื่ออธิบายเหตุผลแก่เพื่อน ๆ.—1 โค. 14:9
ถ้าตอบอย่างยืดยาว เด็กนักเรียนบางคนที่ถามอาจหมดความสนใจไปเสียก่อน. การให้เพื่อนมีส่วนร่วมใน
การสนทนาและบอกเหตุผลแก่พวกเขาอาจทำให้พวกเขาสนใจฟังต่อไป. ฮันยูล เด็กหญิงอายุ 10 ขวบบอกว่า “เพื่อนนักเรียนชอบให้หนูพูดคุยกับพวกเขา แต่ไม่ชอบให้หนูอธิบาย.” เพื่อจะพูดแบบที่เป็นการสนทนา จงใช้คำถามแล้วก็ตั้งใจฟังเมื่อคนอื่นแสดงความคิดเห็น.บทสนทนาข้างล่างนี้แสดงวิธีที่เด็กคริสเตียนอาจบอกเหตุผลแก่เพื่อนนักเรียน. ไม่จำเป็นต้องท่องจำบทสนทนาเหล่านี้ เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน และวิธีตอบก็ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ในแต่ละท้องถิ่น. ด้วยเหตุนั้น เด็กพยานฯ ควรมีแนวคิดอยู่ในใจ, เรียบเรียงแนวคิดนั้นเป็นคำพูดของตัวเอง, แล้วก็พูดอย่างที่เหมาะกับสภาพการณ์และเหมาะกับเพื่อนนักเรียน. ถ้าคุณมีลูกที่อยู่ในวัยเรียน ขอให้ซ้อมบทสนทนานี้ด้วยกันกับลูก.
การฝึกอบรมลูกต้องใช้เวลาและความพยายาม. บิดาบัญ. 6:7; 2 ติโม. 3:14
มารดาคริสเตียนต้องการปลูกฝังหลักการในคัมภีร์ไบเบิลไว้ในตัวลูกและโน้มน้าวพวกเขาให้ดำเนินชีวิตตามหลักการเหล่านั้น.—ในการนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นครั้งถัดไป ลองฝึกซ้อมบทสนทนานี้กับลูก. ขอให้พิจารณาดูว่าบทสนทนานี้จะใช้ได้ผลขนาดไหน. จำไว้ว่า เป้าหมายไม่ใช่เพื่อท่องจำคำตอบหรือถ้อยคำในบทสนทนานี้. ที่จริง คุณอาจฝึกซ้อมบทสนทนาในแต่ละสถานการณ์มากกว่าหนึ่งครั้ง โดยให้คำตอบที่ต่างออกไปและดูว่าลูกของคุณจะนำไปใช้อย่างไร. เมื่อเขาพยายามอธิบายว่าอะไรคือพื้นฐานสำหรับความเชื่อของเขา จงช่วยเขาให้พัฒนาความมีเหตุผลและความผ่อนหนักผ่อนเบา. เมื่อเวลาผ่านไป คุณก็จะสอนลูกให้รู้วิธีปกป้องความเชื่อของเขาโดยให้คำตอบเพื่อนนักเรียน, เพื่อนบ้าน, และคุณครู.
[กรอบ/ภาพหน้า 4, 5]
การฉลองวันเกิด
แมรี: จอห์น ฉันอยากชวนเธอไปงานวันเกิดของฉัน.
จอห์น: ขอบใจนะแมรีที่คิดถึงฉัน. ขอถามหน่อยได้ไหมว่าทำไมเธอจัดงานวันเกิด?
แมรี: ก็เพื่อฉลองวันเกิดฉันไงล่ะ. เธอไม่ฉลองวันเกิดเธอรึไง?
จอห์น: ไม่ ฉันไม่ฉลอง.
แมรี: ทำไมล่ะ? ทุกคนในครอบครัวฉันมีความสุขที่ฉันเกิดมา.
จอห์น: ครอบครัวฉันก็เหมือนครอบครัวเธอนั่นแหละ. ทุกคนมีความสุขเหมือนกันตอนที่ฉันเกิด. แต่ฉันคิดว่านั่นไม่ใช่เหตุผลที่ต้องฉลองวันเกิดทุก ๆ ปี. ในงานวันเกิด หลายคนคิดว่าตัวเขาเป็นคนสำคัญที่สุด. แต่ที่จริงพระเจ้าสำคัญกว่าตัวเราไม่ใช่เหรอ? และเราน่าจะขอบคุณที่พระองค์ให้ชีวิตเราไม่ใช่เหรอ?
แมรี: เธอหมายความว่าฉันไม่ควรจัดงานวันเกิดงั้นสิ?
จอห์น: นั่นก็แล้วแต่เธอ แมรี. แต่เธอลองคิดดูสิ. แม้คนส่วนใหญ่จะชอบที่ได้รับของขวัญวันเกิด แต่คัมภีร์ไบเบิลบอกว่าการให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ. แทนที่จะคิดถึงแต่ตัวเองในวันเกิด เราน่าจะขอบคุณพระเจ้า, คิดถึงคนอื่น, และทำดีต่อคนอื่นไม่ดีกว่าเหรอ?
แมรี: ฉันไม่เคยคิดแบบนี้เลย. ถ้าอย่างนั้นแสดงว่าเธอไม่เคยได้ของขวัญจากพ่อแม่เลยสิ?
จอห์น: ได้สิ. แต่พ่อแม่ฉันไม่ได้คอยให้ถึงวันเกิดก่อนแล้วค่อยให้. ท่านอยากให้ของขวัญฉันเมื่อไรท่านก็ให้เลย. ว่าแต่ว่า เธออยากรู้ไหมว่าการฉลองวันเกิดเริ่มต้นยังไง?
แมรี: เธอจะเล่าให้ฉันฟังได้ไหม?
จอห์น: เอาไว้พรุ่งนี้ฉันจะเล่าเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจให้เธอฟัง เกี่ยวกับวันเกิดของคนหนึ่งในสมัยโบราณ.
การร้องเพลงชาติเมื่อเคารพธงชาติ
เก๋: แข ทำไมเธอไม่ร้องเพลงชาติอย่างคนอื่น ๆ ตอนชักธง?
แข: ดีนะที่เธอถาม. แต่ฉันขอถามเธอก่อนได้ไหมว่าทำไมเธอร้องเพลงชาติล่ะ?
เก๋: ก็เพราะฉันรักประเทศของฉันนะสิ.
แข: ฉันรู้ว่าเธอรักแม่ของเธอด้วยใช่ไหม เก๋? แต่เธอก็ไม่ร้องเพลงสรรเสริญแม่ใช่ไหม?
เก๋: ก็ใช่. แต่ที่ฉันร้องเพลงชาติก็เพราะฉันนับถือประเทศชาติ. เธอไม่นับถือประเทศชาติเหรอ?
แข: นับถือสิ. แต่เราไม่ร้องเพลงสรรเสริญทุกคนและทุกสิ่งที่เรานับถือไม่ใช่เหรอ?
เก๋: เออ . . . จริงสินะ ฉันนับถือครู แต่ฉันก็ไม่ร้องเพลงสรรเสริญคุณครู.
แข: หลายคนคิดว่าการร้องเพลงชาติเป็นการแสดงออกว่าพวกเขารักชาติและพร้อมจะทำทุกสิ่งเพื่อประเทศชาติ. แต่ฉันคิดอีกอย่างหนึ่ง. ฉันไม่อาจพลีชีพเพื่อชาติได้เพราะพระเจ้าเป็นผู้ประทานชีวิตให้ฉัน. ฉันตัดสินใจแล้วว่าจะอุทิศชีวิตแด่พระองค์. เพราะอย่างนี้ แม้ฉันจะนับถือประเทศชาติ แต่ฉันไม่ร้องเพลงชาติ.
เก๋: ฉันเข้าใจแล้วล่ะ.
แข: เก๋ ฉันดีใจนะที่เธอพูดเรื่องนี้ขึ้นมา. และถ้ามีอะไรอย่างอื่นที่เธออยากรู้ว่าทำไมฉันไม่ทำเหมือนคนอื่น ก็ถามฉันได้เลยนะ. นี่เก๋เธอรู้ไหมว่า พระคัมภีร์บอกเรื่องกษัตริย์บาบิโลนองค์หนึ่งเมื่อสมัยนานมาแล้วที่สั่งให้ประชาชนกราบไหว้รูปปั้น. แต่มีบางคนไม่ยอมก้มกราบแม้ว่าจะมีโทษถึงตาย.
เก๋: จริงเหรอ? แล้วเรื่องเป็นยังไงต่อ?
แข: เอาไว้ตอนพักเที่ยงฉันจะเล่าให้เธอฟังนะ.
การเมืองระดับโรงเรียน
ใหม่: ตั้ม นายคิดว่าใครน่าจะเป็นประธานนักเรียนของเรา?
ตั้ม: ฉันไม่เลือกใครสักคนเลย.
ใหม่: ทำไมล่ะ?
ตั้ม: ฉันมีผู้นำที่ดีที่สุดอยู่แล้ว. ในฐานะคริสเตียน ฉันเลือกพระเยซูเป็นผู้นำของฉันแล้ว. ฉันจึงเลือกคนอื่นเป็นผู้นำอีกไม่ได้. ว่าแต่ว่านายรู้ไหมทำไมฉันคิดว่าพระองค์เป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบ?
ใหม่: ไม่รู้สิ แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าจะรู้ไปทำไม.
ตั้ม: ไม่เป็นไร แต่ถ้านายอยากรู้ขึ้นมาเมื่อไร ฉันยินดีจะบอกนะ.
[ภาพ]
“จอห์น ฉันอยากชวนเธอไปงานวันเกิดของฉัน”
[ภาพหน้า 3]
“ทำไมเธอไม่ร้องเพลงชาติ?”