ครอบครัวคริสเตียน “จงเตรียมพร้อม”
ครอบครัวคริสเตียน “จงเตรียมพร้อม”
“จงเตรียมพร้อม . . . เพราะบุตรมนุษย์จะมาในเวลาที่พวกเจ้าไม่คาดคิด.” —ลูกา 12:40
1, 2. เหตุใดเราควรเอาใจใส่คำกระตุ้นเตือนของพระเยซูที่ให้ “เตรียมพร้อม”?
“เมื่อบุตรมนุษย์มาในฐานะที่มีเกียรติอันรุ่งโรจน์” และแยก “ผู้คนออกจากกัน” คุณกับครอบครัวจะเป็นอย่างไร? (มัด. 25:31, 32) เนื่องจากเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในยามที่เราไม่คาดคิด นับว่าสำคัญจริง ๆ ที่เราจะเอาใจใส่คำกระตุ้นเตือนของพระเยซูที่บอกให้เรา “เตรียมพร้อม”!—ลูกา 12:40
2 บทความที่แล้วพิจารณาวิธีที่สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวจะช่วยทั้งครอบครัวให้ตื่นตัวเสมอทางฝ่ายวิญญาณด้วยการทำหน้าที่รับผิดชอบของตนอย่างเอาจริงเอาจัง. ให้เรามาพิจารณาวิธีอื่น ๆ ที่เราจะช่วยส่งเสริมสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของครอบครัวได้.
จงให้ตาของคุณ “มองที่สิ่งเดียว”
3, 4. (ก) ครอบครัวคริสเตียนควรระวังอะไร? (ข) การให้ตา “มองที่สิ่งเดียว” หมายถึงอะไร?
3 เพื่อจะอยู่ในสภาพพร้อมเมื่อพระคริสต์เสด็จมา ครอบครัวต้องระวังที่จะไม่เขวไปจากสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนมัสการแท้. พวกเขาจำเป็นต้องระวังอย่าให้สิ่งล่อใจต่าง ๆ ทำให้เขว. เนื่องจากวัตถุนิยมเป็นบ่วงแร้วอย่างหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวจำนวนมากติดกับดัก ขอให้พิจารณาสิ่งที่พระเยซูตรัสเกี่ยวกับการให้ตาของเรา “มองที่สิ่งเดียว.” (อ่านมัดธาย 6:22, 23) เช่นเดียวกับที่ตะเกียงสามารถส่องทางเดินให้สว่างและช่วยให้เราไม่สะดุดล้ม สิ่งที่เรารับเข้าไปทาง “ตาใจ” ของเราทำให้เราเห็นอย่างชัดเจน และช่วยเราไม่ให้หลงผิด.—เอเฟ. 1:18
มัด. 6:33) นี่หมายความว่าเราอิ่มใจพอใจเสมอกับสิ่งจำเป็นด้านวัตถุที่เรามีและให้การรับใช้พระเจ้ามาเป็นอันดับแรกในชีวิตเรา.—ฮีบรู 13:5
4 เพื่อตาจริง ๆ จะเห็นได้อย่างชัดเจน มันต้องทำหน้าที่ได้ดีและสามารถเพ่งเฉพาะสิ่งที่เรากำลังมอง. ตาใจก็ไม่ต่างกัน. การให้ตาโดยนัยมองที่สิ่งเดียวหมายถึงการที่เรามีเป้าหมายเพียงอย่างเดียว. แทนที่จะดำเนินชีวิตโดยเน้นในเรื่องวัตถุและกังวลมากเกินไปในการเอาใจใส่สิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวเฉพาะด้านร่างกาย เราจดจ่ออยู่กับสิ่งฝ่ายวิญญาณ. (5. เด็กสาววัยรุ่นคนหนึ่งแสดงให้เห็นอย่างไรว่า “ตา” ของเธอจับจ้องอยู่ที่การรับใช้พระเจ้า?
5 เมื่อฝึกสอนลูกให้มองที่สิ่งเดียว นั่นย่อมก่อให้เกิดผลดีจริง ๆ! ขอให้พิจารณาตัวอย่างของวัยรุ่นคนหนึ่งในประเทศเอธิโอเปีย. เธอทำการบ้านที่ครูมอบหมายให้ทำได้ดีมาก เมื่อเธอจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เธอจึงได้รับทุนการศึกษาให้เรียนต่อ. แต่เนื่องจากเธอจดจ่ออยู่กับเป้าหมายที่จะรับใช้พระยะโฮวา เธอจึงปฏิเสธทุนการศึกษานั้น. ไม่นานหลังจากนั้น เธอได้รับข้อเสนอให้ทำงานที่จะได้เงินเดือนประมาณ 126,000 บาท ซึ่งเป็นรายได้ที่สูงทีเดียวเมื่อเทียบกับเงินรายได้โดยเฉลี่ยของคนในประเทศเธอ. แต่ “ตา” ของเด็กสาวคนนี้จับจ้องอยู่ที่การรับใช้เป็นไพโอเนียร์. เธอไม่จำเป็นต้องปรึกษาพ่อแม่ก่อนที่จะปฏิเสธงานนี้. พ่อแม่รู้สึกอย่างไรที่ลูกสาวทำอย่างนั้น? ทั้งพ่อและแม่มีความสุขอย่างมากและบอกเธอว่าพวกเขาภูมิใจในตัวเธอ!
6, 7. เราควรระวังอันตรายอะไร?
6 สิ่งที่แฝงอยู่ในคำตรัสของพระเยซูดังบันทึกที่มัดธาย 6:22, 23 ก็คือคำเตือนให้ระวังความโลภ. พระเยซูไม่ได้เทียบ ‘การมองที่สิ่งเดียว’ กับคำที่มีความหมายตรงกันข้าม แต่เทียบกับ ‘การมองที่สิ่งชั่ว.’ ‘ตาชั่ว’ อาจแปลได้ด้วยว่าอิจฉาตาร้อน หรือตาละโมบ. (มัด. 6:23, เชิงอรรถ) พระยะโฮวาทรงคิดอย่างไรเกี่ยวกับความโลภ? คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “อย่าให้มีการเอ่ยถึงการผิดประเวณี การประพฤติที่ไม่สะอาดทุกรูปแบบ หรือความโลภท่ามกลางพวกท่านเลย.”—เอเฟ. 5:3
7 แม้ว่าอาจเป็นเรื่องง่ายที่จะมองออกว่าคนอื่นโลภ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะมองออกว่าตัวเราเองโลภ. ดังนั้น เราควรเอาใจใส่คำแนะนำของพระเยซูที่ว่า “จงระวังและรักษาตัวให้พ้นจากความโลภทุกชนิด.” (ลูกา 12:15) เพื่อจะทำอย่างนี้ได้ เราต้องตรวจสอบตัวเองว่าความปรารถนาในหัวใจเราเป็นเช่นไร. ครอบครัวคริสเตียนควรคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับเวลาและเงินที่ใช้ไปกับความบันเทิง นันทนาการ และการหาสิ่งฝ่ายวัตถุ.
8. เราควรพิจารณาอะไรในเรื่องการซื้อของ?
8 ก่อนที่เราจะซื้ออะไรสักอย่าง เราต้องคิดไม่เพียงแค่ว่าเรามีเงินพอที่จะซื้อสิ่งนั้นได้หรือไม่. ขอให้พิจารณาปัจจัยเหล่านี้: ‘ฉันมีเวลาที่จะใช้สิ่งนั้นเป็นประจำและดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีไหม? ต้องใช้เวลานานขนาดไหนเพื่อเรียนรู้วิธีใช้งานสิ่งนั้นได้?’ เยาวชนทั้งหลาย อย่าเชื่อการโฆษณาสินค้าทุกอย่างที่โลกเสนอให้ซึ่งชวนให้คิดอย่างไม่สมเหตุผลว่าเสื้อผ้าหรือของอื่น ๆ ที่ยี่ห้อดัง ๆ ราคาแพง ๆ เป็นสิ่งจำเป็น. จงยับยั้งชั่งใจ. นอกจากนั้น ขอให้คิดด้วยว่าการมีสิ่งเหล่านั้นจะทำให้ครอบครัวของคุณพร้อมจะรับการเสด็จมาของบุตรมนุษย์หรือไม่. จงแสดงความเชื่อในคำสัญญาของพระยะโฮวาที่ว่า “เราจะไม่มีวันละทิ้งเจ้าและไม่มีวันทอดทิ้งเจ้า.”—ฮีบรู 13:5
จงพยายามบรรลุเป้าหมายฝ่ายวิญญาณ
9. การพยายามบรรลุเป้าหมายฝ่ายวิญญาณช่วยครอบครัวอย่างไร?
9 อีกวิธีหนึ่งที่สมาชิกครอบครัวอาจเสริมความเชื่อให้มั่นคงและส่งเสริมสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของทั้งครอบครัวก็คือ การที่พวกเขาตั้งเป้าหมายฝ่ายวิญญาณและพยายามบรรลุเป้าหมายนั้น. การทำอย่างนั้นช่วยให้ครอบครัววัดได้ว่าพวกเขากำลังทำได้ดีขนาดไหนในการรับใช้พระยะโฮวา และทำให้พวกเขาประเมินได้ว่ากิจกรรมใดในชีวิตที่สำคัญกว่า.—อ่านฟิลิปปอย 1:10
10, 11. ในฐานะครอบครัว คุณกำลังทำตามเป้าหมายฝ่ายวิญญาณอะไรอยู่ และคุณอยากตั้งเป้าหมายอะไรสำหรับอนาคต?
10 แม้แต่การตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่เกือบทุกคนในครอบครัวจะทำได้จริงก็เป็นประโยชน์มาก. ตัวอย่างเช่น จงตั้งเพลง. 1:1, 2) และเราควรตั้งเป้าที่จะปรับปรุงคุณภาพคำอธิษฐานของเรามิใช่หรือ? การพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ ของผลพระวิญญาณให้ดีขึ้นอาจเป็นเป้าหมายอีกอย่างหนึ่งที่ดีเยี่ยม. (กลา. 5:22, 23) หรือคุณอาจมองหาวิธีที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจคนที่เราพบในงานประกาศ. การพยายามทำตามเป้าหมายอย่างนั้นร่วมกันทั้งครอบครัวสามารถช่วยลูกให้เรียนรู้ที่จะมีความเมตตาสงสาร และคงมีโอกาสมากกว่าที่พวกเขาจะต้องการรับใช้เป็นไพโอเนียร์ประจำหรือมิชชันนารี.
เป้าว่าจะพิจารณาพระคัมภีร์ประจำวันด้วยกันทุกวัน. เมื่อได้ฟังความคิดเห็นของแต่ละคนในครอบครัว หัวหน้าครอบครัวก็จะรู้ว่าสภาพฝ่ายวิญญาณของพวกเขาเป็นอย่างไร. การที่ครอบครัวตั้งเป้าหมายว่าจะอ่านคัมภีร์ไบเบิลด้วยกันเป็นประจำทำให้ลูกมีโอกาสอันดีเยี่ยมที่จะปรับปรุงทักษะในการอ่านและความเข้าใจในข่าวสารของคัมภีร์ไบเบิล. (11 ลองคิดถึงเป้าหมายบางอย่างที่คุณกับครอบครัวจะทำได้. ครอบครัวคุณจะตั้งเป้าหมายที่จะใช้เวลามากขึ้นในการรับใช้ได้ไหม? คุณจะพยายามเอาชนะความกลัวในการประกาศทางโทรศัพท์ ตามถนน หรือในย่านธุรกิจได้ไหม? จะว่าอย่างไรสำหรับการทำงานในที่ที่ต้องการผู้ประกาศราชอาณาจักรมากกว่า? มีบางคนในครอบครัวจะเรียนภาษาใหม่เพื่อจะประกาศข่าวดีแก่คนต่างชาติได้ไหม?
12. หัวหน้าครอบครัวจะช่วยครอบครัวของตนให้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณได้อย่างไร?
12 ในฐานะหัวหน้าครอบครัว ขอให้พิจารณาดูว่าครอบครัวของคุณจะก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณในด้านใดได้บ้าง. จากนั้นก็ตั้งเป้าหมายอะไรบางอย่างเพื่อจะทำได้สำเร็จตามที่มุ่งหมายไว้. เป้าหมายที่คุณตั้งไว้ร่วมกันในฐานะครอบครัวควรเป็นเป้าหมายที่ทำได้จริงและสอดคล้องกับสุภา. 13:12) แน่นอน การพยายามบรรลุเป้าหมายที่จะให้ผลคุ้มค่าต้องใช้เวลา. ดังนั้น จงลดเวลาการดูโทรทัศน์และเอาเวลานั้นมาใช้กับการทำกิจกรรมของคริสเตียน. (เอเฟ. 5:15, 16) ขอให้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะบรรลุเป้าหมายที่คุณได้ตั้งไว้สำหรับครอบครัว. (กลา. 6:9) ความก้าวหน้าของครอบครัวที่พยายามบรรลุเป้าหมายฝ่ายวิญญาณจะ “ปรากฏแก่ทุกคน.”—1 ติโม. 4:15
สภาพการณ์และความสามารถของครอบครัวคุณ. (จงนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นเป็นประจำ
13. มีการเปลี่ยนแปลงตารางเวลาการประชุมประจำประชาคมในแต่ละสัปดาห์อย่างไร และเราควรใคร่ครวญคำถามอะไร?
13 สิ่งหนึ่งที่ช่วยครอบครัวทั้งหลายได้มากให้ “เตรียมพร้อม” สำหรับการเสด็จมาของบุตรมนุษย์ก็คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของตารางเวลาการประชุมประจำสัปดาห์ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2009. เราไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมการประชุมที่แยกต่างหากอีกวันหนึ่งในรายการการประชุมที่เคยเรียกกันว่าการศึกษาหนังสือประจำประชาคม. การประชุมดังกล่าวถูกรวมเข้ากับโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้าและการประชุมการรับใช้. การปรับเปลี่ยนนี้ทำให้ครอบครัวคริสเตียนมีโอกาสเสริมสภาพฝ่ายวิญญาณของครอบครัวตนให้เข้มแข็งด้วยการกำหนดเย็นวันหนึ่งไว้ในแต่ละสัปดาห์เพื่อการนมัสการประจำครอบครัว. ถึงตอนนี้ เวลาได้ผ่านไปพอสมควรแล้วนับตั้งแต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เราอาจถามตัวเองว่า ‘ฉันกำลังใช้เวลาที่เคยใช้ในการศึกษาหนังสือประจำประชาคมเพื่อการนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นหรือการศึกษาส่วนตัวไหม? ฉันทำได้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดเตรียมนั้นไหม?’
14. (ก) วัตถุประสงค์หลักของการนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นหรือการศึกษาส่วนตัวคืออะไร? (ข) เหตุใดการกันเวลาในช่วงเย็นวันหนึ่งไว้สำหรับการศึกษาจึงสำคัญอย่างยิ่ง?
14 วัตถุประสงค์หลักของการนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นหรือการศึกษาส่วนตัวเป็นประจำก็คือเพื่อจะเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้น. (ยโก. 4:8) เมื่อเราใช้เวลาศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำและมีความรู้เกี่ยวกับพระผู้สร้างมากขึ้น สายสัมพันธ์ที่เรามีกับพระองค์ก็จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น. ยิ่งเราเข้าใกล้พระยะโฮวามากขึ้น เราก็จะยิ่งได้รับแรงกระตุ้นมากขึ้นที่จะรักพระองค์ ‘ด้วยสุดหัวใจของเรา ด้วยสุดชีวิตของเรา ด้วยสุดความคิดของเรา และด้วยสุดกำลังของเรา.’ (มโก. 12:30) แน่นอน เรากระตือรือร้นที่จะเชื่อฟังพระเจ้าและเป็นผู้เลียนแบบพระองค์. (เอเฟ. 5:1) ดังนั้น การนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นเป็นประจำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทุกคนในครอบครัวให้ “เตรียมพร้อม” ฝ่ายวิญญาณ ขณะที่เราคอยท่า “ความทุกข์ลำบากใหญ่” ที่มีบอกไว้ล่วงหน้า. (มัด. 24:21) การทำเช่นนั้นนับว่าสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เรารอด.
15. การนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นมีผลอย่างไรต่อความรู้สึกที่แต่ละคนในครอบครัวมีต่อกัน?
15 การจัดเตรียมในเรื่องการนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นยังมีวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่ง คือเพื่อช่วยทุกคนในครอบครัวใกล้ชิดกันมากขึ้น. การใช้เวลาในการพิจารณาเรื่องราวทางฝ่ายวิญญาณร่วมกันทุกสัปดาห์มีผลอย่างมากต่อความรู้สึกที่แต่ละคนในครอบครัวมีต่อกัน. คู่สมรสรู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้นเมื่อพวกเขาได้ยินคู่ของตนแสดงความยินดีออกมาขณะที่ทั้งสองพบความจริงอันล้ำค่า! (อ่านท่านผู้ประกาศ 4:12) พ่อแม่และลูก ๆ ที่นมัสการด้วยกันคงจะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยอาศัยความรักซึ่งเป็น “สิ่งที่ผูกพันผู้คนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์.”—โกโล. 3:14
16. จงเล่าว่าพี่น้องหญิงสามคนได้รับประโยชน์อย่างไรจากการกันเวลาเย็นวันหนึ่งไว้เพื่อศึกษาคัมภีร์ไบเบิล.
16 ขอให้พิจารณาว่าพี่น้องหญิงสามคนได้รับประโยชน์อย่างไรจากการจัดเตรียมนี้ด้วยการกันเวลาเย็นวันหนึ่งไว้สำหรับการศึกษาพระคัมภีร์ด้วยกัน. แม้ว่าไม่ได้เป็นญาติกัน แม่ม่ายสูงอายุสามคนนี้อยู่ในเมืองเดียวกันและเป็นเพื่อนสนิทกันมานานหลายปี. เนื่องจากอยากพบกันมาก
ขึ้นและขณะเดียวกันก็อยากให้การพบกันเป็นประโยชน์ทางฝ่ายวิญญาณด้วยแทนที่จะเป็นแค่การพบปะสังสรรค์กัน พวกเธอจึงตกลงกันว่าจะจัดเวลามาพบกันในตอนเย็นวันหนึ่งและศึกษาคัมภีร์ไบเบิลด้วยกัน. พวกเธอเริ่มทำอย่างนี้โดยใช้หนังสือ ประกาศเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าอย่างถี่ถ้วน. พี่น้องหญิงคนหนึ่งในสามคนนี้กล่าวว่า “เราชอบการศึกษาด้วยกันมากจนมักใช้เวลามากกว่าหนึ่งชั่วโมง. เราพยายามนึกภาพสถานการณ์ที่พี่น้องในศตวรรษแรกต้องเจอและพิจารณากันว่าเราจะทำอย่างไรถ้าเจอสถานการณ์คล้าย ๆ กันนั้น. แล้วเราก็พยายามใช้สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการพิจารณานั้นในงานรับใช้. นี่ทำให้การประกาศเรื่องราชอาณาจักรและงานสอนคนให้เป็นสาวกที่เราทำน่ายินดีและเกิดผลมากยิ่งกว่าแต่ก่อน.” นอกจากจะทำให้พวกเธอเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณแล้ว การจัดเตรียมนี้ยังทำให้ทั้งสามคนที่เป็นเพื่อนกันใกล้ชิดกันมากขึ้นด้วย. พวกเธอกล่าวว่า “เราเห็นคุณค่าการจัดเตรียมนี้มาก.”17. มีปัจจัยอะไรบ้างที่ช่วยให้การนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นประสบความสำเร็จ?
17 แล้วคุณล่ะ? คุณได้รับประโยชน์อย่างไรจากการกันเวลาเย็นวันหนึ่งไว้สำหรับการนมัสการประจำครอบครัวหรือการศึกษาส่วนตัว? ถ้าคุณทำบ้างไม่ทำบ้าง การจัดเตรียมนี้ย่อมจะไม่บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้. แต่ละคนในครอบครัวควรพร้อมจะศึกษาด้วยกันตามเวลาที่กำหนดไว้. ไม่ควรปล่อยให้เรื่องที่ไม่สำคัญเข้ามาแทรกจนทำให้ไม่ได้ศึกษา. นอกจากนั้น ควรเลือกเรื่องที่จะศึกษาซึ่งเป็นเรื่องที่ครอบครัวคุณจะเอาไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน. คุณอาจทำอะไรได้เพื่อทำให้การศึกษาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่น่าเพลิดเพลิน? จงใช้วิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ และรักษาบรรยากาศการศึกษาให้เป็นที่น่านับถือและเงียบสงบ.—ยโก. 3:18 *
จง “ตื่นอยู่” และ “เตรียมพร้อม”
18, 19. การรู้ว่าบุตรมนุษย์ใกล้จะเสด็จมาแล้วน่าจะส่งผลกระทบต่อคุณและครอบครัวอย่างไร?
18 สภาพโลกที่กำลังเสื่อมลงเรื่อย ๆ ในสมัยของเราทำให้ไม่มีข้อสงสัยเลยว่านับตั้งแต่ปี 1914 โลกชั่วของซาตานได้เข้าสู่วาระสุดท้าย. เมฆพายุแห่งสงครามอาร์มาเก็ดดอนกำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา. อีกไม่ช้าจะถึงเวลาที่บุตรมนุษย์เสด็จมาสำเร็จโทษคนที่ไม่เลื่อมใสพระเจ้าตามการพิพากษาของพระยะโฮวา. (เพลง. 37:10; สุภา. 2:21, 22) ข้อเท็จจริงนี้น่าจะมีผลกระทบต่อคุณและครอบครัวมิใช่หรือ?
19 คุณกำลังเอาใจใส่คำแนะนำของพระเยซูที่ให้ตาของเรา “มองที่สิ่งเดียว” ไหม? ขณะที่ผู้คนในโลกนี้พยายามเพื่อจะได้ความมั่งคั่งร่ำรวย ชื่อเสียง หรืออำนาจ ครอบครัวคุณกำลังพยายามบรรลุเป้าหมายฝ่ายวิญญาณไหม? คุณกำลังทำตามการจัดเตรียมในเรื่องการนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นหรือการศึกษาส่วนตัวไหม? คุณทำได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ไหม? ดังที่ได้พิจารณาในบทความที่แล้ว คุณกำลังทำหน้าที่รับผิดชอบตามหลักพระคัมภีร์ในฐานะที่เป็นสามี ภรรยา หรือลูก และโดยทำอย่างนั้นจึงช่วยทั้งครอบครัวให้ “ตื่นอยู่” ไหม? (1 เทส. 5:6) ถ้าคุณทำอย่างนั้น คุณก็จะ “พร้อม” สำหรับการเสด็จมาของบุตรมนุษย์.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 17 สำหรับแนวคิดที่ว่าควรศึกษาอะไรและจะทำอย่างไรให้การนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นเป็นประโยชน์และน่าเพลิดเพลิน โปรดดูหอสังเกตการณ์ 15 ตุลาคม 2009 หน้า 29-31.
คุณได้เรียนรู้อะไร?
• จงอธิบายว่าครอบครัวคริสเตียนจะ “เตรียมพร้อม” ได้อย่างไรด้วยการ . . .
“มองที่สิ่งเดียว.”
ตั้งเป้าหมายฝ่ายวิญญาณและพยายามบรรลุเป้าหมาย.
นมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นเป็นประจำ.
[คำถาม]
[ภาพหน้า 13]
‘การมองที่สิ่งเดียว’ จะกระตุ้นให้เราต้านทานสิ่งล่อใจต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลก