การต่อสู้ทางกฎหมายที่ยาวนานสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะ!
การต่อสู้ทางกฎหมายที่ยาวนานสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะ!
การต่อสู้นี้เริ่มขึ้นในปี 1995 และยืดเยื้อยาวนานถึง 15 ปี. ระหว่างช่วงเวลานั้น คริสเตียนแท้ในรัสเซียถูกผู้ต่อต้านเสรีภาพทางศาสนาโจมตี. ผู้ต่อต้านเหล่านี้มุ่งมั่นที่จะทำให้พยานพระยะโฮวาถูกสั่งห้ามในกรุงมอสโกและเมืองอื่น ๆ ด้วย. ถึงกระนั้น พระยะโฮวาทรงเห็นสมควรที่จะประทานบำเหน็จสำหรับความซื่อสัตย์จงรักภักดีของพี่น้องชาวรัสเซียที่รักของเราโดยให้ได้รับชัยชนะทางกฎหมาย. แต่อะไรทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันเช่นนี้?
เสรีภาพในที่สุด!
ในช่วงห้าปีแรกของทศวรรษ 1990 พี่น้องของเราในรัสเซียได้รับเสรีภาพทางศาสนาที่พวกเขาสูญเสียไปในปี 1917 กลับคืนมา. ในปี 1991 รัฐบาลแห่งสหภาพโซเวียตได้จดทะเบียนรับรองพยานพระยะโฮวาอย่างเป็นทางการว่าเป็นศาสนาหนึ่ง. หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย พยานพระยะโฮวาก็ได้รับการขึ้นทะเบียนในสหพันธรัฐรัสเซีย. นอกจากนั้น พยานฯ ที่ถูกข่มเหงทางศาสนาหลายสิบปีก่อนหน้านั้นได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากรัฐว่าเป็นเหยื่อของการกดขี่ทางการเมือง. ในปี 1993 กระทรวงยุติธรรมแห่งกรุงมอสโกจดทะเบียนรับรองพยานพระยะโฮวาโดยใช้ชื่อว่า ชุมชนพยานพระยะโฮวาในกรุงมอสโก. ในปีเดียวกันนั้น รัฐธรรมนูญใหม่ของรัสเซีย ซึ่งรับรองเสรีภาพทางศาสนา ก็เริ่มมีผลบังคับใช้ด้วย. ไม่แปลกที่พี่น้องคนหนึ่งกล่าวอย่างตื่นเต้นว่า “เราไม่เคยนึกฝันเลยว่าเราจะได้เห็นเสรีภาพเช่นนี้!” แล้วเขาก็พูดต่ออีกว่า “เรารอคอยวันนี้มาถึง 50 ปี!”
พี่น้องในรัสเซียใช้ “เวลาที่สะดวก” เช่นนี้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการเพิ่มกิจกรรมงานประกาศอย่างรวดเร็ว และหลายคนตอบรับ. (2 ติโม. 4:2) ผู้สังเกตการณ์คนหนึ่งกล่าวว่า “ผู้คนสนใจเรื่องศาสนากันมาก.” ไม่นานนัก จำนวนผู้ประกาศ ไพโอเนียร์ และประชาคมก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก. ที่จริง จากปี 1990 ถึงปี 1995 จำนวนพยานฯ ในกรุงมอสโกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากประมาณ 300 คนมาเป็นมากกว่า 5,000 คน! ขณะที่จำนวนผู้รับใช้ใหม่ของพระยะโฮวาในกรุงมอสโกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พวกผู้ต่อต้านเสรีภาพทางศาสนาก็ตื่นตระหนก. ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 พวกเขาโจมตีด้วยการปลุกปั่นให้เกิดสงครามทางกฎหมาย. จะมีการต่อสู้กันอย่างยืดเยื้อยาวนานถึงสี่รอบก่อนที่จะสิ้นสุดลงในที่สุด.
การสืบสวนคดีอาญาจบลงอย่างพลิกความคาดหมาย
รอบแรกของการต่อสู้เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 1995. กลุ่มหนึ่งที่มีฐานอยู่ในกรุงมอสโกร่วมมืออย่างเปิดเผยกับคริสตจักรออร์โทด็อกซ์ของรัสเซียในการยื่นฟ้องกล่าวหาพี่น้องของเราว่ามีส่วนในกิจกรรมที่มีความผิดทางอาญา. คนกลุ่มนี้อ้างว่าทำเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในครอบครัวที่รู้สึกขุ่นเคืองที่คู่สมรสหรือบุตรเปลี่ยนศาสนามาเป็นพยานฯ. ในเดือนมิถุนายน 1996 ผู้สืบสวนเริ่มหาหลักฐานที่แสดงการกระทำผิด แต่ไม่พบ. ถึงกระนั้น กลุ่มเดิมนี้ได้ยื่นฟ้องอีก และกล่าวหาพี่น้องของเราอีกครั้งหนึ่งด้วยข้อหากระทำความผิดทางอาญา. ผู้สืบสวนดำเนินการไต่สวนอีกครั้งหนึ่ง แต่ผลปรากฏว่าข้อกล่าวหาทั้งหมดนั้นไม่จริง. ถึงกระนั้น พวกผู้ต่อต้านได้ยื่นฟ้องเป็นครั้งที่สามด้วยข้อกล่าวหาเดิม. อีกครั้งหนึ่ง พยานพระยะโฮวาในมอสโกถูกสอบสวน แต่อัยการก็ได้ข้อสรุปอย่างเดียวกัน คือไม่มีมูลเหตุที่จะเริ่มดำเนินคดีอาญา. หลังจากนั้น ผู้ต่อต้านยื่นฟ้องด้วยข้อหาเดียวกันนี้เป็นครั้งที่สี่ และอีกครั้งหนึ่ง อัยการไม่พบหลักฐานการกระทำผิด. เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่คนกลุ่มเดิมนี้ยื่นคำร้องขอให้มีการสืบสวนอีกครั้งหนึ่ง. ในที่สุด วันที่ 13 เมษายน 1998 ผู้สืบสวนคนใหม่ก็ปิดคดี.
* ในวันที่ 29 กันยายน 1998 การพิจารณาคดีได้เริ่มต้นขึ้นในศาลแขวงโกโลวินสกีแห่งกรุงมอสโก. การต่อสู้รอบที่สองเริ่มต้นขึ้น.
ทนายความคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้กล่าวว่า “แต่แล้วก็มีเรื่องประหลาดเกิดขึ้น.” แม้ว่าตัวแทนของสำนักอัยการที่ดำเนินการสืบสวนครั้งที่ห้านี้ยอมรับว่าไม่มีหลักฐานของการกระทำผิดทางอาญา เธอก็ยังคงแนะนำให้ยื่นฟ้องพี่น้องของเราในคดีแพ่ง. ตัวแทนคนนี้กล่าวหาว่าชุมชนพยานพระยะโฮวาในกรุงมอสโกฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ. อัยการของเขตศาลปกครองเหนือแห่งกรุงมอสโกเห็นชอบด้วยและยื่นฟ้องคดีแพ่ง.คัมภีร์ไบเบิลในศาล
ในห้องพิจารณาคดีที่คับแคบในกรุงมอสโกทางเหนือ อัยการทัตยานา คอนดรัตเยฟวา เริ่มโจมตีโดยใช้กฎหมายของสหพันธรัฐข้อหนึ่งซึ่งลงนามในปี 1997 ที่ระบุว่าคริสเตียนออร์โทด็อกซ์ อิสลาม ยิว และพุทธ เป็นศาสนาที่สืบทอดตามจารีตประเพณี. * ในทางปฏิบัติ กฎหมายเดียวกันนี้ทำให้เป็นเรื่องยากที่ศาสนาอื่นจะเป็นที่ยอมรับทางกฎหมาย. กฎหมายนี้ยังอนุญาตให้ศาลสั่งห้ามศาสนาที่ส่งเสริมความเกลียดชัง. โดยใช้กฎหมายนี้ อัยการกล่าวหาอย่างผิด ๆ ว่าพยานพระยะโฮวาส่งเสริมความเกลียดชังและทำลายครอบครัวและด้วยเหตุนั้นสมควรถูกสั่งห้าม.
ทนายความคนหนึ่งซึ่งต่อสู้คดีให้พี่น้องของเราถามว่า “ใครบ้างในประชาคมมอสโกที่มีความผิดฐานฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว?” อัยการไม่สามารถบอกชื่อได้แม้แต่ชื่อเดียว. แต่เธออ้างว่าหนังสือของพยานพระยะโฮวาปลุกปั่นให้เกิดความเป็นปฏิปักษ์กันทางศาสนา. เพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหาดังกล่าว เธออ่านข้อความจากวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! รวมทั้งหนังสืออื่น ๆ (ดูข้างบน). เมื่อถามว่าหนังสือเหล่านี้ก่อให้เกิดความเป็นปฏิปักษ์อย่างไร เธอกล่าวว่า “พยานพระยะโฮวาสอนว่าพวกเขาเป็นศาสนาแท้.”
ทนายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นพี่น้องของเรา ยื่นคัมภีร์ไบเบิลเล่มหนึ่งให้ผู้พิพากษาและอีกเล่มหนึ่งให้อัยการ แล้วก็อ่านเอเฟโซส์ 4:5 ที่ว่า “มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อเดียว บัพติสมาเดียว.” ไม่ช้า ผู้พิพากษา อัยการ และทนาย ซึ่งทั้งหมดถือคัมภีร์ไบเบิลไว้ในมือ ก็พิจารณาข้อคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น โยฮัน 17:18 และ ยาโกโบ 1:27. ศาลถามว่า “ข้อคัมภีร์เหล่านี้ยุยงให้เกิดความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันทางศาสนาไหม?” อัยการตอบว่าเธอไม่มีความสามารถพอที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล. ทนายความชี้ให้ดูหนังสือบางเล่มของคริสตจักรออร์โทด็อกซ์แห่งรัสเซียที่วิพากษ์วิจารณ์พยานพระยะโฮวาอย่างรุนแรง และถามว่า “ข้อความเหล่านี้ผิดกฎหมายไหม?” อัยการตอบว่า “ดิฉันไม่มีความสามารถพอที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับคำแถลงการณ์ของนักเทศน์นักบวช.”
การฟ้องคดีที่ไม่มีน้ำหนัก
ในการกล่าวหาพยานฯ ว่าทำลายครอบครัว อัยการกล่าวว่าพยานฯ ไม่ฉลองวันหยุดต่าง ๆ เช่น คริสต์มาส. อย่างไรก็ตาม ภายหลังเธอยอมรับว่ากฎหมายของรัสเซียไม่ได้เรียกร้องให้พลเมืองฉลองคริสต์มาส. ชาวรัสเซีย รวมทั้งพยานพระยะโฮวาชาวรัสเซีย มีสิทธิ์ที่จะเลือก.
อัยการยังอ้างด้วยว่าองค์การของเรา ‘ทำให้เด็ก ๆ ไม่ได้พักผ่อนตามสมควรและขาดความเพลิดเพลินยินดี.’ กระนั้น เมื่อถูกถาม เธอก็ยอมรับว่าเธอไม่เคยพูดคุยกับเยาวชนคนใด ๆ ที่ได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาที่เป็นพยานฯ. เมื่อทนายความคนหนึ่งถามอัยการว่าเธอเคยเข้าร่วมการประชุมของพยานพระยะโฮวาหรือไม่ เธอตอบว่า “ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น.”ฝ่ายอัยการเบิกตัวศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์คนหนึ่งให้เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ. เขากล่าวหาว่าการอ่านหนังสือของเราทำให้เกิดปัญหาด้านจิตใจ. เมื่อทนายฝ่ายจำเลยชี้ให้เห็นว่าคำแถลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรของศาสตราจารย์ผู้นี้ซึ่งยื่นต่อศาลเหมือนกันทุกประการกับเอกสารของอัครบิดรแห่งมอสโก ศาสตราจารย์ก็ยอมรับว่ามีบางส่วนที่เหมือนกันแบบคำต่อคำ. เขากล่าวว่า “เราทำงานโดยใช้แผ่นดิสเกตต์แผ่นเดียวกัน.” การซักถามต่อไปอีกเผยให้เห็นว่าเขาไม่เคยรักษาพยานพระยะโฮวาแม้แต่คนเดียว. ในทางตรงกันข้าม ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์คนหนึ่งให้การในศาลว่าเขาเคยศึกษาพยานฯ ในกรุงมอสโกมากกว่า 100 คน. เขาพบว่าคนกลุ่มนี้มีสุขภาพจิตปกติ และกล่าวเสริมอีกว่าสมาชิกของคนกลุ่มนี้มีความนับถือต่อศาสนาอื่น ๆ มากขึ้นเมื่อเข้ามาเป็นพยานพระยะโฮวา.
ได้รับชัยชนะแต่ยังไม่ถึงที่สุด
ในวันที่ 12 มีนาคม 1999 ผู้พิพากษาแต่งตั้งนักวิชาการห้าคนให้ศึกษาตรวจสอบหนังสือของพยานพระยะโฮวา และเธอสั่งให้พักการพิจารณาคดีไว้ก่อน. โดยที่ไม่เกี่ยวกันเลยกับการพิจารณาคดีที่กรุงมอสโก กระทรวงยุติธรรมแห่งรัฐบาลสหพันธรัฐของรัสเซียได้สั่งให้ตั้งคณะกรรมการนักวิชาการคณะหนึ่งเพื่อศึกษาตรวจสอบหนังสือของเราอยู่แล้ว. คณะกรรมการนี้ซึ่งกระทรวงมอบหมายให้ทำงานได้รายงานเมื่อวันที่ 15 เมษายน 1999 ว่าพวกเขาไม่พบสิ่งใดที่เป็นอันตรายในหนังสือของเรา. ด้วยเหตุนั้น ในวันที่ 29 เมษายน 1999 กระทรวงยุติธรรมจึงต่ออายุการจดทะเบียนรับรองพยานพระยะโฮวาในประเทศ.
ทั้ง ๆ ที่ได้รับรายงานผลการศึกษาตรวจสอบในแง่ดีเช่นนี้ ศาลแห่งกรุงมอสโกก็ยังยืนกรานให้คณะกรรมการชุดใหม่ตรวจสอบหนังสือของเรา. เมื่อเป็นอย่างนี้จึงเกิดสถานการณ์ที่แปลกอย่างหนึ่ง คือพยานพระยะโฮวาได้รับการยอมรับในระดับประเทศโดยกระทรวงยุติธรรมแห่งรัสเซียว่าเป็นศาสนาที่ได้รับการยอมรับซึ่งปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาถูกสอบสวนโดยกระทรวงยุติธรรมแห่งมอสโกเพราะถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนกฎหมาย!เกือบสองปีผ่านไปก่อนที่การพิจารณาคดีจะดำเนินต่อ และในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2001 ผู้พิพากษาเยเลนา โปรโฮรืยเชฟวา ก็อ่านคำตัดสิน. หลังจากพิจารณาคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงของคณะกรรมการที่เธอแต่งตั้ง เธอตัดสินว่า “ไม่มีมูลเหตุที่จะกำจัดและสั่งห้ามกิจกรรมของชุมชนศาสนาของพยานพระยะโฮวาในกรุงมอสโก.” ในที่สุด ก็มีการยืนยันตามกฎหมายว่าพี่น้องของเราไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหาทั้งหมด! อย่างไรก็ตาม อัยการไม่ยอมรับคำพิพากษานั้นและอุทธรณ์ไปยังศาลแห่งกรุงมอสโก. สามเดือนต่อมา ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2001 ศาลนี้เพิกถอนการตัดสินของผู้พิพากษาโปรโฮรืยเชฟวา. ศาลแห่งกรุงมอสโกมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่โดยให้อัยการคนเดิมเป็นผู้ยื่นฟ้องคดี แต่ให้เปลี่ยนผู้พิพากษาเป็นอีกคนหนึ่ง. การต่อสู้รอบที่สามกำลังจะเริ่มขึ้น.
พ่ายแพ้แต่ยังไม่ถึงที่สุด
ในวันที่ 30 ตุลาคม 2001 ผู้พิพากษาเวรา ดูบินสกายา เริ่มพิจารณาคดีใหม่. * อัยการคอนดรัตเยฟวาใช้ข้อกล่าวหาเดิมอีกที่ว่าพยานพระยะโฮวาส่งเสริมความเกลียดชัง แต่จากนั้นเธอเสริมว่าการสั่งห้ามชุมชนพยานพระยะโฮวาที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยปกป้องสิทธิของพยานฯ ในกรุงมอสโก! เพื่อตอบโต้ข้ออ้างที่แปลกประหลาดนั้น พยานฯ ทั้งหมด 10,000 คนในกรุงมอสโกลงนามทันทีในคำร้องขอให้ศาลปฏิเสธข้อเสนอของอัยการที่จะ “ช่วยปกป้อง.”
อัยการกล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นต้องให้หลักฐานที่พิสูจน์ว่าพยานฯ กระทำผิด. เธอกล่าวว่า การพิจารณาคดีนี้เกี่ยวข้องกับหนังสือและความเชื่อของพยานพระยะโฮวา ไม่ใช่กิจกรรมของพวกเขา. เธอประกาศว่า เธอจะเบิกตัวโฆษกของคริสตจักรออร์โทด็อกซ์แห่งรัสเซียให้เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ. แน่นอน คำประกาศนี้ยืนยันว่าสมาชิกของนักเทศน์นักบวชมีส่วนพัวพันอย่างลึกซึ้งในการผลักดันให้สั่งห้ามพยานฯ. ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2003 ผู้พิพากษามีคำสั่งให้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญศึกษาตรวจสอบหนังสือของพยานพระยะโฮวา—อีกครั้งหนึ่ง.
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2004 การพิจารณาคดีดำเนินต่อไปเพื่อทบทวนผลที่ได้จากการศึกษาของคณะกรรมการนั้น. ผู้เชี่ยวชาญพบว่าหนังสือของเราสนับสนุนผู้อ่านให้ “ทำนุบำรุงครอบครัวและสายสัมพันธ์ของชีวิตสมรส” และ “ไม่มีข้อสนับสนุน” คำกล่าวอ้างที่ว่าหนังสือของเราส่งเสริมความเกลียดชัง. นักวิชาการคนอื่น ๆ เห็นพ้องด้วย. มีการตั้งคำถามศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศาสนาคนหนึ่งว่า “ทำไมพยานพระยะโฮวาจึงประกาศ?” เขาให้คำตอบต่อศาลว่า “งานประกาศเป็นสิ่งที่คริสเตียนต้องทำ. นั่นคือสิ่งที่หนังสือกิตติคุณกล่าวถึงและนั่นคือสิ่งที่พระคริสต์ทรงมอบหมายให้เหล่าสาวกของพระองค์ทำ ที่ว่า ‘จงไปประกาศในทุกประเทศ.’ ” อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 26 มีนาคม 2004 ผู้พิพากษาสั่งห้ามกิจกรรมของพยานพระยะโฮวาในกรุงมอสโก. ในวันที่ 16 มิถุนายน 2004 ศาลแห่งกรุงมอสโกสนับสนุนการตัดสินนั้น. * พี่น้องคนหนึ่งซึ่งเป็นพยานฯ มานานให้ความเห็นเกี่ยวกับการตัดสินนั้นว่า “ในยุคสหภาพโซเวียต ชาวรัสเซียต้องเป็นคนที่ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า. ในปัจจุบัน ชาวรัสเซียต้องเป็นออร์โทด็อกซ์.”
พี่น้องแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อการสั่งห้ามนั้น? พวกนเฮม. 4:1-6, ฉบับ R73) คล้ายกัน พี่น้องของเราในมอสโกไม่ปล่อยให้พวกผู้ต่อต้านทำให้พวกเขาเขวจากงานที่ต้องทำให้สำเร็จในทุกวันนี้ คืองานประกาศข่าวดี. (1 เป. 4:12, 16) พวกเขาเชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาจะดูแลพวกเขา และพวกเขาก็พร้อมจะเข้าสู่การต่อสู้ที่ยืดเยื้อในรอบที่สี่.
เขาทำเหมือนกับนะเฮมยา. ในสมัยของนะเฮมยาเมื่อศัตรูของประชาชนของพระเจ้าต่อต้านความพยายามของท่านในการสร้างกำแพงกรุงเยรูซาเลมขึ้นใหม่ ท่านและประชาชนของท่านไม่ปล่อยให้ตัวเองเขวเนื่องจากการต่อต้านไม่ว่าจะแบบใด. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกเขา “สร้างกำแพงขึ้น” และมี “น้ำใจที่จะทำงาน.” (ความเป็นปฏิปักษ์เพิ่มขึ้น
ในวันที่ 25 สิงหาคม 2004 พี่น้องของเราส่งคำร้องไปยังราชวังเครมลินจ่าหน้าถึงวลาดิเมียร์ ปูติน ซึ่งเป็นประธานาธิบดีรัสเซียในตอนนั้น. คำร้องนั้น ซึ่งแสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งเกี่ยวกับการสั่งห้ามนั้น ประกอบด้วยเอกสาร 76 ชุดและมีมากกว่า 315,000 คนลงลายมือชื่อ. ขณะเดียวกัน นักบวชของคริสตจักรออร์โทด็อกซ์แห่งรัสเซียก็เผยโฉมหน้าที่แท้จริงออกมา. โฆษกของอัครบิดรแห่งมอสโกประกาศว่า “พวกเราจะต่อต้านกิจกรรมของพยานพระยะโฮวาอย่างหนัก.” ผู้นำชาวมุสลิมคนหนึ่งกล่าวว่า การตัดสินสั่งห้ามนั้นเป็น “เหตุการณ์สำคัญที่ดีอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์.”
ไม่แปลกที่ผู้คนในสังคมชาวรัสเซียที่หลงเชื่อรู้สึกกล้าที่จะโจมตีพยานพระยะโฮวา. พยานฯ บางคนที่กำลังทำงานประกาศในกรุงมอสโกถูกพวกต่อต้านต่อยเตะ. ชายผู้เดือดดาลคนหนึ่งขับไล่พี่น้องหญิงคนหนึ่งออกจากตึกและเตะเธออย่างแรงเข้าที่กลางหลังจนเธอล้มหัวฟาดพื้น. เธอต้องเข้ารับการรักษา ถึงกระนั้น ตำรวจไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ต่อชายที่ทำร้ายเธอ. พยานฯ คนอื่นถูกตำรวจจับ ถูกพิมพ์ลายนิ้วมือ ถูกถ่ายรูป และถูกคุมขังข้ามคืน. ผู้จัดการที่ให้เช่าสถานที่ประชุมหลายแห่งในกรุงมอสโกถูกขู่ว่าจะถูกไล่ออกถ้ายังให้พยานฯ เช่าหอประชุมต่อไป. ไม่นาน หลายประชาคมก็ไม่มีสถานที่ให้เช่าเพื่อจะจัดการประชุม. สี่สิบประชาคมต้องแบ่งกันใช้หอประชุมราชอาณาจักร
แห่งเดียวที่มีห้องประชุมสี่ห้อง. มีประชาคมหนึ่งที่ใช้สถานที่ประชุมต้องจัดการประชุมสาธารณะตอนเจ็ดโมงครึ่ง. ผู้ดูแลเดินทางเล่าว่า “เพื่อจะเข้าร่วมการประชุม ผู้ประกาศต้องตื่นตั้งแต่ตีห้า แต่พวกเขาก็เต็มใจทำอย่างนั้นนานกว่าหนึ่งปี.”เพื่อเป็นพยาน
เพื่อพิสูจน์ว่าการสั่งห้ามที่กรุงมอสโกผิดกฎหมาย ในเดือนธันวาคม 2004 ทนายความของเราจึงขอความช่วยเหลือจากศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป. (โปรดดูกรอบ “เหตุที่การตัดสินในรัสเซียถูกนำมาทบทวนในฝรั่งเศส” ในหน้า 6) หกปีต่อมา ในวันที่ 10 มิถุนายน 2010 ศาลนี้แถลงอย่างเป็นทางการว่ามีคำวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ให้พยานพระยะโฮวาพ้นผิดอย่างสิ้นเชิง! * ศาลนี้พิจารณาข้อกล่าวหาทั้งหมดที่กล่าวหาพวกเราและพบว่าข้อกล่าวหาเหล่านั้นไม่มีมูลอย่างสิ้นเชิง. ศาลนี้ยังกล่าวด้วยว่ารัสเซียมีพันธะตามกฎหมายที่จะ “ยุติการล่วงละเมิดที่ศาลนี้พบและแก้ไขชดเชยผลกระทบเท่าที่จะทำได้.”—โปรดดูกรอบ “คำพิพากษาของศาล” ในหน้า 8.
ข้อสรุปที่ชัดเจนของศาลเกี่ยวกับวิธีที่อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของยุโรปปกป้องกิจปฏิบัติต่าง ๆ ของพยานพระยะโฮวามีผลผูกมัดไม่เพียงต่อประเทศรัสเซีย แต่ต่ออีก 46 ชาติที่เป็นสมาชิกของสภายุโรปด้วย. ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากการวิเคราะห์กฎหมายและข้อเท็จจริงในคดีนี้มีขอบเขตที่กว้างขวาง ผู้คงแก่เรียนด้านกฎหมาย ผู้พิพากษา ผู้บัญญัติกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกจะอ่านข้อสรุปดังกล่าวด้วยความสนใจ. เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้? เพื่อจะตัดสิน ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปอ้างถึงไม่เพียงแค่แปดคดีก่อนหน้านั้นที่ศาลนี้เคยตัดสินให้พยานพระยะโฮวาชนะ แต่ยังอ้างถึงชัยชนะของพยานพระยะโฮวาเก้าครั้งก่อนหน้านั้นที่ตัดสินโดยศาลสูงสุดของแคนาดา ญี่ปุ่น รัสเซีย สหรัฐ สหราชอาณาจักร สเปน อาร์เจนตินา และแอฟริกาใต้. ข้ออ้างอิงเหล่านี้และการที่ศาลนี้คัดค้านข้อกล่าวหาของอัยการแห่งมอสโกอย่างหนักแน่นทำให้พยานพระยะโฮวาทั่วโลกมีเครื่องมืออันทรงพลังที่จะปกป้องความเชื่อและกิจปฏิบัติของตน.
พระเยซูทรงบอกเหล่าสาวกว่า พวกเขา “จะนำท่านส่งไปให้เจ้าเมืองและกษัตริย์เพราะเราเพื่อท่านจะได้เป็นพยานแก่เขาและแก่คนต่างชาติ.” (มัด. 10:18, ฉบับ R73) การต่อสู้ทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในช่วงสิบห้าปีมานี้ทำให้พี่น้องของเรามีโอกาสทำให้พระนามพระยะโฮวาเป็นที่รู้จักอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในกรุงมอสโกและเมืองอื่น ๆ. ความสนใจที่มุ่งไปยังพยานฯ เมื่อมีการสืบสวน เมื่อมีคดีต่าง ๆ ในศาล และเมื่อมีการตัดสินของศาลระหว่างประเทศล้วนเป็นไปเพื่อจะ “เป็นพยาน” อย่างแท้จริง อีกทั้งส่งเสริมและ “ทำให้ข่าวดียิ่งแพร่ออกไป.” (ฟิลิป. 1:12) ที่จริง เมื่อพยานฯ ในกรุงมอสโกทำงานประกาศในทุกวันนี้ เจ้าของบ้านหลายคนแปลกใจและถามว่า “แต่พวกคุณถูกสั่งห้ามไม่ใช่หรือ?” คำถามนี้มักทำให้พี่น้องของเรามีโอกาสให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อของเราแก่เจ้าของบ้าน. เห็นได้ชัดว่า ไม่มีอำนาจใดที่ต่อต้านเราสามารถหยุดยั้งเราไม่ให้ประกาศข่าวสารเรื่องราชอาณาจักร. เราอธิษฐานขอให้พระยะโฮวาอวยพรและค้ำจุนพี่น้องที่รักและกล้าหาญในรัสเซียต่อ ๆ ไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 8 มีการยื่นฟ้องคดีในวันที่ 20 เมษายน 1998. สองสัปดาห์ต่อมา ในวันที่ 5 พฤษภาคม รัสเซียให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของยุโรป.
^ วรรค 10 “กฎหมายนี้ถูกนำมาใช้เพราะถูกกดดันอย่างหนักจากคริสตจักรออร์โทด็อกซ์แห่งรัสเซีย ซึ่งพยายามปกป้องฐานะของตนในรัสเซียและปรารถนาอย่างยิ่งให้พยานพระยะโฮวาถูกสั่งห้าม.”—สำนักข่าวแอสโซซิเอเตด เพรส 25 มิถุนายน 1999
^ วรรค 20 เป็นเรื่องน่าขัน เพราะในวันเดียวกันนี้เองที่ครบรอบปีที่สิบของการผ่านกฎหมายข้อหนึ่งในประเทศรัสเซียที่ยอมรับว่าพยานพระยะโฮวาเป็นเหยื่อของการกดขี่ทางศาสนาในช่วงการปกครองของสหภาพโซเวียต.
^ วรรค 22 การสั่งห้ามนั้นทำให้นิติบุคคลที่ประชาคมในกรุงมอสโกใช้สิ้นสภาพ. พวกผู้ต่อต้านหวังว่าการทำให้สิ้นสภาพเช่นนั้นจะขัดขวางการทำงานรับใช้ของพี่น้องของเรา.
^ วรรค 28 ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2010 คณะกรรมการของสภาใหญ่ของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาห้าคนปฏิเสธคำร้องของรัสเซียที่ให้ย้ายคดีนี้ไปยังสภาใหญ่ของศาลนี้. เมื่อเป็นเช่นนี้ ในวันที่ 10 มิถุนายน 2010 การพิพากษาก็ถึงที่สุดและมีผลบังคับใช้.
[กรอบ/ภาพหน้า 6]
เหตุที่การตัดสินในรัสเซียถูกนำมาทบทวนในฝรั่งเศส
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1996 รัสเซียลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของยุโรป. (ในวันที่ 5 พฤษภาคม 1998 รัสเซียให้สัตยาบันอนุสัญญานี้) โดยลงนามในสนธิสัญญานี้ รัฐบาลรัสเซียประกาศว่าราษฎรของตนมี
‘สิทธิเสรีภาพทางศาสนาและมีสิทธิที่จะปฏิบัติศาสนาที่บ้านและในที่สาธารณะและมีสิทธิที่จะเปลี่ยนศาสนาถ้าต้องการ.’—มาตรา 9
‘สิทธิที่จะพูดและเขียนอย่างรับผิดชอบในสิ่งที่พวกเขาคิดและในการให้ข้อมูลแก่คนอื่น.’—มาตรา 10
‘สิทธิที่จะประชุมกันอย่างสงบ.’—มาตรา 11
ปัจเจกบุคคลหรือองค์การที่เป็นเหยื่อของการละเมิดสนธิสัญญานี้ซึ่งได้หาช่องทางตามกฎหมายในประเทศทุกอย่างแล้วสามารถนำคดีนี้ไปยื่นต่อศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป ในเมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส (ภาพข้างบน). ศาลนี้ประกอบด้วยผู้พิพากษา 47 คน ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของยุโรป. คำพิพากษาของศาลนี้มีผลผูกมัด. ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญาต้องทำตามคำพิพากษาของศาลนี้.
[กรอบหน้า 8]
คำพิพากษาของศาล
ต่อไปนี้คือข้อความสั้น ๆ สามตอนจากคำพิพากษาของศาล.
ข้อกล่าวหาหนึ่งกล่าวหาว่าพยานพระยะโฮวาทำลายครอบครัว. ศาลวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น. ศาลกล่าวว่า
“การที่สมาชิกผู้ไม่เคร่งศาสนาในครอบครัวแสดงการขัดขืนและไม่เต็มใจที่จะยอมรับและนับถือเสรีภาพทางศาสนาของญาติที่จะแสดงออกและปฏิบัติศาสนาเป็นที่มาของความขัดแย้ง.”—วรรค 111
นอกจากนั้น ศาลไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเรื่อง “การครอบงำความคิด” โดยกล่าวว่า
“ศาลพบว่าเป็นเรื่องน่าสังเกตที่ศาล [รัสเซีย] ไม่ได้อ้างชื่อปัจเจกบุคคลแม้แต่คนเดียวที่มีการกล่าวหาว่าเสรีภาพแห่งมโนธรรมของเขาถูกละเมิดโดยใช้กลวิธีเหล่านั้น.”—วรรค 129
ข้อกล่าวหาอีกอย่างหนึ่งกล่าวว่า เนื่องจากพวกเขาไม่ยอมรับการถ่ายเลือด พยานพระยะโฮวาทำให้สุขภาพของผู้เลื่อมใสได้รับความเสียหาย. ศาลนี้พิพากษาตรงกันข้าม โดยกล่าวว่า
“เสรีภาพที่จะยอมรับหรือปฏิเสธการรักษาทางการแพทย์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเลือกใช้วิธีรักษาแบบใดแบบหนึ่ง มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อหลักการเกี่ยวกับการกำหนดการปกครองด้วยตนเองและความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง. ผู้ป่วยที่บรรลุนิติภาวะซึ่งมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์มีอิสระที่จะตัดสินใจ อาทิ ว่าจะรับหรือไม่รับการผ่าตัดหรือการรักษาหรือ ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน ที่จะรับการถ่ายเลือดหรือไม่รับ.”—วรรค 136