“จงวิ่ง . . . เอารางวัลนั้นให้ได้”
“จงวิ่ง . . . เอารางวัลนั้นให้ได้”
“จงวิ่งอย่างที่จะเอารางวัลนั้นให้ได้.”—1 โค. 9:24
1, 2. (ก) เปาโลใช้อะไรเพื่อหนุนใจคริสเตียนชาวฮีบรู? (ข) ผู้รับใช้ของพระเจ้าได้รับคำแนะนำให้ทำอะไร?
ในจดหมายที่เขียนถึงคริสเตียนชาวฮีบรู อัครสาวกเปาโลใช้ภาพพจน์อย่างหนึ่งที่มีพลังเพื่อหนุนใจเพื่อนคริสเตียน. ท่านชวนพวกเขาให้ระลึกว่าพวกเขาไม่ได้วิ่งแข่งเพื่อชีวิตตามลำพัง. พวกเขามี “พยานกลุ่มใหญ่” ซึ่งได้วิ่งจนถึงเส้นชัยแล้วอยู่รอบข้าง. การนึกภาพการกระทำที่ซื่อสัตย์และความพยายามอย่างสุดกำลังของนักวิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คริสเตียนชาวฮีบรูมีแรงจูงใจที่จะรุดหน้าต่อไปและไม่ท้อถอยในการวิ่งแข่งของพวกเขา.
2 ในบทความที่แล้ว เราได้พิจารณาแนวทางชีวิตของหลายคนในบรรดา “พยานกลุ่มใหญ่.” ทุกคนแสดงให้เห็นว่าความเชื่อที่ไม่สั่นคลอนทำให้พวกเขาสามารถภักดีต่อพระเจ้า ราวกับว่าพวกเขากำลังเร่งฝีเท้าเข้าเส้นชัย. เราได้บทเรียนอย่างหนึ่งจากความสำเร็จของพวกเขา. ดังที่ได้พิจารณาในบทความนั้น เปาโลให้คำแนะนำนี้แก่เพื่อนผู้รับใช้ รวมทั้งพวกเราด้วย ที่ว่า “ให้เราปลดของหนักทุกอย่างออกจากตัว รวมทั้งบาปที่รัดตัวเราได้โดยง่าย และให้เราวิ่งด้วยความเพียรอดทนในการวิ่งแข่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรา.”—ฮีบรู 12:1
3. เปาโลชี้ให้เห็นจุดสำคัญอะไรในคำแนะนำของท่านที่กล่าวถึงนักวิ่งในการแข่งขันของชาวกรีก?
3 หนังสือภูมิหลังของคริสเตียนในยุคแรก บอกเราเกี่ยวกับการวิ่งแข่งซึ่งเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่นิยมกันในสมัยนั้นว่า * ในกรณีเช่นนั้น นักวิ่งจะเปลื้องสิ่งใดก็ตามที่ถ่วงให้หนักโดยไม่จำเป็นซึ่งอาจทำให้พวกเขาช้าลง. แม้ว่าเราจะไม่เห็นด้วยกับวิธีการของพวกเขาซึ่งไม่สุภาพและไม่เหมาะสม แต่พวกเขาก็วิ่งอย่างที่มีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียว คือเพื่อจะได้รางวัล. จุดสำคัญที่เปาโลชี้ก็คือ เพื่อจะได้รางวัลในการวิ่งแข่งเพื่อชีวิต นักวิ่งจำเป็นต้องขจัดสิ่งใดก็ตามที่ขัดขวางเขา. นี่เป็นคำแนะนำที่ดีสำหรับคริสเตียนในสมัยนั้น และเป็นคำแนะนำที่ดีสำหรับเราในสมัยนี้ด้วย. ภาระหนักอะไรบ้างที่อาจขัดขวางทำให้เราไม่ได้รับรางวัลในการวิ่งแข่งเพื่อชีวิต?
“ชาวกรีกออกกำลังกายและแข่งขันโดยไม่สวมเสื้อผ้า.”“ปลดของหนักทุกอย่าง”
4. ผู้คนในสมัยโนอาห์หมกมุ่นอยู่กับอะไร?
4 เปาโลแนะนำให้ “ปลดของหนักทุกอย่างออกจากตัว.” นั่นรวมถึงทุกสิ่งที่อาจขัดขวางเราไว้ ทำให้เราไม่สนใจและไม่พยายามอย่างเต็มที่ในการวิ่งแข่ง. ของหนักดังกล่าวอาจได้แก่อะไร? เมื่อพิจารณาชีวิตของโนอาห์ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เปาโลกล่าวถึง เราระลึกถึงคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “เหตุการณ์ในสมัยของโนอาห์เป็นอย่างไร เหตุการณ์ในสมัยของบุตรมนุษย์ก็จะเป็นอย่างนั้น.” (ลูกา 17:26) ในข้อนี้พระเยซูไม่ได้เน้นถึงการทำลายล้างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนซึ่งจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า แต่พระองค์ตรัสถึงวิธีดำเนินชีวิตของผู้คน. (อ่านมัดธาย 24:37-39) ผู้คนส่วนใหญ่ในสมัยโนอาห์ไม่สนใจเรื่องพระเจ้า และไม่สนใจแม้แต่น้อยที่จะดำเนินชีวิตอย่างที่พระเจ้าพอพระทัย. พวกเขาหมกมุ่นอยู่กับอะไร? สิ่งที่พวกเขาหมกมุ่นไม่มีอะไรแปลกใหม่เลย แต่เป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตคนเรานี่เอง คือการกิน การดื่ม และการแต่งงานกัน. ดังที่พระเยซูตรัส ปัญหาที่แท้จริงก็คือ “พวกเขาไม่แยแส.”
5. อะไรจะช่วยให้เราวิ่งจนถึงเส้นชัยได้?
5 เช่นเดียวกับโนอาห์และครอบครัวของท่าน เรามีหลายสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน. เราต้องหาเลี้ยงชีพและดูแลตัวเองรวมทั้งครอบครัว. เราอาจต้องใช้เวลาและกำลังอย่างมากในเรื่องนี้. โดยเฉพาะในยุคที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ เป็นเรื่องง่ายที่จะวิตกกังวลในเรื่องสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ในชีวิต. ในฐานะคริสเตียนที่อุทิศตัว เรายังมีหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญตามระบอบของพระเจ้าด้วย. เรามีส่วนร่วมในงานรับใช้ เตรียมตัวและเข้าร่วมการประชุมคริสเตียน และรักษาความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณโดยการศึกษาส่วนตัวและการนมัสการประจำครอบครัว. แม้ว่ามีมากมายหลายสิ่งที่โนอาห์ต้องทำในการรับใช้พระเจ้า แต่ท่าน “กระทำอย่างนั้นทุกสิ่งทุกประการ.” (เย. 6:22) แน่ล่ะ การแบกน้ำหนักให้น้อยที่สุดและการหลีกเลี่ยงภาระหนักที่ไม่จำเป็นนับว่าสำคัญเพื่อที่เราจะวิ่งให้ถึงเส้นชัยในการวิ่งแข่งของคริสเตียน.
6, 7. เราควรจำคำแนะนำอะไรของพระเยซูไว้เสมอ?
6 เปาโลหมายถึงอะไรเมื่อท่านบอกว่าให้ปลด “ของหนักทุกอย่าง”? แน่นอน เราไม่สามารถทำให้ตัวเองเบาลงโดยการปลดหน้าที่รับผิดชอบทุกอย่างที่เรามี. ในเรื่องนี้ ขอให้ระลึกถึงคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “อย่าวิตกกังวลและพูดว่า ‘เราจะกินอะไร?’ หรือ ‘เราจะดื่มอะไร’ หรือ ‘เราจะสวมอะไร?’ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ชนต่างชาติมัด. 6:31, 32) คำตรัสของพระเยซูบอกเป็นนัย ๆ ว่าแม้แต่สิ่งธรรมดา ๆ อย่างเช่นอาหารและเสื้อผ้าก็อาจกลายเป็นภาระหนักหรือเป็นสิ่งที่ทำให้สะดุดถ้าไม่ได้จัดให้อยู่ในลำดับความสำคัญที่ถูกต้อง.
ร้อนรนแสวงหา. ด้วยว่าพระบิดาของเจ้าทั้งหลายผู้สถิตในสวรรค์ทรงทราบว่าพวกเจ้าต้องมีสิ่งทั้งปวงนี้.” (7 ขอให้เอาใจใส่คำตรัสของพระเยซูที่ว่า “พระบิดาของเจ้าทั้งหลายผู้สถิตในสวรรค์ทรงทราบว่าพวกเจ้าต้องมีสิ่งทั้งปวงนี้.” นี่แสดงว่าพระยะโฮวาพระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์จะทำส่วนของพระองค์ในการดูแลให้เรามีสิ่งที่จำเป็น. ที่จริงแล้ว “สิ่งทั้งปวงนี้” อาจแตกต่างจากสิ่งที่เราเองชอบหรืออยากได้. ถึงกระนั้น เราได้รับคำแนะนำไม่ให้วิตกกังวลด้วย “สิ่งที่ชนต่างชาติร้อนรนแสวงหา.” เพราะเหตุใด? ในเวลาต่อมา พระเยซูทรงแนะนำผู้ที่ฟังพระองค์ว่า “จงระวังตัวให้ดีเพื่อว่าใจของเจ้าจะไม่หมกมุ่นอยู่กับการกินมากเกินไป การดื่มจัด และความวิตกกังวลกับชีวิต แล้ววันนั้นจะมาถึงเจ้าทันทีโดยที่เจ้าไม่ทันรู้ตัว เหมือนบ่วงแร้ว.”—ลูกา 21:34, 35
8. ทำไมในเวลานี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ “ปลดของหนักทุกอย่างออกจากตัว”?
8 เส้นชัยอยู่ข้างหน้า. คงเป็นเรื่องน่าเสียดายสักเพียงไรถ้าเราปล่อยให้ตัวเองถูกถ่วงด้วยของหนักที่ไม่จำเป็นซึ่งอาจหน่วงเหนี่ยวเราไว้ขณะที่เราจวนจะถึงเส้นชัยอยู่แล้ว! ด้วยเหตุนั้น คำแนะนำของอัครสาวกเปาโลจึงนับว่าสุขุมอย่างแท้จริง ที่ว่า “ความเลื่อมใสพระเจ้าพร้อมกับความอิ่มใจพอใจในสิ่งที่มีอยู่ทำให้ได้ประโยชน์มาก.” (1 ติโม. 6:6) การระลึกถึงถ้อยคำของเปาโลไว้เสมอจะช่วยให้มีความหวังมากยิ่งขึ้นที่เราจะได้รับรางวัล.
“บาปที่รัดตัวเราได้โดยง่าย”
9, 10. (ก) สำนวน “บาปที่รัดตัวเราได้โดยง่าย” หมายถึงอะไร? (ข) เราอาจถูกรัดตัวได้อย่างไร?
9 นอกจาก “ของหนักทุกอย่าง” แล้ว เปาโลยังบอกให้ปลด “บาปที่รัดตัวเราได้โดยง่าย.” นั่นอาจหมายถึงอะไร? บาปดังกล่าวได้แก่การขาดความเชื่อ. คำภาษากรีกที่แปลว่า “รัดตัวเราได้โดยง่าย” ปรากฏเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในคัมภีร์ไบเบิล คือในข้อนี้. อัลเบิร์ต บานส์ ผู้คงแก่เรียนให้ข้อสังเกตว่า “เช่นเดียวกับนักวิ่งที่ต้องระวังไม่ให้เสื้อผ้ามาพันแข้งพันขาซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการวิ่งของเขา คริสเตียนก็ควรพยายามปลดทุกสิ่งที่คล้ายกันนี้ออกไป.” คริสเตียนอาจถูกรัดตัวอย่างไรซึ่งทำให้ความเชื่อของเขาอ่อนลง?
10 คริสเตียนไม่ได้สูญเสียความเชื่อของเขาในชั่วข้ามคืน. เรื่องนี้อาจเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และอาจไม่ทันสังเกตเสียด้วยซ้ำ. ก่อนหน้านี้ เปาโลเตือนไว้ในจดหมายของท่านเกี่ยวกับอันตรายของการ “ลอยห่าง” และการ “เกิดมีหัวใจชั่วที่ขาดความเชื่อ.” (ฮีบรู 2:1; 3:12) เมื่อเสื้อผ้าพันแข้งพันขานักวิ่ง เขาจะล้มแน่ ๆ. มีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษที่เสื้อผ้าจะรัดพันนักวิ่งหากเขาไม่สนใจว่าการสวมเสื้อผ้าบางชนิดขณะวิ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย. อะไรอาจทำให้เขาเพิกเฉยต่ออันตรายดังกล่าว? อาจเป็นเพราะความสะเพร่าหรือความมั่นใจในตัวเองมากเกินไปหรือการล่อใจบางอย่าง. เราอาจได้บทเรียนอะไรจากคำแนะนำของเปาโล?
11. อะไรอาจทำให้เราสูญเสียความเชื่อ?
11 เราควรจำไว้ว่าการสูญเสียความเชื่อเป็นผลมาจากสิ่งที่เราทำมาก่อนหน้านั้น. ในเรื่อง “บาปที่รัดตัวเราได้โดยง่าย” มีผู้คงแก่เรียนอีกคนหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า “บาปดังกล่าวเป็นบาปที่ส่งผลกระทบร้ายแรงที่สุดต่อเรา โดยทางสภาพการณ์ที่เราประสบ โครงสร้างร่างกายของเรา และคนที่เราคบหา.” ความหมายของเขาก็คือ สิ่งแวดล้อมของเรา ความอ่อนแอของตัวเราเอง และคนที่เราคบหาอาจมีอิทธิพลอย่างมากต่อเรา. ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ความเชื่อของเราอ่อนลงหรือถึงกับสูญเสียความเชื่อได้.—มัด. 13:3-9
12. เราควรจำอะไรไว้เพื่อจะไม่สูญเสียความเชื่อ?
12 ตลอดหลายปี ชนชั้นทาสสัตย์ซื่อและสุขุมได้เตือนเราให้ระวังสิ่งที่เราดูและฟัง กล่าวคือ สิ่งที่เรารับเข้าไปในหัวใจและจิตใจของเรา. เราได้รับคำเตือนให้ระวังอันตราย1 โย. 2:15-17
ของการมุ่งแสวงหาทรัพย์สินเงินทองซึ่งอาจรัดตัวเรา. เราอาจเขวไปกับแสงสีของโลกบันเทิงหรืออุปกรณ์ทันสมัยที่ออกมาใหม่เรื่อย ๆ ไม่รู้จบสิ้น. เป็นเรื่องผิดพลาดอย่างยิ่งที่จะคิดว่าคำแนะนำดังกล่าวเข้มงวดเกินไปหรือใช้ได้เฉพาะกับคนอื่นเท่านั้น ส่วนตัวเราเองนั้นคงไม่ได้รับผลเสียหายจากอันตรายดังกล่าว. สิ่งที่จะพันรัดตัวเราที่โลกของซาตานวางไว้ดักเรานั้นสังเกตเห็นได้ยากและอาจลวงเราให้หลง. ความสะเพร่า ความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป และสิ่งล่อใจต่าง ๆ ทำให้บางคนสูญเสียความเชื่อ และสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลเสียหายต่อความหวังของเราที่จะได้รับรางวัลชีวิต.—13. เราจะป้องกันตัวเองจากอิทธิพลที่ก่อผลเสียหายได้อย่างไร?
13 วันแล้ววันเล่าเราพบเจอผู้คนที่ส่งเสริมเป้าหมาย ค่านิยม และแนวคิดของโลกที่อยู่รอบตัวเรา. (อ่านเอเฟโซส์ 2:1, 2) อย่างไรก็ตาม เราจะได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหนส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับตัวเราเอง หรือขึ้นอยู่กับว่าเราแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่ออิทธิพลเหล่านั้น. “อากาศ” ที่เปาโลกล่าวถึงนั้นทำให้ถึงตาย. เราต้องระวังอยู่เสมอเพื่อจะไม่หมดสติเพราะขาดอากาศบริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้เราไปไม่ถึงเส้นชัย. อะไรจะช่วยเราให้อยู่ในเส้นทางวิ่งต่อ ๆ ไปได้? ตัวอย่างของพระเยซู. อาจกล่าวได้ว่าพระเยซูทรงเป็นนักวิ่งองค์เอกที่สมบูรณ์แบบ. (ฮีบรู 12:2) นอกจากนั้น เรายังมีเปาโลเป็นตัวอย่าง เพราะท่านถือว่าตัวท่านเองเป็นคนหนึ่งในบรรดานักวิ่งคริสเตียนที่อยู่ในการแข่งขันและกระตุ้นเพื่อนร่วมความเชื่อให้เลียนแบบท่าน.—1 โค. 11:1; ฟิลิป. 3:14
“เอารางวัลนั้นให้ได้”—โดยวิธีใด?
14. เปาโลมองการที่ท่านเองมีส่วนร่วมในการวิ่งแข่งอย่างไร?
14 เปาโลมองการที่ท่านเองมีส่วนร่วมในการวิ่งแข่งอย่างไร? ท่านกล่าวกับผู้ปกครองที่มาจากเมืองเอเฟโซส์เป็นครั้งสุดท้ายว่า “ข้าพเจ้า . . . ไม่ถือว่าชีวิตข้าพเจ้าเป็นสิ่งสำคัญ ขอเพียงให้ข้าพเจ้าได้วิ่งจนถึงเส้นชัยและทำงานรับใช้ที่ได้รับมอบหมายจากพระเยซูเจ้าให้สำเร็จ.” (กิจ. 20:24) ท่านพร้อมจะสละทุกสิ่งรวมทั้งชีวิตของท่านเพื่อวิ่งให้ถึงเส้นชัย. สำหรับเปาโลแล้ว ความพยายามและงานหนักทั้งหมดของท่านที่เกี่ยวข้องกับการประกาศ ข่าวดีจะสูญเปล่าถ้าท่านวิ่งไม่ถึงเส้นชัย. ถึงกระนั้น ท่านก็ไม่ได้มั่นใจในตัวเองจนเกินไป โดยคิดว่าท่านจะชนะการวิ่งแข่งนี้ได้อย่างแน่นอน. (อ่านฟิลิปปอย 3:12, 13) เมื่อใกล้จะสิ้นชีวิต ท่านจึงได้กล่าวด้วยความมั่นใจว่า “ข้าพเจ้าได้ต่อสู้อย่างดีแล้ว ข้าพเจ้าวิ่งจนถึงเส้นชัยแล้ว ข้าพเจ้าได้รักษาความเชื่อไว้แล้ว.”—2 ติโม. 4:7
15. เปาโลให้กำลังใจเช่นไรแก่เพื่อนนักวิ่งที่ร่วมในการแข่งขัน?
15 นอกจากนั้น เปาโลมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเห็นเพื่อนคริสเตียนวิ่งจนถึงเส้นชัยและไม่ล้มลงกลางคัน. ตัวอย่างเช่น ท่านกระตุ้นคริสเตียนในเมืองฟิลิปปอยให้พยายามอย่างหนักเพื่อพวกเขาเองจะรอด. พวกเขาจำเป็นต้อง “ยึดมั่นกับพระคำที่ให้ชีวิต.” ท่านกล่าวต่อไปว่า “เพื่อข้าพเจ้าจะมีเหตุที่ทำให้ปลาบปลื้มยินดีในวันของพระคริสต์ และเพื่อข้าพเจ้าจะไม่ได้วิ่งโดยเปล่าประโยชน์หรือทำงานหนักโดยเปล่าประโยชน์.” (ฟิลิป. 2:16) คล้ายกัน ท่านกระตุ้นคริสเตียนในเมืองโครินท์ว่า “จงวิ่งอย่างที่จะเอารางวัลนั้นให้ได้.”—1 โค. 9:24
16. เหตุใดเป้าหมายหรือรางวัลควรแจ่มชัดอยู่ในความคิดของเรา?
16 ในการวิ่งแข่งระยะไกล เช่น การแข่งขันมาราธอน ตอนแรกนักวิ่งจะมองไม่เห็นเส้นชัย. ถึงกระนั้น ตลอดการแข่งขัน นักวิ่งจะคิดถึงเส้นชัยอยู่เสมอ. ภาพในความคิดของเขาจะชัดยิ่งขึ้นเมื่อเขารู้ว่าใกล้จะถึงเส้นชัย. ควรเป็นเช่นนั้นกับการวิ่งแข่งของเราด้วย. เป้าหมายหรือรางวัลต้องแจ่มชัดเสมอในความคิดเรา. นั่นจะช่วยเราให้วิ่งจนได้รับรางวัล.
17. ความเชื่อเกี่ยวข้องกับการเพ่งมองที่รางวัลอย่างไร?
17 เปาโลเขียนว่า “ความเชื่อคือความมั่นใจโดยมีเหตุผลหนักแน่นว่าสิ่งที่หวังไว้จะเกิดขึ้น และเป็นความแน่ใจโดยมีหลักฐานชัดเจนว่าสิ่งที่มองไม่เห็นนั้นมีจริง.” (ฮีบรู 11:1) อับราฮามและซาราห์พร้อมที่จะละความสะดวกสบายไว้เบื้องหลังและใช้ชีวิตเป็น “คนแปลกหน้าและเป็นคนอาศัยชั่วคราวในแผ่นดินนั้น.” อะไรช่วยพวกเขาให้ทำเช่นนั้นได้? “พวกเขา . . . มองเห็นแต่ไกล” ว่าจะได้รับตามที่พระเจ้าทรงสัญญา. โมเซปฏิเสธ ‘การเพลิดเพลินชั่วคราวกับบาป’ และ “ทรัพย์สมบัติในอียิปต์.” ท่านมีความเชื่อและความเข้มแข็งที่จะทำเช่นนั้นได้อย่างไร? ท่าน “เพ่งมองที่บำเหน็จซึ่งจะได้รับ.” (ฮีบรู 11:8-13, 24-26) ไม่แปลกที่เปาโลขึ้นต้นคำพรรณนาเหล่าผู้ซื่อสัตย์แต่ละคนด้วยวลี “โดยความเชื่อ.” ความเชื่อทำให้พวกเขามองข้ามการทดสอบและความยากลำบากที่ประสบอยู่และมองเห็นว่าพระเจ้ากำลังทำอะไรเพื่อพวกเขารวมถึงสิ่งที่พระองค์จะทรงทำในอนาคต.
18. เราอาจทำอะไรได้บ้างเพื่อปลด “บาปที่รัดตัวเราได้โดยง่าย”?
18 โดยการใคร่ครวญเรื่องราวของชายหญิงผู้มีความเชื่อตามที่กล่าวถึงในฮีบรูบท 11 และทำตามแบบอย่างของพวกเขา เราสามารถพัฒนาความเชื่อและปลด “บาปที่รัดตัวเราได้โดยง่าย.” (ฮีบรู 12:1) นอกจากนั้น เราสามารถ “พิจารณากันและกันเพื่อเร้าใจให้เกิดความรักและการดี” โดยประชุมร่วมกันกับผู้คนที่กำลังพัฒนาความเชื่อแบบเดียวกัน.—ฮีบรู 10:24
19. เหตุใดจึงสำคัญที่จะวิ่งแข่งต่อ ๆ ไปในเวลานี้?
19 เราใกล้จะถึงจุดสิ้นสุดของการวิ่งแข่งของเราแล้ว. เรามองเห็นเส้นชัยอยู่ข้างหน้า. โดยความเชื่อและความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา เราเองก็สามารถ “ปลดของหนักทุกอย่างออกจากตัว รวมทั้งบาปที่รัดตัวเราได้โดยง่าย.” ใช่แล้ว เราสามารถวิ่งอย่างที่จะเอารางวัลนั้นให้ได้ ซึ่งก็คือพระพรต่าง ๆ ที่พระยะโฮวา พระเจ้าและพระบิดาของเราทรงสัญญาไว้.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 นี่เป็นเรื่องบัดสีบัดเถลิงสำหรับชาวยิวสมัยโบราณ. ตามที่กล่าวในหนังสือนอกสารบบมัคคาบีฉบับที่ 2 เกิดความขัดแย้งกันอย่างมากเมื่อมหาปุโรหิตเจสันผู้ออกหากเสนอให้สร้างโรงพลศึกษาขึ้นในกรุงเยรูซาเลม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมกรีก.—2 มัคคาบี 4:7-17
คุณจำได้ไหม?
• การปลด “ของหนักทุกอย่าง” เกี่ยวข้องกับอะไร?
• อะไรอาจเป็นเหตุให้คริสเตียนสูญเสียความเชื่อ?
• เหตุใดเราต้องเพ่งมองที่รางวัลเสมอ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
“บาปที่รัดตัวเราได้โดยง่าย” คืออะไร และบาปนั้นอาจรัดตัวเราได้อย่างไร?