“อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง”
“อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง”
“จงวางใจในพระยะโฮวาด้วยสุดใจของเจ้า, อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง.”—สุภา. 3:5
1, 2. (ก) มีสถานการณ์อะไรบ้างที่เราอาจเผชิญ? (ข) เราควรหมายพึ่งใครเมื่อรับมือปัญหาที่ทำให้ทุกข์ใจ เมื่อมีเรื่องที่ต้องตัดสินใจ หรือเมื่อต้านทานการล่อใจ และเพราะเหตุใด?
นายจ้างของซินเทีย * ปิดบริษัทของเขาไปแล้วบางส่วนและปลดคนงานไปแล้วหลายคน. ซินเทียคิดว่าเธอคงเป็นคนต่อไปที่จะถูกปลด. เธอจะทำอย่างไรถ้าตกงาน? เธอจะมีเงินพอใช้จ่ายได้อย่างไร? พาเมลา พี่น้องหญิงคนหนึ่ง อยากย้ายไปรับใช้ในที่ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีผู้ประกาศราชอาณาจักรมากกว่า แต่เธอควรย้ายไปไหม? ชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อแซมมวลมีเรื่องที่ทำให้กังวลอีกแบบหนึ่ง. เขาเคยดูสื่อลามกตอนที่อายุยังน้อย. ตอนนี้แซมมวลอายุ 20 กว่าปี และเขาถูกล่อใจอย่างหนักซึ่งอาจทำให้เขากลับไปหานิสัยเดิม. เขาจะต้านทานแรงดึงดูดของสื่อลามกได้อย่างไร?
2 คุณหมายพึ่งใครเมื่อมีปัญหาที่ทำให้ทุกข์ใจ เมื่อตัดสินใจในเรื่องสำคัญ หรือเมื่อต้านทานการล่อใจ? คุณพึ่งตัวเองเท่านั้น หรือว่าคุณ ‘ทอดภาระไว้กับพระยะโฮวา’? (เพลง. 55:22) คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “พระเนตรพระยะโฮวาเพ่งดูผู้ชอบธรรม, และพระกรรณของพระองค์ทรงสดับฟังคำทูลร้องทุกข์ของเขา.” (เพลง. 34:15) ดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญจริง ๆ ที่เราจะไว้วางใจพระยะโฮวาอย่างสุดหัวใจและไม่พึ่งความเข้าใจของตัวเอง!—สุภา. 3:5
3. (ก) การไว้วางใจพระยะโฮวาเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง? (ข) เหตุใดบางคนอาจมีแนวโน้มที่จะพึ่งความเข้าใจของตัวเอง?
3 วิธีหนึ่งที่แสดงว่าเราไว้วางใจพระยะโฮวาอย่างสุดหัวใจก็คือการทำสิ่งต่าง ๆ ตามวิธีของพระองค์หรือตามพระประสงค์ของพระองค์. ในการทำอย่างนั้น เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะต้องเข้าเฝ้าพระองค์ในคำอธิษฐานเสมอและทูลขอการชี้นำจากพระองค์ด้วยความรู้สึกจากหัวใจ. อย่างไรก็ตาม การหมายพึ่งพระยะโฮวาอย่างเต็มที่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากสำหรับหลายคน. ตัวอย่างเช่น พี่น้องหญิงคนหนึ่งชื่อลินน์ยอมรับว่า “การเรียนรู้ที่จะไว้วางใจพระยะโฮวาอย่างเต็มที่เป็นเรื่องยากเสมอสำหรับดิฉัน.” เพราะเหตุใด? เธอกล่าวว่า “ดิฉันกับพ่อไม่ได้ติดต่อกันเลย และแม่ดิฉันก็ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ดิฉันไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจ. ดิฉันจึงต้องดูแลตัวเองมาตั้งแต่ยังเด็ก.” ภูมิหลังของลินน์ทำให้ยากที่เธอจะไว้วางใจใครอย่างเต็มที่. ความสามารถและความสำเร็จส่วนตัวอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเราหมายพึ่งตัวเอง. ด้วยความมั่นใจในประสบการณ์ของตัวเอง ผู้ปกครองอาจเริ่มจัดการเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประชาคมโดยไม่อธิษฐานถึงพระเจ้าก่อน.
4. เราจะพิจารณาอะไรในบทความนี้?
4 พระยะโฮวาทรงคาดหมายให้เราพยายามอย่างจริงใจที่จะทำตามคำอธิษฐานของเราและลงมือทำสอดคล้องกับพระประสงค์ของพระองค์. ถ้าอย่างนั้น เราจะทำให้สมดุลได้อย่างไรในการหมายพึ่งพระองค์ให้ดูแลเราและขณะเดียวกันก็พยายามทำในส่วนของตัวเราเองเพื่อแก้ปัญหาที่ยุ่งยาก? เมื่อมีเรื่องที่จะตัดสินใจ เราต้องระวังอะไร? เหตุใดจึงสำคัญที่จะอธิษฐานเมื่อเราพยายามต้านทานการล่อใจ? เราจะพิจารณาคำถามเหล่านี้ด้วยการใคร่ครวญตัวอย่างจากพระคัมภีร์.
เมื่อเผชิญความทุกข์ลำบาก
5, 6. ฮิศคียาห์แสดงปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อท่านถูกกองทัพของกษัตริย์อัสซีเรียคุกคาม?
5 คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงกษัตริย์ฮิศคียาห์แห่งอาณาจักรยูดาห์ว่า “ท่านได้เข้าสนิทกับพระยะโฮวา, และติดตาม2 กษัต. 18:5, 6) ฮิศคียาห์แสดงปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อกษัตริย์ซันเฮริบแห่งอัสซีเรียส่งตัวแทนหลายคน ซึ่งก็รวมถึงรับซาเคด้วย มาที่กรุงเยรูซาเลม พร้อมกับกองทัพใหญ่? กองทัพอันเกรียงไกรของอัสซีเรียได้ยึดเมืองที่มีป้อมปราการของยูดาห์มาหลายเมืองแล้ว และตอนนี้ซันเฮริบหมายตามาที่กรุงเยรูซาเลม. ฮิศคียาห์ไปที่พระนิเวศน์ของพระยะโฮวาและอธิษฐานว่า “โอ้พระยะโฮวาพระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย, บัดนี้ขอพระองค์โปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายรอดจากหัตถ์ของท่าน, เพื่อแผ่นดินทั้งปวงทั่วพิภพจะได้รู้ว่าพระองค์เป็นพระยะโฮวาพระเจ้าองค์เดียว.”—2 กษัต. 19:14-19
พระองค์ไปไม่ได้หลงผิด, แต่ได้รักษาพระบัญญัติทั้งหลายของพระยะโฮวา, ซึ่งพระองค์ได้มีรับสั่งแก่โมเซ.” ใช่แล้ว “ท่านได้ไว้ใจในพระยะโฮวาพระเจ้าของยิศราเอล.” (6 ฮิศคียาห์ทำตามคำอธิษฐานของท่าน. แม้แต่ก่อนที่จะขึ้นไปอธิษฐานที่พระวิหาร ท่านก็สั่งประชาชนว่าอย่าตอบโต้คำท้าทายของรับซาเค. นอกจากนั้น ฮิศคียาห์ยังส่งตัวแทนไปขอคำปรึกษาจากผู้พยากรณ์ยะซายาห์. (2 กษัต. 18:36; 19:1, 2) ฮิศคียาห์ทำสิ่งที่ถูกต้องเท่าที่ท่านจะทำได้. ท่านไม่ได้พยายามแก้ปัญหาอย่างไม่สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระยะโฮวาด้วยการขอการสนับสนุนจากอียิปต์หรือจากชาติที่อยู่ใกล้เคียง. แทนที่จะพึ่งความเข้าใจของตัวเอง ฮิศคียาห์ไว้วางใจพระยะโฮวา. หลังจากที่ทูตสวรรค์ของพระยะโฮวาสังหารทหารของซันเฮริบ 185,000 คน ซันเฮริบก็ “ยกกลับ” กรุงนีเนเวห์.—2 กษัต. 19:35, 36
7. เราอาจได้รับกำลังใจเช่นไรจากคำอธิษฐานของนางฮันนาและโยนาห์?
7 ฮันนา ภรรยาของเอ็ลคานาชาวเลวี ก็หมายพึ่งพระยะโฮวาเมื่อนางเป็นทุกข์เพราะไม่สามารถให้กำเนิดบุตร. (1 ซามู. 1:9-11, 18) ผู้พยากรณ์โยนาห์ได้รับการช่วยเหลือให้ออกจากท้องปลาใหญ่หลังจากที่ท่านอธิษฐานว่า “ในคราวทุกข์ยากลำบาก, ข้าพเจ้าได้ร้องเรียกพระยะโฮวา, แล้วพระองค์ได้ทรงขานรับข้าพเจ้า; ข้าพเจ้าได้ร้องออกไปจากขุมท้องแห่งเมืองผี, และพระองค์ได้ทรงยินเสียงของข้าพเจ้า.” (โยนา 2:1, 2, 10) ช่างให้กำลังใจจริง ๆ ที่รู้ว่าไม่ว่าเราจะอยู่ในสภาพที่เป็นทุกข์เดือดร้อนสักเพียงไร เราสามารถทูล “วิงวอน” พระยะโฮวาได้!—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 55:1, 16
8, 9. คำอธิษฐานของฮิศคียาห์ นางฮันนา และโยนาห์แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นห่วงในเรื่องใด และเราเรียนรู้อะไรได้จากเรื่องนี้?
8 ตัวอย่างของฮิศคียาห์ นางฮันนา และโยนาห์ยังสอนบทเรียนที่สำคัญอย่างหนึ่งแก่เราด้วยเกี่ยวกับสิ่งที่เราไม่ควรลืมเมื่อเราอธิษฐานในยามที่เราเป็นทุกข์. ทั้งสามคนรู้สึกปวดร้าวใจเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก. กระนั้น คำอธิษฐานของพวกเขาแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่เพียงแต่ห่วงตัวเองและคิดถึงแต่เพียงการได้รับความบรรเทาจากปัญหาที่ตนประสบอยู่เท่านั้น. พระนามของพระเจ้า การนมัสการพระองค์ และการทำตามพระประสงค์ของพระองค์เป็นเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับพวกเขา. ฮิศคียาห์เจ็บปวดใจที่พระนามพระยะโฮวาถูกตำหนิติเตียน. นางฮันนาสัญญาว่าจะประทานบุตรชายที่นางอยากมีอย่างมากให้รับใช้ ณ พลับพลาที่เมืองชีโลห์. และโยนาห์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะแก้สินบนในส่วนที่ข้าพเจ้าได้บนบานไว้.”—โยนา 2:9
9 เมื่ออธิษฐานขอพระยะโฮวาช่วยเราให้หลุดพ้นจากสถานการณ์ที่ยุ่งยากลำบาก นับว่าดีที่จะตรวจสอบแรงกระตุ้นของเรา. เราเป็นห่วงแต่เพียงการได้รับความบรรเทาจากปัญหาเท่านั้นไหม หรือว่าเราคำนึงถึงพระยะโฮวาและพระประสงค์ของพระองค์เสมอ? เป็นเรื่องง่ายที่ความทุกข์ยากที่เราประสบอาจทำให้เราสาละวนอยู่กับปัญหาของเราเองจนทำให้ความสนใจในเรื่องฝ่ายวิญญาณเลือนหายไป. เมื่ออธิษฐานขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า ขอให้ความคิดของเรามุ่งไปที่พระยะโฮวา การทำให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์ และการพิสูจน์ว่าพระองค์ทรงมีสิทธิโดยชอบธรรมในการปกครอง. การทำเช่นนั้นจะช่วยให้เรารักษาทัศนะในแง่บวกแม้ว่าการแก้ปัญหาไม่เป็นอย่างที่เราหวังไว้. คำตอบสำหรับคำอธิษฐานของเราอาจเป็นว่าเราจำเป็นต้องอดทนกับเรื่องยะซายา 40:29; ฟิลิปปอย 4:13
นั้นโดยอาศัยความช่วยเหลือจากพระเจ้า.—อ่านเมื่อต้องตัดสินใจ
10, 11. เยโฮซาฟาตทำอะไรเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่เขาไม่รู้จะรับมืออย่างไรดี?
10 คุณตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ในชีวิตอย่างไร? คุณตัดสินใจไปก่อนแล้วค่อยอธิษฐานขอให้พระยะโฮวาอวยพรการตัดสินใจของคุณไหม? ขอให้พิจารณาสิ่งที่เยโฮซาฟาตกษัตริย์แห่งยูดาห์ทำเมื่อกองกำลังผสมของพวกโมอาบกับอัมโมนยกมาทำสงครามกับเขา. อาณาจักรยูดาห์ไม่มีทางสู้ศัตรูได้เลย. เยโฮซาฟาตจะทำอย่างไร?
11 คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ยะโฮซาฟาดกลัว, จึงตั้งพระราชหฤทัยแสวงหาพระยะโฮวา.” เขาประกาศให้ประชาชนทั่วทั้งยูดาห์อดอาหารและรวบรวมผู้คนเพื่อ “หาที่พึ่งในพระยะโฮวา.” จากนั้น เขาก็ยืนขึ้นท่ามกลางผู้คนที่มาชุมนุมกันในยูดาห์และกรุงเยรูซาเลม แล้วก็อธิษฐาน. ส่วนหนึ่งในคำอธิษฐานนั้น เขาวิงวอนว่า “ข้าแต่พระเจ้าแห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย, พระองค์จะมิทรงพิพากษาปรับโทษพวกนั้นหรือ? ด้วยพวกข้าพเจ้านี้ไม่มีกำลังที่จะต้านทานต่อสู้หมู่คณะใหญ่ที่มาต่อสู้พวกข้าพเจ้านี้; พวกข้าพเจ้าไม่ทราบว่าจะทำประการใด แต่แหงนตาระลึกถึงพระองค์.” พระเจ้าองค์เที่ยงแท้ทรงสดับคำอธิษฐานของเยโฮซาฟาตและทรงช่วยให้ยูดาห์พ้นภัยอย่างอัศจรรย์. (2 โคร. 20:3-12, 17) เมื่อต้องตัดสินใจ โดยเฉพาะเรื่องที่อาจส่งผลต่อสภาพฝ่ายวิญญาณของเรา เราควรหมายพึ่งพระยะโฮวาแทนที่จะพึ่งความเข้าใจของเราเองมิใช่หรือ?
12, 13. กษัตริย์ดาวิดวางตัวอย่างอะไรไว้ในเรื่องการตัดสินใจ?
12 เราควรทำอย่างไรเมื่อประสบปัญหาที่อาจดูเหมือนว่าจะแก้ได้ง่ายกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะเราเคยรับมือปัญหาแบบนั้นมาก่อน เราจึงคิดหาทางแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว? บันทึกเกี่ยวกับกษัตริย์ดาวิดช่วยให้เราเข้าใจชัดในเรื่องนี้. เมื่อชาวอะมาเล็คโจมตีเมืองซิคลัก พวกเขาจับภรรยาและลูก ๆ ของดาวิดไป รวมทั้งครอบครัวคนของท่าน. ดาวิดทูลถามพระยะโฮวาว่า “ข้าพระองค์ควรไล่ตามกองโจรนี้ไปหรือไม่?” พระยะโฮวาตรัสตอบว่า “จงตามพวกเขาไปเถิด เจ้าจะตามทันและช่วยผู้คนได้สำเร็จ.” ดาวิดทำตาม และท่าน “ได้ของทุกอย่างที่พวกอามาเลขริบไปคืนมาทั้งหมด.”—1 ซามู. 30:7-9, 18-20, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย
13 ผ่านไปช่วงหนึ่งหลังจากการโจมตีของพวกอะมาเล็ค พวกฟิลิสตินก็ยกมาต่อสู้อิสราเอล. อีกครั้งหนึ่ง ดาวิดทูลถามพระยะโฮวาและได้รับคำตอบที่ชัดเจน. พระเจ้าตรัสว่า “จงขึ้นไปเถิด, ด้วยเราจะมอบพวกฟะลิศตีมไว้ในมือของเจ้าเป็นแน่.” (2 ซามู. 5:18, 19) ไม่นานหลังจากนั้น พวกฟิลิสตินก็ยกมาโจมตีดาวิดอีก. คราวนี้ท่านจะทำอย่างไร? ท่านอาจชักเหตุผลว่า ‘ข้าฯ เคยเจอเรื่องคล้าย ๆ กันนี้มาแล้วถึงสองครั้งสองครา. ข้าฯ จะยกทัพไปสู้กับศัตรูของพระเจ้าเหมือนกับครั้งก่อนก็แล้วกัน.’ หรือว่าดาวิดจะขอการชี้นำจากพระยะโฮวา? ดาวิดไม่ได้พึ่งประสบการณ์ของตัวเองในอดีต. อีกครั้งหนึ่ง ท่านเข้าหาพระยะโฮวาด้วยการอธิษฐาน. ท่านคงต้องดีใจสักเพียงไรที่ทำอย่างนั้น! คำแนะนำที่ท่านได้รับในครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อน. (2 ซามู. 5:22, 23) เมื่อเผชิญสถานการณ์หรือปัญหาที่คุ้นเคย เราต้องระวังที่จะไม่พึ่งแต่เพียงประสบการณ์ในอดีต.—อ่านยิระมะยา 10:23
14. เราได้บทเรียนอะไรจากวิธีที่ยะโฮซูอะกับผู้เฒ่าผู้แก่แห่งอิสราเอลทำข้อตกลงกับชาวฆิบโอน?
14 เนื่องจากเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ เราทุกคน รวมทั้งผู้ปกครองที่มีประสบการณ์ด้วย ต้องระวังที่จะไม่ลืมขอการชี้นำจากพระยะโฮวาเมื่อตัดสินใจ. ขอให้พิจารณาว่ายะโฮซูอะ ผู้สืบตำแหน่งต่อจากโมเซ กับผู้เฒ่าผู้แก่ของอิสราเอลทำอย่างไรเมื่อชาวฆิบโอนที่ฉลาดแกมโกงปลอมตัวเข้ามาหาโดยแสร้งทำทีว่ามาจากแดนไกล. ยะโฮซูอะกับพวกไม่ได้ทูลถามพระยะโฮวาเสียก่อน แต่ตกปากรับคำทำสัญญาสงบศึกกับพวกเขาเลย. แม้ว่าในที่สุดพระยะโฮวาทรงสนับสนุนข้อตกลงนี้ แต่พระองค์ทรงให้มีการบันทึกไว้ว่าพวกเขาไม่ได้ขอการชี้นำจากพระองค์ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของเรา.—ยโฮ. 9:3-6, 14, 15
เมื่อพยายามต้านทานการล่อใจ
15. จงอธิบายว่าทำไมเราต้องอธิษฐานเพื่อจะต้านทานการล่อใจได้.
15 เนื่องจากมี “กฎแห่งบาป” ในอวัยวะของเรา เราจำเป็นต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อต้านทานแนวโน้มที่ผิดบาป. (โรม 7:21-25) นี่เป็นการต่อสู้ที่เราจะเอาชนะได้. โดยวิธีใด? พระเยซูทรงบอกเหล่าสาวกว่าเราต้องอธิษฐานเพื่อจะต้านทานการล่อใจได้. (อ่านลูกา 22:40) แม้ว่าหลังจากที่อธิษฐานถึงพระเจ้าแล้วเราอาจยังมีความปรารถนาหรือความคิดที่ผิด ๆ อยู่ เราจำเป็นต้อง “ทูลขอพระเจ้าต่อ ๆ ไป” ให้พระองค์ประทานสติปัญญาเพื่อจะรับมือการทดสอบนั้น. เรามั่นใจว่า “พระองค์จะทรงประทานแก่ทุกคนด้วยพระทัยกว้างและไม่ทรงตำหนิ.” (ยโก. 1:5) ยาโกโบยังเขียนด้วยว่า “มีพวกท่านคนใดเจ็บป่วย [ฝ่ายวิญญาณ] หรือ? ให้เขาเชิญพวกผู้เฒ่าผู้แก่ในประชาคมมาหาเขา แล้วขอให้คนเหล่านั้นอธิษฐานเพื่อเขาและชโลมน้ำมันให้เขาในพระนามพระยะโฮวา. การอธิษฐานด้วยความเชื่อจะทำให้คนป่วยหายดี.”—ยโก. 5:14, 15
16, 17. เวลาไหนเหมาะที่สุดที่จะอธิษฐานขอความช่วยเหลือเพื่อจะต้านทานการล่อใจได้?
16 เราจำเป็นต้องอธิษฐานเพื่อจะต้านทานการล่อใจได้. แต่เราต้องรู้ด้วยว่าควรอธิษฐานเวลาใด. ขอให้พิจารณากรณีของชายหนุ่มคนหนึ่งที่สุภาษิต 7:6-23 กล่าวถึง. ในยามโพล้เพล้ เขาเดินไปที่ถนนเส้นหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นที่อยู่ของหญิงผู้ไร้ศีลธรรมคนหนึ่ง. เพราะถูกหลอกล่อด้วยคำออดอ้อนและถูกล่อลวงโดยวาจาอันหวานหูของนาง เขาตามนางไปเหมือนกับโคที่เดินไปหาผู้ฆ่า. เหตุใดชายหนุ่มคนนี้จึงไปที่นั่น? เนื่องจากเขาเป็นคนที่ “ไร้ความเข้าใจ” หรือขาดประสบการณ์ คงเป็นเรื่องยากที่เขาจะต้านทานความปรารถนาที่ผิด. (สุภา. 7:7) การอธิษฐานจะเป็นประโยชน์ต่อเขามากที่สุดเมื่อไร? แน่นอน การอธิษฐานขอให้ต้านทานการล่อใจในเวลาใดก็ตามที่เขาถูกล่อใจย่อมจะเป็นประโยชน์ทั้งนั้น. แต่เวลาที่นับว่าดีที่สุดที่เขาควรจะอธิษฐานก็คือตอนที่เขาเริ่มคิดว่าจะเดินไปที่ถนนนั้น.
17 ในปัจจุบัน ผู้ชายบางคนอาจกำลังพยายามอย่างหนักที่จะไม่ดูสื่อลามก. อย่างไรก็ตาม สมมุติว่าเขากำลังจะเข้าเว็บไซต์ที่เขารู้ว่ามีภาพหรือวิดีโอที่ยั่วยุกามารมณ์. กรณีของเขาคล้ายกับกรณีของชายหนุ่มที่สุภาษิตบท 7 กล่าวถึงมิใช่หรือ? นับว่าเป็นอันตรายสักเพียงไรที่จะเริ่มต้นเดินไปตามทางนั้น! เพื่อจะต้านทานการล่อใจให้ดูสื่อลามก คนเราจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากพระยะโฮวาด้วยการอธิษฐานก่อนที่เขาจะเริ่มต้นเดินไปตามทางนั้นในอินเทอร์เน็ต.
18, 19. (ก) เหตุใดการต้านทานการล่อใจอาจเป็นเรื่องยาก แต่คุณจะรับมือข้อท้าทายนี้ได้อย่างไร? (ข) คุณตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทำอะไร?
18 ไม่ง่ายที่จะต้านทานการล่อใจหรือเอาชนะนิสัยไม่ดี. อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ความปรารถนาทางกายเข้ากันกลา. 5:17) เพื่อจะเอาชนะข้อท้าทายนี้ เราจำเป็นต้องอธิษฐานด้วยใจแรงกล้าเมื่อความคิดผิด ๆ หรือการล่อใจเริ่มเกิดขึ้นในจิตใจ แล้วก็ทำอย่างที่สอดคล้องกับคำอธิษฐานของเรา. “ไม่มีการล่อใจใด ๆ เกิดขึ้นกับท่านทั้งหลายเว้นแต่การล่อใจที่มนุษย์เคยประสบมา” และด้วยความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา เราจะซื่อสัตย์ต่อพระองค์ได้เสมอ.—1 โค. 10:13
ไม่ได้กับพระวิญญาณ และพระวิญญาณก็เข้ากันไม่ได้กับความปรารถนาทางกาย.” ด้วยเหตุนั้น “[เรา] จึงไม่ทำตามที่ [เรา] อยากทำ.” (19 ไม่ว่าเรากำลังรับมือปัญหาที่ยุ่งยาก ตัดสินใจเรื่องสำคัญ หรือพยายามต้านทานการล่อใจ พระยะโฮวาทรงให้ของประทานที่ยอดเยี่ยมอย่างหนึ่งแก่เรา นั่นคือการอธิษฐานอันเป็นการจัดเตรียมที่ล้ำค่า. ด้วยการอธิษฐาน เราแสดงให้เห็นว่าเราหมายพึ่งพระองค์. นอกจากนั้น เราควรทูลขอพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระเจ้าต่อ ๆ ไป ให้ช่วยชี้นำและเสริมให้เราเข้มแข็ง. (ลูกา 11:9-13) และไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอให้เราไว้วางใจพระยะโฮวาและอย่าพึ่งความเข้าใจของเราเอง.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 1 ชื่อในบทความนี้เป็นชื่อสมมุติ.
คุณจำได้ไหม?
• คุณเรียนรู้อะไรจากฮิศคียาห์ นางฮันนา และโยนาห์เกี่ยวกับการไว้วางใจพระยะโฮวา?
• ตัวอย่างของดาวิดและยะโฮซูอะเน้นให้เห็นอย่างไรถึงความจำเป็นที่ต้องระวังเมื่อตัดสินใจ?
• เวลาที่ดีที่สุดที่ควรอธิษฐานเพื่อจะรับมือการล่อใจได้คือเมื่อไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 9]
ในการต้านทานการล่อใจ เวลาไหนดีที่สุดที่จะอธิษฐาน?