ตัวอย่างของมาเรียสอนอะไรเรา?
ตัวอย่างของมาเรียสอนอะไรเรา?
คุณเคยรู้สึกหนักใจเพราะปัญหาหรือหน้าที่รับผิดชอบที่ไม่ได้คาดคิดล่วงหน้าไหม? คุณรู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการตรากตรำทำงานเพื่อจะมีพอกินพอใช้ในแต่ละวันไหม? บางทีคุณอาจเป็นคนหนึ่งในหลายล้านคนที่รู้สึกสับสนและหวาดหวั่นเพราะต้องอพยพย้ายถิ่นออกจากบ้านเกิดเมืองนอน. และมีใครในพวกเราที่ไม่เคยประสบกับความเจ็บปวดแสนสาหัสและหมดกำลังใจโดยสิ้นเชิงเมื่อผู้เป็นที่รักเสียชีวิต?
คุณรู้ไหมว่ามาเรีย มารดาของพระเยซูเคยผ่านประสบการณ์ทั้งหมดนี้มาแล้ว และที่สำคัญเธอผ่านมาได้อย่างประสบความสำเร็จด้วย! เราจะเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของเธอ?
ผู้คนทั่วโลกรู้จักมาเรีย. และนั่นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมาเรียมีบทบาทพิเศษในการทำให้พระประสงค์ต่าง ๆ ของพระเจ้าบรรลุผลสำเร็จ. หลายล้านคนถึงกับเคารพบูชาเธอด้วยซ้ำ. คริสตจักรคาทอลิกยกย่องมาเรียในฐานะพระแม่ผู้เป็นที่รักและผู้เป็นแบบอย่างในเรื่องความเชื่อ, ความหวัง, และความใจบุญสุนทาน. หลายคนถูกสอนว่ามาเรียคือผู้ที่จะนำทางมนุษย์ไปหาพระเจ้า.
คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับมารดาของพระเยซู? และที่สำคัญกว่านั้น พระเจ้าทรงมองเธออย่างไร?
งานมอบหมายพิเศษ
มาเรีย บุตรีของเฮลีเป็นชาวอิสราเอลตระกูลยูดาห์. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงมาเรียเป็นครั้งแรกในบันทึกเหตุการณ์พิเศษอย่างหนึ่ง. ทูตสวรรค์องค์หนึ่งมาหามาเรียและพูดว่า “ขอให้มีสันติสุข นางผู้เป็นที่โปรดปรานยิ่ง พระยะโฮวาทรงอยู่กับเจ้า.” ตอนแรกมาเรียรู้สึกวุ่นวายใจและ “คิดอยู่ว่าคำทักทายเช่นนั้นหมายความว่าอย่างไร.” ทูตนั้นจึงบอกว่า เธอคือผู้ถูกเลือกให้ทำบางอย่างที่น่าอัศจรรย์และสำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือการตั้งครรภ์, ให้กำเนิด, และเลี้ยงดูพระบุตรของพระเจ้า.—ลูกา 1:26-33.
นั่นเป็นหน้าที่รับผิดชอบที่หนักจริง ๆ สำหรับหญิงสาวผู้นี้ซึ่งยังไม่ได้แต่งงาน! เธอตอบอย่างไร? มาเรียคงสงสัยแน่ ๆ ว่าจะมีใครเชื่อเรื่องที่เกิดขึ้นกับเธอนี้หรือไม่. การตั้งครรภ์นี้จะทำให้เธอสูญเสียความรักจากโยเซฟผู้เป็นคู่หมั้นหรือได้รับความอับอายต่อหน้าชุมชนไหม? (พระบัญญัติ 22:20-24) เธอตอบรับงานมอบหมายที่หนักหน่วงนั้นโดยไม่ลังเล.
เนื่องจากมาเรียมีความเชื่อเข้มแข็ง เธอจึงทำตามพระประสงค์ของพระยะโฮวา พระเจ้าที่เธอนมัสการ. เธอมั่นใจว่าพระองค์จะดูแลเธอ. เธอจึงพูดว่า “ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระยะโฮวา! ขอให้เกิดขึ้นกับข้าพเจ้าตามที่ท่านพูดเถิด.” มาเรียเต็มใจจะเผชิญความยุ่งยากที่รออยู่ข้างหน้าเพราะเธอถือว่าสิทธิพิเศษที่พระเจ้าประทานให้นั้นมีค่าอย่างยิ่ง.—ลูกา 1:38.
เมื่อมาเรียบอกโยเซฟว่าเธอกำลังตั้งครรภ์ โยเซฟก็ตั้งใจจะถอนหมั้น. เวลานั้นคงเป็นช่วงที่ทั้งสองคนปวดมัดธาย 1:19-24.
ร้าวใจมาก. คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอกว่าสภาพการณ์ที่ยุ่งยากนั้นมีอยู่นานแค่ไหน. แต่ทั้งมาเรียและโยเซฟคงรู้สึกเหมือนยกภูเขาออกจากอกเลยทีเดียวเมื่อทูตสวรรค์ของพระยะโฮวามาหาโยเซฟ. ทูตองค์นั้นอธิบายว่าการตั้งครรภ์ของมาเรียเป็นเหตุการณ์พิเศษยิ่ง และบอกให้โยเซฟรับเธอเป็นภรรยาและพาเธอมาอยู่ที่บ้าน.—ช่วงที่ยากลำบาก
ในปัจจุบัน ว่าที่คุณแม่หลายคนใช้เวลาเป็นเดือน ๆ เพื่อเตรียมการสำหรับทารก และมาเรียก็คงทำเช่นเดียวกัน. เด็กคนนี้จะเป็นลูกคนแรกของเธอ. แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดซึ่งทำให้แผนการของเธอยุ่งยากมากขึ้นอีก. ซีซาร์เอากุสตุสได้ออกพระราชกฤษฎีกาให้ทุกคนไปจดทะเบียนที่บ้านเกิดของตน. โยเซฟจึงพามาเรียซึ่งขณะนั้นตั้งครรภ์ได้เก้าเดือนแล้วเดินทางไกลถึงประมาณ 150 กิโลเมตร โดยที่คงจะนั่งไปบนหลังลา! เมืองเบทเลเฮมคลาคล่ำไปด้วยผู้คน และมาเรียก็ต้องการที่ส่วนตัวสำหรับคลอดบุตร แต่สถานที่แห่งเดียวที่หาได้ก็คือคอกสัตว์. การคลอดบุตรในคอกสัตว์คงเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับมาเรีย. เธอคงจะรู้สึกลำบากใจและกลัวมากทีเดียว.
ตลอดช่วงเวลาที่คับขันเช่นนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามาเรียคงได้ทูลอธิษฐานถึงพระยะโฮวาและวางใจว่าพระองค์จะทรงดูแลเธอกับลูกน้อย. หลังจากนั้นก็มีพวกคนเลี้ยงแกะมาที่คอกสัตว์ เพราะพวกเขาอยากจะเห็นทารกมาก. พวกเขาบอกมาเรียว่าเหล่าทูตสวรรค์เรียกทารกนี้ว่า “พระผู้ช่วยให้รอด คือพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้า.” จากนั้น เราอ่านว่า “มาเรียจดจำถ้อยคำทั้งหมดนั้นไว้และใคร่ครวญอยู่ในใจ.” มาเรียครุ่นคิดเกี่ยวกับคำพูดเหล่านั้นและรู้สึกมีกำลังใจขึ้น.—ลูกา 2:11, 16-19.
จะว่าอย่างไรสำหรับเรา? คงมีช่วงเวลาที่เราประสบความทุกข์ในชีวิต. นอกจากนี้ คัมภีร์ไบเบิลยังแสดงให้เห็นว่า “วาระและเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้า” ท่านผู้ประกาศ 9:11) ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เรารู้สึกขมขื่นใจและนึกตำหนิพระเจ้าไหม? คงดีกว่ามิใช่หรือถ้าเราจะเลียนแบบทัศนะของมาเรียและเข้ามาใกล้ชิดพระยะโฮวาพระเจ้ายิ่งขึ้นด้วยการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระองค์แล้วใคร่ครวญสิ่งที่เราได้เรียนรู้? การทำเช่นนั้นจะช่วยเราให้อดทนกับปัญหายุ่งยากได้อย่างแน่นอน.
เกิดขึ้นได้กับเราทุกคน ซึ่งสร้างความเดือดร้อนและก่อปัญหาสารพัดให้เรา. (ยากจนและเป็นผู้ลี้ภัย
มาเรียเผชิญปัญหายุ่งยากอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งความยากจนและการที่ต้องหนีออกจากประเทศของตน. คุณเคยประสบความยุ่งยากอย่างเดียวกันนี้ไหม? รายงานหนึ่งกล่าวว่า “ประชากรครึ่งหนึ่งของโลก คือเกือบสามพันล้านคนยังชีพด้วยเงินไม่ถึงเจ็ดสิบบาทต่อวัน” และอีกหลายล้านคนยังต้องดิ้นรนเพื่อจะหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย แม้จะอยู่ในประเทศที่ถือกันว่าร่ำรวยก็ตาม. คุณล่ะเป็นอย่างไร? การตรากตรำทำงานวันแล้ววันเล่าเพื่อให้ครอบครัวมีอาหาร, เสื้อผ้าและที่อยู่อาศัยทำให้คุณเหนื่อยล้าและบางครั้งถึงกับหนักใจจนแทบจะทนไม่ไหวไหม?
คัมภีร์ไบเบิลบอกให้รู้ว่าโยเซฟและมาเรียมีฐานะค่อนข้างยากจน. เรารู้ได้อย่างไร? บันทึกในหนังสือกิตติคุณ ทั้งมัดธาย, มาระโก, ลูกา, และโยฮันซึ่งเปิดเผยเรื่องราวไม่มากนักเกี่ยวกับสามีภรรยาคู่นี้ได้บอกให้ทราบว่าหลังจากมาเรียคลอดบุตรได้ 40 วัน เธอกับโยเซฟก็ไปที่พระวิหารเพื่อถวายเครื่องบูชาตามที่พระบัญญัติกำหนดไว้ คือ “นกเขาหนึ่งคู่หรือนกพิราบหนุ่มสองตัว.” * (ลูกา 2:22-24) เฉพาะแต่คนที่ขัดสนมากจนไม่สามารถถวายลูกแกะตัวผู้ได้เท่านั้นที่พระบัญญัติอนุญาตให้ถวายนกได้. แสดงว่าโยเซฟกับมาเรียคงอยู่ในฐานะที่ต้องดิ้นรนเพื่อจะมีกินมีใช้เช่นกัน. ถึงอย่างนั้นก็ตาม พวกเขาก็ประสบความสำเร็จในการสร้างครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่น. เห็นได้ชัดว่า พวกเขาจัดให้การนมัสการพระเจ้าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต.—พระบัญญัติ 6:6, 7.
หลังจากพระเยซูประสูติได้ไม่นานชีวิตของมาเรียก็พลิกผันอีกครั้ง. ทูตสวรรค์มาบอกโยเซฟว่าให้พาครอบครัวหนีไปอียิปต์. (มัดธาย 2:13-15) นี่เป็นครั้งที่สองที่มาเรียต้องออกจากสภาพแวดล้อมที่เธอคุ้นเคย แต่ครั้งนี้ต้องไปไกลถึงต่างประเทศ. มีชุมชนชาวยิวขนาดใหญ่แห่งหนึ่งอยู่ในอียิปต์ มาเรียกับโยเซฟจึงอาจได้อาศัยอยู่ในหมู่ชาวยิวด้วยกัน. แต่ถึงอย่างไรการใช้ชีวิตในต่างแดนก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายและทำให้สับสนงงงวย. คุณกับครอบครัวเป็นคนหนึ่งในหลายล้านคนที่ต้องออกจากบ้านเกิดเมืองนอนไหม บางทีอาจเป็นเพราะเห็นแก่สวัสดิภาพของลูกหรือเพื่อจะหนีจากภัยอันตราย? ถ้าใช่ คุณก็คงเข้าใจดีถึงความลำบากบางอย่างที่มาเรียอาจได้ประสบในอียิปต์.
เป็นภรรยาและมารดาที่เสียสละ
นอกเหนือจากเรื่องราวการประสูติและชีวิตวัยเยาว์ของพระเยซูแล้ว กิตติคุณทั้งสี่ไม่ได้กล่าวอะไรมากนักเกี่ยวกับมาเรีย. แต่เรารู้ว่ามาเรียและโยเซฟมีลูกอีกอย่างน้อยหกคน. คุณอาจแปลกใจเมื่อรู้เรื่องนี้. แต่ให้เราดูว่าหนังสือกิตติคุณกล่าวอย่างไร.
โยเซฟให้ความนับถืออย่างยิ่งต่อสิทธิพิเศษที่มาเรียได้รับในการให้กำเนิดพระบุตรของพระเจ้า. เพราะเหตุนี้ เขาจึงไม่มีเพศสัมพันธ์กับเธอจนกระทั่งพระเยซูประสูติแล้ว. มัดธาย 1:25 บอกว่าโยเซฟ “ไม่มีเพศสัมพันธ์กับนางจนนางคลอดบุตรแล้ว.” คำว่า “จน” ในข้อนี้บ่งชี้ว่าหลังจากพระเยซูประสูติแล้ว โยเซฟและมาเรียก็มีเพศสัมพันธ์กันตามปกติฉันสามีภรรยา. ฉะนั้น จึงมีบันทึกในกิตติคุณว่ามาเรียมีลูกกับโยเซฟ ทั้งลูกชายและลูกสาว. น้องชายร่วมมารดา ของพระเยซูคือ ยาโกโบ, โยเซฟ, ซีโมน, และยูดาห์. มาเรียมีลูกสาวอย่างน้อยสองคนด้วย. (มัดธาย 13:55, 56) แต่ลูก ๆ เหล่านี้ไม่ได้ถือกำเนิดด้วยวิธีพิเศษเหมือนพระเยซู. *
มาเรียเป็นคนที่ฝักใฝ่ในเรื่องการนมัสการพระเจ้า. ถึงแม้พระบัญญัติไม่ได้กำหนดว่าผู้หญิงต้องเข้าร่วมการฉลองปัศคา แต่มาเรียก็เดินทางไปกับโยเซฟเป็นประจำทุกปีเพื่อร่วมเทศกาลนี้ที่กรุงเยรูซาเลม. (ลูกา 2:41) นี่หมายถึงการเดินทางไปกลับรวมกันประมาณ 300 กิโลเมตร พร้อมกับครอบครัวที่ขยายใหญ่ขึ้น! แต่การเดินทางเช่นนี้คงเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขสำหรับครอบครัวอย่างแน่นอน.
ผู้หญิงหลายคนในทุกวันนี้เลียนแบบตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของมาเรีย. พวกเธอทำงานหนักอย่างไม่เห็นแก่ตัวเพื่อทำหน้าที่ของตนตามที่พระคัมภีร์กำหนดไว้. บ่อยเพียงไรที่ภรรยาผู้เสียสละตัวเองเหล่านี้ได้แสดงความอดทน, บากบั่นไม่ย่อท้อ, และถ่อมใจอย่างยิ่ง! การได้ใคร่ครวญทัศนะของมาเรียช่วยให้พวกเธอจัดเอาการนมัสการพระเจ้ามาก่อนความสะดวกสบายและความเพลิดเพลินของตนเอง. เช่นเดียวกับมาเรีย พวกเธอรู้ว่าการนมัสการพระเจ้าร่วมกับสามีและลูก ๆ ช่วยให้ครอบครัวเข้มแข็งขึ้นและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ครั้งหนึ่งขณะที่มาเรียกับโยเซฟกำลังเดินทางกลับจากการไปร่วมเทศกาลในกรุงเยรูซาเลมโดยอาจมีลูก ๆ บางคนร่วมเดินทางไปด้วย พวกเขาได้พบว่าพระเยซูซึ่งอายุได้ 12 พรรษาไม่ได้กลับมาด้วยกัน. คุณนึกออกไหมว่ามาเรียจะทุกข์ใจมากแค่ไหนตลอดสามวันที่เธอตามหาลูกชายอย่างกระวนกระวายใจ? ในที่สุดเมื่อเธอกับโยเซฟพบพระเยซูอยู่ในพระวิหาร พระเยซูตรัสว่า “พ่อกับแม่ไม่รู้หรือว่าลูกต้องลูกา 2:41-52.
อยู่ในพระนิเวศของพระบิดา?” อีกครั้งหนึ่งที่มีบันทึกว่า มาเรีย “จดจำทุกถ้อยคำไว้ในใจ.” นี่เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้เห็นว่า มาเรียฝักใฝ่ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้ามากทีเดียว. เธอใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับพระเยซู. หลังจากนั้นอีกหลายปี เธอคงได้ถ่ายทอดความทรงจำอันน่าประทับใจเหล่านี้และเหตุการณ์อื่น ๆ ในช่วงชีวิตวัยเยาว์ของพระเยซูให้แก่พวกผู้เขียนกิตติคุณ.—อดทนเมื่อเผชิญความทุกข์และการสูญเสีย
เกิดอะไรขึ้นกับโยเซฟบิดาเลี้ยงของพระเยซู? หลังจากพูดถึงเขาเล็กน้อยในเหตุการณ์ตอนที่พระเยซูอายุ 12 พรรษาแล้ว กิตติคุณก็ไม่ได้กล่าวถึงโยเซฟอีกเลย. บางคนคิดว่าการที่พระคัมภีร์ไม่กล่าวถึงโยเซฟแสดงว่าเขาได้เสียชีวิตไปก่อนที่พระเยซูจะเริ่มทำงานรับใช้. * ไม่ว่าจะอย่างไร ดูเหมือนว่าเมื่อถึงตอนที่พระเยซูสิ้นสุดงานรับใช้ของพระองค์นั้นมาเรียเป็นม่ายแล้ว. เมื่อพระเยซูกำลังจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงฝากให้อัครสาวกโยฮันดูแลมารดาของพระองค์. (โยฮัน 19:26, 27) พระเยซูคงจะไม่ทำเช่นนั้นถ้าโยเซฟยังมีชีวิตอยู่.
มาเรียกับโยเซฟผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มาด้วยกันมากมายเหลือเกิน! พวกเขาได้พบทูตสวรรค์, หนีจากกษัตริย์ใจทมิฬ, ย้ายที่อยู่หลายครั้งและมีลูกหลายคน. ในตอนเย็นทั้งสองคงจะได้นั่งคุยกันบ่อย ๆ ถึงเรื่องพระเยซูและสงสัยกันว่าพระองค์จะต้องเผชิญอะไรในอนาคต และคงจะเป็นห่วงว่าพวกเขาได้ฝึกสอนและเตรียมพระองค์ไว้อย่างเหมาะสมแล้วหรือยัง. แล้วจู่ ๆ มาเรียก็ต้องอยู่คนเดียว.
คุณเคยสูญเสียคู่สมรสเนื่องจากความตายไหม? เรื่องนั้นยังทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดและเป็นทุกข์อยู่ไหมแม้เวลาจะผ่านมาหลายปีแล้ว? ไม่ต้องสงสัยว่า ความเชื่อของมาเรียและการที่เธอรู้ว่าจะมีการกลับเป็นขึ้นจากตายช่วยเธอให้ทำใจได้. * (โยฮัน 5:28, 29) แต่เรื่องที่ปลอบประโลมใจนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้ปัญหาของมาเรียหมดไป. มาเรียก็เช่นเดียวกับมารดาที่เลี้ยงลูกตามลำพังในทุกวันนี้ที่เผชิญกับข้อท้าทายในการเลี้ยงลูกโดยที่ไม่มีสามีคอยช่วยเหลือ.
ลูกา 3:23) พ่อแม่ส่วนใหญ่รู้สึกภูมิใจแต่ก็เศร้าใจเมื่อลูกชายหรือลูกสาวที่โตแล้วออกจากบ้านไป. พวกเขาได้ทุ่มเทมากมายให้กับลูก ทั้งเวลา, กำลัง, และอารมณ์ความรู้สึก พวกเขาจึงอาจเกิดความรู้สึกว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างขาดหายไปเมื่อลูกจากบ้าน. คุณมีลูกชายหรือลูกสาวที่จากบ้านไปเพื่อทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในชีวิตไหม? คุณรู้สึกภูมิใจในตัวพวกเขา แต่ในขณะเดียวกันก็อยากให้พวกเขาอยู่ใกล้คุณมากกว่านี้ไหม? ถ้าเช่นนั้นคุณก็จะเข้าใจว่ามาเรียคงรู้สึกอย่างไรเมื่อพระเยซูจากบ้านไป.
มีเหตุผลที่จะเชื่อว่าพระเยซูทรงเป็นหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวหลังจากโยเซฟเสียชีวิตไป. เมื่อพวกน้องชายของพระเยซูโตขึ้น พวกเขาคงจะรับหน้าที่ของตนในการดูแลครอบครัวได้. เมื่อพระเยซู “มีพระชนมายุประมาณสามสิบพรรษา” พระองค์ทรงจากบ้านไปและเริ่มทำงานประกาศสั่งสอน. (ปัญหาที่ไม่ได้คาดคิด
มีปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่มาเรียคงไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น. เมื่อพระเยซูประกาศสั่งสอน มีหลายคนติดตามพระองค์ แต่น้อง ๆ ของพระองค์เองกลับไม่สนใจ. พระคัมภีร์กล่าวว่า “ที่จริง พวกน้อง ๆ ของพระองค์ไม่มีความเชื่อในพระองค์.” (โยฮัน 7:5) มาเรียคงได้เล่าให้พวกเขาฟังถึงเรื่องที่ทูตสวรรค์บอกกับเธอว่าพระเยซูทรงเป็น “พระบุตรของพระเจ้า.” (ลูกา 1:35) แต่สำหรับยาโกโบ, โยเซฟ, ซีโมนและยูดาห์ พระเยซูทรงเป็นเพียงพี่ชายเท่านั้น. ดังนั้น มาเรียจึงอยู่ในครอบครัวที่มีทัศนคติต่างกันในเรื่องศาสนา.
มาเรียรู้สึกท้อแท้ใจและเลิกล้มความพยายามที่จะเปลี่ยนความคิดของลูก ๆ ไหม? ไม่เลย! ครั้งหนึ่งเมื่อพระเยซูทรงประกาศสั่งสอนอยู่ในแคว้นแกลิลี พระองค์เข้าไปรับประทานอาหารในบ้านหลังหนึ่งและมีฝูงชนมาชุมนุมกันเพื่อฟังพระองค์. มีใครมาหาพระองค์ข้างนอกบ้าน? มาเรียกับน้องชายของพระองค์นั่นเอง. ดังนั้น เมื่อพระเยซูมาประกาศสั่งสอนใกล้ ๆ บ้าน มาเรียก็ตามพระองค์ไปและเห็นได้ชัดว่าเธอพาลูก ๆ ไปด้วย โดยอาจหวังว่าพวกเขาจะเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อพระเยซู.—มัดธาย 12:46, 47.
คุณอาจมีปัญหาคล้ายกันเมื่อคุณพยายามจะติดตามพระเยซูในขณะที่คนอื่น ๆ ในครอบครัวไม่ต้องการติดตามพระองค์. อย่าท้อใจ แต่จงพยายามต่อ ๆ ไป! หลายคนได้ทำเช่นเดียวกับมาเรียโดยพยายามช่วยสมาชิกในครอบครัวด้วยความอดทนเป็นเวลาหลายปีจนในที่สุดก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ. พระเจ้าทรงถือว่าความอดทนเช่นนั้นมีค่ามาก ไม่ว่าคนอื่นจะตอบรับหรือไม่.—1 เปโตร 3:1, 2.
ความทุกข์ที่หนักที่สุด
เหตุการณ์ที่ทดสอบความเชื่อของมาเรียครั้งสุดท้ายตามที่บันทึกในพระคัมภีร์ คงเป็นเหตุการณ์ที่ก่อความลูกา 2:34, 35.
ปวดร้าวใจแก่เธอมากที่สุด. มาเรียเฝ้ามองลูกชายที่รักของเธอตายอย่างเจ็บปวดทรมานหลังจากถูกชนร่วมชาติปฏิเสธ. เคยมีผู้กล่าวว่า การตายของลูกเป็น “การสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด,” “การตายที่ก่อความทุกข์มากที่สุด” ไม่ว่าลูกคนนั้นจะยังเป็นเด็กเล็ก ๆ หรือโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม. เป็นไปดังที่มีการบอกไว้ก่อนหน้านั้นหลายสิบปี มาเรียรู้สึกเหมือนถูกดาบยาวแทงทะลุตัวเธอ!—มาเรียยอมให้การทดสอบครั้งสุดท้ายนี้ทำให้เธอหมดอาลัยตายอยากหรือมีความเชื่อในพระยะโฮวาน้อยลงไหม? ไม่เลย. เมื่อคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงเธอในเวลาต่อมา เราพบว่าเธออยู่กับพวกสาวกของพระเยซูและ “พากเพียรอธิษฐาน” ด้วยกันกับคนเหล่านั้น. และไม่ใช่เธอเท่านั้น. ลูกชายคนอื่น ๆ ซึ่งตอนนี้เริ่มมีความเชื่อในพี่ชายแล้วก็อยู่กับเธอด้วย. เรื่องนี้คงทำให้มาเรียคลายทุกข์ได้มากจริง ๆ! *—กิจการ 1:14.
มาเรียมีชีวิตที่มีความหมายและน่าพึงพอใจในฐานะสตรีที่มีความซื่อสัตย์มั่นคงในพระเจ้า ทั้งยังเป็นภรรยาและมารดาที่ซื่อสัตย์ภักดี. เธอมีประสบการณ์ที่มีค่ามากมายในการรับใช้พระเจ้า. เธอเอาชนะการทดสอบความเชื่อและอุปสรรคหลายอย่าง. เมื่อเราเจอปัญหายุ่งยากที่ไม่คาดคิดหรือเมื่อเราวิตกกังวลกับปัญหาครอบครัว เราคงเรียนหลายสิ่งได้จากตัวอย่างของมาเรียผู้ซึ่งเพียรอดทนอย่างซื่อสัตย์.—ฮีบรู 10:36.
แต่จะว่าอย่างไรสำหรับการยกย่องบูชามาเรียเป็นพิเศษในทางศาสนา? บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับบทบาทพิเศษของมาเรียบ่งชี้ไหมว่าเธอสมควรจะได้รับการยกย่องบูชา?
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 17 นกตัวหนึ่งที่พวกเขาได้ถวายนั้นสำหรับเป็นเครื่องบูชาไถ่โทษ. (เลวีติโก 12:6, 8) การที่มาเรียถวายเครื่องบูชานี้ แสดงว่าเธอยอมรับว่าตัวเธอเองก็เป็นเช่นเดียวกับมนุษย์ไม่สมบูรณ์คนอื่น ๆ ทุกคนซึ่งได้รับผลจากบาปที่สืบทอดมาจากอาดาม มนุษย์คนแรก.—โรม 5:12.
^ วรรค 21 ดูกรอบ “พระเยซูมีน้องไหม?”
^ วรรค 26 มีการตั้งข้อสังเกตว่า การที่โยเซฟหายไปจากบันทึกเรื่องราวในช่วงงานรับใช้ของพระเยซูนั้นเป็นเรื่องที่น่าคิดเนื่องจากมีการกล่าวถึงสมาชิกคนอื่น ๆ ของครอบครัว ทั้งมารดา, น้องชาย, และน้องสาว. ตัวอย่างเช่น ในงานสมรสที่เมืองคานา เราเห็นว่ามาเรียมีส่วนร่วมในงานและถึงกับริเริ่มทำบางอย่างด้วยตนเอง แต่ไม่มีการกล่าวถึงโยเซฟเลย. (โยฮัน 2:1-11) ในอีกเหตุการณ์หนึ่ง เราเห็นว่าผู้คนในเมืองที่พระคริสต์อาศัยอยู่ได้พูดถึงบุรุษที่ชื่อเยซูว่าเป็น “บุตรนางมาเรีย” ไม่ใช่บุตรโยเซฟ.—มาระโก 6:3.
^ วรรค 28 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสัญญาของคัมภีร์ไบเบิลในเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย โปรดดูบท 7 ของหนังสือคัมภีร์ไบเบิลสอนอะไรจริงๆ? ซึ่งจัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 36 ดูกรอบ “เธอกล้าที่จะเปลี่ยน” ในหน้า 7.
[กรอบ/ภาพหน้า 6]
พระเยซูมีน้องไหม?
มี. นักเทววิทยาบางคนพยายามโต้แย้งความจริงข้อนี้ แม้ว่าหนังสือกิตติคุณจะบอกอย่างชัดเจนหลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้. (มัดธาย 12:46, 47; 13:54-56; มาระโก 6:3) อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์ไบเบิลได้ให้ข้อสังเกตสองประการเกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆ ที่อ้างว่ามาเรียไม่มีลูกอีกนอกจากพระเยซู. ประการแรก ทฤษฎีเหล่านั้นมีจุดประสงค์อยู่เบื้องหลัง คือเพื่อจะสนับสนุนหลักคำสอนที่เกิดขึ้นหลังจากสมัยของพระเยซูนานหลายปีซึ่งคริสตจักรสอนว่ามาเรียเป็นพรหมจารีตลอดชีวิตของเธอ. ประการที่สอง เมื่อตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนแล้วพบว่าทฤษฎีเหล่านี้ฟังไม่ขึ้น.
ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า “น้อง” ของพระเยซูที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงก็คือน้องชายต่างบิดาของพระเยซู—ลูก ๆ ของโยเซฟจากการแต่งงานครั้งก่อน. แนวคิดนี้ไม่มีน้ำหนัก เพราะเท่ากับเป็นการปฏิเสธว่าพระเยซูไม่มีสิทธิโดยชอบธรรมในฐานะบุตรหัวปีที่จะสืบทอดตำแหน่งกษัตริย์จากดาวิด.—2 ซามูเอล 7:12, 13.
อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าพี่น้องเหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเยซู ถึงแม้ว่าพระคัมภีร์ภาคภาษากรีกจะใช้คำต่างกันเมื่อพูดถึง “พี่น้อง,” “ลูกพี่ลูกน้อง,” และ “ญาติ.” ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญแฟรงก์ อี. เกเบไลน์ จึงเรียกทฤษฎีทางเทววิทยาเหล่านี้ว่าทฤษฎีที่ไม่น่าจะเป็นไปได้. เขาลงความเห็นว่า “ความเข้าใจที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุดเกี่ยวกับคำว่า ‘น้อง’ . . . ก็คือคำนี้หมายถึงพวกลูกชายของมาเรียและโยเซฟ ซึ่งก็หมายถึงน้องชายของพระเยซูที่เกิดจากมารดาคนเดียวกัน.”
[กรอบหน้า 7]
เธอกล้าที่จะเปลี่ยน
มาเรียเกิดในครอบครัวชาวยิวและนับถือศาสนายิว. เธอไปร่วมชุมนุมที่สถานนมัสการของชาวยิวในท้องถิ่นที่เรียกว่าธรรมศาลา และไปที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม. แต่เมื่อมาเรียมีความรู้เกี่ยวกับพระประสงค์ของพระเจ้ามากขึ้น เธอก็เข้าใจว่าธรรมเนียมประเพณีที่บรรพบุรุษของเธอปฏิบัตินั้นไม่เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าอีกต่อไป. ผู้นำศาสนาชาวยิวได้สั่งประหารบุตรชายของเธอ ผู้เป็นพระมาซีฮา. ก่อนที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น พระเยซูได้ตรัสกับคนเหล่านั้นว่า “พระวิหารหลังนี้ก็ถูกทิ้งร้างและละไว้ให้พวกเจ้า.” (มัดธาย 23:38) พระเจ้าไม่ทรงอวยพรศาสนาที่มาเรียนับถือมาตั้งแต่เด็กอีกต่อไป.—กาลาเทีย 2:15, 16.
ตอนที่มีการก่อตั้งประชาคมคริสเตียน มาเรียคงมีอายุราว ๆ 50 ปี. เธอจะทำอย่างไร? เธออ้างเหตุผลไหมว่าเธอเกิดมาในศาสนายิวและเธอก็น่าจะภักดีต่อธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษต่อไป? เธอพูดไหมว่าเธอแก่แล้วและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้อีก? ไม่ใช่เช่นนั้นเลย! มาเรียเข้าใจว่าบัดนี้ พระเจ้าทรงโปรดปรานประชาคมคริสเตียน เธอจึงมีความเชื่อและความกล้าที่จะเปลี่ยน.
[ภาพหน้า 5]
หนีไปลี้ภัยในอียิปต์
[ภาพหน้า 8]
ประสบการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่ผู้เป็นมารดาจะประสบได้