โปปคือ “ผู้สืบทอดตำแหน่งนักบุญเปโตร” หรือ?
โปปคือ “ผู้สืบทอดตำแหน่งนักบุญเปโตร” หรือ?
ในปี 2002 โปปจอห์น ปอลที่ 2 ได้เขียนจดหมายถึงบิชอปแห่งลิมบูร์กในเยอรมนี เพื่อสั่งยกเลิกคำตัดสินของบิชอปผู้นี้ในเรื่องการทำแท้ง. ในตอนต้นของจดหมาย โปปกล่าวว่าเขาคือผู้มีหน้าที่ดูแล “สวัสดิภาพและความเป็นเอกภาพของคริสตจักรทั้งปวงตามพระประสงค์ของพระเยซูคริสต์.” โปปอ้างว่าเขามีสิทธิ์ยกเลิกคำตัดสินของบิชอปแห่งลิมบูร์ก เพราะในฐานะโปปหรือสันตะปาปาเขาคือ “ผู้สืบทอดตำแหน่งนักบุญเปโตร.”
ตามที่กล่าวในนิว คาทอลิก เอ็นไซโคลพีเดีย (ปี 2003) เล่มที่ 11 หน้า 495-496 “พระคริสต์ทรงแต่งตั้งนักบุญเปโตรให้เป็นหัวหน้าของอัครสาวกทุกคน.” คริสตจักรคาทอลิกยังกล่าวอ้างด้วยว่า “พระคริสต์ทรงประสงค์ให้เปโตรมีผู้สืบทอดตำแหน่งต่อ ๆ ไป และบิชอปแห่งโรมคือผู้สืบทอดตำแหน่งนี้.”
คำกล่าวอ้างนี้มีความสำคัญมากทีเดียว. คุณเคยตรวจสอบความถูกต้องของคำกล่าวนี้ด้วยตัวเองไหม? ขอพิจารณาคำตอบสำหรับคำถามสามข้อต่อไปนี้: (1) คัมภีร์ไบเบิลสนับสนุนคำกล่าวอ้างที่ว่าเปโตรคือโปปคนแรกไหม? (2) ประวัติศาสตร์บอกอะไรเกี่ยวกับที่มาของการสืบทอดตำแหน่งโปป? (3) ความประพฤติและคำสอนของโปปสอดคล้องกับคำกล่าวอ้างที่ว่าพวกเขาคือผู้สืบทอดตำแหน่งของเปโตรไหม?
เปโตรคือโปปคนแรกไหม?
เป็นเวลานานมาแล้วที่ชาวคาทอลิกมักจะอ้างคำตรัสของพระเยซูที่มัดธาย 16:18 เพื่อพิสูจน์ว่าเปโตรเป็นฐานรากของคริสตจักร. ข้อนั้นกล่าวว่า “เจ้าคือเปโตร และบนศิลานี้เราจะสร้างประชาคมของเรา.” ที่จริง มีการจารึกคำตรัสนี้เป็นภาษาละตินไว้ในโดมของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม.
เอากุสติน นักเขียนแห่งคริสตจักรผู้ได้รับการยกย่องนับถือเคยเขียนว่า เปโตรเป็นฐานรากของประชาคมคริสเตียน. อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายของชีวิตเขากลับเปลี่ยนความคิด. ในหนังสือความคิดที่เปลี่ยนไป (ภาษาอังกฤษ) เอากุสตินได้เขียนว่า ฐานรากของประชาคมคริสเตียนคือพระเยซู ไม่ใช่เปโตร. *
จริงอยู่ อัครสาวกเปโตรเป็นผู้ที่ได้รับการกล่าวถึงบ่อย ๆ ในกิตติคุณทั้งสี่. หลายครั้ง พระเยซูทรงเลือกอัครสาวกสามคนคือโยฮัน ยาโกโบ และเปโตรให้ติดตามพระองค์ไปในโอกาสสำคัญต่าง ๆ. (มาระโก 5:37, 38; 9:2; 14:33) พระเยซูได้มอบ “ลูกกุญแจแห่งราชอาณาจักรสวรรค์” แก่เปโตร เพื่อเปิดทางให้คนสามกลุ่มได้เข้าในราชอาณาจักรของพระเจ้า คนกลุ่มแรกคือชาวยิวและผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนายิว กลุ่มที่สองคือชาวซะมาเรีย และกลุ่มสุดท้ายคือชนต่างชาติ. (มัดธาย 16:19; กิจการ 2:5, 41; 8:14-17; 10:45) และเนื่องจากเปโตรเป็นคนกล้าแสดงออก บางครั้งท่านจึงเป็นคนพูดแทนอัครสาวกคนอื่น ๆ ทั้งหมด. (กิจการ 1:15; 2:14) แต่การที่เปโตรมีบทบาทเหล่านี้หมายความว่าท่านเป็นประมุขของประชาคมคริสเตียนในยุคแรกไหม?
อัครสาวกเปาโลเคยเขียนว่าเปโตรได้รับมอบอำนาจให้เป็น “อัครสาวกไปหาคนที่รับสุหนัต.” (กาลาเทีย 2:8) แต่ในบริบทของข้อคัมภีร์นี้ เปาโลไม่ได้พูดถึงเปโตรในแง่ที่ว่าท่านคือผู้นำของประชาคมคริสเตียน. เปาโลกำลังพูดถึงบทบาทของเปโตรในการประกาศกับชาวยิว.
ถึงแม้เปโตรจะมีหน้าที่รับผิดชอบสำคัญ แต่เราก็ไม่พบข้อใดในคัมภีร์ไบเบิลที่เปโตรอ้างว่าท่านเป็นประมุขของประชาคมคริสเตียน ซึ่งทำให้ท่านมีสิทธิ์ตัดสินใจแทนสาวกทั้งหมด. ในจดหมายที่เปโตรเขียน ท่านเพียงแต่เรียกตัวเองว่า “อัครสาวก” และ “ผู้เฒ่าผู้แก่คนหนึ่ง.”—ประวัติศาสตร์บอกอะไรเกี่ยวกับที่มาของการสืบทอดตำแหน่งโปป?
แนวคิดเรื่องโปปเริ่มขึ้นอย่างไรและเมื่อไร? แนวคิดที่ว่าการไขว่คว้าหาตำแหน่งที่สูงกว่าเพื่อนร่วมความเชื่อเป็นสิ่งที่ทำได้นั้นเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่เหล่าอัครสาวกยังมีชีวิตอยู่. เหล่าอัครสาวกคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
อัครสาวกเปโตรเองได้บอกผู้ชายที่นำหน้าในประชาคมคริสเตียนว่าพวกเขาต้องไม่ทำตัว “เป็นนายเหนือคนเหล่านั้นที่เป็นทรัพย์สมบัติของพระเจ้า” แต่ต้องแสดงความถ่อมใจต่อกันเสมอ. (1 เปโตร 5:1-5) อัครสาวกเปาโลเตือนว่าภายหลังจะมีบางคนในประชาคม “พูดบิดเบือนความจริงเพื่อชักนำเหล่าสาวกให้ติดตามพวกเขาไป.” (กิจการ 20:30) ต่อมาในปลายศตวรรษที่หนึ่งสากลศักราช อัครสาวกโยฮันได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งท่านได้ตำหนิสาวกที่ชื่อดิโอเตรเฟสอย่างรุนแรง. ทำไมดิโอเตรเฟสจึงถูกตำหนิเช่นนั้น? เหตุผลหนึ่งคือเพราะเขา “อยากเป็นใหญ่” ในประชาคม. (3 โยฮัน 9) คำแนะนำของอัครสาวกทั้งสามเป็นเหมือนสิ่งหน่วงเหนี่ยวที่ทำให้คนที่อยากเป็นใหญ่ในประชาคมคริสเตียนไม่กล้าแสดงตัวออกมาในช่วงเวลานั้น.—2 เทสซาโลนิเก 2:3-8
หลังจากอัครสาวกคนสุดท้ายเสียชีวิตได้ไม่นาน บางคนเริ่มทำตัวโดดเด่นเหนือคนอื่น ๆ. หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์คริสเตียนเล่มหนึ่งกล่าวว่า “ดูเหมือนว่าก่อนถึงกลางศตวรรษที่สอง ไม่มีบิชอปคนใดในโรมที่ ‘เป็นใหญ่ที่สุด’ แต่เพียงผู้เดียว.” พอถึงศตวรรษที่สาม บิชอปแห่งโรมได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด อย่างน้อยก็ในหลายส่วนของคริสตจักร. * เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับคำกล่าวอ้างที่ว่าบิชอปแห่งโรมคือผู้มีอำนาจสูงสุด บางคนจึงได้ทำรายชื่อผู้สืบทอดตำแหน่งของนักบุญเปโตรขึ้น.
อย่างไรก็ตาม รายชื่อเหล่านั้นไม่ได้ช่วยพิสูจน์คำกล่าวอ้างของพวกเขา. เพราะเหตุใด? ประการแรก บางชื่อในรายชื่อเหล่านั้นไม่สามารถตรวจสอบได้. ยิ่งกว่านั้น รายชื่อดังกล่าวผิดพลาดมาตั้งแต่ชื่อโปปคนแรกแล้ว. ทำไมจึงกล่าวเช่นนั้น? แม้ว่าเปโตรจะประกาศในกรุงโรมอย่างที่กล่าวในหนังสือบางเล่มซึ่งเขียนขึ้นในศตวรรษที่หนึ่งและสอง แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านเป็นประมุขของประชาคมที่นั่น.
หลักฐานหนึ่งที่แสดงว่าเปโตรไม่ได้เป็นประมุขของประชาคมในกรุงโรมคือ เมื่ออัครสาวกเปาโลเขียนจดหมายไปโรม 16:1-23) ถ้าตอนนั้นเปโตรเป็นประมุขของประชาคมคริสเตียนจริง เป็นไปได้หรือที่เปาโลจะลืมเอ่ยถึง หรือเจตนาข้ามชื่อนี้ไป?
ถึงคริสเตียนในกรุงโรม ท่านเอ่ยชื่อคริสเตียนหลายคน แต่ไม่ได้กล่าวถึงเปโตรเลย. (ขอให้สังเกตด้วยว่าตอนที่เปโตรได้รับการดลใจให้เขียนจดหมายฉบับแรก เปาโลก็เขียนจดหมายฉบับที่สองไปถึงติโมเธียว. ในจดหมายนั้น เปาโลพูดถึงกรุงโรมโดยตรงแต่ไม่ได้พูดถึงเปโตร. ที่จริง เปาโลเขียนจดหมายหกฉบับจากกรุงโรม แต่ไม่มีแม้แต่ฉบับเดียวที่กล่าวถึงเปโตร.
ประมาณ 30 ปีหลังจากเปาโลเขียนจดหมายเหล่านั้น อัครสาวกโยฮันได้เขียนจดหมายสามฉบับรวมทั้งหนังสือวิวรณ์. อย่างไรก็ตาม ในหนังสือของโยฮันไม่มีข้อความใดที่กล่าวว่าประชาคมในกรุงโรมเป็นประชาคมที่สำคัญที่สุด และท่านไม่ได้กล่าวว่าประชาคมคริสเตียนในเวลานั้นมีผู้นำสูงสุดซึ่งอ้างว่าสืบทอดตำแหน่งจากเปโตร. ดังนั้น ทั้งคัมภีร์ไบเบิลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างก็ไม่ได้สนับสนุนคำกล่าวอ้างที่ว่าเปโตรได้ตั้งตัวเป็นบิชอปคนแรกของประชาคมในกรุงโรม.
ความประพฤติและคำสอนของโปปสนับสนุนคำกล่าวอ้างของพวกเขาไหม?
เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะคาดหมายว่าผู้ที่อ้างตัวเป็น “ผู้สืบทอดตำแหน่งนักบุญเปโตร” และ “ผู้แทนของพระคริสต์” จะประพฤติตัวและสอนตามแบบอย่างของเปโตรและพระคริสต์. ตัวอย่างเช่น เปโตรยอมให้เพื่อนร่วมความเชื่อปฏิบัติต่อท่านอย่างให้เกียรติเป็นพิเศษไหม? ไม่เลย. ท่านไม่ยอมรับการแสดงความเคารพหรือการกราบไหว้จากคนอื่น ๆ. (กิจการ 10:25, 26) แล้วพระเยซูล่ะ? พระองค์ตรัสว่า พระองค์ไม่ได้มาให้คนอื่นรับใช้ แต่มารับใช้คนอื่น. (มัดธาย 20:28) จะว่าอย่างไรกับความประพฤติของโปป? พวกเขาปฏิเสธตำแหน่งใหญ่โต ความเด่นดัง การโอ้อวดความร่ำรวยและอำนาจไหม?
ทั้งเปโตรและพระคริสต์เป็นคนซื่อสัตย์มีศีลธรรมและส่งเสริมสันติสุข. ขอให้เปรียบเทียบแนวทางชีวิตของเปโตรและพระคริสต์กับข้อมูลในสารานุกรมเทววิทยาและคริสตจักร (ภาษาเยอรมัน) ที่กล่าวถึงโปปลีโอที่ 10 ว่า “ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและมักจะใช้ตำแหน่งเพื่อช่วยพวกพ้องให้ขึ้นมามีอำนาจ และสนุกเพลิดเพลินอย่างเต็มที่กับชีวิตแบบโลก. โปปลีโอที่ 10 ละเลยหน้าที่ในการเอาใจใส่เหล่าสมาชิกด้านจิตวิญญาณซึ่งเป็นงานอันเร่งด่วน.” คาร์ล อามอน บาทหลวงคาทอลิกและอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์คริสตจักรกล่าวว่า รายงานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับโปปอะเล็กซานเดอร์ที่ 6 เผยให้เห็นว่ามี “การกระทำที่ทุจริตมากมาย การใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบ การซื้อขายตำแหน่ง และการประพฤติผิดศีลธรรม.”
แล้วในเรื่องคำสอนล่ะ? คำสอนของโปปเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคำสอนของเปโตรและพระคริสต์? เปโตรไม่เชื่อว่าคนดีทุกคนจะได้ไปสวรรค์. เมื่อกล่าวถึงดาวิดซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ดี ท่านพูดชัดเจนว่า “ดาวิดไม่ได้ขึ้นสวรรค์.” (กิจการ 2:34) นอกจากนั้น เปโตรไม่ได้สอนว่าควรให้บัพติสมาแก่ทารก. ตรงกันข้าม ท่านสอนว่าการรับบัพติสมาเป็นขั้นตอนที่ผู้เชื่อถือพระเจ้าต้องทำโดยอาศัยสติรู้สึกผิดชอบของตน.—1 เปโตร 3:21
พระเยซูสอนว่าสาวกของพระองค์ทุกคนไม่ควรทำตัวโดดเด่นเหนือคนอื่น. พระเยซูตรัสว่า “ถ้าผู้ใดต้องการเป็นคนแรก ผู้นั้นต้องเป็นคนสุดท้ายและเป็นผู้รับใช้ทุกคน.” (มาระโก 9:35) ไม่นานก่อนพระเยซูสิ้นพระชนม์ พระองค์สั่งเหล่าสาวกอย่างชัดเจนว่า “อย่าให้ผู้อื่นเรียกเจ้าว่า ‘อาจารย์’ เพราะเจ้าทั้งหลายมีอาจารย์เพียงผู้เดียว และพวกเจ้าทุกคนเป็นพี่น้องกัน. อย่าเรียกผู้ใดบนแผ่นดินโลกว่า ‘บิดา’ เพราะเจ้าทั้งหลายมีพระบิดาแต่องค์เดียวผู้สถิตในสวรรค์. ทั้งอย่าให้ผู้อื่นเรียกเจ้าว่า ‘ผู้นำ’ เพราะเจ้าทั้งหลายมีผู้นำแต่ผู้เดียวคือพระคริสต์.” (มัดธาย 23:1, 8-10) คุณคิดว่าโปปทั้งหลายปฏิบัติตามคำสอนของเปโตรและพระเยซูไหม?
บางคนบอกว่าการสืบทอดตำแหน่งโปปควรมีอยู่ต่อไปแม้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะไม่ได้ดำเนินชีวิตตามหลักการคริสเตียนอย่างแท้จริง. คุณคิดว่าคำกล่าวนี้มีเหตุผลไหม? พระเยซูตรัสว่า “ต้นไม้ดีทุกต้นย่อมเกิดผลที่ดี แต่ต้นไม้ไม่ดีทุกต้นก็เกิดผลที่ไร้ค่า ต้นไม้ดีจะเกิดผลที่ไร้ค่าไม่ได้ และต้นไม้ไม่ดีจะเกิดผลดีก็ไม่ได้.” จากหลักฐานทั้งหมดที่ได้พิจารณามานี้ คุณคิดว่าเปโตรหรือพระคริสต์อยากจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ‘ผล’ หรือการกระทำใด ๆ ของโปปไหม?—มัดธาย 7:17, 18, 21-23
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 7 ตอนที่พระเยซูตรัสกับเปโตรนั้น พระองค์ไม่ได้พูดถึงบทบาทของเปโตรในอนาคต แต่กำลังพูดถึงวิธีระบุตัวพระคริสต์และบทบาทของพระองค์. (มัดธาย 16:13-17) ในภายหลัง เปโตรเองได้กล่าวว่าพระเยซูคือหินซึ่งเป็นฐานรากของประชาคม. (1 เปโตร 2:4-8) อัครสาวกเปาโลก็ยืนยันว่าพระเยซูคือผู้ที่เป็น “หินหัวมุมของฐานราก” ไม่ใช่เปโตร.—เอเฟโซส์ 2:20
^ วรรค 14 ทั้งพระเยซูและเหล่าอัครสาวกต่างก็เตือนว่าประชาคมคริสเตียนจะถูกครอบงำโดยผู้สอนคำสอนเท็จ. (มัดธาย 13:24-30, 36-43; 2 ติโมเธียว 4:3; 2 เปโตร 2:1; 1 โยฮัน 2:18) คำเตือนนั้นเป็นความจริงเมื่อประชาคมคริสเตียนในศตวรรษที่สองเริ่มรับเอาธรรมเนียมนอกรีตต่าง ๆ และผสมผสานหลักปรัชญากรีกเข้ากับหลักคำสอนของคัมภีร์ไบเบิล.
[ภาพหน้า 25]
หลักฐานบ่งชี้ไหมว่าโปปติดตามแบบอย่างของเปโตร?