ทำอย่างไรฉันถึงจะเข้ากับพี่น้องได้?
บท 6
ทำอย่างไรฉันถึงจะเข้ากับพี่น้องได้?
คุณคิดว่าความสัมพันธ์ของคุณกับพี่น้องอยู่ในระดับไหนระหว่าง 1 (ห่างเหิน) ถึง 5 (สนิทสนม)? ․․․․․
พี่น้องบางคนสนิทกันมาก. ตัวอย่างเช่น เฟลิเซีย อายุ 19 บอกว่า “อีเรนาน้องสาวฉันอายุ 16 เธอเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของฉัน.” คาร์ลีซึ่งอายุ 17 พูดถึงเอริกพี่ชายอายุ 20 ว่า “เราเข้ากันได้ดีมาก. เราไม่เคยทะเลาะกันเลย.”
แต่ความสัมพันธ์ของพี่น้องหลายคนอาจเป็นเหมือนลอเรนกับมาร์ลา. ลอเรนบอกว่า “เราทะเลาะกันได้ทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องที่ไร้สาระ.”
หรือบางทีคุณอาจรู้สึกเหมือนแอลิสอายุ 12 ซึ่งพูดถึงเดนนิสพี่ชายอายุ 14 ว่า “พี่เขาชอบกวนประสาทหนู. เขาชอบบุกเข้ามาในห้องและหยิบของไปโดยไม่ขอ. พี่เดนนิสไม่รู้จักโตสักที.”คุณมีพี่หรือน้องที่ชอบกวนประสาทไหม? ถึงแม้พ่อแม่คุณมีหน้าที่คอยดูแลความสงบเรียบร้อยในบ้าน. แต่คุณเองก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นด้วย ซึ่งจะเริ่มฝึกได้กับพี่น้องของคุณ.
ลองคิดถึงเรื่องที่คุณเคยทะเลาะกับพี่น้อง. เรื่องอะไรที่คุณทะเลาะกันบ่อยที่สุด? ดูรายการข้างล่างและขีด ✔ หน้าช่องที่ทำให้คุณโมโหจัด.
□ ของส่วนตัว. พี่ของฉันหยิบของไปโดยไม่ขอก่อน.
□ นิสัยขัดกัน. พี่ของฉันเป็นคนเห็นแก่ตัว ไม่คำนึงถึงคนอื่น และชอบเจ้ากี้เจ้าการ.
□ ความเป็นส่วนตัว. พี่ชอบเข้าห้องฉันโดยไม่เคาะประตู ชอบแอบอ่านอีเมลหรือเอสเอ็มเอสของฉัน.
□ อื่น ๆ ․․․․․
สุภาษิต 30:33) ถ้าคุณเก็บความโกรธไว้ สักวันคุณจะระเบิดออกมา เช่นเดียวกับการกวนจมูกทำให้เลือดออก. แล้วปัญหาก็มีแต่จะยิ่งรุนแรงขึ้น. (สุภาษิต 26:21) คุณจะทำอย่างไรเพื่อความหงุดหงิดจะไม่ระเบิดออกมาจนต้องทะเลาะกัน? ขั้นแรก คุณต้องรู้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริง.
ถ้าพี่หรือน้องของคุณชอบยั่วให้คุณโมโห เช่น เจ้ากี้เจ้าการออกคำสั่งหรือไม่เคารพความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณคงอดหงุดหงิดไม่ได้. แต่สุภาษิตข้อหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “เมื่อกวนจมูกก็ได้เลือดออกมา; เมื่อกวนโทโสก็ได้การทะเลาะวิวาท.” (สิ่งที่เห็นภายนอกหรือสาเหตุที่ซ่อนอยู่?
ปัญหาระหว่างพี่น้องอาจเปรียบได้กับสิว. สิวที่เราเห็นคือสิ่งที่ไม่น่าดู แต่สาเหตุที่ซ่อนอยู่คือการติดเชื้อ. ทำนองเดียวกัน การที่พี่น้องทะเลาะกันก็เป็นสิ่งที่ไม่น่าดู และแสดงว่าต้องมีสาเหตุซ่อนอยู่.
คุณอาจพยายามบีบสิว แต่นั่นเป็นเพียงการจัดการกับสิ่งที่เห็นภายนอกและอาจทำให้เกิดแผลเป็นหรือติดเชื้อมากขึ้น. วิธีจัดการที่ดีกว่าคือรักษาการติดเชื้อซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้สิวลุกลามไป. ปัญหากับพี่น้องก็เช่นกัน หัดมองให้ออกว่าอะไรคือสาเหตุที่ซ่อนอยู่ แล้วคุณก็จะมองข้ามสิ่งที่เห็นภายนอกและเข้าใจต้นตอของปัญหา. นอกจากนั้น คุณน่าจะนำคำแนะนำของกษัตริย์โซโลมอนผู้ชาญฉลาดไปใช้ด้วย ซึ่งเขียนไว้ว่า “สติปัญญาย่อมทำให้คนไม่โกรธเร็ว.”—สุภาษิต 19:11
เพื่อให้เห็นตัวอย่าง แอลิสที่เอ่ยถึงตอนต้นได้พูดถึงเดนนิสพี่ชายว่า “เขาชอบบุกเข้ามาในห้องและหยิบของไปโดยไม่ขอ.” นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น. แต่สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร? นี่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเคารพสิทธิ์ผู้อื่น. แอลิสอาจจัดการกับปัญหาโดยบอกเดนนิสว่า อย่า เข้ามาในห้องหรือเอาข้าวของของเธอไปใช้อีก. แต่การทำอย่างนั้นเป็นเพียงการจัดการกับสิ่งที่เห็น และอาจทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น. แต่ถ้าแอลิสทำให้เดนนิสยอมรับว่า เขาควรเคารพความเป็นส่วนตัวและข้าวของของเธอ ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาก็น่าจะดีขึ้น.
หัดแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
ที่จริง การรู้สาเหตุของปัญหาระหว่างคุณกับพี่น้องเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา. คุณจะทำอะไรได้เพื่อแก้ปัญหาและหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทะเลาะกันอีก? ลองทำตามหกขั้นตอนต่อไปนี้.
1. ร่วมกันตั้งกฎ. ให้ย้อนไปดูว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณกับพี่น้องทะเลาะกัน. โดยคิดถึงสาเหตุที่ซ่อนอยู่ พวกคุณอาจร่วมกันตั้งกฎบางอย่าง. เช่น ถ้าพวกคุณมักทะเลาะกันเรื่องข้าวของส่วนตัว อาจตั้งกฎข้อ 1 ว่า “ต้องขออนุญาตก่อนจะเอาของของคนอื่นไป.” กฎข้อ 2 “ถ้าคนหนึ่งคนใดบอกว่า ‘อย่าเอาไปใช้นะ’ ก็ต้องทำตาม.” เมื่อพวกคุณตั้งกฎ ขอให้นึกถึงคำสั่งของพระเยซูที่ว่า “สารพัดสิ่งที่เจ้าทั้งหลายต้องการให้คนอื่นทำต่อเจ้า จงทำอย่างนั้นต่อเขา.” (มัดธาย 7:12) โดยวิธีนี้ คุณก็จะตั้งกฎที่ทั้งคุณกับพี่น้องทำตามได้. หลังจากนั้น ให้พ่อแม่ช่วยดูว่ากฎของพวกคุณใช้ได้ไหม.—เอเฟโซส์ 6:1
2. ตัวคุณต้องทำตามกฎ. อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ท่านผู้สอนคนอื่นไม่ได้สอนตนเองหรือ? ท่านผู้สอนว่า ‘อย่าขโมย’ ท่านเองขโมยหรือ?” (โรม 2:21) คุณจะนำหลักการนี้ไปใช้อย่างไร? ตัวอย่างเช่น ถ้าอยากให้พี่น้องเคารพความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณก็ต้องเคาะประตูก่อนเข้าห้องเขา หรือขออนุญาตเขาก่อนจะอ่านอีเมลหรือเอสเอ็มเอสของเขา.
3. อย่าโกรธง่าย. ทำไมนี่จึงเป็นคำแนะนำที่ดี? เพราะภาษิตในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “อย่าให้ใจของเจ้าโกรธเร็ว, ความโกรธมีประจำอยู่ในทรวงอกของคนโฉดเขลา.” (ท่านผู้ประกาศ 7:9) ถ้าคุณโกรธง่าย ชีวิตคุณจะไม่มีความสุข. พี่น้องคุณคงจะพูดหรือทำสิ่งที่ทำให้คุณไม่พอใจ. แต่ให้ถามตัวเองว่า ‘ฉันเคยทำแบบนั้นกับพวกเขาไหม?’ (มัดธาย 7:1-5) เจนนีบอกว่า “ตอนอายุ 13 ฉันเคยคิดว่าตัวเองเจ๋ง ไม่ว่าคิดอะไรก็ถูกเสมอและทุกคนต้อง ฟังฉัน. ตอนนี้น้องสาวฉันก็เป็นอย่างนั้น. ฉันจึงพยายามไม่ถือสาสิ่งที่เธอพูด.”
4. ให้อภัยแล้วลืมเสีย. ถ้ามีปัญหาสำคัญก็ต้องพูดคุยและจัดการแก้ไข. แต่คุณต้องเรียกพี่น้องมาชี้แจงข้อผิดพลาดทุกอย่างที่เขาทำไหม? พระยะโฮวาพระเจ้าทรงพอพระทัยถ้าคุณเต็มใจจะ “ไม่ถือโทษ.” (สุภาษิต ) แอลิสัน อายุ 19 บอกว่า “ฉันกับเรเชลน้องสาวแก้ไขความขัดแย้งได้เสมอ. เราต่างพร้อมจะขอโทษและอธิบายสิ่งที่เราคิดว่าเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง. บางครั้งฉันจะเอาเรื่องนั้นไปนอนคิดก่อน. พอวันรุ่งขึ้น ปัญหามักจะหายไปเองโดยที่ฉันไม่ต้องพูดถึงเรื่องนั้นเลย.” 19:11
5. ให้พ่อแม่ช่วยไกล่เกลี่ย. ถ้าคุณกับพี่น้องแก้ไขปัญหาสำคัญไม่ได้ พ่อแม่อาจช่วยพวกคุณให้คืนดีกัน. (โรม 14:19) แต่จำไว้ว่า หากคุณแก้ไขความขัดแย้งได้โดยไม่ต้องให้พ่อแม่ช่วย นั่นแสดงว่าคุณเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น.
6. มองข้อดีของพี่น้อง. พี่น้องของคุณคงมีข้อดีที่คุณชอบ. ลองเขียนข้อดีของพี่น้องคุณคนละหนึ่งข้อ.
ชื่อ
․․․․․
สิ่งที่ฉันชอบ
․․․․․
แทนที่จะเอาแต่คิดถึงข้อเสียของพี่น้อง คุณน่าจะหาโอกาสบอกเขาว่าคุณชอบอะไรในตัวเขาบ้าง.—บทเพลงสรรเสริญ 130:3; สุภาษิต 15:23
คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า พี่น้องของคุณอาจไม่ใช่คนที่คุณสนิทมากที่สุด. (สุภาษิต 18:24) แต่สายสัมพันธ์ของคุณกับพี่น้องจะดีขึ้น ถ้าคุณ “ทนกันและกันเรื่อยไป” แม้ว่าคุณ “มีเหตุจะบ่นว่า” พวกเขา. (โกโลซาย 3:13) เมื่อทำเช่นนั้น คุณ จะรู้สึกหงุดหงิดกับพี่น้องน้อยลง และพวกเขา ก็จะหงุดหงิดกับคุณ น้อยลงด้วย.
จะรู้ได้อย่างไรว่า คุณพร้อมจะออกจากบ้านไหม?
ข้อคัมภีร์หลัก
‘ให้คนทั้งปวงเห็นว่าคุณเป็นคนมีเหตุผล.’—ฟิลิปปอย 4:5
ข้อแนะ
ถ้าคุณมีพี่หรือน้องที่เข้ากันไม่ค่อยได้ ขอให้คิดในแง่ดีว่านั่นจะช่วยคุณให้รู้วิธีปรับตัวเข้ากับคนอื่น.
คุณรู้ไหม . . . ?
เมื่อคุณจากบ้านไป คุณอาจจะเจอคนที่ทำให้หงุดหงิด เช่น เพื่อนร่วมงาน หรือคนอื่น ๆ ที่ดูเหมือนไม่มีมารยาท ไม่คำนึงถึงคนอื่น และเห็นแก่ตัว. คุณเรียนรู้วิธีจัดการกับเรื่องนี้อย่างสันติได้ตั้งแต่อยู่ที่บ้าน.
แผนปฏิบัติการ
กฎที่ฉันกับพี่น้องร่วมกันตั้งขึ้นคือ ․․․․․
ฉันจะเป็นเหตุให้พี่น้องหงุดหงิดน้อยลง ถ้าฉัน ․․․․․
สิ่งที่ฉันอยากถามพ่อแม่เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ․․․․․
คุณคิดอย่างไร?
● ทำไมจึงสำคัญที่จะดูให้ออกว่าอะไรคือสิ่งที่เห็นภายนอกและสาเหตุที่ซ่อนอยู่?
● คุณคิดว่าการมีพี่น้องมีข้อดีอะไรบ้าง?
[คำโปรยหน้า 46]
“ถ้าไม่มีพี่น้อง ฉันคงไม่มีความทรงจำดี ๆ อย่างนี้. ฉันอยากบอกคนที่มีพี่น้องว่า ‘อย่ามองข้ามพวกเขา พวกเขาสำคัญนะ.’”—มาริลิน
[กรอบหน้า 42]
แบบสอบถาม
หาสาเหตุที่แท้จริง
คุณอยากฝึกหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่ของปัญหาระหว่างคุณกับพี่น้องไหม? ถ้าอย่างนั้น ลองอ่านตัวอย่างเปรียบเทียบของพระเยซูเรื่องบุตรที่จากบ้านไปและผลาญมรดกของตนจนหมด. (ลูกา 15:11-32) สังเกตดี ๆ ว่าพี่ชายของเขามีท่าทีอย่างไรเมื่อน้องชายกลับบ้าน. แล้วตอบคำถามต่อไปนี้.
อะไรกระตุ้นพี่ชายให้มีท่าทีอย่างนั้น? ․․․․
คุณคิดว่าอะไรคือสาเหตุที่ซ่อนอยู่? ․․․․
พ่อพยายามแก้ไขปัญหาอย่างไร? ․․․․․
พี่ชายต้องทำอะไรเพื่อแก้ไขปัญหา? ․․․․․
ตอนนี้ลองคิดถึงเรื่องที่คุณเพิ่งทะเลาะกับพี่น้องเมื่อเร็ว ๆ นี้. แล้วตอบคำถามต่อไปนี้.
พวกคุณทะเลาะกันเรื่องอะไร? ․․․․․
คุณคิดว่าอะไรคือสาเหตุที่ซ่อนอยู่? ․․․․․
เพื่อจะจัดการกับปัญหานี้และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก คุณคิดว่าควรตั้งกฎอะไรบ้าง? ․․․․․
[ภาพหน้า 43]
ปัญหาระหว่างพี่น้องอาจเปรียบได้กับสิว คุณต้องจัดการกับสาเหตุที่ซ่อนอยู่ ไม่ใช่แค่สิ่งที่เห็นภายนอก