ภาคผนวก—พ่อแม่ถามว่า
ภาคผนวก
พ่อแม่ถามว่า
“ทำอย่างไรลูกจึงจะพูดคุยกับฉัน?”
“ฉันควรบังคับลูกให้กลับบ้านตามเวลาไหม?”
“ถ้าลูกหมกมุ่นแต่เรื่องไดเอ็ต ฉันจะช่วยเขาได้อย่างไร?”
นี่เป็นตัวอย่างของคำถามทั้งหมด 17 ข้อที่จะได้รับคำตอบในภาคผนวกนี้. เนื้อหาในภาคผนวกถูกแบ่งเป็นหกตอนและมีการอ้างถึงบทต่าง ๆ ในหนังสือคำถามที่หนุ่มสาวถาม—คำตอบที่ได้ผล ทั้งเล่ม 1 และเล่ม 2.
คุณน่าจะอ่านส่วนนี้ แล้วคุยกับคู่ของคุณ. จากนั้น ให้นำสิ่งที่อ่านไปช่วยลูก. คำตอบเหล่านี้เชื่อถือได้เพราะมาจากคัมภีร์ไบเบิลพระคำของพระเจ้า ไม่ได้มาจากสติปัญญาของมนุษย์ที่ผิดพลาดได้.—2 ติโมเธียว 3:16, 17
290 การพูดคุยกัน
297 การวางกฎเกณฑ์
302 การให้อิสระ
311 ปัญหาทางอารมณ์
การพูดคุยกัน
ถ้าฉันโต้เถียงกับคู่สมรสหรือกับลูกจะมีผลเสียจริง ๆ ไหม?
ในชีวิตสมรส การที่สามีภรรยามีความคิดเห็นขัดแย้งกันเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้. แต่คุณเลือกได้ว่าจะจัดการอย่างไร. การที่พ่อแม่โต้เถียงกันมีผลต่อหนุ่มสาวมากทีเดียว. คุณน่าจะใส่ใจเรื่องนี้เพราะลูกจะทำตามตัวอย่างของคุณเมื่อเขาแต่งงาน. ถ้าคุณทั้งสองมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน คุณน่าจะใช้โอกาสนั้นแสดงให้ลูกเห็นว่าควรจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร. ลองทำแบบนี้สิ.
ฟัง. คัมภีร์ไบเบิลบอกให้เรา “ไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ.” (ยาโกโบ 1:19) อย่าทำให้เรื่องลุกลามด้วยการ “ทำชั่วตอบแทนชั่ว.” (โรม 12:17) แม้คู่ของคุณจะไม่ยอมฟัง แต่คุณ ก็น่าจะฟัง.
อย่าตำหนิ ให้พยายามอธิบาย. ให้พูดกับคู่ของคุณอย่างใจเย็นว่าสิ่งที่เขาทำมีผลต่อคุณอย่างไร เช่น “ฉันรู้สึกเจ็บเมื่อคุณ . . . ” อย่ากล่าวหาหรือตำหนิเขา เช่น “คุณไม่สนใจฉันเลย.” “คุณไม่เคยฟังฉันเลย.”
พักเรื่องไว้ก่อน. บางครั้งการพักเรื่องไว้และรอให้ทั้งสองคนสุภาษิต 17:14, ล.ม.
อารมณ์ดีแล้วค่อยมาคุยกันน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด. คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “การเริ่มทะเลาะกันก็เหมือนการปล่อยให้เขื่อนเริ่มมีรอยรั่ว ดังนั้น จงหยุดเถียงกันก่อนจะเกิดการทะเลาะวิวาท.”—ต่างคนต่างขอโทษ และอาจขอโทษลูกด้วย. ไบรนี อายุ 14 เล่าว่า “บางครั้งหลังจากพ่อแม่ทะเลาะกัน พวกเขาจะมาขอโทษฉันกับพี่ชายเพราะรู้ว่าพวกเรารู้สึกอย่างไร.” บทเรียนที่มีค่าที่สุดอย่างหนึ่งที่คุณจะสอนลูกได้ก็คือ ยอมถ่อมตัวพูดคำว่า “ขอโทษ.”
แต่ถ้าคุณโต้เถียงกับลูกล่ะจะว่าอย่างไร? ให้คิดดูว่าคุณทำให้ปัญหายิ่งแย่ลงโดยไม่รู้ตัวไหม. ตัวอย่างเช่น ให้ดูฉากเหตุการณ์ในตอนต้นของบท 2 ที่หน้า 15. ลองสังเกตว่าแม่ของเรเชลมีส่วนทำให้เกิดการโต้เถียงอย่างไร. คุณจะเลี่ยงไม่โต้เถียงกับลูกวัยรุ่นได้อย่างไร? ลองดูวิธีต่อไปนี้.
● อย่าพูดเหมาว่า “เธอ . . . ทุกทีเลย” หรือ “เธอไม่เคย . . . ” การพูดแบบนี้มีแต่ยั่วยุให้อีกฝ่ายเถียงกลับ. จริง ๆ แล้วนี่เป็นการพูดเกินจริง ลูกคุณก็รู้. เขายังรู้ด้วยว่า คุณพูดด้วยความโมโห ไม่ใช่เพราะตัวเขาไม่รับผิดชอบ.
● อย่าพูดในเชิงตำหนิ แต่ให้พยายามอธิบายว่าความประพฤติของลูกมีผลต่อคุณอย่างไร. เช่น “พ่อ (แม่) รู้สึก . . . เมื่อลูก . . . ” คุณเชื่อไหมว่าจริง ๆ แล้วลูกก็แคร์คุณ? การให้ลูกวัยรุ่นรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไรจะทำให้ลูกร่วมมือได้ง่ายขึ้น. *
● อย่าพูดอะไรจนกว่าอารมณ์คุณจะดีขึ้น ถึงแม้จะยากก็ตาม. (สุภาษิต 29:22) ถ้าโต้เถียงกันเรื่องการทำงานบ้าน ก็น่าจะพูดคุย กันให้เข้าใจ. เขียนให้ชัดเจนว่าคุณคาดหมายให้เขาทำอะไรบ้างและถ้าไม่ทำจะได้รับผลอย่างไร. ให้อดทนฟังความคิดเห็นของลูกแม้ว่าคุณจะรู้สึกว่าเขาคิดผิด. วัยรุ่นส่วนใหญ่มักจะยอมฟังคนที่ฟังเขา ไม่ใช่คนที่เทศน์ให้เขาฟัง.
● ก่อนจะตัดสินว่าลูกคุณชอบต่อต้าน ให้จำไว้ว่าสิ่งที่คุณเห็นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการตามธรรมชาติของวัยรุ่น. เขาอาจเถียงเพื่อแสดงว่าเขาโตแล้ว. ดังนั้น คุณอย่าไปเถียงตอบ. ให้จำไว้ว่า ลูกวัยรุ่นจะเลียนแบบวิธีที่คุณรับมือกับการยั่วยุ. ถ้าคุณวางตัวอย่างในเรื่องความอดทนและการอดกลั้นไว้นาน ลูกก็จะเลียนแบบคุณ.—กาลาเทีย 5:22, 23
ดูเล่ม 1 บท 2 กับเล่ม 2 บท 24
ลูกควรรู้อดีตของฉันมากแค่ไหน?
ให้นึกภาพว่าคุณกำลังนั่งทานข้าวกับสามี ลูกสาว และเพื่อน ๆ. แล้วระหว่างที่คุยกัน เพื่อนคุณก็พูดถึงแฟนเก่าของคุณที่เลิกกันไปก่อนที่คุณจะเจอกับสามี. ลูกสาวคุณถึงกับตาค้างและเกือบทำช้อนหล่น. เธอถามด้วยความตกใจว่า “แม่เคยมีแฟนมาก่อนเหรอ?” คุณไม่เคยเล่าเรื่องนี้ให้ลูกสาวฟัง ตอนนี้เธออยากรู้ คุณจะทำอย่างไร?
ปกติแล้วดีที่สุดที่จะตอบคำถามลูก. การที่เขาถามแล้วคุณตอบจะทำให้พวกคุณได้พูดคุยกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ต้องการ.
คุณควรเล่าอดีตของคุณให้ลูกฟังมากน้อยขนาดไหน? แน่นอน คุณคงไม่อยากเล่าเรื่องที่น่าอาย. แต่ถ้าเป็นเรื่องที่พอเล่าได้ การเล่าว่าชีวิตคุณต้องผ่านปัญหาอะไรมาบ้างจะเป็นประโยชน์ต่อลูก. อย่างไรล่ะ?
โรม 7:21-24) พระยะโฮวาพระเจ้าดลใจให้มีการบันทึกคำพูดนี้ไว้ในคัมภีร์ไบเบิลเพื่อประโยชน์ของเรา. แล้วเราก็ได้ประโยชน์จริง ๆ เพราะเราทุกคนต่างก็เป็นเหมือนเปาโลมิใช่หรือ?
ให้มาดูตัวอย่าง. ครั้งหนึ่งอัครสาวกเปาโลเปิดเผยว่า “เมื่อข้าพเจ้าอยากทำสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งชั่วก็อยู่ในตัวข้าพเจ้า. . . . ข้าพเจ้าเป็นคนน่าสมเพชเสียจริง!” (เช่นเดียวกัน เมื่อลูกได้ฟังทั้งเรื่องที่ดีและ ข้อผิดพลาดของคุณ เขาก็จะเข้าใจคุณมากขึ้น. จริงอยู่ คุณกับลูกอยู่กันคนละยุคสมัย. แม้วันเวลาจะเปลี่ยนไป แต่ธรรมชาติของมนุษย์ไม่เคยเปลี่ยนและหลักการในพระคัมภีร์ก็ไม่เปลี่ยนด้วย. (บทเพลงสรรเสริญ 119:144) ถ้าคุณเล่าให้ลูกฟังว่าคุณเคยเจอปัญหาอะไรมาบ้างและคุณเอาชนะปัญหานั้นอย่างไร นั่นจะช่วยลูกให้รับมือกับปัญหาของเขา ได้. หนุ่มที่ชื่อคาเมรอนเล่าว่า “เมื่อผมรู้ว่าพ่อแม่เคยเจอปัญหาแบบเดียวกับผม ผมจึงเข้าใจว่าพ่อแม่ก็เป็นคนธรรมดา ๆ เหมือนผมนี่แหละ. คราวหน้าถ้าผมเจอปัญหาอีก ผมก็อยากรู้ว่าพ่อแม่เคยเจอและเอาชนะปัญหาแบบนี้ มาแล้วไหม.”
ข้อควรระวัง: ทุกครั้งที่เล่าเรื่อง ไม่จำเป็นต้องลงท้ายด้วยการให้คำแนะนำเสมอ. จริงอยู่ คุณอาจกลัวว่าลูกวัยรุ่นจะสรุปเอาเองผิด ๆ หรือถึงกับคิดว่าถ้าพ่อแม่ทำผิดได้เขาก็ทำได้เหมือนกัน. แต่อย่าลงท้ายด้วยการบอกว่าลูกควรทำหรือไม่ควรทำอะไร เช่น “เห็นไหม ลูกอย่า . . . ” แต่ให้พูดความรู้สึกของคุณ สั้น ๆ เช่น “พ่อ (แม่) ไม่น่าทำอย่างนั้นเลยเพราะ . . . ” ด้วยวิธีนี้ ลูกคุณจะได้รับบทเรียนที่มีค่าจากประสบการณ์ของคุณโดยไม่รู้สึกว่าคุณกำลังเทศน์เขา.—เอเฟโซส์ 6:4
ดูเล่ม 1 บท 1
ทำอย่างไรลูกจึงจะพูดคุยกับฉัน?
เมื่อลูกอายุยังน้อย เขาจะเล่าทุกเรื่องให้คุณฟัง. ถ้าคุณถาม เขาจะตอบทันที. ที่จริง คุณแทบไม่ต้องถามเลย เขาก็จะพูดไม่หยุดแบบน้ำไหลไฟดับ. แต่พอโตเป็นวัยรุ่น เขากลับไม่ค่อยพูด จะพูดแต่ละทีเหมือนดอกพิกุลจะร่วง. คุณอาจคิดว่า ‘เขาคุยกับเพื่อนได้ แต่ทำไมไม่คุยกับฉัน?’
อย่าคิดเอาเองว่าการที่ลูกวัยรุ่นไม่พูด แสดงว่าเขาไม่สนใจคุณหรือไม่อยากให้คุณยุ่งกับชีวิตเขา. ที่จริง เวลานี้ลูกต้องการคุณมากกว่าแต่ก่อน. คุณคงดีใจที่รู้ว่า จากการศึกษาวิจัย วัยรุ่นส่วนใหญ่ยังถือว่าคำแนะนำของพ่อแม่สำคัญ กว่าคำแนะนำของเพื่อนหรือสื่อต่าง ๆ.
แต่คุณอาจสงสัยว่า แล้วทำไมลูกไม่ค่อยอยากเล่าอะไรให้คุณฟัง? ให้เรามาดูว่า ทำไมหนุ่มสาวบางคนจึงไม่ยอมเล่าเรื่องของตนให้พ่อแม่ฟัง. หลังจากนั้น ให้ถามตัวเองด้วยคำถามถัดจากนั้นและเปิดดูข้อคัมภีร์ที่บอกไว้.
“พ่อผมมีงานเยอะมากทั้งจากที่ทำงานและจากประชาคม ผมเลยเกรงใจพ่อ. ดูเหมือนพ่อแทบไม่มีเวลาให้ผมคุยด้วย.”—แอนดรูว์
‘โดยไม่รู้ตัว ฉันทำให้ลูกคิดว่าฉันไม่มีเวลาคุยกับเขาไหม? ถ้าอย่างนั้น จะทำอย่างไรให้ลูกรู้ว่าฉันพร้อมจะคุยกับเขาเสมอ? เวลาไหนดีที่ฉันจะคุยกับลูกได้เป็นประจำ?’—พระบัญญัติ 6:7
“ฉันร้องไห้ไปหาแม่เพราะทะเลาะกับเพื่อนที่โรงเรียน. ฉันอยากให้แม่ปลอบ แต่แม่กลับว่าฉัน. ตั้งแต่นั้นมาฉันเลยไม่เล่าอะไรให้แม่ฟังอีก.”—เคนจิ
‘เมื่อลูกมีปัญหาแล้วมาหาฉัน ฉันทำอย่างไร? ถึงแม้อยากจะว่าทันที แต่ฉันจะบังคับตัวให้ฟังเขาอย่างเห็นอกเห็นใจก่อนให้คำแนะนำได้อย่างไร?’—“ดูเหมือนทุกครั้งที่พ่อแม่บอกว่า ‘เล่ามาสิ เราไม่ว่าอะไรหรอก’ แต่พวกเขาก็อารมณ์เสียทุกที. ลูกวัยรุ่นจึงรู้สึกว่าถูกหลอก.”—เรเชล
‘ถ้าลูกเล่าเรื่องบางอย่างที่น่าโมโห ฉันจะไม่แสดงอาการโกรธได้อย่างไร?’—สุภาษิต 10:19
“หลายครั้งที่ฉันเล่าเรื่องลับสุดยอดให้แม่ฟัง แม่กลับเอาไปเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง. ฉันเลยไม่ไว้ใจแม่ไปอีกนาน.”—แชนเทล
‘ฉันคำนึงถึงความรู้สึกของลูกไหมโดยไม่เอาเรื่องส่วนตัวที่เขาบอกไปเล่าให้คนอื่นฟัง?’—สุภาษิต 25:9
“มีหลายเรื่องที่ฉันอยากเล่าให้พ่อแม่ฟัง แค่รอให้พวกเขาชวนคุย.”—คอร์ตนีย์
‘ฉันจะชวนลูกวัยรุ่นคุยได้อย่างไร? เวลาไหนดีที่สุด?’—ท่านผู้ประกาศ 3:7
คุณที่เป็นพ่อแม่จะได้ประโยชน์แน่ ๆ ถ้าคุณเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกด้วยการพูดคุย. ให้มาดูประสบการณ์ของจุงโกะ อายุ 17 จากญี่ปุ่น. เธอบอกว่า “ครั้งหนึ่งฉันบอกแม่ว่า เวลาอยู่กับเพื่อนที่โรงเรียนฉันรู้สึกสบายใจกว่าอยู่กับเพื่อนคริสเตียน. วันรุ่งขึ้น ฉันเห็นจดหมายแม่วางอยู่บนโต๊ะ. แม่เขียนว่า เมื่อก่อนแม่ก็เคยรู้สึกไม่สนิทกับพี่น้องคริสเตียน. แม่ชวนฉันให้คิดถึงบางคนในพระคัมภีร์ที่รับใช้พระเจ้าแม้ว่าไม่มีใครคอยให้กำลังใจ. แม่ชมฉันด้วยที่ฉันพยายามหาเพื่อนที่รักพระเจ้า. ฉันแปลกใจที่รู้ว่าไม่ใช่ฉันคนเดียวที่เจอปัญหาแบบนี้ แม่ก็
เคยเจอเหมือนกัน. ฉันดีใจที่ได้รู้เรื่องนี้จนน้ำตาไหล. เรื่องที่แม่เล่าให้กำลังใจฉันมากและทำให้ฉันอยากทำสิ่งที่ถูกต้องมากขึ้น.”อย่างที่แม่ของจุงโกะเข้าใจ วัยรุ่นมักเปิดอกเล่าสิ่งที่เขาคิดและรู้สึกให้พ่อแม่ฟัง ถ้าเขามั่นใจว่าพ่อแม่จะไม่หัวเราะเยาะหรือตำหนิเขา. แต่ถ้าลูกคุณหงุดหงิดหรืออารมณ์เสียใส่คุณล่ะ จะทำอย่างไร? อย่าใช้อารมณ์โต้กลับ. (โรม 12:21; 1 เปโตร 2:23) ให้คุณวางตัวอย่างในเรื่องคำพูดและการกระทำแบบที่อยากให้ลูกทำตาม ถึงแม้จะไม่ง่ายเลย.
จำไว้ว่า ขณะที่ลูกวัยรุ่นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาอยู่ในช่วงที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นเด็กก็ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ไม่เชิง. ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อสังเกตว่า ในช่วงเวลานี้วัยรุ่นมักมีพฤติกรรมสองอย่างสลับไปมา บางครั้งก็ทำตัวเป็นผู้ใหญ่ บางครั้งก็ทำตัวเป็นเด็ก. ถ้าลูกคุณเป็นอย่างนี้ คุณจะทำอย่างไรโดยเฉพาะเมื่อเขาทำตัวเป็นเด็ก?
อย่าว่าลูกทันทีหรือเริ่มโต้เถียงกับเขาแบบเด็ก ๆ. แต่ให้หาเหตุผลกับลูกวัยรุ่นเหมือนเขาเป็นผู้ใหญ่. (1 โครินท์ 13:11) ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกหาเรื่องคุณแบบเด็ก ๆ ว่า “ทำไมแม่ชอบจู้จี้กับหนูอยู่เรื่อย?” คุณคงอยากโต้กลับด้วยความโมโห. ถ้าทำอย่างนั้น คุณจะควบคุมสถานการณ์ไม่ได้และถูกลูกดึงเข้าสู่การโต้เถียง. ดังนั้น คุณอาจแค่พูดว่า “ดูเหมือนตอนนี้ลูกอารมณ์ไม่ดีนะ. รอให้ลูกอารมณ์ดีก่อนแล้วเราค่อยมาคุยกันดีไหม?” โดยวิธีนี้ คุณจะควบคุมสถานการณ์ได้ แล้วบรรยากาศก็จะเหมาะแก่การพูดคุยกัน ไม่ใช่โต้เถียงกัน.
ดูเล่ม 1 บท 1 และ 2
การวางกฎเกณฑ์
ฉันควรบังคับลูกให้กลับบ้านตามเวลาไหม?
เพื่อตอบคำถาม ขอให้นึกภาพเหตุการณ์นี้: ลูกชายคุณไม่กลับบ้านตามเวลากำหนด ตอนนี้ผ่านไปครึ่งชั่วโมงแล้ว คุณได้ยินเสียงประตูค่อย ๆ แง้มออก. คุณคิดในใจ ‘ลูกคงคิดว่าฉันหลับไปแล้ว.’ แต่คุณยังไม่หลับและกำลังนั่งรอเขาอยู่ที่หน้าประตูตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงที่แล้ว. ในที่สุดประตูก็เปิดออก คุณกับลูกต่างประจัญหน้ากัน. คุณควรพูดอะไร? คุณจะทำอย่างไร?
คุณเลือกได้. คุณจะทำให้ดูเป็นเรื่องเล็กโดยคิดว่า ‘เด็กผู้ชายก็เป็นอย่างนี้แหละ.’ หรือจะทำให้เป็นเรื่องใหญ่และบอกว่า “คอยดูนะ จะไม่ให้เธอไปไหนเลยตลอดชีวิต.” อย่าผลุนผลันทำอะไร ให้ฟังลูกก่อน เผื่อจะมีเหตุผลที่ทำให้เขามาสาย. แล้วค่อยใช้เรื่องนี้สอนบทเรียนที่มีค่าแก่เขา. อย่างไรล่ะ?
คำแนะนำ: บอกลูกว่าคุณจะคุยเรื่องนี้พรุ่งนี้. แล้วเมื่อถึงเวลาที่เหมาะ ให้นั่งคุยกับเขาว่าคุณจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร. ถ้าลูกกลับบ้านเลยเวลากำหนด พ่อแม่บางคนจะเลื่อนเวลากลับบ้านให้เร็วขึ้นครึ่งชั่วโมงสำหรับคราวหน้า. แต่ถ้าลูกเคยพิสูจน์ว่าไว้ใจได้และกลับบ้านตรงเวลาเสมอ พ่อแม่ก็อาจให้อิสระเขามากขึ้นโดยเลื่อนเวลากลับ
บ้านให้ช้าออกไปอีก. ที่สำคัญคือคุณต้องบอกลูกให้ชัดเจนว่าเขาต้องกลับบ้านกี่โมง และถ้าไม่กลับตามนั้นจะถูกลงโทษอย่างไร. และคุณก็ต้องลงโทษตามนั้น.คัมภีร์ไบเบิลยังบอกด้วยว่า “ให้คนทั้งปวงเห็นว่าท่านทั้งหลายเป็นคนมีเหตุผล.” (ฟิลิปปอย 4:5) ดังนั้น คุณควรคุยกับลูกก่อนจะกำหนดลงไปว่าจะให้เขากลับบ้านกี่โมง ให้เขาเสนอเวลาที่คิดว่าเหมาะพร้อมกับอธิบายเหตุผล. แล้วคุณลองพิจารณาดู. ถ้าลูกคุณเคยพิสูจน์ว่าเป็นคนรับผิดชอบและสิ่งที่เขาบอกมีเหตุผล คุณก็อาจให้ตามที่เขาขอ.
การตรงต่อเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก. การกำหนดเวลากลับบ้านไม่เพียงเป็นการปกป้องลูกจากปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น แต่ยังช่วยสอนเขาให้มีนิสัยที่ดีซึ่งจะติดตัวเขาไปตลอดหลังจากที่ออกไปอยู่เอง.—สุภาษิต 22:6
ดูเล่ม 1 บท 3 กับเล่ม 2 บท 22
จะทำอย่างไรเมื่อฉันกับลูกมีความคิดเห็นไม่ตรงกันในเรื่องเสื้อผ้า?
ให้ดูฉากเหตุการณ์ในหน้า 77 ของหนังสือนี้. ลองนึกภาพว่าเฮเทอร์เป็นลูกสาวคุณ. คุณเห็นลูกใส่ชุดที่ทั้งคับทั้งสั้น คุณเลยโพล่งออกมาว่า “ขึ้นไปเปลี่ยนชุดเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นลูกจะออกไปไหนไม่ได้ทั้งนั้น.” ลูกสาวคุณไม่มีทางเลือก ต้องยอมทำตาม. แต่คุณจะสอนลูกให้เปลี่ยนทัศนะไม่ใช่แค่เปลี่ยนเสื้อผ้าได้อย่างไร?
● ประการแรก จำไว้ว่า ลูกวัยรุ่นก็เหมือนคุณ คือไม่อยากให้คนอื่นมองว่าเขาแต่งตัวไม่สุภาพ. ที่จริงแล้ว เขาไม่อยากถูกมองว่าแต่งตัวตลกหรือชอบเรียกร้องความสนใจ. ดังนั้น ค่อย ๆ ชี้แจงให้เขา * จากนั้น ลองเสนอวิธีแต่งตัวแบบอื่น.
เข้าใจว่า การแต่งตัวแบบนี้ไม่ได้ช่วยให้ดูดีเลยและอธิบายว่าเพราะอะไร.● ประการที่สอง ให้มีเหตุผล. ถามตัวเองว่า ‘เสื้อผ้าที่ลูกใส่ขัดกับหลักการในพระคัมภีร์ไหม หรือขัดกับรสนิยมส่วนตัวของฉัน?’ (2 โครินท์ 1:24; 1 ติโมเธียว 2:9, 10) ถ้าเป็นเรื่องรสนิยม คุณจะยอมให้ลูกใส่ไหม?
● ประการที่สาม อย่าแค่บอกว่าเสื้อผ้าแบบไหนที่ไม่ควร ใส่. แต่ให้ช่วยหาเสื้อผ้าที่เหมาะสม ด้วย. คุณน่าจะลองใช้แบบสอบถามในหน้า 82 และ 83 ของหนังสือนี้เพื่อหาเหตุผลกับลูก. คุณและลูกจะได้ประโยชน์แน่ ๆ.
ดูเล่ม 1 บท 11
ฉันควรยอมให้ลูกเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์ไหม?
เกมอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนไปมากเมื่อเทียบกับสมัยที่คุณเป็นวัยรุ่น. คุณซึ่งเป็นพ่อแม่จะช่วยลูกให้รู้ถึงอันตรายและหลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านั้นได้อย่างไร?
ไม่มีประโยชน์ที่คุณจะตำหนิหรือพูดเหมาว่าเกมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดเป็นสิ่งไม่ดีและทำให้เสียเวลา. สิ่งที่ต้องจำคือ ใช่ว่าทุก เกมจะไม่ดีเสมอไป. แต่มันทำให้คุณติดได้. ดังนั้น ให้ดูว่าลูกคุณใช้เวลาเท่าไรในการเล่นเกมและชอบเล่นเกมแบบไหน. คุณอาจถามลูกแบบนี้.
● เกมไหนที่เพื่อน ๆ ชอบเล่นมากที่สุด?
● ในเกมนั้น คนเล่นต้องทำอะไรบ้าง?
● ลูกคิดว่าทำไมเพื่อน ๆ ชอบเล่นเกมนั้น?
คุณอาจพบว่าลูกรู้เรื่องเกมอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าที่คุณคิดไว้เยอะ. เขาอาจเคยเล่นเกมที่คุณคิดว่าไม่เหมาะ. ถ้าเป็นอย่างนั้น อย่าว่าลูกเกินเหตุ. นี่เป็นโอกาสที่คุณจะช่วยลูกให้ฝึกใช้วิจารณญาณ.—ฮีบรู 5:14
คุณอาจใช้คำถามเพื่อช่วยลูกให้หาเหตุผลว่าทำไม เขาชอบเล่นเกมแบบนั้น. เช่น คุณอาจถามทำนองนี้
● ถ้าไม่ได้เล่นเกมแบบนั้น ลูกรู้สึกว่าตัวเองเข้ากับเพื่อนไม่ได้ใช่ไหม?
วัยรุ่นอาจเล่นเกมบางอย่างเพื่อจะคุยกับเพื่อนได้. ถ้าลูกคุณเป็นอย่างนั้น คุณก็ไม่จำเป็นต้องอธิบายว่าเกมที่รุนแรงหรือเน้นเรื่องเพศนั้นไม่ดีอย่างไร.—โกโลซาย 4:6
แต่จะทำอย่างไรถ้าลูกคุณชอบ เล่นเกมที่เน้นเรื่องเพศหรือความรุนแรง? หนุ่มสาวบางคนจะแก้ตัวทันทีว่าเขาไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากเกม. เขาหาเหตุผลว่า ‘มันก็แค่ในเกม ชีวิตจริงผมไม่ได้ทำสักหน่อย.’ ถ้าลูกคุณเป็นอย่างนั้น ก็เปิดบทเพลงสรรเสริญ 11:5 ให้เขาอ่าน แล้วอธิบายว่าพระเจ้าไม่พอพระทัยคนที่ “นิยมในการร้าย” คือชอบ ความรุนแรง แม้จะไม่ได้เป็น คนรุนแรงก็ตาม. ในเรื่องการผิดศีลธรรมทางเพศหรือความชั่วอื่น ๆ ที่พระคำของพระเจ้าตำหนิก็ใช้หลักการเดียวกัน.—บทเพลงสรรเสริญ 97:10
ถ้าลูกคุณมีปัญหาเกี่ยวกับเกมอิเล็กทรอนิกส์ ให้ลองทำอย่างนี้
● อย่าปล่อยให้ลูกเล่นเกมในที่ที่ไม่มีใครเห็น เช่น ในห้องนอน.
● ให้วางกฎ เช่น ต้องทานข้าว หรือทำการบ้านและทำงานที่พ่อแม่สั่งให้เสร็จก่อน จึงจะเล่นเกมได้.
● เน้นประโยชน์ของการออกกำลังกาย.
● คุณควรอยู่ด้วยเมื่อลูกเล่นเกม หรือถ้าเล่นกับเขาบ้างก็ยิ่งดี.
แน่นอน เพื่อคุณจะแนะนำลูกในเรื่องเนื้อหาของเกมได้เต็มปาก คุณเองก็ต้องทำอย่างเดียวกัน. ดังนั้น ให้ถามตัวเองว่า ‘ฉันดูรายการทีวีหรือหนังประเภทไหน?’ ถ้าคุณมีมาตรฐานสองอย่าง ลูกคุณจะรู้อย่างแน่นอน.
ดูเล่ม 2 บท 30
ถ้าลูกคุณติดคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ จะทำอย่างไร?
ลูกวัยรุ่นของคุณใช้เวลามากเกินไปกับการออนไลน์ รับและส่งเอสเอ็มเอส หรือชอบฟังเอ็มพี 3 มากกว่าพูดคุยกับคุณไหม? ถ้าใช่ คุณจะทำอย่างไร?
คุณอาจยึดอุปกรณ์เหล่านั้น. แต่อย่าเหมาว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกอย่างเป็นสิ่งชั่วร้าย เพราะคุณเองก็ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์บางอย่างที่พ่อแม่คุณ ไม่เคยใช้เหมือนกัน. ดังนั้น แทนที่จะแค่ยึดอุปกรณ์ของลูก (ถ้ามีเหตุผลพอ) คุณน่าจะใช้โอกาสนี้สอนลูกให้ใช้สิ่งเหล่านั้นอย่างฉลาดและสมดุล. ทำอย่างไรล่ะ?
ให้นั่งคุยเรื่องนี้กับลูก. ประการแรก บอกลูกว่าคุณเป็นห่วงที่เขาใช้เวลามากเกินไป. ประการที่สอง ให้ฟัง ลูกพูด. (สุภาษิต 18:13) ประการที่สาม ช่วยกันหาวิธีแก้. ให้วางข้อจำกัดที่แน่นอนและสมเหตุผล. วัยรุ่นที่ชื่อเอลเลนเล่าว่า “เมื่อฉันเอาแต่ส่งเอสเอ็มเอส พ่อแม่ไม่ได้ยึดโทรศัพท์ฉัน แต่ช่วยวางกฎบางอย่างให้. เมื่อพ่อแม่ทำอย่างนี้ ฉันจึงรู้จักควบคุมตัวเองไม่ใช้เวลากับเอสเอ็มเอสมากเกินไปแม้แต่ตอนที่พ่อแม่ไม่อยู่ด้วย.”
ถ้าลูกคุณแสดงอาการไม่พอใจล่ะ? อย่าคิดว่าที่คุณแนะนำไปไม่มีประโยชน์. แต่ให้อดทนและให้เวลาลูกคิด. ลูกอาจเห็นด้วยกับคุณ แต่ต้องให้เวลาเขาปรับตัว. หนุ่มสาวหลายคนคล้ายกับเฮลีย์ ซึ่งบอกว่า “ทีแรกฉันไม่พอใจที่พ่อแม่บอกว่าฉันติดคอมพิวเตอร์. แต่พอคิดดูอีกที ฉันก็ยอมรับว่าพ่อแม่พูดถูก.”
ดูเล่ม 1 บท 36
การให้อิสระ
ฉันควรให้ลูกมีอิสระแค่ไหน?
เรื่องนี้ตัดสินใจลำบากเพราะเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวด้วย. อย่างเช่น ถ้าลูกชายคุณปิดประตูอยู่ในห้องนอน คุณจะเปิดเข้าไป
โดยไม่ต้องเคาะประตูไหม? หรือถ้าลูกสาวคุณรีบไปโรงเรียนแล้วลืมโทรศัพท์ไว้ คุณจะแอบดูเอสเอ็มเอสของลูกไหม?คำถามเหล่านี้ตอบยาก. ในเมื่อคุณเป็นพ่อแม่ คุณย่อมมีสิทธิ์รู้ว่าลูกใช้ชีวิตอย่างไรและมีหน้าที่ปกป้องเขา. แต่คุณจะเป็นเหมือน ‘นักสืบ’ คอยตรวจสอบและติดตามลูกทุกฝีก้าวไม่ได้. คุณจะมีความสมดุลในเรื่องนี้ได้อย่างไร?
ประการแรก จำไว้ว่า ที่หนุ่มสาวอยากมีความเป็นส่วนตัวไม่ได้หมายความว่าเขาจะทำสิ่งผิดเสมอ. เมื่อโตขึ้น เป็นเรื่องปกติที่วัยรุ่นย่อมต้องการความเป็นส่วนตัว. นี่จะช่วยเขาให้มีโอกาสได้ใช้ชีวิตของเขาเอง เช่น ฝึกที่จะอยู่กับเพื่อนและคิดหาวิธีแก้ปัญหาด้วย “ความสามารถในการใช้เหตุผล” ของเขาเอง. (โรม 12:1, 2) นอกจากนั้น ความเป็นส่วนตัวยังช่วยวัยรุ่นให้ใช้ความสามารถในการคิดได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญที่จะช่วยเขาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ. ความเป็นส่วนตัวยังทำให้เขามีโอกาสคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจหรือตอบปัญหายาก ๆ ด้วย.—สุภาษิต 15:28
ประการที่สอง การที่คุณพยายามจัดชีวิตให้ลูกวัยรุ่นแม้แต่ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จะทำให้เขาไม่พอใจและขัดขืนคุณ. (เอเฟโซส์ 6:4; โกโลซาย 3:21) นี่หมายความว่าคุณไม่ควรเข้าไปยุ่งกับชีวิตเขาไหม? ไม่ใช่ เพราะคุณยังเป็นพ่อแม่เขา. แต่เป้าหมายของคุณคือเพื่อช่วยลูกให้ฝึกใช้สติรู้สึกผิดชอบของตน. (พระบัญญัติ 6:6, 7; สุภาษิต 22:6) สรุปแล้ว การชี้แนะก็ดีกว่าการควบคุมทุกฝีก้าว.
ประการที่สาม ให้พูดคุยเรื่องนี้กับลูกและฟังความคิดเห็นของเขา. คุณจะยอมทำตามที่เขาขอบ้างได้ไหม? บอกลูกวัยรุ่นว่าคุณจะยอมให้เขามีความเป็นส่วนตัวบ้างถ้าเขาทำตัวน่าไว้ใจ. บอกลูกว่าถ้า
เขาไม่เชื่อฟังจะได้รับผลอย่างไร แล้วลงโทษตามนั้น. โดยวิธีนี้ คุณสามารถปล่อยให้ลูกมีความเป็นส่วนตัวได้ ขณะเดียวกันก็ยังเป็นพ่อแม่ที่เอาใจใส่ดูแลลูก.ดูเล่ม 1 บท 3 และ 15
เมื่อไรฉันควรให้ลูกเลิกเรียนหนังสือ?
“ครูน่าเบื่อ!” “การบ้านเยอะเกินไป” “สอบแต่ละทีก็ยากมาก ไม่รู้จะเรียนไปทำไม.” นี่เป็นสิ่งที่หนุ่มสาวหลายคนบ่น ด้วยเหตุนี้บางคนจึงอยากเลิกเรียนก่อนจะมีความรู้พอที่จะเลี้ยงชีพได้. ถ้าลูกคุณอยากเลิกเรียน คุณจะทำอย่างไร? ลองทำอย่างนี้สิ.
● ตรวจสอบทัศนะของคุณเองในเรื่องการศึกษา. คุณเคยรู้สึกไหมว่า การไปโรงเรียนก็เสียเวลาเปล่าเหมือน ‘การติดคุก’ ซึ่งต้องทนกว่าจะได้ทำสิ่งที่คุณตั้งใจ? ถ้าใช่ ทัศนะของคุณก็มีผลต่อลูก. ที่จริงแล้ว การศึกษาที่ดีจะช่วยลูกให้มี “สติปัญญาที่ใช้ได้จริง” และมี “ความสามารถในการคิด” ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเขาให้ไปถึงเป้าหมายได้.—สุภาษิต 3:21, ล.ม.
● หาวิธีช่วยลูกให้เรียนได้ดี. ถ้ามีสภาพแวดล้อมที่ดีและรู้วิธี เรียน เด็กบางคนจะเรียนได้ดีขึ้น. ลูกคุณน่าจะมีโต๊ะอ่านหนังสือที่เป็นระเบียบไม่มีของวางเกะกะ มีแสงสว่างเพียงพอและมีเครื่องมือให้ศึกษาค้นคว้า. คุณช่วยลูกให้ก้าวหน้าได้ทั้งในเรื่องการเรียนและเรื่องพระเจ้า โดยจัดให้มีที่ที่เหมาะสมที่เขาจะนั่งคิดอะไรได้เงียบ ๆ.—เทียบกับ 1 ติโมเธียว 4:15
● ใส่ใจการศึกษาของลูก. ให้คิดว่าครูประจำชั้นและครูที่ปรึกษาเป็นฝ่ายเดียวกับคุณ ไม่ใช่ศัตรู. ไปหาครูเหล่านั้นและพยายามรู้จัก
พวกเขา. พูดคุยกับเขาเรื่องเป้าหมายและปัญหาของลูก. ถ้าลูกมีผลการเรียนไม่ดี ให้หาสาเหตุ เช่น ลูกคิดไหมว่าการเรียนเก่งจะทำให้เพื่อนร่วมชั้นกลั่นแกล้ง? ลูกมีปัญหากับครูไหม? วิชาที่เรียนเป็นอย่างไร? ลูกน่าจะรู้สึกว่าหลักสูตรที่เรียนนั้นไม่ง่ายหรือยากเกินไป. ลูกคุณมีปัญหาสุขภาพไหม เช่น สายตาไม่ดีหรือบกพร่องในการเรียนรู้?ถ้าคุณใส่ใจการศึกษาของลูกมากขึ้นทั้งในเรื่องการเรียนและเรื่องพระเจ้า ลูกคุณก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น.—บทเพลงสรรเสริญ 127:4, 5
ดูเล่ม 1 บท 19
ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมจะจากบ้านไหม?
ในบท 7 ของหนังสือนี้พูดถึงเซรีนาซึ่งไม่กล้าออกไปอยู่เอง. เหตุผลคืออะไร? เธอบอกว่า “พ่อไม่ยอมให้ฉันจ่ายเงินเลย. พ่อบอกว่าเป็นหน้าที่พ่อ. ฉันเลยกลัวมากเมื่อคิดว่าจะต้องไปจ่ายค่านั่นค่านี่ด้วยตัวเอง.” แน่นอน พ่อของเซรีนามีเจตนาดี แต่คุณคิดว่าเขาช่วยเตรียมลูกสาวให้พร้อมจะออกไปอยู่เองไหม?—สุภาษิต 31:10, 18, 27
คุณปกป้องลูกมากเกินไปและไม่ได้เตรียมเขาให้พร้อมจะออกไปอยู่เองไหม? คุณจะรู้ได้อย่างไร? ให้ดูสี่จุดที่พูดถึงในบท 7 ภายใต้หัวเรื่อง “ฉันพร้อมหรือยัง?” แต่ตอนนี้ให้พิจารณาจากมุมของพ่อแม่.
จัดการเรื่องเงิน. ถ้าลูกคุณโตแล้ว เขารู้ไหมว่าแต่ละเดือนต้องเสียค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน และค่าอาหารเป็นเงินเท่าไร? เขารู้วิธีควบคุมรายรับรายจ่ายและไม่ใช้เงินเกินตัวไหม? (ลูกา 14:28-30) เขารู้ไหมว่าการเป็นหนี้มีผลเสียมากมาย? (สุภาษิต 22:7) เขาเคยภูมิใจที่ ได้หาเงินมาซื้อของที่เขาอยากได้ไหม? เขาเคยมีความสุขที่ได้ให้เวลาและทรัพย์สิ่งของเพื่อช่วยคนอื่นไหม?—กิจการ 20:35
ดูแลตัวเอง. ลูกสาวและ ลูกชายคุณรู้วิธีทำอาหารไหม? คุณสอนวิธีซักรีดเสื้อผ้าให้เขาไหม? ถ้าลูกคุณขับรถ เขารู้วิธีดูแลรักษารถ เช่น เปลี่ยนฟิวส์ ถ่ายน้ำมัน หรือเปลี่ยนยางไหม?
เข้ากับคนอื่นได้. เมื่อลูกวัยรุ่นทะเลาะกัน คุณต้องเป็นคนจัดการและตัดสินปัญหาทุกครั้งไหม? หรือคุณฝึกลูกให้รู้วิธีตกลงกันอย่างสันติแล้วค่อยมารายงานคุณ?—มัดธาย 5:23-25
เสริมสร้างความเชื่อ. คุณบอกลูกให้เชื่อตามคุณหรือหาเหตุผลโน้มน้าวให้เขาเชื่อ? (2 ติโมเธียว 3:14, 15) ถ้าลูกสงสัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อและศีลธรรม คุณมักตอบเขาไปเลยหรือสอนเขาให้หาเหตุผล? (สุภาษิต 1:4) คุณอยากให้ลูกศึกษาส่วนตัวเหมือนคุณ หรือมากกว่าคุณ? *
แน่นอน การฝึกลูกตามที่กล่าวไปต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก. แต่ก็คุ้มค่าเพราะเมื่อถึงวันที่ลูกลาคุณเพื่อออกไปอยู่เอง คุณจะภูมิใจที่ได้เตรียมเขาไว้แล้ว.
ดูเล่ม 1 บท 7
เรื่องเพศและการมีแฟน
ฉันควรพูดเรื่องเพศกับลูกไหม?
พระคัมภีร์บอกมานานแล้วว่า “สมัยสุดท้าย” จะเห็นได้ชัดจาก “วิกฤตกาลซึ่งยากจะรับมือได้” ซึ่งผู้คนจะ “ไม่มีการควบคุมตนเอง” และ “รักการสนุกสนานแทนที่จะรักพระเจ้า.” (2 ติโมเธียว 3:1, 3, 4) สิ่งหนึ่งที่แสดงว่าคำพยากรณ์นี้สำเร็จเป็นจริงก็คือ การมีเซ็กซ์แบบเล่น ๆ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น. เด็กในทุกวันนี้จึงรู้เรื่องเพศตั้งแต่อายุยังน้อยมาก.
สังคมในปัจจุบันต่างกันลิบลับจากสมัยที่คุณเป็นวัยรุ่น แต่ปัญหาก็ไม่เปลี่ยน. ดังนั้น อย่ารู้สึกกลัวหรือไม่รู้จะทำอย่างไรกับอิทธิพลที่ไม่ดีที่อยู่ล้อมรอบลูกคุณ. แต่คุณน่าจะช่วยเขาให้ทำตามคำแนะนำของอัครสาวกเปาโลที่บอกไว้เมื่อ 2,000 ปีมาแล้วที่ว่า “จงสวมยุทธภัณฑ์ครบชุดจากพระเจ้าเพื่อท่านทั้งหลายจะสามารถยืนหยัดต้านทานกลอุบายของพญามารได้.” (เอเฟโซส์ 6:11) น่าชมเชยที่หนุ่มสาวคริสเตียนหลายคนได้พยายามทำสิ่งที่ถูกต้องแม้ว่าจะมีอิทธิพลที่ไม่ดีอยู่รอบด้าน. คุณจะช่วยลูกอย่างไรให้ทำเหมือนหนุ่มสาวเหล่านั้น?
วิธีหนึ่งคือ พูดคุยกับลูกโดยเลือกบางบทจากตอนที่ 4 ในหนังสือนี้ กับตอนที่ 1 และตอนที่ 7 ในเล่ม 2. ในบทเหล่านั้นมีข้อคัมภีร์ที่กระตุ้นให้คิด. มีตัวอย่างจากชีวิตจริงของคนที่ยืนหยัดเพื่อทำสิ่งที่ถูกต้องแล้วได้รับผลดี และคนที่ละเลยกฎหมายของพระเจ้าแล้วได้รับผลที่น่าเศร้า. นอกจากนั้น ยังมีหลักการจากพระคัมภีร์ที่เน้นให้เห็นว่าการดำเนินชีวิตตามกฎหมายของพระเจ้าเป็นสิทธิพิเศษอย่างยิ่งสำหรับทั้งคุณและลูก. คุณน่าจะคุยเรื่องนี้กับลูกตั้งแต่ตอนนี้.
ดูเล่ม 1 บท 23, 25 และ 32 กับเล่ม 2 บท 4-6, 28 และ 29
ฉันจะยอมให้ลูกมีแฟนได้เมื่อไร?
สักวันหนึ่ง ลูกคุณต้องมีแฟน. ฟิลิปบอกว่า “ผมยังไม่ได้ทำอะไรเลย. อยู่ดี ๆ สาว ๆ ก็ชวนผมไปเที่ยว ผมยืนงงอยู่ว่า ‘จะทำยังไงดีล่ะเรา?’ จะปฏิเสธก็ยากแต่ละคนสวย ๆ ทั้งนั้น.”
สิ่งที่คุณควรทำในฐานะพ่อแม่ก็คือ พูดคุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องการมีแฟน อาจใช้บท 1 ในเล่ม 2 หาเหตุผลกับเขา. พยายามสังเกตว่าลูกคุณรู้สึกอย่างไรกับปัญหาที่เจอในโรงเรียนหรือที่ประชาคม. คุณพูดคุยเรื่องนี้ได้โดยไม่ต้องเป็นกิจจะลักษณะ เช่น คุยตอน “นั่งอยู่ในเรือน หรือเดินในหนทาง.” (พระบัญญัติ 6:6, 7) ไม่ว่าจะเป็นตอนไหน จำไว้ว่าคุณควร “ไวในการฟัง ช้าในการพูด.”—ยาโกโบ 1:19
ถ้าลูกคุณแสดงความสนใจในเพศตรงข้าม ก็อย่าตกใจ. เด็กสาวคนหนึ่งพูดว่า “พอพ่อรู้ว่าฉันมีแฟน พ่อก็อารมณ์เสีย. พ่อถามฉันต่าง ๆ นานาเพื่อให้ฉันยอมรับว่ายังไม่พร้อมจะแต่งงาน แต่มันไม่ได้ผลกับวัยรุ่นหรอก กลับยิ่งทำให้เราอยากคบกันต่อไปเพื่อพิสูจน์ว่าพ่อแม่คิดผิด.”
ถ้าลูกวัยรุ่นรู้ว่ายังไงคุณก็ไม่ยอมให้เขามีแฟน เรื่องเศร้าก็อาจเกิดขึ้น ลูกคุณอาจแอบคบแฟนแบบลับ ๆ. เด็กสาวคนหนึ่งพูดว่า “เมื่อพ่อแม่กีดกันเกินไป ลูกก็จะยิ่งปิดบัง. เขาไม่ยอมเลิกหรอก แต่จะยิ่งทำอะไรหลบ ๆ ซ่อน ๆ.”
การพูดคุยกับลูกอย่างตรงไปตรงมาน่าจะดีกว่า. บริตทานี อายุ 20 บอกว่า “พ่อแม่มักเปิดอกคุยกับฉันเรื่องการมีแฟน. พ่อแม่อยากรู้ว่าฉันสนใจใครอยู่ ซึ่งฉันคิดว่าดีนะ. เพราะหลังจากรู้แล้ว พ่อจะไปคุยกับคนนั้น แล้วถ้ามีอะไรที่น่าเป็นห่วง พ่อแม่จะบอกฉัน. และฉันมักตัดสินใจว่าจะไม่สนใจเขาอีก แม้เรายังไม่ได้เริ่มเป็นแฟนกัน.”
หลังจากอ่านบท 2 ในเล่ม 2 คุณอาจสงสัยว่า ‘ลูกฉันแอบมีแฟนโดยไม่ให้ฉันรู้ไหม?’ ให้มาดูว่าทำไมหนุ่มสาวบางคนต้องแอบมีแฟนและลองพิจารณาคำถามที่อยู่ต่อจากนั้น.
“วัยรุ่นบางคนรู้สึกว่าไม่มีใครในบ้านเข้าใจเขา เขาจึงต้องหันไปหาแฟน.”—เวนดี
คุณซึ่งเป็นพ่อแม่จะแสดงอย่างไรว่าเข้าใจความรู้สึกและเอาใจใส่ลูกจริง ๆ? คุณจะปรับปรุงเรื่องนี้ได้ไหม? ถ้าได้ จะทำอะไรบ้าง?
“ตอนฉันอายุ 14 มีนักเรียนแลกเปลี่ยนคนหนึ่งอยากเป็นแฟนฉัน. ฉันตอบตกลงเพราะคิดว่าถ้ามีหนุ่มสักคนมากอดฉันน่าจะดี.”—ไดแอน
ถ้าไดแอนเป็นลูกสาวคุณ คุณจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร?
“การมีมือถือทำให้แอบคบกันง่ายขึ้น. พ่อแม่ไม่มีทางรู้หรอก.”—แอนเนตต์
คุณคิดว่าจะควบคุมการใช้โทรศัพท์มือถือของลูกได้อย่างไร?
“ลูกจะแอบมีแฟนได้ถ้าพ่อแม่ไม่ได้คอยดูว่าลูกกำลังทำอะไรและอยู่กับใคร.”—โทมัส
คุณจะเอาใจใส่ลูกมากขึ้น แต่ก็ให้อิสระเขาพอสมควรได้ไหม?
“พ่อแม่มักปล่อยให้ลูกอยู่บ้านตามลำพัง หรือไว้ใจลูกยอมให้เขาไปไหนต่อไหนกับคนอื่นโดยไม่ซักถาม.”—นิโคลัส
คิดดูว่าลูกคุณสนิทกับใครมากที่สุด. เมื่อลูกอยู่กับคนนั้น คุณรู้ไหมว่าเขาทำอะไรกัน?
“ถ้าพ่อแม่เข้มงวดเกินไป ลูกจะแอบมีแฟนได้.”—พอล
แม้คุณจะไม่อะลุ่มอล่วยในเรื่องกฎหมายและหลักการในคัมภีร์ไบเบิล แต่คุณจะ ‘ให้คนอื่นเห็นว่าคุณเป็นคนมีเหตุผล’ ได้อย่างไร?—ฟิลิปปอย 4:5
“พอเริ่มเป็นวัยรุ่น ฉันรู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยมีค่าและอยากให้คนอื่นสนใจ. ฉันเลยส่งอีเมลหาเด็กหนุ่มอีกประชาคมหนึ่งแล้วก็ตกหลุมรักเขา. เขาทำให้ฉันรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ.”—ลินดา
คุณคิดว่าครอบครัวของลินดาน่าจะทำอะไรบ้างเพื่อลินดาจะไม่รู้สึกขาด?
คุณน่าจะใช้บท 2 ในเล่ม 2 และภาคผนวกส่วนนี้พูดคุยกับลูก. วิธีดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้ลูกคุณแอบทำอะไรก็คือ การพูดคุยกับลูกอย่างตรงไปตรงมาด้วยความรัก.—สุภาษิต 20:5
ปัญหาทางอารมณ์
ฉันควรทำอย่างไรถ้าลูกพูดถึงการฆ่าตัวตาย?
ในบางส่วนของโลก มักมีข่าวหนุ่มสาวฆ่าตัวตายอยู่บ่อย ๆ. ตัวอย่างเช่น ที่สหรัฐ สาเหตุสำคัญอันดับสามที่ทำให้หนุ่มสาวอายุ 15 ถึง 25 ปีเสียชีวิตคือการฆ่าตัวตาย. และในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการฆ่าตัวตายของเด็กอายุ 10 ถึง 14 ปีเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า. หนุ่มสาวที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ คนที่มีปัญหาทางจิต มีสมาชิกในครอบครัวฆ่าตัวตาย และคนที่พยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว. สัญญาณเตือนที่บอกว่าหนุ่มสาวคนนั้นคิดจะฆ่าตัวตายมีหลายอย่าง เช่น
● ชอบเก็บตัว ไม่สุงสิงกับคนในครอบครัวและเพื่อน ๆ
● นิสัยการกินและการนอนเปลี่ยนไป
● ไม่สนใจกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบ
● บุคลิกเปลี่ยนไปมาก
● ใช้ยาเสพติดหรือติดแอลกอฮอล์
● ยกสมบัติมีค่าให้คนอื่น
● ชอบพูดแต่เรื่องความตายหรือสนใจเรื่องทำนองนั้น
ถ้าพ่อแม่มองข้ามสัญญาณเตือนเหล่านี้ เขาอาจต้องเสียใจภายหลัง. ถ้าลูกขู่ว่าจะฆ่าตัวตายให้ถือเป็นเรื่องจริงจังไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ. อย่า คิดเอาเองว่านั่นเป็นแค่อารมณ์ชั่ววูบ เดี๋ยวก็หาย.
ถ้าลูกคุณเป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงหรือเป็นโรคจิตโรคประสาท อย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือ. และถ้าคุณสงสัยว่าลูกกำลังคิดสั้น ก็ให้คุยกับเขา. มีการเข้าใจผิด ๆ ว่า ถ้าคุยเรื่องการฆ่าตัวตายกับวัยรุ่น นั่นจะกระตุ้นเขาให้ลงมือทำ. แต่หนุ่มสาวส่วนใหญ่รู้สึกโล่งที่พ่อแม่เป็นคนยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูด. ถ้าลูกคุณยอมรับว่าคิดจะฆ่าตัวตาย ให้ดูว่าเขาวางแผนไว้หรือยังและละเอียดแค่ไหน. ถ้าเห็นว่าลูกคุณวางแผนไว้แล้วต้องรีบช่วยทันที และถ้าเห็นว่ามีการวางแผนอย่างละเอียดก็ยิ่งรอช้าไม่ได้.
อย่าคิดว่าลูกจะหายซึมเศร้าได้เอง. และถ้าดูเหมือน อาการเขาดีขึ้น อย่าคิดว่าปัญหาหมดไปแล้ว. ที่จริง นั่นอาจเป็นช่วงที่อันตรายที่สุด. ทำไมล่ะ? เพราะเมื่อถึงช่วงที่หนุ่มสาวซึมเศร้าสุด ๆ เขาจะหมดเรี่ยวหมดแรงไม่สามารถฆ่าตัวตายได้. แต่เมื่อผ่านช่วงนั้นไป พละกำลังของเขาจะกลับคืนมาแล้วเขาอาจทำตามที่วางแผนไว้.
น่าเศร้าจริง ๆ หนุ่มสาวบางคนรู้สึกสิ้นหวังจนถึงกับคิดสั้น. ดังนั้น เมื่อสังเกตเห็นอาการบางอย่าง ผู้ที่เป็นพ่อแม่และคนที่แคร์เขาควรจะรีบช่วยทันทีโดย “พูดปลอบโยนคนทุกข์ใจ” และพร้อมจะเป็นที่พึ่งพิงให้เขา.—1 เทสซาโลนิเก 5:14
ดูเล่ม 1 บท 13 และ 14 กับเล่ม 2 บท 26
ฉันควรปิดซ่อนความรู้สึกโศกเศร้าไม่ให้ลูกเห็นไหม?
การสูญเสียคู่ชีวิตทำให้คุณเจ็บปวดรวดร้าว. แต่ลูกวัยรุ่นก็ต้องการความช่วยเหลือจากคุณ. ถ้าอย่างนั้น คุณจะช่วยลูกให้รับมือกับ
ความโศกเศร้าและขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยตัวเองได้อย่างไร? ลองใช้วิธีต่อไปนี้.● อย่าพยายามซ่อนความรู้สึก. ลูกเรียนรู้เรื่องสำคัญ ๆ ในชีวิตด้วยการสังเกตดูคุณ. เรื่องการรับมือกับความโศกเศร้าก็เช่นกัน. ดังนั้น อย่าคิดว่าคุณต้องปิดซ่อนความรู้สึกโศกเศร้าไว้และทำให้ลูกเห็นว่าคุณเข้มแข็ง. ถ้าทำอย่างนั้น ลูกจะทำตามคุณ. แต่ถ้าคุณแสดงความเจ็บปวดออกมา ลูกจะเรียนรู้ว่าการแสดงความรู้สึกออกมาก็ดีกว่าเก็บกดเอาไว้ และถ้าเขารู้สึกเศร้า หงุดหงิดหรือโกรธก็เป็นเรื่องปกติ.
● ช่วยลูกวัยรุ่นให้พูดออกมา. อย่ากดดันลูก แต่ช่วยเขาให้ระบายความรู้สึกออกมา. ถ้าดูเหมือนเขาไม่อยากพูด ก็ลองใช้บท 16 ในหนังสือนี้คุยกับเขา. ให้พูดถึงความทรงจำดี ๆ ของคุณกับผู้ตาย. บอกลูกว่าการที่คุณอยู่โดยไม่มีคู่ชีวิตนั้นลำบากขนาดไหน. เมื่อลูกได้ยินคุณพรรณนาความรู้สึกออกมา เขาจะทำอย่างเดียวกัน.
● ยอมรับขีดจำกัดของตัวเอง. ในช่วงที่ลำบากเช่นนี้ แน่นอนคุณคงอยากจะเกื้อหนุนลูก. แต่อย่าลืมว่า ตัวคุณเองก็ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการสูญเสียคนรัก. ตอนนี้ร่างกาย จิตใจและอารมณ์ของคุณคงไม่เข้มแข็งเท่าไร. (สุภาษิต 24:10) ดังนั้น คุณอาจต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น เช่น คนในครอบครัวและเพื่อน ๆ. การทำอย่างนี้แสดงว่าคุณเป็นคนรอบคอบ. สุภาษิต 11:2 บอกว่า “ปัญญาย่อมอาศัยอยู่กับผู้ถ่อมลง.”
พระยะโฮวาพระเจ้าเป็นผู้ที่เกื้อหนุนคุณได้ดีที่สุด พระองค์สัญญากับผู้ที่นมัสการพระองค์ว่า “เรา, ยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า, กำลังยึดมือข้างขวาของเจ้าอยู่, กำลังกล่าวแก่เจ้าว่า, ‘อย่ากลัวเลย, เราจะช่วยเจ้า.’”—ยะซายา 41:13
ดูเล่ม 1 บท 16
ถ้าลูกหมกมุ่นแต่เรื่องไดเอ็ต ฉันจะช่วยเขาได้อย่างไร?
ถ้าลูกคุณมีความผิดปกติด้านการกิน คุณจะทำอย่างไร? ประการแรก ให้พยายามเข้าใจว่าทำไม เขาถึงมีพฤติกรรมแบบนี้.
มีการสังเกตว่า หลายคนที่มีความผิดปกติด้านการกินมักไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาของตัวเอง ต้องการให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ และคาดหมายจากตัวเองสูงเกินไป. ดังนั้น คุณต้องระวังอย่าทำให้ลูกคิดอย่างนั้น แต่ควรช่วยเขาให้มีความมั่นใจในตัวเอง.—1 เทสซาโลนิเก 5:11
ลองสังเกตทัศนะของคุณเองในเรื่องอาหารและน้ำหนักตัว. คุณเน้นเรื่องพวกนี้มากเกินไปทั้งในคำพูดและการกระทำโดยไม่รู้ตัวไหม? จำไว้ว่า หนุ่มสาวเซ็นซิทีฟมากในเรื่องรูปร่างหน้าตาของตน. ดังนั้น การล้อลูกว่า “ตุ้ยนุ้ย” หรือพูดว่าเขาโตเร็วผิดปกติอาจทำให้เขาฝังใจกับความคิดนี้ไปตลอด.
เมื่อคุณอธิษฐานและคิดเรื่องนี้อย่างรอบคอบแล้ว ก็ให้เปิดอกคุยกับลูก. เพื่อจะทำอย่างนั้นได้ คุณควร
● คิดให้ดีว่าคุณจะพูดอะไรและพูดเมื่อไร
● อธิบายให้ชัดเจนว่า คุณเป็นห่วงและอยากช่วยเขา.
● อย่าแปลกใจถ้าลูกไม่ยอมรับฟังในตอนแรก
● ฟังด้วยความอดทน
ที่สำคัญที่สุด ทั้งครอบครัวต้องร่วมใจทำงานกันเป็นทีม เพื่อช่วยลูกให้เอาชนะปัญหานี้ได้.
ดูเล่ม 1 บท 10 กับเล่ม 2 บท 7
เรื่องความเชื่อ
เมื่อลูกโตเป็นวัยรุ่นแล้ว ฉันจะยังสอนเรื่องพระเจ้าแก่เขาได้อย่างไร?
คัมภีร์ไบเบิลบอกว่าติโมเธียวได้รับการฝึกอบรมให้รักพระเจ้า “ตั้งแต่เป็นทารก” และคุณซึ่งเป็นพ่อแม่คงได้สอนลูกแบบนั้นมาแล้ว. (2 ติโมเธียว 3:15) แต่ตอนนี้ลูกคุณโตเป็นวัยรุ่น คุณต้องปรับเปลี่ยนวิธีอบรมให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่. เมื่อเด็กโตขึ้น เขาจะเริ่มเข้าใจเรื่องที่ลึกซึ้งและซับซ้อนมากขึ้น. ดังนั้น ตอนนี้แหละคุณต้องช่วยเขาให้มี “ความสามารถในการใช้เหตุผล.”—โรม 12:1
เมื่อเขียนถึงติโมเธียว เปาโลพูดถึงสิ่งที่ติโมเธียวได้ ‘เรียนรู้และได้รับการช่วย ให้เชื่อมั่นว่าเป็นความจริง.’ (2 ติโมเธียว 3:14) ตอนนี้ลูกวัยรุ่นจำเป็นต้อง “ได้รับการช่วยให้เชื่อมั่น” ในความจริงของพระคัมภีร์ที่เขาเรียนมาตั้งแต่เป็นทารก. เพื่อเข้าถึงหัวใจของลูก แค่คุณบอกว่าเขาต้องทำอะไรหรือเชื่ออะไรเท่านั้นไม่พอ. เขาต้องหาเหตุผลด้วยตัวเอง. คุณจะช่วยได้อย่างไร? โดยให้เขามีเวลาคิดหาเหตุผลเกี่ยวกับคำถามต่าง ๆ และมาพูดคุยกับคุณ. คุณอาจให้เขาถามตัวเองดังนี้:
● อะไรทำให้ฉันเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง?—โรม 1:20
● ฉันรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่พ่อแม่สอนฉันจากพระคัมภีร์เป็นความจริง?—● อะไรทำให้ฉันเชื่อว่ามาตรฐานของพระคัมภีร์มีประโยชน์ต่อฉัน?—ยะซายา 48:17, 18
● ฉันรู้ได้อย่างไรว่าคำพยากรณ์ที่มีบอกไว้ในคัมภีร์ไบเบิลจะสำเร็จเป็นจริง?—ยะโฮซูอะ 23:14
● อะไรทำให้ฉันเชื่อว่า ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเทียบได้กับ “คุณค่าอันเลิศล้ำแห่งความรู้เรื่องพระคริสต์เยซู”?—ฟิลิปปอย 3:8
● เครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์สำคัญต่อฉัน อย่างไร?—2 โครินท์ 5:14, 15; กาลาเทีย 2:20
คุณอาจลังเลที่จะถามลูกวัยรุ่นด้วยคำถามเหล่านี้เพราะกลัวเขาตอบไม่ได้. ถ้าอย่างนั้น ก็เหมือนคุณลังเลไม่กล้าดูหน้าปัดรถเพราะกลัวจะเห็นว่าน้ำมันหมด. ที่จริง ถ้าคุณรู้ก่อนตอนที่ยังแก้ไขได้น่าจะดีกว่า. ทำนองเดียวกัน ตอนนี้เมื่อลูกวัยรุ่นยังอยู่กับคุณ คุณน่าจะช่วยเขาให้ค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อและ ‘ช่วยเขาให้เชื่อมั่น.’ *
จำไว้ว่า ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรถ้าลูกคุณสงสัยว่า “สิ่งที่ฉันเชื่อเป็นความจริง ไหม?” ไดแอน อายุ 22 จำได้ว่าเธอเคยสงสัยแบบนี้ตอนเป็นวัยรุ่น. เธอเล่าว่า “ฉันอยากมั่นใจว่าฉันเชื่อถูกต้อง. ฉันเลยพยายามหาคำตอบที่ชัดเจนและหนักแน่น ในที่สุดการทำอย่างนี้ทำให้ฉันอยาก เป็นพยานพระยะโฮวา. เมื่อมีคนถามว่าทำไมฉันไม่ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ ฉันจะไม่ตอบว่า ‘ศาสนา ฉันไม่ให้ทำ’ แต่จะตอบว่า ‘ฉัน คิดว่ามันไม่ถูก ฉันเลยไม่ทำ.’ ฉันเชื่อมั่นว่าสิ่งที่พระคัมภีร์บอกถูกต้องเสมอ.”
บท 37 ในเล่มนี้กับบท 32 ในเล่ม 2) แล้วพรุ่งนี้เรามาคุยกัน. พ่อ (แม่) จะแสดงเป็นลูกและขอไปงานปาร์ตี แล้วให้ลูกมาแสดงเป็นพ่อ (แม่) และบอกว่าควรไปงานปาร์ตีไหม.’
คำแนะนำ: เพื่อช่วยลูกวัยรุ่นให้หาเหตุผลเกี่ยวกับมาตรฐานของพระคัมภีร์ คุณอาจให้เขาสวมบทบาทเป็นพ่อแม่เพื่อจัดการกับปัญหา. ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกคุณขอไปงานปาร์ตีซึ่งคุณ (และอาจจะลูกด้วย) รู้ว่าไม่ควรไป. แทนที่จะบอกว่าไม่ให้ไป คุณน่าจะพูดแบบนี้ ‘ลูกลองมาเป็นพ่อ (แม่) สิ. ทีนี้ให้คิดถึงงานปาร์ตีที่ลูกอยากไปและลองค้นคว้าดู (อาจใช้ดูเล่ม 1 บท 38 กับเล่ม 2 บท 34-36
ถ้าตอนนี้ลูกวัยรุ่นไม่ค่อยสนใจความจริง เราจะทำอย่างไร?
ประการแรก อย่าด่วนสรุปว่าลูกวัยรุ่นทิ้งความเชื่อไปแล้ว. ในกรณีส่วนใหญ่ มักมีปัญหาซ่อนอยู่. ตัวอย่างเช่น วัยรุ่นอาจ
● เจอความกดดันจากเพื่อนจึงไม่กล้าทำตามหลักการในพระคัมภีร์เพราะกลัวจะไม่เหมือนคนอื่น
● เห็นหนุ่มสาวคนอื่น (หรือพี่น้องของตน) ก้าวหน้าดี และคิดว่าตัวเองทำอย่างนั้นไม่ได้
● รู้สึกเหงาที่ไม่มีเพื่อนเพราะเข้ากับพี่น้องคริสเตียนไม่ได้
● เห็นหนุ่มสาว “คริสเตียน” บางคนใช้ชีวิตแบบตีสองหน้า
● พยายามค้นหาตัวเองว่าต้องการอะไรจริง ๆ แล้วเริ่มสงสัยสิ่งที่พ่อแม่เชื่อ
● เห็นเพื่อนนักเรียนทำผิดแล้วไม่ได้รับผลเสียอะไร
● อยากเอาใจพ่อหรือแม่ที่ไม่เชื่อ
เห็นได้ชัดว่า ปัญหาที่พูดถึงนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหลักคำสอน. แต่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเขา
ทำให้เขารู้สึกว่าการทำตามความเชื่อในช่วงนี้ก็ยาก. ดังนั้น คุณจะช่วยลูกได้อย่างไร?โอนอ่อนผ่อนตาม แต่ไม่อะลุ่มอล่วย. ให้พยายามเข้าใจว่าอะไรทำให้ลูกท้อใจ และปรับเปลี่ยนปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อลูกคุณจะสบายใจและก้าวหน้าขึ้น. (สุภาษิต 16:20) ตัวอย่างเช่น คุณอาจใช้ “แผนรับมือกับความกดดันจากเพื่อน ๆ” ที่อยู่ในเล่ม 2 หน้า 132 และ 133 เพื่อช่วยลูกให้มั่นใจมากขึ้นและกล้ายืนหยัดทำตามหลักการในพระคัมภีร์โดยไม่แคร์เพื่อน. หรือถ้าลูกคุณรู้สึกเหงา คุณอาจต้องช่วยเขาหาเพื่อนดี ๆ.
หาคนช่วยลูก. บางครั้ง ถ้ามีคนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัวมาช่วยหนุนกำลังใจหนุ่มสาวก็จะดี. คุณรู้จักใครไหมที่รักพระเจ้าซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้ลูกคุณได้? ลองขอเขาช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ลูกคุณดีไหม? แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะโยนหน้าที่รับผิดชอบให้คนอื่น. ลองคิดถึงติโมเธียวสิ. ท่านได้รับประโยชน์มากมายจากตัวอย่างของอัครสาวกเปาโล และเปาโลเองก็ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการมีติโมเธียวเป็นเพื่อน.—ฟิลิปปอย 2:20, 22
ตราบใดที่ลูกยังอยู่กับคุณ คุณมีสิทธิ์บอกเขาให้เข้าร่วมกิจกรรมคริสเตียนกับคุณ. แต่สิ่งสำคัญคือ การช่วยลูกให้รักพระเจ้าจากหัวใจ ไม่ใช่ทำตามคุณเหมือนหุ่นยนต์. คุณควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเพื่อเขาจะรับเอาศาสนาแท้. อย่าคาดหมายจากลูกมากเกินไป. ช่วยหาพี่เลี้ยงและเพื่อนดี ๆ ที่เสริมสร้างลูก. แล้วสักวัน ลูกวัยรุ่นของคุณจะพูดเหมือนกับผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญที่ว่า “พระยะโฮวาเป็นศิลา, เป็นป้อม, และผู้ช่วยข้าพเจ้า ให้รอด.”—บทเพลงสรรเสริญ 18:2
ดูเล่ม 1 บท 39 กับเล่ม 2 บท 37 และ 38
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 23 แต่อย่าทำให้ลูกรู้สึกผิดเพื่อกระตุ้นเขาให้เชื่อฟังคุณ.
^ วรรค 64 ลูกวัยรุ่นมักรู้สึกไวเมื่อมีคนทักเรื่องรูปร่าง ดังนั้น ระวังอย่าพูดในเชิงตำหนิเกี่ยวกับรูปร่างของเขา.
^ วรรค 113 ดู หน้า 315-318.
^ วรรค 188 บท 36 ในเล่ม 2 จะช่วยลูกวัยรุ่นให้หาเหตุผลจนเขามั่นใจว่าพระเจ้ามีอยู่จริง.