ทำไมฉันต้องป่วยอย่างนี้?
บท 8
ทำไมฉันต้องป่วยอย่างนี้?
“ตอนผมยังเด็ก ผมคิดว่าตัวเองแข็งแรงและจะเป็นอย่างนี้ไปตลอด. แต่แล้วจู่ ๆ ผมก็ป่วยหนัก ผมเลยตื่นจากฝัน. ผมรู้สึกว่าตัวเองแก่ลงในชั่วข้ามคืน.”—เจสัน
ตอนอายุ 18 เจสันรู้ตัวว่าเป็นโรคโครห์นคือลำไส้มีความผิดปกติซึ่งทำให้เจ็บปวดและอ่อนแรง. ตัวคุณก็อาจป่วยเรื้อรังหรือพิการ. สิ่งที่เป็นเรื่องธรรมดา ๆ เช่น การแต่งตัว กินข้าว หรือไปโรงเรียน อาจกลายเป็นเรื่องที่ลำบากมากสำหรับคุณ.
ปัญหาสุขภาพที่เรื้อรังทำให้คุณรู้สึกเหมือนติดคุก ไม่มีอิสระ ทำอะไรก็ไม่ได้. คุณอาจรู้สึกว้าเหว่ และถึงกับสงสัยว่าคุณคงทำอะไรให้พระเจ้าไม่พอพระทัยหรือพระเจ้าคงอยากทดสอบว่าคุณรักพระองค์ไหม. แต่คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “ไม่มีใครลองใจพระเจ้าด้วยสิ่งชั่วได้และพระองค์ไม่ทรงลองใจผู้ใดด้วยสิ่งชั่วเลย.” ยาโกโบ 1:13) ในทุกวันนี้ มนุษย์ทุกคนต่างต้องเจ็บป่วยและยังต้องเจอกับ “วาระและเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้า.”—ท่านผู้ประกาศ 9:11, ล.ม.
(น่าดีใจที่พระยะโฮวาพระเจ้าสัญญาว่าจะมีโลกใหม่ซึ่ง “จะไม่มีใครที่อาศัยอยู่ที่นั่นพูดว่า, ‘ข้าพเจ้าป่วยอยู่.’” (ยะซายา 33:24) แม้แต่คนที่ตายไปแล้วก็จะได้รับการปลุกให้เป็นขึ้นมาและได้อยู่ในโลกใหม่ด้วย. (โยฮัน 5:28, 29) ก่อนจะถึงเวลานั้น คุณจะยอมรับสภาพของคุณและอยู่อย่างมีความสุขได้อย่างไร?
พยายามมองในแง่บวก. พระคัมภีร์บอกว่า “จิตใจที่เป็นสุขเป็นยาขนานเอก.” (สุภาษิต 17:22, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) บางคนอาจรู้สึกว่าเมื่อป่วยหนัก เขาไม่ควรหัวเราะหรือมีหน้าตายิ้มแย้ม. แต่การมีอารมณ์ขันและมีเพื่อนที่ดีจะช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นและอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป. ดังนั้น ให้คิดว่าคุณจะทำอะไรได้บ้างที่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น. จำไว้ว่า ความยินดีเป็นผลแห่งพระวิญญาณของพระเจ้า. (กาลาเทีย 5:22) พระวิญญาณนี้จะช่วยคุณให้อดทนกับความเจ็บป่วยได้และยังรู้สึกยินดี.—บทเพลงสรรเสริญ 41:3
ตั้งเป้าที่ทำได้. พระคัมภีร์บอกว่า “ให้คนทั้งปวงเห็นว่าท่านทั้งหลายเป็นคนมีเหตุผล.” (ฟิลิปปอย 4:5) การมีเหตุผลจะช่วยคุณไม่ให้ ประมาทหรือระวังตัวเกินไป. การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น. ด้วยเหตุนี้ ทางโรงพยาบาลจึงมักจัดให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด. การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณสุขภาพดี ยังทำให้คุณอารมณ์ดีด้วย. ดังนั้น ให้ตั้งเป้าที่เหมาะกับสภาพร่างกายของคุณ.
รู้วิธีรับมือกับคำพูดของคนอื่น. จะทำอย่างไรถ้าบางคนพูดโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของคุณ? พระคัมภีร์บอกว่า “อย่าปล่อยใจให้ไปฟังบรรดาถ้อยคำที่ใคร ๆ กล่าว.” (ท่านผู้ประกาศ 7:21) บางครั้งวิธีที่ดีที่สุดก็คือ ไม่ต้องสนใจ. หรือคุณอาจพูดถึงสภาพของคุณก่อน เช่น ถ้าคนอื่นดูเหมือนอึดอัดที่เห็นคุณนั่งรถเข็น คุณอาจพูดให้เขาสบายใจว่า “คุณคงอยากรู้ใช่ไหมว่าทำไมผมถึงนั่งรถเข็น?”
อย่าท้อใจ. ตอนที่พระเยซูต้องทนทุกข์หนัก พระองค์ไม่ได้หมกมุ่นอยู่กับความเจ็บปวด แต่อธิษฐานถึงพระเจ้า ไว้วางใจพระองค์ และจดจ้องอยู่กับอนาคตที่น่ายินดี. (ฮีบรู 12:2) พระเยซูเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ยากลำบาก. (ฮีบรู 4:15, 16; 5:7-9) พระองค์ยอมรับความช่วยเหลือและการหนุนใจจากคนอื่น. (ลูกา 22:43) พระองค์คิดถึงผลประโยชน์ของคนอื่นมากกว่าความสุขสบายของตัวเอง.—ลูกา 23:39-43; โยฮัน 19:26, 27
พระยะโฮวา ‘ห่วงใยคุณ’
ไม่ว่าคุณจะป่วยเป็นอะไรหรือหนักแค่ไหน อย่าคิดว่าพระเจ้าไม่สนใจคุณหรือถือว่าคุณไม่มีค่า. ตรงกันข้าม พระยะโฮวาถือว่าคนลูกา 12:7) ‘พระองค์ห่วงใยคุณ’ เป็นส่วนตัวและอยากให้คุณรับใช้พระองค์ถึงแม้คุณจะเจ็บป่วยหรือพิการก็ตาม.—1 เปโตร 5:7, ฉบับ 1971
ที่พยายามทำให้พระองค์พอพระทัยมีค่ามาก. (ดังนั้น ถ้าคุณอยากทำอะไรก็ทำเลย อย่ามัวแต่กลัวหรือไม่มั่นใจ. ให้หมายพึ่งพระยะโฮวาเสมอ. พระองค์เข้าใจความรู้สึกคุณและรู้ว่าคุณต้องการอะไร. นอกจากนั้น พระองค์จะประทาน “กำลังที่มากกว่าปกติ” ให้คุณเพื่อคุณจะอดทนได้. (2 โครินท์ 4:7) คุณน่าจะมีทัศนะในแง่บวกเหมือนทิโมทีซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ่อนเพลียเรื้อรังตอนอายุ 17. เขาบอกว่า “ตามที่บอกไว้ใน 1 โครินท์ 10:13 พระยะโฮวาจะไม่ยอมให้เราถูกทดลองเกินกว่าที่เราจะทนได้ ผมจึงคิด ว่าถ้าพระผู้สร้างมั่นใจว่าผมทนได้ ผมก็ต้องทนได้ ผมจะรู้ดีกว่าพระองค์ได้อย่างไร.”
ถ้าคุณรู้จักคนที่เจ็บป่วย
ถ้าคุณแข็งแรงดี แต่คุณรู้จักบางคนที่เจ็บป่วยหรือพิการล่ะ? คุณจะช่วยเขาอย่างไร? สิ่งสำคัญคือต้องแสดง “ความเห็นอกเห็นใจ” และ “เอ็นดูสงสาร.” (1 เปโตร 3:8) ให้พยายามเข้าใจว่าคนนั้นต้องทนกับอะไรบ้าง. มองปัญหาของเขาอย่างที่เขา มอง. นีนาซึ่งเกิดมาพร้อมกับโรคกระดูกสันหลังไม่ปิด เล่าว่า “เพราะฉันตัวเล็กและนั่งรถเข็น บางคนเลยพูดกับฉันเหมือนฉันเป็นเด็ก ฉันรู้สึกไม่ดีเลย. แต่ฉันชอบมากเมื่อมีคนพยายามย่อตัวลง เพื่อพูดกับฉัน.”
จริง ๆ แล้ว พวกเขาก็เหมือนคุณนั่นแหละต่างกันแค่เขามีปัญหาสุขภาพ. คุณพูดหนุนใจเขาได้เหมือนที่อัครสาวกเปาโลบอกว่าเป็นการ “ให้ของประทานฝ่ายวิญญาณ” แก่เขา. เมื่อทำอย่างนั้น คุณเองจะได้ประโยชน์ด้วยเพราะทั้งคุณและเขาต่างก็ “หนุนกำลังใจกัน.”—โรม 1:11, 12
เชิญอ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ในเล่ม 1 บท 13
ข้อคัมภีร์หลัก
“จะไม่มีใครที่อาศัยอยู่ที่นั่นพูดว่า, ‘ข้าพเจ้าป่วยอยู่.’”—ยะซายา 33:24
ข้อแนะ
ให้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความพิการหรือโรคที่คุณเป็น. ถ้ายังไม่เข้าใจ คุณอาจกังวล. ดังนั้น ถ้าเรื่องไหนยังไม่เข้าใจชัดเจน ก็ให้ถามหมอที่รักษาคุณ.
คุณรู้ไหม . . . ?
การที่คุณป่วยหรือพิการไม่ใช่เพราะพระเจ้าลงโทษคุณ. แต่เพราะเราทุกคนได้รับความไม่สมบูรณ์ตกทอดมาจากอาดาม.—โรม 5:12
แผนปฏิบัติการ
ทั้ง ๆ ที่ป่วยหรือพิการ ฉันจะมีทัศนะในแง่บวกได้โดย ․․․․․
เป้าหมายอย่างหนึ่งที่ฉันทำได้คือ ․․․․․
เมื่อมีคนพูดถึงสภาพของฉันโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึก ฉันจะไม่คิดมากถ้าฉัน ․․․․․
สิ่งที่ฉันอยากถามพ่อแม่เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ․․․․․
คุณคิดอย่างไร?
● คุณจะใช้ความรู้ในบทนี้ช่วยคนที่ป่วยเรื้อรังหรือพิการได้อย่างไร?
● ถ้าคุณป่วยเรื้อรัง คุณจะคิดถึงสิ่งดี ๆ อะไรบ้างเพื่อช่วยให้รับมือกับสภาพของคุณได้?
● คุณรู้ได้อย่างไรว่าการที่คุณเจ็บป่วยไม่ได้แสดงว่าพระเจ้าไม่พอพระทัยคุณ?
[กรอบ/ภาพหน้า 75]
ดัสติน อายุ 22
“ผมจำได้ว่าผมร้องไห้ในอ้อมกอดแม่ตอนรู้ว่าตัวเองต้องนั่งรถเข็นไปตลอดชีวิต. ตอนนั้นผมแค่แปดขวบ.
ผมเป็นโรคกล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง. ผมอาบน้ำแต่งตัวและกินข้าวเองไม่ได้ ต้องมีคนช่วย แค่ยกแขนขึ้นผมยังทำไม่ได้. แต่ผมไม่ได้อยู่ไปวัน ๆ มีหลายอย่างทำให้ผมมีความสุข. ผมออกประกาศเป็นประจำและเป็นผู้ช่วยงานรับใช้ในประชาคม. ถามว่าผม ‘ลำบาก’ ไหม ไม่เลย. ผมมีความหวังเสมอและมีงานมากมายที่ผมทำได้ในการรับใช้พระยะโฮวา. ในโลกใหม่ของพระเจ้า ผมหวังว่าจะ ‘เต้นได้ดุจดังอีเก้ง.”’—ยะซายา 35:6
[กรอบ/ภาพหน้า 75]
โทโมโกะ อายุ 21
“ตอนฉันสี่ขวบ หมอบอกว่า ‘หนูต้องฉีดอินซูลินไปตลอดชีวิตนะ.’
สำหรับคนที่เป็นเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปัญหาใหญ่. บางครั้งฉันอยากกินแต่กินไม่ได้ และบางครั้งก็ต้องกินทั้ง ๆ ที่ไม่อยากกิน. ฉันฉีดอินซูลินไปแล้ว 25,000 เข็ม ทั้งแขนและขาจึงมีแผลเป็นเต็มไปหมด. พ่อแม่ฉันมองโลกในแง่บวกและยิ้มแย้มเสมอจึงช่วยฉันให้รับมือกับสภาพของตัวเองได้. พ่อแม่ยังช่วยฉันให้เห็นว่าสายสัมพันธ์กับพระเจ้าเป็นสิ่งสำคัญ. พระยะโฮวาดีต่อฉันเสมอ. ช่วงไหนที่แข็งแรงหน่อย ฉันจะรับใช้เต็มเวลาเพื่อแสดงว่าฉันขอบคุณพระองค์.”
[กรอบ/ภาพหน้า 76]
เจมส์ อายุ 18
“ผู้คนมักไม่รู้ว่าจะปฏิบัติกับผมอย่างไรเพราะผมไม่เหมือนคนอื่น.
ผมเป็นโรคแคระชนิดที่ไม่ค่อยมีคนเป็น. คนเรามักตัดสินคนอื่นจากสิ่งที่เห็น เพราะผมตัวเล็กหลายคนจึงคิดว่าผมเป็นเด็กที่มีเสียงใหญ่ ผมเลยต้องพิสูจน์ว่าผมไม่ใช่เด็ก. แม้ไม่เหมือนคนอื่นแต่ผมไม่คิดมากเพราะรู้ว่าตัวเองก็มีอะไรดี ๆ เหมือนกัน. ชีวิตผมมีความสุขดี. ผมศึกษาพระคัมภีร์และอธิษฐานขอกำลังจากพระยะโฮวา. ครอบครัวให้กำลังใจผมเสมอ. ผมรอเวลาที่พระเจ้าจะกำจัดโรคภัยทุกอย่างให้หมดไป. ตอนนี้ถึงผมไม่เหมือนคนอื่น แต่ผมไม่ยอมให้มันมาทำลายความสุขในชีวิตผม.”
[กรอบ/ภาพหน้า 76]
ดานิเทรีย อายุ 16
“ตอนที่ฉันยกแก้วน้ำขึ้นมาแล้วรู้สึกเจ็บมาก ฉันรู้เลยว่าต้องมีอะไรผิดปกติแน่ ๆ.
การเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทำให้ฉันลำบากและเจ็บปวดมาก. ฉันอยากทำอะไรเหมือนวัยรุ่นคนอื่น ๆ แต่ทำไม่ได้ ไม่เหมือนเมื่อก่อน แค่จะหลับก็ยังยาก. เพราะพระยะโฮวาช่วยฉันจึงทำอะไร ๆ ได้. ฉันเคยเป็นไพโอเนียร์สมทบด้วยซ้ำ. มันยากจริง ๆ แต่ฉันก็ทำได้. ตอนนี้ฉันพยายามทำเท่าที่ทำได้. ฉันต้องคอยสังเกตตัวเองและไม่ทำอะไรเกินตัว. ถ้าฉันลืม แม่จะคอยเตือนฉัน.”
[กรอบ/ภาพหน้า 77]
อิลิเซีย อายุ 20
“ตอนเรียนหนังสือ ฉันเคยได้ A บวกมาตลอด. แต่ตอนนี้แค่จะอ่านหนังสือสักประโยคก็ยังยาก บางครั้งฉันเลยรู้สึกเศร้า.
โรคอ่อนเพลียเรื้อรังทำให้ฉันแทบทำอะไรไม่ได้เลยแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ. บางครั้งแค่จะลุกจากเตียงก็ยังทำไม่ได้. แต่ฉันไม่ยอมให้มันควบคุมชีวิตฉัน. ฉันอ่านพระคัมภีร์ทุกวันแม้จะอ่านได้วันละไม่กี่ข้อหรือต้องให้คนในครอบครัวมาอ่านให้ฟังก็ตาม. ฉันรู้สึกขอบคุณคนในครอบครัวมาก. พ่อถึงกับยอมสละสิทธิพิเศษในการประชุมภาคเพื่อช่วยฉันให้เข้าร่วมประชุมได้. เขาไม่บ่นสักคำ. พ่อบอกว่าการดูแลครอบครัวนี่แหละเป็นสิทธิพิเศษอันยิ่งใหญ่.”
[กรอบ/ภาพหน้า 77]
คัตสึโตชิ อายุ 20
“อยู่ ๆ ผมก็ตกใจสุดขีด ร้องตะโกนแล้วก็ชัก ผมทำข้าวของกระจัดกระจายเสียหายหมด.
ผมเป็นโรคลมชักตั้งแต่อายุห้าขวบ. ผมชักบ่อยถึงเดือนละเจ็ดครั้ง. ผมต้องกินยาทุกวันทำให้เพลียมาก. แต่ผมพยายามคิดถึงคนอื่นไม่คิดถึงแต่ตัวเอง. ในประชาคมมีพี่น้องชายสองคนอายุรุ่นเดียวกับผม พวกเขารับใช้เต็มเวลาและช่วยผมได้เยอะ. พอเรียนจบ ผมก็รับใช้มากขึ้น. ผมต้องสู้กับโรคนี้ทุกวัน. ถ้าวันไหนรู้สึกซึมเศร้า ผมจะพักผ่อนเพื่อวันถัดไปจะรู้สึกดีขึ้น.”
[กรอบ/ภาพหน้า 78]
แมทธิว อายุ 19
“ถ้าเพื่อน ๆ คิดว่าคุณไม่ ‘ปกติ’ เขาจะไม่ค่อยให้เกียรติคุณ.
ผมอยากเล่นกีฬาแต่เล่นไม่ได้. ผมเป็นโรคสมองพิการ แค่เดินก็ยังลำบาก. สิ่งไหนที่ทำไม่ได้ ผมจะไม่คิดถึง. ผมจะสนใจแต่สิ่งที่ทำได้ เช่น อ่านหนังสือ. ผมชอบไปหอประชุมเพราะไม่มีใครดูถูกผม. ผมดีใจที่พระยะโฮวาไม่ได้ดูที่ภายนอก แต่รักตัวผมจริง ๆ. ผมไม่เคยมองว่าตัวเองพิการ แค่คิดว่าต้องเอาชนะอุปสรรคมากกว่าคนอื่น.”
[กรอบ/ภาพหน้า 78]
มิกิ อายุ 25
“ฉันเคยเล่นกีฬาได้ แต่จู่ ๆ ก็รู้สึกว่าตัวเองแก่ลงกะทันหัน ตอนนั้นฉันยังวัยรุ่นอยู่เลย.
ฉันเกิดมามีรูที่หัวใจคือเป็นโรคผนังกั้นหัวใจรั่ว. ฉันเริ่มมีอาการตอนเป็นวัยรุ่น เคยผ่าตัดไปแล้ว และแม้จะผ่านไปหกปีแต่ตอนนี้ฉันยังเหนื่อยง่ายและปวดหัวเป็นประจำ. ดังนั้น ฉันจึงตั้งเป้าระยะสั้นที่ตัวเองทำได้ เช่น รับใช้เต็มเวลา ซึ่งส่วนใหญ่ฉันจะใช้วิธีเขียนจดหมายและโทรศัพท์ให้คำพยาน. นอกจากนั้น ความเจ็บป่วยยังช่วยฉันให้มีคุณลักษณะที่ขาดอยู่คือความอดทนและความถ่อม.”
[ภาพหน้า 74]
ปัญหาสุขภาพที่เรื้อรังทำให้คุณรู้สึกเหมือนติดคุก แต่พระคัมภีร์ให้ความหวังว่าคุณจะออกมาได้